Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์มัธยมศึกษา > ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย > ข้อสอบในโรงเรียน ม.ปลาย
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #31  
Old 08 ตุลาคม 2012, 14:27
Real Matrik's Avatar
Real Matrik Real Matrik ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 พฤษภาคม 2011
ข้อความ: 386
Real Matrik is on a distinguished road
Default

#30
$$b_n=\sum^{n}_{k=1}(k^2+k)=\sum^{n}_{k=1}k^2+\sum^{n}_{k=1}k=\frac{n(n+1)(2n+1)}{6}+\frac{n(n+1)}{2}=\frac{n(n+1)(n+2)}{3}$$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #32  
Old 08 ตุลาคม 2012, 15:12
Euler-Fermat's Avatar
Euler-Fermat Euler-Fermat ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 ตุลาคม 2011
ข้อความ: 448
Euler-Fermat is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Kirito View Post
โทษนะครับ ตรงสีแดงนี่ต้องเป็น $b_n$ รึป่าวครับ

แล้วตรงนี้ไปยังไงเหรอครับถึงได้มาเป็นแบบนี้

$b_n = \sum_{k = 1}^{n} k(k+1) = \dfrac{n(n+1)(n+2)}{3}$
$a_n$ ถูกแล้วนะครับ
เพราะ $a_n = 2[1+2+...+n] = \dfrac{2n(n+1)}{2} = n(n+1)$
ส่วน $b_n = \dfrac{n(n+1)(n+2)}{3}$

08 ตุลาคม 2012 15:13 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Euler-Fermat
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #33  
Old 08 ตุลาคม 2012, 20:35
shirouhi-lover shirouhi-lover ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 ตุลาคม 2012
ข้อความ: 7
shirouhi-lover is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Kirito View Post
หนึ่งในพิสูจน์ค่าสูงสุดของ $asin(\theta)\pm bcos(\theta)$
$=\frac{\sqrt{a^2+b^2}}{\sqrt{a^2+b^2}}(asin(\theta)\pm bcos(\theta))$
$=\sqrt{a^2+b^2}[\frac{a}{\sqrt{a^2+b^2}}sin(\theta) \pm \frac{b}{\sqrt{a^2+b^2}}cos(\theta)]$
สร้างสามเหลี่ยมที่มีด้านประกอบมุมฉากชิดยาว a และข้ามยาว b ขึ้นมาจะได้ว่า ด้านตรงข้ามมุมฉากยาว $\sqrt{a^2+b^2}$ (สามเหลี่ยมที่สร้างเป็นสามเหลี่ยมมุมฉากใดๆ ไม่ทราบค่ามุม)

$\frac{a}{\sqrt{a^2+b^2}} = cos x$
$\frac{b}{\sqrt{a^2+b^2}} = sin x$

$=\sqrt{a^2+b^2}[cos(x)sin(\theta) \pm sin(x)cos(\theta)$
$=\sqrt{a^2+b^2}[sin(\theta \pm x) ]$

จากขอบเขตของค่า sin ก็จะหาค่า min,max ได้แล้วครับ

เป็นวิธีที่เห็นภาพแต่สั้นกว่าเยอะเลย ขอบคุนค้าบบ...
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #34  
Old 08 ตุลาคม 2012, 20:51
shirouhi-lover shirouhi-lover ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 ตุลาคม 2012
ข้อความ: 7
shirouhi-lover is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ SolitudE View Post
มาเติมอีกข้อนึง

ให้ $f(x)=x^3-26x^2+bx-216$ โดยมี $a_1,a_2,a_3$ เรียงกันเป็นลำดับเรขาคณิต และเป็นคำตอบของ $f(x)=0$ จงหา $f'(1)$

ปล. คิดว่าโจทย์น่าจะเป็นแบบนี้ สุดท้ายได้คำตอบเป็น 107
เนื่องจาก $a_1,a_2,a_3$ เป็นราก ทำให้

$ f(x) = (x - a_1)(x - a_2)(x - a_3) $

$ f(x) = x^3 -(a_1 + a_2 + a_3)x^2 + (a_1a_2 + a_1a_3 + a_2a_3)x - a_1a_2a_3 $

เทียบสัมประสิทธิ์กับโจทย์ $f(x)=x^3-26x^2+bx-216$ ทำให้รู้ว่า

$ a_1 + a_2 + a_3 = 26 $

$ a_1(1 + r + r^2) = 26 ---(1) $

$ a_1a_2a_3 = 216 $

$ a_1(a_1r)(a_1r^2) = 216 $

$ a_1r = 6 --- (2)$

$ a_1a_2 + a_2a_3 + a_1a_3 = b $

$ a_1\cdot a_1r + a_1r \cdot a_1r^2 + a_1 \cdot a_1r^2 = b $

$ (a_1r)(a_1)(1+r+r^2) = b $

$ (6)(26) = b = 156$ จาก $(1) และ (2)$

ดังนั้น

$ f'(x) = 3x^2 - 52x + b $

$ f'(1) = 3 - 52 + 156 = 107 $
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #35  
Old 09 ตุลาคม 2012, 17:23
Kirito's Avatar
Kirito Kirito ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 23 กันยายน 2012
ข้อความ: 16
Kirito is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Euler-Fermat View Post
$a_n$ ถูกแล้วนะครับ
เพราะ $a_n = 2[1+2+...+n] = \dfrac{2n(n+1)}{2} = n(n+1)$
ส่วน $b_n = \dfrac{n(n+1)(n+2)}{3}$
อ่อขอบคุณครับ สงสัยจะเบลอหนัก
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #36  
Old 10 ตุลาคม 2012, 21:15
Euler-Fermat's Avatar
Euler-Fermat Euler-Fermat ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 ตุลาคม 2011
ข้อความ: 448
Euler-Fermat is on a distinguished road
Default

ขุดหน่อยครับ
ไม่มีใครจำได้ เพิ่มเลยหรอครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #37  
Old 11 ตุลาคม 2012, 10:09
Tinyo Dragonn Tinyo Dragonn ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 07 พฤศจิกายน 2006
ข้อความ: 71
Tinyo Dragonn is on a distinguished road
Default

สามเหลี่ยม ABC มี a,b,c เป็นความยาวด้านตรงข้ามมุม A,B และ C ตามลำดับ

$\frac{1}{a+b} + \frac{1}{b+c} = \frac{3}{a+b+c}$

sin C มีค่าเท่าไร


ข้อมูลชุดหนึ่งมีสามตัว มีผลรวมเป็น 195 มีค่ามัธยฐานเป็น 60 สัมประสิทธิ์ของพิสัยเป็น 0.2 ข้อมูลชุดนี้มีความแปรปรวนเท่าใด


$A= \left\{\ 1,2,3,....,k,\right\} $
$B= \left\{\ (a,b) \in I \times I \mid 0<b-a\leqslant 7 \right\}$
ถ้า B มีสมาชิก 714 ตัว แล้ว k มีค่าเท่าไร
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #38  
Old 16 ตุลาคม 2012, 20:31
powerboom powerboom ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 05 พฤษภาคม 2012
ข้อความ: 28
powerboom is on a distinguished road
Default

มีใครจำข้อเวกเตอร์ได้บ้างเราได้ 14 อะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #39  
Old 23 ตุลาคม 2012, 21:11
แม่ให้บุญมา แม่ให้บุญมา ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไว
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 กันยายน 2010
ข้อความ: 236
แม่ให้บุญมา is on a distinguished road
Default

จากโจทย์ที่ โพสต์โดยคุณ Tinyo Dragonn ที่ #37
ผมแทรกเฉลยดังนี้ต่อไปนี้ครับ

สามเหลี่ยม ABC มี a,b,c เป็นความยาวด้านตรงข้ามมุม A,B และ C ตามลำดับ
$\frac{1}{a+c} + \frac{1}{b+c} = \frac{3}{a+b+c}$
sin C มีค่าเท่าไร

จัดรูปแบบใหม่ได้ $\frac{a+b+2c}{(a+c)(b+c)}=\frac{3}{a+b+c}$ คูณไขว้ได้
$(a+b+c)[(a+b+c)+c]={{a}^{2}}+{{b}^{2}}+{{c}^{2}}+2(ab+bc+ca)+(ca+bc+{{c}^{2}})=3(ab+bc+ca+{{c}^{2}})$
$c^2=a^2+b^2-ab=a^2+b^2-2ab \cos C$ ดังนั้น $\text{cos C}=\frac{1}{2}$ จะได้ $\sin C=\frac{\sqrt{3}}{2}$
-----------------------------
ข้อมูลชุดหนึ่งมีสามตัว มีผลรวมเป็น 195 มีค่ามัธยฐานเป็น 60 สัมประสิทธิ์ของพิสัยเป็น 0.2 ข้อมูลชุดนี้มีความแปรปรวนเท่าใด

ให้ข้อมูลชุดนี้ เป็น a,60,b ดังนั้น $\bar{X}=\frac{a+60+b}{3}=65$ ได้ $a+c=195-60=135$
สัมประสิทธิ์พิสัย $=\frac{b-a}{b+a}=\frac{2}{1}$ ดังนั้น $\frac{b}{a}=\frac{2+10}{10-2}={12}{8}={1.5}$
แทนค่า $a+c=1.5c+c=2.5c=135$ ได้ $c=\frac{135}{2.5}=54$ $a=1.5c=1.5(54)=81$
ดังนั้นข้อมูลทั้งสามคือ 54,60,81 จึงได้ความแปรปรวน \[\sigma _{X}^{2}=\frac{1}{n}\sum\limits_{i=1}^{n}{{{({{X}_{i}}-\bar{X})}^{2}}}=\frac{1}{3}\left( {{(54-65)}^{2}}+{{(60-65)}^{2}}+{{(81-65)}^{2}} \right)=\frac{1}{3}\left( {{(-11)}^{2}}+{{(5)}^{2}}+{{(16)}^{2}} \right)=\frac{1}{3}\left( 81+25+256 \right)=134\]
---------------------------------------
$A= \left\{\ 1,2,3,....,k,\right\} $
$B= \left\{\ (a,b) \in I \times I \mid 0<b-a\leqslant 7 \right\}$
ถ้า B มีสมาชิก 714 ตัว แล้ว k มีค่าเท่าไร

แบ่งจำนวนสมาชิกระหว่าง
ไล่จาก$a=1$ b=2,3,… 8 จนถึง a= $k-7$ ได้ b=k-6,k-5,..,k หรือ 7 ตัวทุกค่าของ a
และจาก $a= k-6$ ได้ b=k-5,k-4,,k หรือ 6 ตัว จนถึง a=k-1 ได้ b=k หรือ 1 ตัว
ดังนั้นจำนวนสมาชิกรวม = $(k-7)7+6+5+4+3+2+1=7k-49+21=714\to k=\frac{714+28}{7}=106$
__________________
ใช้เวลาว่างศึกษาคณิตเพื่อติวลูก นักเรียนศึกษานารี และทวีธาภิเศก
http://www.facebook.com/bpataralertsiri
คณิตมัธยมปลาย http://www.facebook.com/groups/HighSchoolMath/

24 ตุลาคม 2012 10:43 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 3 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ แม่ให้บุญมา
เหตุผล: แก้โจทย์ตามที่คุณ lek2554 แนะนำ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #40  
Old 23 ตุลาคม 2012, 22:41
lek2554's Avatar
lek2554 lek2554 ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 07 กันยายน 2010
ข้อความ: 1,035
lek2554 is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ แม่ให้บุญมา View Post
จากโจทย์ที่ โพสต์โดยคุณ Tinyo Dragonn ที่ #37
ผมแทรกเฉลยดังนี้ต่อไปนี้ครับ

สามเหลี่ยม ABC มี a,b,c เป็นความยาวด้านตรงข้ามมุม A,B และ C ตามลำดับ
$\frac{1}{a+b} + \frac{1}{b+c}$ $= \frac{3}{a+b+c}$
sin C มีค่าเท่าไร

จัดรูปแบบใหม่ได้ $\frac{a+b+2c}{(a+c)(b+c)}$$=\frac{3}{a+b+c}$ คูณไขว้ได้
$(a+b+c)[(a+b+c)+c]={{a}^{2}}+{{b}^{2}}+{{c}^{2}}+2(ab+bc+ca)+(ca+bc+{{c}^{2}})=3(ab+bc+ca+{{c}^{2}})$
$c^2=a^2+b^2-ab=a^2+b^2-2ab \cos C$ ดังนั้น $\text{cos C}=\frac{1}{2}$ จะได้ $\sin C=\frac{\sqrt{3}}{2}$
แอบแก้โจทย์โดยไม่รู้ตัว

ปล. ข้อนี้น้องเค้าจำมาผิด ที่ถูกคือ $\frac{1}{a+c} + \frac{1}{b+c}= \frac{3}{a+b+c}$ ทำตามที่ทำมาถูกแล้วครับ

26 ตุลาคม 2012 12:37 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ lek2554
เหตุผล: คัดลอกข้อความที่อ้างอิง
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #41  
Old 24 ตุลาคม 2012, 10:44
แม่ให้บุญมา แม่ให้บุญมา ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไว
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 กันยายน 2010
ข้อความ: 236
แม่ให้บุญมา is on a distinguished road
Default

ขอบคุณครับ แก้โจทย์ตามที่แนะนำแล้วครับ
__________________
ใช้เวลาว่างศึกษาคณิตเพื่อติวลูก นักเรียนศึกษานารี และทวีธาภิเศก
http://www.facebook.com/bpataralertsiri
คณิตมัธยมปลาย http://www.facebook.com/groups/HighSchoolMath/
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #42  
Old 09 พฤศจิกายน 2012, 23:05
แม่ให้บุญมา แม่ให้บุญมา ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไว
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 กันยายน 2010
ข้อความ: 236
แม่ให้บุญมา is on a distinguished road
Default

Name:  PAT1 ตค 55 ข้อ 39.png
Views: 1855
Size:  9.6 KB

\[\begin{align}
& \arcsin \left( \frac{1}{\sqrt{17}} \right)-2\arccos \left( \frac{2}{\sqrt{5}} \right)=\alpha -2\beta \to \cos 2\beta =2{{\cos }^{2}}\beta -1=2{{\left( \frac{2}{\sqrt{5}} \right)}^{2}}-1=\frac{8}{5}-1=\frac{3}{5}\to \\
& \sin 2\beta =\frac{4}{5}>\frac{1}{\sqrt{17}}=\sin \alpha \therefore \,\,\,\,\alpha -2\beta <0 \\
& arc\sec x=\arcsin \left( \frac{1}{\sqrt{17}} \right)-2\arccos \left( \frac{2}{\sqrt{5}} \right)=\alpha -2\beta \\
& \cot \left( \frac{\pi }{2}+arc\sec x \right)=-\tan (arc\sec x)=-\tan (\alpha -2\beta )=-\frac{(\tan \alpha -\tan 2\beta )}{1+\tan \alpha \tan 2\beta }=-\frac{-\left( \frac{1}{4}-\frac{4}{3} \right)}{1+\left( \frac{1}{4}\times \frac{4}{3} \right)}=-\frac{\left( \frac{3-16}{12} \right)}{\frac{5}{4}}=\frac{13}{16} \\
\end{align}\]
ข้อนี้มีประเด็นที่ ถกเถียงที่ \[arc\sec x=\arcsin \left( \frac{1}{\sqrt{17}} \right)-2\arccos \left( \frac{2}{\sqrt{5}} \right)=\alpha -2\beta <0\,\,(Quarant\,4\,?)\]
ซึ่งอยู่ใน $Q_4$ แต่ปกติ 0 ≤ arcsec x ≤ π ,arcsec x≠TT/2 หรืออยู่ใน $Q_1,Q_2$
โจทย์ข้อนี้จึงอาจจะผิดกฎเกณฑ์หรือไม่ครับ ?
__________________
ใช้เวลาว่างศึกษาคณิตเพื่อติวลูก นักเรียนศึกษานารี และทวีธาภิเศก
http://www.facebook.com/bpataralertsiri
คณิตมัธยมปลาย http://www.facebook.com/groups/HighSchoolMath/

13 พฤศจิกายน 2012 14:57 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 8 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ แม่ให้บุญมา
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #43  
Old 04 กันยายน 2013, 18:57
passer-by passer-by ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 เมษายน 2005
ข้อความ: 1,442
passer-by is on a distinguished road
Default

พอดีผมเพิ่งได้ข้อสอบ PAT1 2 ครั้งล่าสุดมาครับ แต่ครั้งที่ผมคาใจคือ ตุลา 55

เรื่อง arcsec x ใน previous comment ก็เป็นประเด็นนึงที่ error แต่อาจจะไม่กระเทือนคำตอบมาก
---------------------------------------------------------------------------------

แต่รูรั่ว ที่ผมว่าน่ากลัวมาก คือ เวกเตอร์ข้อ 15 ครับ โจทย์คือ...

ให้ $\vec {u} , \vec {v} ,\vec{w}$ เป็นเวกเตอร์บนระนาบ โดย $\vec {u} + \vec {v} -\vec{w} =\vec{0}$ และ $ \vec{u} \cdot \vec{w} = 8 \,\, ,\vec{v} \cdot \vec{w} = -2 $

กำหนด เวกเตอร์ $ \vec{w}$ ทำมุม $ \text{arcsin} \frac{1}{\sqrt{3}}$ กับเวกเตอร์ $\vec{u}$ และ เวกเตอร์ $ \vec{w}$ ทำมุม $ \pi - \text{arcsin} \frac{\sqrt{2}}{\sqrt{3}} $ กับเวกเตอร์ $\vec{v}$

หาค่า $ |\vec{u}|^2 + |\vec{v}|^2 $
-------------------------------------------------------------

วิธีทำ ไม่ได้ซับซ้อนครับ จากโจทย์มันจะเคาะออกมาได้ 4 สมการ คือ

$ | \vec{u}|^2 + \vec{u} \cdot \vec{v} = 8 $

$ | \vec{v}|^2 + \vec{u} \cdot \vec{v} = -2 $

$ |\vec{u}|\cdot |\vec{u}+\vec{v}| = 4\sqrt{6}$

$ |\vec{v}|\cdot |\vec{u}+\vec{v}| = 2\sqrt{3}$


ผมเข้าใจว่า คนตั้งโจทย์อยากให้ตอบ 18 โดยการนำ 2 สมการแรกบวกกัน แล้วเอาค่า $|\vec{u}+\vec{v}|= \sqrt{6} $ ยัดลงไปใน 2สมการหลัง

แต่จะเกิดอะไรขึ้น ถ้า มี นักเรียนเอา 2สมการแรกลบกัน จากนั้นเอา 2 สมการหลังหารกัน แล้วยกกำลังสอง นั่นคือ จะได้

$ |\vec{u}|^2 - |\vec{v}|^2 = 10 $

$ \frac{|\vec{u}|^2}{|\vec{v}|^2} = 8 $

แก้สมการ ได้คำตอบ $ \frac{90}{7}$ ไม่ใช่ 18 และไม่มีใน choices !

เสียเวลาต้องมา check ตัวเลข และ check วิธีทำกันใหม่ในห้องสอบ ทั้งๆที่ไม่ใช่ความผิดของนักเรียนคนนี้เลยที่ได้คำตอบเท่านี้

ความผิดคือ error ของคนตั้งโจทย์ข้อนี้ครับ ถ้าดูดีๆจะเห็นว่า 4 สมการที่ให้มา มันมีจริงๆแค่ 3 ตัวแปร คือใช้แค่ $\vec{u} , \vec{v} , \vec{u} \cdot \vec{v}$ ก็พอ

และคำตอบ 18 ที่ได้ ถ้าแทนค่า $| \vec{u} | \,\, , |\vec{v}| $ กลับไปก็จะเห็นข้อขัดแย้งกันเองระหว่าง $ \vec{u} \cdot \vec{v} $ ใน 2 สมการแรก (เช่นเดียวกัับ $\frac{90}{7}$ )

คนที่ได้ 18 ก็ถือว่าโชคดีไป เพราะตรงกับ choices ส่วนคนที่ได้ $\frac{90}{7}$ ถือว่าโชคร้าย paranoid ว่าคิดเลขผิดตรงไหน
__________________
เกษียณตัวเอง ปลายมิถุนายน 2557 แต่จะกลับมาเป็นครั้งคราว
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #44  
Old 05 กันยายน 2013, 01:08
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Icon21

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ passer-by View Post
ให้ $\vec {u} , \vec {v} ,\vec{w}$ เป็นเวกเตอร์บนระนาบ โดย $\vec {u} + \vec {v} -\vec{w} =\vec{0}$ และ $ \vec{u} \cdot \vec{w} = 8 \,\, ,\vec{v} \cdot \vec{w} = -2 $

กำหนด เวกเตอร์ $ \vec{w}$ ทำมุม $ \text{arcsin} \frac{1}{\sqrt{3}}$ กับเวกเตอร์ $\vec{u}$ และ เวกเตอร์ $ \vec{w}$ ทำมุม $ \pi - \text{arcsin} \frac{\sqrt{2}}{\sqrt{3}} $ กับเวกเตอร์ $\vec{v}$

หาค่า $ |\vec{u}|^2 + |\vec{v}|^2 $
สรุปว่าของปีนี้เห็นผิดสองข้อแล้วนะครับ

บวกสมการสองและสามจะได้ $ \vec {w} \cdot ( \vec {u} + \vec {v}) = 6$

แทนค่าสมการแรกจะได้ $ \vec {w} \cdot \vec {w} = 6 \Rightarrow | \vec {w}| = \sqrt{6}$

จากสมการที่สอง $|\vec {u}||\vec {w}| \cos(\arcsin \frac{1}{\sqrt{3}}) = 8 \Rightarrow |\vec {u}| = 4$

จากสมการที่สาม $|\vec {v}||\vec {w}| \cos(\pi - \arcsin \frac{\sqrt{2}}{\sqrt{3}}) = -2 \Rightarrow |\vec {v}| = \sqrt{2}$

ดังนั้น ตอนนี้จะดูเหมือนว่า $|\vec {u}|^2 + |\vec {v}|^2 = 16 + 2 = 18$

แต่จากสมการแรกจะได้ $|\vec {u}|^2 + 2|\vec {u}||\vec {v}| \cos \theta + |\vec {v}|^2 = |\vec {w}|^2$

แทนค่าจะได้ $\cos \theta = -\frac{3}{2\sqrt{2}} <-1$

สมการดังกล่าวจึงเป็นไปไม่ได้
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 06:16


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha