Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > คอมบินาทอริก
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 06 พฤศจิกายน 2010, 19:41
nut@satit nut@satit ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 พฤศจิกายน 2010
ข้อความ: 16
nut@satit is on a distinguished road
Default โจทย์ในหัวข้อทฤษฏีบททวินามหนังสือสอวน

กำหนด$P(x)$เป็นพหุนามกำลัง n ที่สอดคล้องกับ $P(x)=2^k k\in {1,2,3,4,....,n+1}$ จงหา $P(n+2)$
ป.ล.ผมต้องการแค่วิธีหา $P(0)$ ครับเพราะวิธีที่ผมคิดมันต้องใช้ P(0) อ่ะครับ
แต่ถ้าใครมีวิธีอื่นก็จะดีมากเลยนะครับ
__________________
math or physic
สอบมหิดลเสร็จค่อยคิดละกัน
บางทีก็...ไม่รู้สินะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 06 พฤศจิกายน 2010, 21:43
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ nut@satit View Post
กำหนด $P(x)$ เป็นพหุนามกำลัง $n$ ที่สอดคล้องกับ

$P(k)=2^k$ สำหรับทุก $k\in \{1,2,3,4,....,n+1\}$

จงหา $P(n+2)$
หมายถึงอย่างนี้หรือเปล่าครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 06 พฤศจิกายน 2010, 23:55
passer-by passer-by ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 เมษายน 2005
ข้อความ: 1,442
passer-by is on a distinguished road
Default

ถ้าโจทย์เป็นแบบเดียวกับคุณ nooonuii บอก

ลองใช้ P(x) ตัวนี้ครับ

$$ P(x)= \bigg( 1+ \binom{x}{1}+\binom{x}{2} +\cdots +\binom{x}{n} \bigg) + \frac{(x-1)(x-2)...(x-n)}{n!} $$ โดย $ \binom{x}{i}$ เป็นพหุนามดีกรี i กำหนดโดย $ \binom{x}{i} = \frac{x(x-1)...(x-i+1)}{i!}$
__________________
เกษียณตัวเอง ปลายมิถุนายน 2557 แต่จะกลับมาเป็นครั้งคราว
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 07 พฤศจิกายน 2010, 09:23
LightLucifer's Avatar
LightLucifer LightLucifer ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 กันยายน 2008
ข้อความ: 2,352
LightLucifer is on a distinguished road
Default

งั้นถ้า $x<n$
$P(x)$ ก็หาค่าไม่ได้หรือครับ
__________________
เหนือฟ้ายังมีฟ้าแต่เหนือข้าต้องไม่มีใคร

ปีกขี้ผื้งของปลอมงั้นสินะ


...โลกนี้โหดร้ายจริงๆ มันให้ความสุขกับเรา แล้วสุดท้าย มันก็เอาคืนไป...
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 07 พฤศจิกายน 2010, 11:28
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

หาได้ครับ ดูที่นิยามของ $\binom{x}{i}$ ดีกว่าครับ

มันก็คือพหุนามนี่เอง

ถ้าโยงไปหา $\binom{n}{i}$ จะทำให้งง

ที่ผมคิดไว้ก็คล้ายๆกันคือสร้าง

$Q(x)=1+\dfrac{x}{1!}+\dfrac{x(x-1)}{2!}+\cdots+\dfrac{x(x-1)\cdots (x-n+1)}{n!}$

แล้วก็พิสูจน์ว่า $P(x)=kQ(x)$ สำหรับบาง $k$

$k$ หาได้จาก $P(n+1)$ ครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 07 พฤศจิกายน 2010, 14:39
LightLucifer's Avatar
LightLucifer LightLucifer ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 กันยายน 2008
ข้อความ: 2,352
LightLucifer is on a distinguished road
Default

อ๋อ

Get แล้วครับ

THX ครับ
__________________
เหนือฟ้ายังมีฟ้าแต่เหนือข้าต้องไม่มีใคร

ปีกขี้ผื้งของปลอมงั้นสินะ


...โลกนี้โหดร้ายจริงๆ มันให้ความสุขกับเรา แล้วสุดท้าย มันก็เอาคืนไป...
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 07 พฤศจิกายน 2010, 17:15
nut@satit nut@satit ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 พฤศจิกายน 2010
ข้อความ: 16
nut@satit is on a distinguished road
Default

ครับ ขอบคุณครับ
ขอโจทย์พวกหลักการสร้างฟังก์ชั่น
เพื่อการนับสองทางและหลักหนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึงเลยนะครับ
1.ให้ $x\in \left\{1,2,3,...,n\right\}$ $A=\left\{S\subseteq X \left.\,\right| n\not\in S\right\} $ และ $B=S\left\{\subseteq X\left|\,\right. n\in S\right\}$ จงใช้หลักหนึ่งต่อหนึ่งทั่วถึงเพื่อพิสู่จน์ว่า จำนวนสมาชิกของเซต A=จำนวนสมาชิกของเซต B
2.ตั๋วรถเมล์เป็นเลข 6 หลักตั้งแต่ 000000 ถึง 999999 ถ้าผลบวกของเลขโดดใน 3 หลักแรกเท่ากับผลบวกของเลขสามหลักหลังแล้วจะถือว่าเป็นตั๋วโชคดี ถ้าผลบวกของโดดทุกตัวเป็น 27 แล้วจะถือว่าเป็นตั๋วดี จงหาว่ามีตั๋วโชคดีมากกว่าตั๋วดีอยู่กี่ใบ

ถ้าเป็นไปได้อยากได้ solution เต็มครับจะได้ศึกษาแนวทางการเขียนพิสูจน์ด้วยครับ
ผมเขียนพิสูจน์คอมบิไม่ค่อยเป็นครับ
__________________
math or physic
สอบมหิดลเสร็จค่อยคิดละกัน
บางทีก็...ไม่รู้สินะ

07 พฤศจิกายน 2010 17:24 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ nut@satit
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 07 พฤศจิกายน 2010, 21:38
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

1. นิยาม $f:A\to B$ โดย $f(S)=S^{c}$

สมมติว่า $S^c=T^c$ จะได้

$(S^c)^c=(T^c)^c$

$S=T$

ดังนั้น $f$ เป็นฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่ง

ถ้ากำหนด $T\in B$

จะได้ว่า $n\not\in T$

นั่นคือ $n\in T^c$

ดังนั้นเลือก $S=T^c$ เนื่องจาก $n\in S$ จะได้ $S\in A$

และได้ว่า $f(S)=S^c=(T^c)^c=T$

ดังนั้น $f$ เป็นฟังก์ชันทั่วถึง
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 12:47


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha