Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > Calculus and Analysis
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 29 มีนาคม 2006, 13:01
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post Calculus Marathon

เห็นว่า trend ของปัญหาช่วงนี้เป็นโจทย์แคลคูลัสซะส่วนใหญ่ก็เลยตั้งกระทู้นี้สำหรับคนรักแคลคูลัสโดยเฉพาะครับ กติกาก็ขอลอกกระทู้มาราธอนก่อนหน้านี้ละกัน ( คนที่ตอบปัญหาได้ก็มีสิทธิ์ถามปัญหาข้อต่อไปครับ) ผมขอเริ่มก่อนละกัน

1. จงหาค่าของ $\displaystyle{ \int_{0}^{\frac{\pi}{2}} \frac{x}{1+\sin{x}+\cos{x}}dx }$
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 29 มีนาคม 2006, 19:56
M@gpie's Avatar
M@gpie M@gpie ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 ตุลาคม 2003
ข้อความ: 1,227
M@gpie is on a distinguished road
Post

ช่วงนี้ฮิตเทคนิคเหมือนข้อก่อนๆรึเปล่าครับเนี่ยเหอๆ
ให้ \( x=\frac{\pi}{2} - y \) จะได้ \( dx = -dy \) และ
$$
\begin{eqnarray}
\int_{0}^ {\frac{\pi}{2}} \frac{x}{1+\sin x +\cos x } dx &=& \int_{\frac{\pi}{2}}^{0} \frac{ \frac{\pi}{2} - y }{1+\sin y +\cos y } (-dy)\\
&=& \int^{\frac{\pi}{2}}_0 \frac{ \frac{\pi}{2}}{1+\sin y +\cos y } dy - \int^{\frac{\pi}{2}}_0 \frac{ y}{1+\sin y + \cos y } dy
\end{eqnarray}
$$
ย้ายข้างไปรวมกันจะได้

\[ 2 \int^{\frac{ \pi }{2} }_0 \frac{ x }{1+\sin x +\cos x } dx = \int^{\frac{\pi}{2}}_0 \frac{ \frac{\pi}{2} }{1+\sin x +\cos x } dy \]
แอบอินทิเกรตก้อนหลังโดยใช้เครื่องมาจะได้
\[ \int^{\frac{ \pi }{2} }_0 \frac{ x }{1+\sin x +\cos x } dx = \int^{\frac{\pi}{2}}_0 \frac{1}{2}\frac{ \frac{\pi}{2} }{1+\sin x +\cos x } dy = \frac{\pi}{4}\ln2 \]

ขอใช้สิทธิ์ตั้งข้อต่อปายยยค้าบบบ
จงแก้สมการเชิงอนุพันธ์ \( yy'' = (y')^2 \)
Hint: สมการนี้อยู่ในรูปแยกตัวแปรได้
__________________
PaTa PatA pAtA Pon!

30 มีนาคม 2006 10:42 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 4 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Punk
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 29 มีนาคม 2006, 21:05
sompong2479 sompong2479 ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 28 สิงหาคม 2005
ข้อความ: 41
sompong2479 is on a distinguished road
Post

1. เริ่มจาก $\sin x+\cos x=\sqrt{2}\cos(x-\pi/4)$ เปลี่ยนตัวแปร $u=x-\pi/4$ จะได้
$$
\int_0^{\pi/2}\frac{x-\pi/4}{1+\sin x+\cos x}dx=\int_{-\pi/4}^{\pi/4}
\frac{u}{1+\sqrt{2}\cos u}du=0
$$
เพราะอินทิเกรนด์เป็นฟังก์ชันคี่บนช่วง $[-\pi/4,\pi/4]$ พิจารณา
$$
\int_0^{\pi/2}\frac{\pi/4}{1+\sin x+\cos x}dx=\frac{\pi}{4}\int_0^1\frac{dv}{1+v}
=\frac{\pi\ln2}{4}
$$
โดย $v=\tan(x/2)$
__________________
INEQUALITY IS EVERYWHERE

29 มีนาคม 2006 21:11 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ sompong2479
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 29 มีนาคม 2006, 21:27
sompong2479 sompong2479 ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 28 สิงหาคม 2005
ข้อความ: 41
sompong2479 is on a distinguished road
Post

2. ได้ $(\ln y')'=(\ln y)'$ ดังนั้น $\ln y'=\ln y+C_1$ ดังนั้น $y'=Cy$ สมมูลกับ $(\ln y)'=C$ เพราะฉะนั้น $\ln y=Cx+C_2$ เพราะฉะนั้น $y=De^{Cx}$

ข้อต่อไปนะครับ

3. จงหาค่า $\int_0^1(\sqrt[7]{1-x^3}-\sqrt[3]{1-x^7})dx$
__________________
INEQUALITY IS EVERYWHERE
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 29 มีนาคม 2006, 22:13
sompong2479 sompong2479 ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 28 สิงหาคม 2005
ข้อความ: 41
sompong2479 is on a distinguished road
Post

ข้อ 3. คำตอบเป็นเลขลงตัวสวยๆครับ (Hint: by parts)
__________________
INEQUALITY IS EVERYWHERE
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 30 มีนาคม 2006, 03:10
passer-by passer-by ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 เมษายน 2005
ข้อความ: 1,442
passer-by is on a distinguished road
Post

ข้อ 3

บน x ในช่วง [0,1]

ถ้า $ y= \sqrt[7]{1-x^{3}} $ ดังนั้น $ x= \sqrt[3]{1-y^{7}} $

และทำให้ $ \int_{0}^{1} \sqrt[7]{1-x^{3}} dx =\int_{0}^{1} \sqrt[3]{1-y^{7}} dy $

(เพราะ เราอินทิเกรตบนพื้นที่ใต้กราฟเดียวกัน เพียงแต่ LHS มองเทียบกับ x และ RHS มองเทียบกับ y)

สรุปว่า ข้อนี้ตอบ 0 ครับ


งั้นผม ถามข้อ 4 ต่อนะครับ

4. Calculate $$ \sum_{n=1}^{\infty}\frac{n^{2}}{2^{n}(n+1)} $$
__________________
เกษียณตัวเอง ปลายมิถุนายน 2557 แต่จะกลับมาเป็นครั้งคราว
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 30 มีนาคม 2006, 04:34
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post

3. จะพิสูจน์ Lemma ต่อไปนี้

Lemma : ให้ $f:[0,1]\rightarrow [0,1]$ เป็นฟังก์ชันที่มีอนุพันธ์ และ เป็นฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งโดยที่ $f(0) = 1$ และ $ f(1) = 0$ จะได้ว่า
$$
\int_{0}^{1} f(x) dx = \int_{0}^{1} f^{-1}(x) dx
$$

Proof : เพื่อความสะดวกให้ $g=f^{-1}$
ให้ $t = f(x)$ จะได้ $x = g(t)$ ดังนั้น $dx = g'(t)dt$ ซึ่งจะได้ว่า

$$
\int_{0}^{1} f(x) dx = \int_{1}^{0} tg'(t) dt = - \int_{0}^{1} tg'(t) dt = - [tg(t)]_{0}^{1} + \int_{0}^{1} g(t) dt = \int_{0}^{1} g(t) dt
$$

โดย integration by parts

ดังนั้นคำตอบข้อ 3 คือ 0 ครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น

22 มิถุนายน 2012 09:37 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 5 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ nooonuii
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 30 มีนาคม 2006, 10:33
sompong2479 sompong2479 ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 28 สิงหาคม 2005
ข้อความ: 41
sompong2479 is on a distinguished road
Thumbs up

ว้าวๆๆๆ เยี่ยมมากเลยครับสำหรับวิธีทำทั้งสองแบบ ของคุณ passer-by และ คุณ nooonuii
สำหรับวิธีของคุณ nooonuii มีจุดสำคัญอันหนึ่งครับ(ซึ่งตำราแคลเบื้องต้นเลี่ยงที่จะกล่าวถึง) สูตรการเปลี่ยนตัวแปรหรือเทคนิคการเปลี่ยนตัวแปร เวลาเรากำหนดตัวแปรใหม่ $u=f(x)$ มันสำคัญมากครับที่ $f$ ต้องเป็นฟังก์ชัน 1-1 บนช่วงการอินทิเกรต
ตัวอย่างเช่น $\int_{-\pi/2}^{\pi/2}\cos^2xdx$ ถ้าให้ $u=\cos x$ (ไม่ 1-1 บนช่วง $[-\pi/2,\pi/2]$) จะได้ช่วงการอินทิเกรตคือ $[\cos(-\pi/2),\cos(\pi/2)]=[0,0]$ ดังนั้นอินทิกรัลเท่ากับศูนย์ !!!
__________________
INEQUALITY IS EVERYWHERE

30 มีนาคม 2006 10:40 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ sompong2479
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 30 มีนาคม 2006, 11:15
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post

4. ให้ $ \displaystyle{ f(x) = \frac{2}{2-x} = \frac{1}{1-\frac{x}{2}} = \sum_{n=0}^{\infty} (\frac{x}{2})^n, \ 0\leq x \leq 1 }$
จะได้ว่า

$\displaystyle{ 2 = f'(1) = \sum_{n=1}^{\infty} \frac{n}{2^n} }$
$\displaystyle{ 2\ln{2} - 1 = \int_{0}^{1} f(x) dx - 1 = \sum_{n=1}^{\infty} \frac{1}{2^n(n+1)} }$

ดังนั้น

$\displaystyle{ \sum_{n=1}^{\infty} \frac{n^2}{2^n(n+1)} = \sum_{n=1}^{\infty} \frac{n}{2^n} - \sum_{n=1}^{\infty} \frac{1}{2^n} + \sum_{n=1}^{\infty} \frac{1}{2^n(n+1)} = 2 - 1 + 2\ln{2} - 1 = 2\ln{2} }$

__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 30 มีนาคม 2006, 11:57
Mastermander's Avatar
Mastermander Mastermander ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 ตุลาคม 2005
ข้อความ: 796
Mastermander is on a distinguished road
Post

ทำไม $$\int_0^1 \sqrt[7]{1-x^3}dx=\int_0^1\sqrt[3]{1-y^7}dy$$

ทำไมเป็น dy

WHY ??
__________________
โลกนี้มีคนอยู่ 10 ประเภท คือ คนที่เข้าใจเลขฐานสอง และคนที่ไม่เข้าใจ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 30 มีนาคม 2006, 19:07
passer-by passer-by ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 เมษายน 2005
ข้อความ: 1,442
passer-by is on a distinguished road
Post

ต้องบอกน้อง Mastermander ก่อนว่า สิ่งที่น้องเห็นในสมการนั้น ไม่ใช่การแปลงโฉมซ้ายมือ ให้เป็นขวามือนะครับ แต่เป็นการแสดงพื้นที่ใต้กราฟเป็น 2 มุมมอง คือ มองเทียบกับ แกน X (dx) และเทียบกับแกน Y (dy)

บนช่วงของ X ดังกล่าว ฟังก์ชัน $y= \sqrt[7]{1-x^{3}} $ มีจุดปลายวิ่งจาก (0,1) ไปยัง (1,0)

ถ้าต้องการหาพื้นที่ใต้กราฟ โดยมองเทียบกับแกน X จะได้

Area = $ \int_{0}^{1} \sqrt[7]{1-x^{3}} dx $

และถ้ามองเทียบแกน Y (เสมือนมองให้แกน Y อยู่แนวนอน และแกน X อยู่แนวตั้ง) ก็ต้องเขียน xเป็นฟังก์ชันของ y ให้ได้ก่อน ซึ่งก็จะได้ $ x= \sqrt[3]{1-y^{7}} $ จากนั้นก็อินทิเกรตหาพื้นที่ โดย

Area = $ \int_{0}^{1} \sqrt[3]{1-x^{7}} dy $

เนื่องจากเราพิจารณาพื้นที่เดียวกัน ก็เลยเกิดสมการที่ว่าข้างต้นครับ

ส่วนคำตอบคุณ nooonuii ถูกแล้วครับ และได้สิทธิ์ตั้งคำถามต่อไป
__________________
เกษียณตัวเอง ปลายมิถุนายน 2557 แต่จะกลับมาเป็นครั้งคราว
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #12  
Old 30 มีนาคม 2006, 19:45
Mastermander's Avatar
Mastermander Mastermander ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 ตุลาคม 2005
ข้อความ: 796
Mastermander is on a distinguished road
Post

ขอบคุณมากครับ
__________________
โลกนี้มีคนอยู่ 10 ประเภท คือ คนที่เข้าใจเลขฐานสอง และคนที่ไม่เข้าใจ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #13  
Old 30 มีนาคม 2006, 21:32
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post

5. จงหาจำนวนจริงทั้งหมดซึ่งเป็นคำตอบของสมการ

$2^x + 3^x + 6^x = 7^x$

__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #14  
Old 31 มีนาคม 2006, 02:40
sompong2479 sompong2479 ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 28 สิงหาคม 2005
ข้อความ: 41
sompong2479 is on a distinguished road
Post

5. $x=2$ only
__________________
INEQUALITY IS EVERYWHERE

31 มีนาคม 2006 04:58 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 4 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ sompong2479
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #15  
Old 31 มีนาคม 2006, 11:00
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post

ข้อ 5 x=2 เป็นคำตอบเพียงคำตอบเดียวถูกแล้วครับ แต่ทำไมไม่มีคำตอบอื่นครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
Geometry marathon Char Aznable เรขาคณิต 78 26 กุมภาพันธ์ 2018 21:56
Algebra Marathon nooonuii พีชคณิต 199 20 กุมภาพันธ์ 2015 10:08
Calculus Marathon (2) nongtum Calculus and Analysis 134 03 ตุลาคม 2013 16:32
Marathon Mastermander ฟรีสไตล์ 6 02 มีนาคม 2011 23:19
Inequality Marathon nongtum อสมการ 155 17 กุมภาพันธ์ 2011 00:48


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 06:47


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha