Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์ทั่วไป > ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #46  
Old 07 พฤศจิกายน 2004, 23:02
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Smile

ปัญหาที่น้อง MMR ถามมาจัดอยู่ในเรื่อง สมการเชิงฟังก์ชัน (Functional Equation) ซึ่งอย่างที่คุณ warut ว่าไว้ คือ TMO ครั้งที่ 1 เราช่วยกันเฉลยหมดแล้ว ลองดูที่คุณโนบีตะเฉลยไว้ ถ้าสงสัยอย่างไงก็ค่อยว่ามา ไม่น่าจะผิด

สำหรับเรื่องผู้สอบแข่งขัน อันนี้พี่ไม่ทราบครับว่าใครเป็นม้ามืดม้าสว่าง ฟังจากน้องที่ไปสอบมา นัยว่า อ.ไพศาล (สอนแคลคูลัสอยู่ จุฬา ฯ) เป็นคนออกข้อสอบชุดนี้ทั้งหมด ซึ่งได้เปรย ๆ ก่อนเด็กเข้าห้องสอบว่า ข้อสอบชุดนี้ออกง่ายมาก ท่าจะมีคนทำได้เต็ม ศูนย์ สอวน. แต่ละศูนย์มีวิทยากรอบรมไม่เหมือนกัน บางศูนย์ไม่ได้สอนเรื่องสมการเชิงฟังก์ชันนี้ตอนเข้าค่าย สอวน.เลย สำหรับ TMO ครั้งที่ 2 จะไปจัดที่อุบลราชธานี

สำหรับของน้อง Gools เพิ่งรู้ว่าแอบไปคิดปัญหาที่พี่ตั้งไว้สนุก ๆ (นี่ล่ะเรียกว่าม้ามืด ) ถ้าตอนกระจาย cos 6q กับ cos 7q มันหนักหน่วงเกินพิกัด ทำไมไม่ลองกลับมาถามดูเล่าครับว่า ทำไงไม่ให้มันหนักหน่วง ที่จริงพี่เข้าใจว่าน้อง PaoBunJin คนนั้นคงคิดที่ถามไว้เรียบร้อยแล้ว การกระจายง่าย ๆ แบบหนึ่งก็คือ ใช้สูตร recurrence ดังในหน้าที่ 4 ของเสริมชุดที่ 24 ซึ่งเป็นสูตรที่มีทั้งข้อดีและเสีย ซึ่งเราทำให้เป็นข้อดีเสียโดยมีสมุดบันทึกเล่มหนึ่ง จดบทพิสูจน์ ทบ. หรือ สูตร ทุกอย่างที่เราคิดว่ามีประโยชน์ไว้ อนาคตสมุดเล่มนั้นจะมีมูลค่ามากกว่าเพชร 100 กะรัต ในสมุดพี่บันทึกไว้ถึง cos 18q (ลืมบอกไปตอนหา cos 7q อาจใช้เทคนิคพื้น ๆ คือ cos 7q + cos q = ... แล้วก็กระจาย แล้วย้าย cos q ไป)

Note : สำหรับเนื้อหาในเสริมชุดที่ 24 ที่อ้างถึง เป็นเพียงการนำแคลมาประยุกต์ใช้ แต่การค้นพบช่วงแรกอาจจะไม่ได้มาแบบนั้น

ต่อข้อสงสัยที่ว่า เวลาทำ p/180 จะต้องกระจายอะไรออกมาแบบนี้หรือไม่ คำตอบมันตายตัวอยู่แล้วครับว่า ไม่ เด็ดขาด มนุษย์ที่ไหนจะทำได้เล่าครับ. อย่างเวลาเราถามว่า สปส.ของ x5 จากการกระจาย (2x4 - 5x3 + 4x2 - 7x + 6)(5x3 + 2x2 - 4x + 8) เราจำเป็นต้องกระจายจริง ๆ หรือ ไม่ใช่แน่นอนเราแค่นั่งมองแล้วก็ตอบได้เลย เช่นกัน การประยุกต์ทฤษฎีสมการกับตรีโกณ
ถ้า P(x) = xn + an - 1xn - 1 + an - 2xn - 2 + ... + a1x + a0 = 0
ถ้าถามว่าผลบวกของรากของสมการดังกล่าว คือ อะไร เราจะได้ว่าคือ
x1 + x2 + ... + xn = -an - 1 = S1
ทำนองเดียวกัน Sn - 1 = (-1)n - 1an - 1 (ใช้ตอนหาผลบวกพวก sec)

ถ้าเรามี cos3q = 4cos3q - 3cosq หรือ 4cos3q - 3cosq - cos 3q = 0

ถ้า a เป็นมุมบวกที่เล็กที่สุดที่ทำให้ cos 3q = cosa แล้วเราจะได้ว่า cos q = cos (a/3), cos (2p + a)/3, cos (2p - a)/3 (ทำไม ???) ถ้าประยุกต์กับ cos 5q, cos 7q จะได้ผลลัพธ์อย่างไร ..... ที่จริงคำถามแบบนี้ปราฏกอยู่ในเสริมชุดที่ 7 หน้าที่ 3 กับ 4 นิด ๆ มาแล้วครั้งหนึ่ง (???)

Note. ลองขยาย ทบ.ที่คิดได้ไปเล่นกับ sin กับ tan ดู ถ้าอยากเล่น

สำหรับของคุณ alongkorn เอกลักษณ์ดังกล่าว ถ้าเป็นบทความคิดว่ายังไม่เคยเขียน แต่ถ้าเป็นในบอร์ดรู้สึกว่าอาจจะมีนะครับ.

07 พฤศจิกายน 2004 23:24 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 3 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gon
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #47  
Old 25 สิงหาคม 2005, 21:22
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Cool

ขออนุญาตขุดครับ. บันทึกไว้เพื่อกันลืมอีกทีนิดนึง รู้สึกว่าชักสวยจะไปต่อได้ถึงกรณีทั่วไปหรือเปล่าน้อ

\[\sin \frac{2\pi}{7} + \sin \frac{4\pi}{7} + \sin \frac{8\pi}{7} = \frac{\sqrt{7}}{2} \]
\[\sin \frac{2\pi}{15} + \sin \frac{4\pi}{15} + \sin \frac{8\pi}{15} + \sin \frac{16\pi}{15} = \frac{\sqrt{15}}{2} \]
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #48  
Old 26 สิงหาคม 2005, 00:20
tunococ tunococ ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 เมษายน 2001
ข้อความ: 118
tunococ is on a distinguished road
Post

อ๋า... มาขุดเองเลยหรอครับ

ผมเห็นของแบบนี้ก็ปวดหัวแล้ว แต่จะว่าไป ก็อยากทำเป็นเหมือนกันแฮะ ... เผื่อจะได้มีเรื่องไปลงใน blog ของผม เพิ่ม

ป.ล.: ตอนนี้ใน blog กำลังเขียนเกี่ยวกับ Determinant อยู่ครับ เชิญชวนทุกท่านไปเยี่ยมชมได้
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #49  
Old 26 สิงหาคม 2005, 21:24
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Cool

ตรีโกณนี่้เป็นเรื่องชอบของผมครับ แตะมากไม่ได้เดี๋ยวติดลมบน เมื่อคืนวานว่าจะนอนเล่นสักหน่อย แต่พอเอาข้อศอกแตะพื้น ปรากฏว่าอยู่ ๆ ความคิดก็แล่นมาจากสวรรค์ เลยลองจรดดินสอลงบนกระดาษดู ปรากฏว่าสนุกมาก ๆ แนวคิดที่ปิ๊งออกมาใช้ได้จริง ๆ ผมเลยได้เอกลักษณ์ชุดใหม่ออกมาอีกแยะทีเดียว เอามาให้ดูบางส่วนเพิ่มเติมครับ
\[\cos \frac{\pi}{20} + \cos \frac{3\pi}{20} + \cos \frac{9\pi}{20} + \cos \frac{27\pi}{20}= \frac{\sqrt{10}}{2}\]
\[\cos \frac{2\pi}{21} + \cos \frac{8\pi}{21} + \cos \frac{32\pi}{21} = \frac{\sqrt{21} + 1}{4}\]
\[\cos \frac{\pi}{21} + \cos \frac{5\pi}{21} + \cos \frac{25\pi}{21} = \frac{\sqrt{21} - 1}{4}\]
\[\cos \frac{\pi}{28} + \cos \frac{9\pi}{28} + \cos \frac{81\pi}{28} = \frac{\sqrt{14} - \sqrt{2}}{4}\]
\[\cos \frac{13\pi}{28} + \cos \frac{117\pi}{28} + \cos \frac{1053\pi}{28} = \frac{\sqrt{14} + \sqrt{2}}{4}\]
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #50  
Old 06 มีนาคม 2006, 17:31
teachmaths teachmaths ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 กุมภาพันธ์ 2006
ข้อความ: 1
teachmaths is on a distinguished road
Arrow

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ gon:
ปัญหาที่น้อง MMR ถามมาจัดอยู่ในเรื่อง สมการเชิงฟังก์ชัน (Functional Equation) ซึ่งอย่างที่คุณ warut ว่าไว้ คือ TMO ครั้งที่ 1 เราช่วยกันเฉลยหมดแล้ว ลองดูที่คุณโนบีตะเฉลยไว้ ถ้าสงสัยอย่างไงก็ค่อยว่ามา ไม่น่าจะผิด

สำหรับเรื่องผู้สอบแข่งขัน อันนี้พี่ไม่ทราบครับว่าใครเป็นม้ามืดม้าสว่าง ฟังจากน้องที่ไปสอบมา นัยว่า อ.ไพศาล (สอนแคลคูลัสอยู่ จุฬา ฯ) เป็นคนออกข้อสอบชุดนี้ทั้งหมด ซึ่งได้เปรย ๆ ก่อนเด็กเข้าห้องสอบว่า ข้อสอบชุดนี้ออกง่ายมาก ท่าจะมีคนทำได้เต็ม ศูนย์ สอวน. แต่ละศูนย์มีวิทยากรอบรมไม่เหมือนกัน บางศูนย์ไม่ได้สอนเรื่องสมการเชิงฟังก์ชันนี้ตอนเข้าค่าย สอวน.เลย สำหรับ TMO ครั้งที่ 2 จะไปจัดที่อุบลราชธานี

สำหรับของน้อง Gools เพิ่งรู้ว่าแอบไปคิดปัญหาที่พี่ตั้งไว้สนุก ๆ (นี่ล่ะเรียกว่าม้ามืด ) ถ้าตอนกระจาย cos 6q กับ cos 7q มันหนักหน่วงเกินพิกัด ทำไมไม่ลองกลับมาถามดูเล่าครับว่า ทำไงไม่ให้มันหนักหน่วง ที่จริงพี่เข้าใจว่าน้อง PaoBunJin คนนั้นคงคิดที่ถามไว้เรียบร้อยแล้ว การกระจายง่าย ๆ แบบหนึ่งก็คือ ใช้สูตร recurrence ดังในหน้าที่ 4 ของเสริมชุดที่ 24 ซึ่งเป็นสูตรที่มีทั้งข้อดีและเสีย ซึ่งเราทำให้เป็นข้อดีเสียโดยมีสมุดบันทึกเล่มหนึ่ง จดบทพิสูจน์ ทบ. หรือ สูตร ทุกอย่างที่เราคิดว่ามีประโยชน์ไว้ อนาคตสมุดเล่มนั้นจะมีมูลค่ามากกว่าเพชร 100 กะรัต ในสมุดพี่บันทึกไว้ถึง cos 18q (ลืมบอกไปตอนหา cos 7q อาจใช้เทคนิคพื้น ๆ คือ cos 7q + cos q = ... แล้วก็กระจาย แล้วย้าย cos q ไป)

Note : สำหรับเนื้อหาในเสริมชุดที่ 24 ที่อ้างถึง เป็นเพียงการนำแคลมาประยุกต์ใช้ แต่การค้นพบช่วงแรกอาจจะไม่ได้มาแบบนั้น

ต่อข้อสงสัยที่ว่า เวลาทำ p/180 จะต้องกระจายอะไรออกมาแบบนี้หรือไม่ คำตอบมันตายตัวอยู่แล้วครับว่า ไม่ เด็ดขาด มนุษย์ที่ไหนจะทำได้เล่าครับ. อย่างเวลาเราถามว่า สปส.ของ x5 จากการกระจาย (2x4 - 5x3 + 4x2 - 7x + 6)(5x3 + 2x2 - 4x + 8) เราจำเป็นต้องกระจายจริง ๆ หรือ ไม่ใช่แน่นอนเราแค่นั่งมองแล้วก็ตอบได้เลย เช่นกัน การประยุกต์ทฤษฎีสมการกับตรีโกณ
ถ้า P(x) = xn + an - 1xn - 1 + an - 2xn - 2 + ... + a1x + a0 = 0
ถ้าถามว่าผลบวกของรากของสมการดังกล่าว คือ อะไร เราจะได้ว่าคือ
x1 + x2 + ... + xn = -an - 1 = S1
ทำนองเดียวกัน Sn - 1 = (-1)n - 1an - 1 (ใช้ตอนหาผลบวกพวก sec)

ถ้าเรามี cos3q = 4cos3q - 3cosq หรือ 4cos3q - 3cosq - cos 3q = 0

ถ้า a เป็นมุมบวกที่เล็กที่สุดที่ทำให้ cos 3q = cosa แล้วเราจะได้ว่า cos q = cos (a/3), cos (2p + a)/3, cos (2p - a)/3 (ทำไม ???) ถ้าประยุกต์กับ cos 5q, cos 7q จะได้ผลลัพธ์อย่างไร ..... ที่จริงคำถามแบบนี้ปราฏกอยู่ในเสริมชุดที่ 7 หน้าที่ 3 กับ 4 นิด ๆ มาแล้วครั้งหนึ่ง (???)

Note. ลองขยาย ทบ.ที่คิดได้ไปเล่นกับ sin กับ tan ดู ถ้าอยากเล่น

สำหรับของคุณ alongkorn เอกลักษณ์ดังกล่าว ถ้าเป็นบทความคิดว่ายังไม่เคยเขียน แต่ถ้าเป็นในบอร์ดรู้สึกว่าอาจจะมีนะครับ.

ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 03:28


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha