Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > คอมบินาทอริก
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 27 พฤศจิกายน 2010, 20:51
Influenza_Mathematics's Avatar
Influenza_Mathematics Influenza_Mathematics ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 พฤศจิกายน 2010
ข้อความ: 568
Influenza_Mathematics is on a distinguished road
Default Binomial

1. จงพิสูจน์
$\dbinom{m}{0}\dbinom{n}{k}+\dbinom{m}{1}\dbinom{n}{k-1}+..+\dbinom{m}{k}\dbinom{n}{0} = \dbinom{m+n}{k}$
2. จงพิสูจน์ $\dbinom{n}{1}+\dbinom{n}{3}+\dbinom{n}{5}+...+\dbinom{n}{q} = 2^{n-1}$ สำหรับ $q=n$ เมื่อ $n$ เป็นเลขคี่ $q=n-1$ เมื่อ $n$ เป็นเลขคู่

ขอคำแนะนำด้วยครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 27 พฤศจิกายน 2010, 20:56
LightLucifer's Avatar
LightLucifer LightLucifer ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 กันยายน 2008
ข้อความ: 2,352
LightLucifer is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Influenza_Mathematics View Post
1. จงพิสูจน์
$\dbinom{m}{0}\dbinom{n}{k}+\dbinom{m}{1}\dbinom{n}{k-1}+..+\dbinom{m}{k}\dbinom{n}{0} = \dbinom{m+n}{k}$
2. จงพิสูจน์ $\dbinom{n}{1}+\dbinom{n}{3}+\dbinom{n}{5}+...+\dbinom{n}{q} = 2^{n-1}$ สำหรับ $q=n$ เมื่อ $n$ เป็นเลขคี่ $q=n-1$ เมื่อ $n$ เป็นเลขคู่

ขอคำแนะนำด้วยครับ
ข้อ 1 ลองพิจรณาการเลือกคน k คนจากผู้ชาย m คนหญิง n คน ดูครับ
ข้อ 2 ลองพิสูจน์ว่า $\dbinom{n}{1}+\dbinom{n}{3}+\dbinom{n}{5}+...=\dbinom{n}{2}+\dbinom{n}{4}+\dbinom{n}{6}+...$
__________________
เหนือฟ้ายังมีฟ้าแต่เหนือข้าต้องไม่มีใคร

ปีกขี้ผื้งของปลอมงั้นสินะ


...โลกนี้โหดร้ายจริงๆ มันให้ความสุขกับเรา แล้วสุดท้าย มันก็เอาคืนไป...
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 27 พฤศจิกายน 2010, 20:59
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Influenza_Mathematics View Post
1. จงพิสูจน์
$\dbinom{m}{0}\dbinom{n}{k}+\dbinom{m}{1}\dbinom{n}{k-1}+..+\dbinom{m}{k}\dbinom{n}{0} = \dbinom{m+n}{k}$
นี่เรียกว่าเอกลักษณ์การเลือกคณะกรรมการครับ ในที่นี้จะพิสูจน์ในเชิงคอมบินาทอริก หลักการก็คือ เราคิดเสียว่ามีคนอยู่ m+n คน เราต้องการเลือกคนมา k คนเพื่อเป็นกรรมการซึ่งทำได้ = R.H.S. วิธี ตามโจทย์

แต่ในขณะเดียวกัน คนจำนวน m+n คนนี้ ถ้าเราคิิดว่ามีแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มละ m คน กับ n คน จากนั้นก็แบ่งกรณีย่อย ๆ ออกเป็นทั้งหมด k + 1 กรณี เช่น กรณีที่ 1, กลุ่มแรกเลือกมา 0 คน อีกกลุ่มเลือกมา k คน , กรณีที่ 2, ....

จากนั้นโดยกฎของการบวก ก็จะได้เอกลักษณ์ตามที่ต้องการครับ.

27 พฤศจิกายน 2010 21:00 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gon
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 27 พฤศจิกายน 2010, 21:09
Influenza_Mathematics's Avatar
Influenza_Mathematics Influenza_Mathematics ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 พฤศจิกายน 2010
ข้อความ: 568
Influenza_Mathematics is on a distinguished road
Default

ต่อไปเลยนะครับ
มีจุด $10$ จุด อยู่บนเส้นรอบวงของวงกลมมวงหนึ่ง จะสร้างรูปหลายเหลี่ยมนูนที่มีจุดยอดอยู่ในจุดเหล่านี้ได้ทั้งหมดกี่รูป
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 27 พฤศจิกายน 2010, 21:11
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Influenza_Mathematics View Post
ต่อไปเลยนะครับ
มีจุด $10$ จุด อยู่บนเส้นรอบวงของวงกลมมวงหนึ่ง จะสร้างรูปหลายเหลี่ยมนูนที่มีจุดยอดอยู่ในจุดเหล่านี้ได้ทั้งหมดกี่รูป
ก็แบ่งกรณีเช่นเคยครับ รูปสามเหลี่ยมมี $\binom{10}{?}$ รูป, รูปสี่้เหลี่ยมมี ... , ... , รูปสิบเหลี่ยมมี ...
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 27 พฤศจิกายน 2010, 21:15
LightLucifer's Avatar
LightLucifer LightLucifer ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 กันยายน 2008
ข้อความ: 2,352
LightLucifer is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Influenza_Mathematics View Post
ต่อไปเลยนะครับ
มีจุด $10$ จุด อยู่บนเส้นรอบวงของวงกลมมวงหนึ่ง จะสร้างรูปหลายเหลี่ยมนูนที่มีจุดยอดอยู่ในจุดเหล่านี้ได้ทั้งหมดกี่รูป
$\binom{10}{3}+\binom{10}{4}+...+\binom{10}{10}=2^{10}-1-10-45$
__________________
เหนือฟ้ายังมีฟ้าแต่เหนือข้าต้องไม่มีใคร

ปีกขี้ผื้งของปลอมงั้นสินะ


...โลกนี้โหดร้ายจริงๆ มันให้ความสุขกับเรา แล้วสุดท้าย มันก็เอาคืนไป...
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 28 พฤศจิกายน 2010, 15:05
Influenza_Mathematics's Avatar
Influenza_Mathematics Influenza_Mathematics ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 พฤศจิกายน 2010
ข้อความ: 568
Influenza_Mathematics is on a distinguished road
Default

ปล.หลายเหลี่ยมนูน (สี่เหลี่ยมนูนคืออะไร)
รูปภาพที่แนบมาด้วย
 
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 29 พฤศจิกายน 2010, 18:42
Influenza_Mathematics's Avatar
Influenza_Mathematics Influenza_Mathematics ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 พฤศจิกายน 2010
ข้อความ: 568
Influenza_Mathematics is on a distinguished road
Default

ปลุกหน่อยครับ ถ้าไม่มีเวลาเฉลยหมดจริงๆ ขอ hint ก็ได้ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 01 ธันวาคม 2010, 17:38
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Default

รูปหลายเหลี่ยมนูน (convex polygon) คือรูปหลายเหลี่ยมที่มุมภายในแต่ละุีมุมมีค่าน้อยกว่า 180 องศา

15.
$S = m! + \frac{(m+1)m!}{1!} + \frac{(m+2)(m+1)m!}{2!} + ... + \frac{(m+n)(m+n-1)...(m+1)m!}{n!}$

$= m![\binom{m}{0} + \binom{m+1}{1} + \binom{m+2}{2} + ... + \binom{m+n}{n}] = m!\binom{m+n+1}{n}$

01 ธันวาคม 2010 20:41 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gon
เหตุผล: n+1-->n
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 01 ธันวาคม 2010, 17:53
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Default

16. วิธีที่ 1.

เนื่องจาก $\binom{n}{r} = \frac{n}{r}\binom{n-1}{r-1}$

ดังนั้น $$\sum_{r = 1}^{n}r^2 \binom{n}{r} = \sum_{r = 1}^{n}nr \binom{n-1}{r-1} = n\sum_{r = 1}^{n}r\binom{n-1}{r-1}$$$$=n\sum_{r = 1}^{n}[(r-1)+1]\binom{n-1}{r-1} = n[\sum_{r = 1}^{n}(r-1)\binom{n-1}{r-1}+\sum_{r = 1}^{n}\binom{n-1}{r-1}]$$$$=n[(n-1)2^{n-2}+2^{n-1}]$$(ประยุกต์เอกลักษณ์ $\sum_{r = 1}^{n}r\binom{n}{r} = n\cdot 2^{n-1}$)
$$=n\cdot 2^{n-2}[n-1+2] = n(n+1)2^{n-2}$$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 01 ธันวาคม 2010, 18:02
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Default

16.1 วิธีที่ 2.

เนื่องจาก $(1+x)^n = \sum_{r = 0}^{n}\binom{n}{r}x^r$

หาอนุพันธ์เทียบกับ x จะได้

$n(1+x)^{n-1} = \sum_{r = 0}^{n}r\binom{n}{r}x^{r-1} ~~~...(1)$

หาอนุพันธ์เทียบกับ x จะได้

$(n-1)n(1+x)^{n-2} = \sum_{r = 0}^{n}r(r-1)\binom{n}{r}x^{r-2}$

นำ x คูณทั้งสองข้างจะได้

$(n-1)n(1+x)^{n-2}x = \sum_{r = 0}^{n}r(r-1)\binom{n}{r}x^{r-1}~~~...(2)$

(1)+(2) , $n(1+x)^{n-1} + (n-1)n(1+x)^{n-2}x = \sum_{r = 0}^{n}r^2\binom{n}{r}x^{r-1} $

แทนค่า x = 1 จะได้

$n\cdot 2^{n-1}+(n-1)n\cdot 2^{n-2} = \sum_{r = 0}^{n}r^2\binom{n}{r}$

เมื่อจัดรูป ก็จะได้เหมือนวิธีที่ 1.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
ปัญหาชิงรางวัลข้อที่ 12: Divisibility of Central Binomial Coefficients warut คณิตศาสตร์อุดมศึกษา 11 25 กุมภาพันธ์ 2006 00:19
Binomial Expansion modulo ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป 2 13 พฤศจิกายน 2005 03:07
binomial problem brother ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป 3 17 เมษายน 2005 19:47
โจทย์ของ simple[2] (โจทย์ binomial) infinity ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป 2 21 กันยายน 2002 17:59


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 04:59


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha