Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์ทั่วไป > ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 24 กุมภาพันธ์ 2002, 17:04
maracana maracana ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 กุมภาพันธ์ 2002
ข้อความ: 8
maracana is on a distinguished road
Icon18 Nested Radical

ช่วยคิดหน่อย
ให้พิสูจน์ว่า
__________________
There's some good in this world, and it's worth fighting for.

24 กุมภาพันธ์ 2002 17:08 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ maracana
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 25 กุมภาพันธ์ 2002, 15:44
TOP's Avatar
TOP TOP ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 มีนาคม 2001
ข้อความ: 1,003
TOP is on a distinguished road
Red face

รอน้องๆมาช่วยคิดตั้งนานแล้ว ลองไปดูที่หัวข้อ โจทย์ของคนมีระดับ
__________________
The difference between school and life?
In school, you're taught a lesson and then given a test.
In life, you're given a test that teaches you a lesson.

11 เมษายน 2007 07:27 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gon
เหตุผล: Tag Post
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 26 กุมภาพันธ์ 2002, 14:24
maracana maracana ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 กุมภาพันธ์ 2002
ข้อความ: 8
maracana is on a distinguished road
Icon18

พอจะทำได้แล้ว (จะทำข้อ 3 ของโจทย์ของคนมีระดับก่อน)
จาก (x+n+a)^2 = (n+a)^2 + 2(n+a)x + x^2
= ax + (n+a)^2 + x[(x+n+a)+n]
นั่นคือ (i) x+a+n = sqrt(ax + (n+a)^2 + x[(x+n+a)+n])
จาก (i) แทนค่า x ด้วย x+n
(ii) (x+n+a)+n = sqrt(a(x+n) + (n+a)^2 + (x+n)[(x+2n+a)+n])
แทนค่า (ii) ลงใน (i) ตรงวงเล็บ [ ] ทางขวาของ (i)
(iii) x+a+n = sqrt(ax + (n+a)^2 + x*sqrt(a(x+n) + (n+a)^2 + (x+n)[(x+2n+a)+n]))
ทำซ้ำโดยแทนค่า x ด้วย x+2n ใน (i)
(iv) (x+2n+a)+n = sqrt(a(x+2n) + (n+a)^2 + (x+2n)[(x+3n+a)+n])
แทนค่า (iv) ลงใน (iii) ตรงวงเล็บ [ ] ทางขวาของ (iii)
(v) x+a+n = sqrt(ax + (n+a)^2 + x*sqrt(a(x+n) + (n+a)^2 + (x+n)*sqrt(a(x+2n) + (n+a)^2 + (x+2n)[(x+3n+a)+n])))
โดยการทำซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ จะได้
x+a+n = sqrt(ax + (n+a)^2 + x*sqrt(a(x+n) + (n+a)^2 + (x+n)*sqrt(a(x+2n) + (n+a)^2 + (x+2n)*sqrt(...))))
ตามต้องการ
เมื่อแทนค่า x=2, a=0, n=1 จะได้
3 = sqrt(1 + 2sqrt(1 + 3sqrt(1 + 4sqrt(...))))

แต่จะแสดงว่ามัน converge ได้อย่างไร
__________________
There's some good in this world, and it's worth fighting for.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 26 มีนาคม 2002, 16:53
TOP's Avatar
TOP TOP ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 มีนาคม 2001
ข้อความ: 1,003
TOP is on a distinguished road
Post

การทำ recursive ไปเรื่อยๆยังไม่สามารถใช้พิสูจน์ได้ว่ามันได้ค่านั้นจริงๆ เช่น

6 = 2(18) = 22(162) = 222(13122) = 2222(86093442) = 22222...

2 = 2(2) = 22(2) = 222(2) = 2222(2) = 2222...

\ เราจึงไม่สามารถสรุปได้ว่า
3 =1+216 = 1+21+325 = 1+21+31+436 = 1+21+31+41+5...
__________________
The difference between school and life?
In school, you're taught a lesson and then given a test.
In life, you're given a test that teaches you a lesson.

26 มีนาคม 2002 16:59 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 3 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ TOP
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 04 เมษายน 2002, 12:10
<NoName>
 
ข้อความ: n/a
Post

ข้อนี้แก้ด้วย squeez theorem โดยการพิสูจน์ว่า lower bound และ upper bound ของ recursive radical มีค่าเท่ากับ 3 แต่ต้องมีความรู้เรื่อง functional เล็กน้อย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 30 มกราคม 2003, 10:40
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

มาดูวิธีทำแบบยืดยาดของผมกันดีก่า

เริ่มจากให้ {an} เป็นลำดับต่อไปนี้
a1 = 1+2
a2 = 1+21+3
a3 = 1+21+31+4
a4 = 1+21+31+41+5
...
จะเห็นว่าสิ่งที่เราต้องการก็คือค่าของลิมิตของลำดับ {an} นั่นเอง

เพื่อช่วยในการพิสูจน์เราสร้างลำดับ {bn} ขึ้นมาดังนี้
b1 = 9 = 3
b2 = 1+216 = 3
b3 = 1+21+325 = 3
b4 = 1+21+31+436 = 3
...
ดังนั้น bn = 3 "nN และ 3 ก็คือค่าลิมิตของลำดับ {bn}

มาถึงจุดนี้ถ้าเราต้องการแค่แสดงว่า {an} เป็นลำดับที่คอนเวอร์จก็เพียงให้สังเกตว่า
1. {an} เป็น monotonic increasing sequence นั่นคือ an an+1 "nN
2. {an} เป็นลำดับที่มี upper bound เพราะ an bn = 3 "nN
เราก็จะรู้ได้ทันทีว่า {an} คอนเวอร์จ

แต่เนื่องจากเราต้องการหาลิมิตของ an เราสามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปได้
แล้วมาพิจารณาค่าของ limn (an - bn) แทน ซึ่งถ้าเราหาได้ว่าลิมิต
นี้เท่ากับ 0 เราก็จะรู้ทันทีว่าลำดับ {an} คอนเวอร์จและมีค่าลิมิตเท่ากับ 3

เพื่อช่วยในการพิสูจน์และทำให้การนิยามลำดับ {an} และ {bn} รัดกุมยิ่งขึ้น
อีกทั้งยังสามารถใช้เป็น algorithm ในการคำนวณหาค่าของ an ด้วยคอมพิวเตอร์ได้
ผมจะสร้าง arrays {an,k} และ {bn,k} โดยที่ nN และ 0 k n ขึ้นดังนี้
an,0 = n+1
an,k = (n-k+1)1+an,k-1
bn,0 = (n+1)(n+3)
bn,k = (n-k+1)1+bn,k-1

จะเห็นว่า
an,n = an
bn,n = bn
an,k 0
bn,k = (n-k+1)(n-k+3)
bn,k+1 = (n-k+2)2

ดังนั้นเราจะได้ว่า
bn,k - an,k
= (n-k+1){1+bn,k-1 - 1+an,k-1}
= (n-k+1)(bn,k-1 - an,k-1)/{1+bn,k-1 + 1+an,k-1}
= (n-k+1)(bn,k-1 - an,k-1)/{(n-k+3) + 1+an,k-1}
{(n-k+1)/(n-k+4)}(bn,k-1 - an,k-1)

ดังนั้น(อีกที)
0 bn - an = bn,n - an,n {n!/((n+3)!/6)}(bn,0 - an,0) = 6/(n+3)

เนื่องจากเรารู้ว่า limn 6/(n+3) = 0 เราจึงสามารถสรุปได้แล้วว่า limn an = 3

18 พฤศจิกายน 2003 05:48 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 5 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ warut
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 31 มกราคม 2003, 13:39
TOP's Avatar
TOP TOP ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 มีนาคม 2001
ข้อความ: 1,003
TOP is on a distinguished road
Lightbulb

ให้ xn = 1 + (n + 1)1 + (n + 2)1 + (n + 3)1 + ...
จะได้ xn = 1 + (n + 1) xn + 1 ----- (1)

เนื่องจาก 1 + (n + 1)(n + 1 + a) = [n + (a + 2)/2]2 + [a + 2 - [(a + 2)/2]2]
โดย [a + 2 - [(a + 2)/2]2] 0 ก็ต่อเมื่อ |a| 2
หรือ 1 + (n + 1)(n + 1 + a) n + (a + 2)/2 ก็ต่อเมื่อ |a| 2 ----- (2)

หากเราพิสูจน์ได้ว่า xn n + a โดยที่ |a| 2 และใช้อสมการ (2) กับสมการ (1) จะได้
xn = 1 + (n + 1)xn + 1 1 + (n + 1)(n +1 + a) n + (a + 2)/2
เนื่องจาก |(a + 2)/2| 2 เสมอ หากเราทำซ้ำอสมการใหม่ที่ได้กับอสมการ (2) และสมการ (1) ไปเรื่อยๆ ค่า a ใหม่ที่ได้ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของ a เดิม กับ 2 จะขยับเข้าหา 2 เรื่อยๆ ดังนั้นเมื่อทำซ้ำไม่รู้จบจึงได้
xn n + 2

ในทำนองเดียวกัน หากเราพิสูจน์ได้ว่า xn < b (n + 2) โดยที่ b 1 จะได้
xn = 1 + (n + 1)xn + 1 < 1 + (n + 1)(bn + 3b) b (n + 2)
หากเราทำซ้ำอสมการที่ได้ไปเรื่อยๆ จะได้ค่า b ใหม่ขยับเข้าใกล้ 1 ดังนั้นเมื่อทำซ้ำไม่รู้จบจึงได้
xn n + 2

หากเราหาค่า a และ b ดังกล่าวมาได้ จะสรุปได้ว่า n + 2 xn n + 2 หรือ xn = n + 2 นั่นเอง

เนื่องจาก xn > 1 + (n + 1)1 + (n + 1)1 + ... > n + 1 เมื่อ n > -1 หรือ a = 1 นั่นเอง

เนื่องจาก xn (n + 2)(n +3)(n + 4)(n + 5) ... เมื่อ n -2
xn (n + 2)2(n + 2)4(n + 2)8(n + 2) ... = 2 (n + 2) หรือ b = 2 นั่นเอง

จากค่า a และ b ดังกล่าวสรุปได้ว่า xn = n + 2 เมื่อ n > -1 จึงได้ x1 = 3
__________________
The difference between school and life?
In school, you're taught a lesson and then given a test.
In life, you're given a test that teaches you a lesson.

01 กุมภาพันธ์ 2003 15:39 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ TOP
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 18 พฤศจิกายน 2003, 04:36
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Icon18

โทษทีครับที่เพิ่งมาตอบ

ถ้าจะมองในแง่การพิสูจน์ให้ rigorous แล้ววิธีของคุณ TOP จะมีปัญหาตั้งแต่
บรรทัดแรกเลยครับ เพราะเรายังไม่รู้เลยว่า nested radicals ในบรรทัดแรกลู่เข้า
รึเปล่า เราจึงยังไม่สามารถกำหนดให้มันเท่ากับอะไรได้ จริงๆแล้วเรายังพูดถึงการ
ลู่เข้าไม่ได้ด้วยซ้ำไป เพราะเรายังไม่ได้กำหนดว่า ... ในที่นี้หมายถึงลำดับอนันต์อะไร
(เหมือนกับในเรื่องผลบวกของอนุกรมอนันต์ที่เราต้องกำหนดว่ามันคือลิมิตของ
ลำดับของผลบวกย่อย)

แต่ยังไงก็ขอขอบคุณคุณ TOP มากเลยครับที่ได้มาแสดงวิธีทำให้ดู
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 18 พฤศจิกายน 2003, 10:09
TOP's Avatar
TOP TOP ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 มีนาคม 2001
ข้อความ: 1,003
TOP is on a distinguished road
Talking

ไม่ได้เจอคุณ warut ตั้งนาน ช่วงนี้งานเยอะสิครับ

สำหรับเหตุผลของการลู่เข้า ผมแสดงไว้ตอนท้าย ตรงหาค่า a และ b ออกมา ซึ่งไม่ได้อ้างอิงสมการด้านบนแต่อย่างใด จะได้

n + 1 < 1 + (n + 1)1 + (n + 2)1 + (n + 3)1 + ... 2 (n + 2) เมื่อ n > -1

จากนั้นผมก็แก้ไขขอบเขตให้แคบเข้า จนขอบเขตบนและล่างเป็นค่าเดียวกัน
(สำหรับบรรทัดแรก ผมเขียนเพื่อให้ดูสมการตอนปรับขอบเขตได้ง่ายขึ้น คุณ warut จะลองแทน
xn ด้วย 1 + (n + 1)1 + (n + 2)1 + (n + 3)1 + ... ทั้งหมดก็ย่อมได้)
__________________
The difference between school and life?
In school, you're taught a lesson and then given a test.
In life, you're given a test that teaches you a lesson.

18 พฤศจิกายน 2003 10:31 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ TOP
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 13 กันยายน 2004, 07:17
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

ผมควรจะมาตอบตั้งนานแล้วแต่ก็ไม่ได้ทำสักที แย่จริงๆ
จนกระทั่งได้แรงกระตุ้นจากบทความใหม่ของคุณ gon นี่แหละจึงได้เข้ามาตอบ

คืออย่างนี้ครับ ตามความเห็นของผม ปัญหาในการพิสูจน์ของคุณ TOP อยู่ที่คุณ TOP
กำหนดให้ xn = 1 + (n + 1)1 + (n + 2)1 + (n + 3)1 + ...
เนื่องจาก "..." นี่แหละที่ทำให้ xn ไม่ "well-defined" เพราะเราไม่รู้ว่าเจ้า "..." เนี่ย
มันจะนำเราไปทางไหนสำหรับแต่ละค่าของ n มันอาจจะลู่เข้า หรือไปสู่อนันต์ หรือค่า
มันอาจแกว่งไปมาก็ได้ พูดให้เจาะจงลงไปก็คือเราไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่า x1 หาค่าได้หรือไม่
อาจเป็นไปได้ด้วยซ้ำว่า x1 คอนเวอร์จ แต่ x2 ไดเวอร์จ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง x1
ก็ไม่เท่ากับ 1 + 2x2

ในการพิสูจน์การลู่เข้าของ xn คุณ TOP อ้างถึงสมการ xn = 1 + (n + 1)xn+1 แต่เราไม่
มีทางรู้ว่าสมการนี้เป็นจริงหรือไม่ตราบใดที่เรายังไม่รู้ว่า xn หาค่าได้ (ลู่เข้า) "nN
แค่การจับเอา n + 1 ไปแทนค่า n ในนิยามของ xn ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการพิสูจน์สมการ
ดังกล่าว ทั้งนี้เป็นเพราะมีการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นอนันต์ครั้งในสูตร

ตามความเห็นของผม การพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ที่ "rigorous" ใดๆจำเป็นต้องหลีกเลี่ยง
operation ที่ทำเป็นอนันต์ครั้งโดยที่ยังไม่ "well-defined" เสมอ ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้
ประกอบนะครับ

กำหนดให้ f(t) = 1 + t + t2 + t3 + ...
จะได้ว่า 1 + t*f(t) = 1 + t(1 + t + t2 + ...) = 1 + t + t2 + ... = f(t)
ให้ t = 2 จะได้ 1 + 2f(2) = f(2) ดังนั้น f(2) = -1 เกิดความผิดพลาดขึ้นแล้วไง!

ไม่รู้ว่าคุณ TOP พอจะมองเห็นประเด็นที่ผมพยายามพูดอยู่รึป่าว

13 กันยายน 2004 09:58 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 8 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ warut
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 13 กันยายน 2004, 10:58
TOP's Avatar
TOP TOP ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 มีนาคม 2001
ข้อความ: 1,003
TOP is on a distinguished road
Smile

ผมเข้าใจประเด็นนั้นครับ และขอบเขตของ xn ก็แสดงไว้ตรงนี้แล้วครับ (น่าจะถูกนะครับ)
1 + (n + 1)1 + (n + 2)1 + (n + 3)1 + ... > 1 + (n + 1)1 + (n + 1)1 + ... > n + 1 เมื่อ n > -1
1 + (n + 1)1 + (n + 2)1 + (n + 3)1 + ... (n + 2)(n +3)(n + 4)(n + 5) ... (n + 2)2(n + 2)4(n + 2)8(n + 2) ... = 2 (n + 2) เมื่อ n -2
ดังนั้น
n + 1 < 1 + (n + 1)1 + (n + 2)1 + (n + 3)1 + ... 2 (n + 2) เมื่อ n > -1
ตรงจุดนี้ผมยังไม่รู้ว่าลู่เข้าค่าใดค่าหนึ่งหรือไม่ แต่ค่าของ xn อยู่ในช่วงนี้แน่ๆ
จากนั้นผมก็หาวิธีปรับปรุง ขอบเขตบนและล่างของ xn ให้ดีขึ้น (ตามวิธีที่ได้บอกไว้ตอนแรก) จนสุดท้ายสรุปได้ว่า ขอบเขตบนและล่างเป็นค่าเดียวกัน จึงสรุปได้ว่า xn นั้นลู่เข้าจริง และมีค่าเป็น n+2

เพียงแต่ผมนำวิธีปรับปรุง ขอบเขตบนและล่างของ xn มานำเสนอก่อน และบอกไว้ว่าถ้าหาขอบเขตบน และล่างมาได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด (หากเราพิสูจน์ได้ว่า xn ...) จะสรุปได้ว่า xn = n + 2 ถ้าหาขอบเขตตามเงื่อนไขดังกล่าวไม่ได้ ก็สรุปไม่ได้ถูกไหมครับ

ตัวอย่างที่คุณ warut ให้มานั้น f(t) ไม่มีขอบเขตตั้งแต่แรกแล้วนี่ครับ และถ้าจะทำแบบเดียวกับที่ผมทำก็จะเป็นลักษณะนี้ครับ
เริ่มจากขอบเขตล่าง เมื่อ t > 0
f(t) > 1
1 + t*f(t) = f(t) > 1 + t (1) > 1 + t ซึ่งก็ถูกต้อง ทำซ้ำอีกครั้งจะได้
1 + t*f(t) = f(t) > 1 + t (1 + t) > 1 + t + t2 ซึ่งก็ถูกต้องอีก
ทำไปเรื่อยๆก็จะได้ขอบเขตล่างที่ดีขึ้น

เอาเป็นว่าผมเรียบเรียงวิธีพิสูจน์ใหม่ ให้ดูครึ่งหนึ่งแล้วกันนะครับ และจะไม่พูดถึง xn อีก (ที่เขียนในรูป xn เพื่อให้อ้างอิงสมการยาวๆได้ง่ายแค่นั้นละครับ ไม่ได้เน้นตรงที่เป็นสมการเลย)

เนื่องจาก 1 + (n + 1)(n + 1 + a) = [n + (a + 2)/2]2 + [a + 2 - [(a + 2)/2]2]
โดย [a + 2 - [(a + 2)/2]2] 0 ก็ต่อเมื่อ |a| 2
หรือ 1 + (n + 1)(n + 1 + a) n + (a + 2)/2 ก็ต่อเมื่อ |a| 2

และเนื่องจาก 1 + (n + 1)1 + (n + 2)1 + (n + 3)1 + ... > 1 + (n + 1)1 + (n + 1)1 + ... > n + 1 เมื่อ n > -1
หรือ 1 + (n + 2)1 + (n + 3)1 + (n + 4)1 + ... > n + 2 เมื่อ n > -2
ดังนั้น
1 + (n + 1)1 + (n + 2)1 + (n + 3)1 + ... > 1 + (n + 1)(n + 1 + 1) n + 3/2
จากนั้นทำซ้ำขั้นตอนเดิมๆ ไปเรื่อยๆสุดท้ายจะได้
1 + (n + 1)1 + (n + 2)1 + (n + 3)1 + ... n + 2
__________________
The difference between school and life?
In school, you're taught a lesson and then given a test.
In life, you're given a test that teaches you a lesson.

13 กันยายน 2004 17:00 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ TOP
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #12  
Old 13 กันยายน 2004, 19:29
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Lightbulb

ในที่สุดผมก็มาถึงบางอ้อเสียที ต้องขอโทษคุณ TOP ด้วยที่ต้องเสียเวลามาพิมพ์
มากมายหลายครั้งเพื่ออธิบาย ตอนนี้ผมคิดว่าผมเข้าใจแนวคิดของคุณ TOP จริงๆ
แล้วล่ะ (ก็มันลึกซึ้งยากที่จะหยั่งถึงนี่นา) ถ้ามีโอกาสผมจะศึกษาการพิสูจน์ของคุณ
TOP ในรายละเอียดอีกที ยังไงก็ขอบคุณมากๆครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #13  
Old 23 ธันวาคม 2008, 22:23
Mathephobia's Avatar
Mathephobia Mathephobia ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 22 กันยายน 2008
ข้อความ: 42
Mathephobia is on a distinguished road
Default

How do we prove this Identities :
$$x+n+a=\sqrt{ax+(n+a)^2+x\sqrt{a(x+n)+(n+a)^2+(x+n)\sqrt{a(x+2n)+(n+a)^2+(x+2n)\sqrt{...}}}}$$
__________________
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด
ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด
ผู้ที่มีเกียรติ คือ ผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #14  
Old 24 เมษายน 2009, 10:52
Anonymous314's Avatar
Anonymous314 Anonymous314 ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 16 มีนาคม 2008
ข้อความ: 546
Anonymous314 is on a distinguished road
Default

ขุดกระทู้หน่อยนะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 00:31


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha