Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > Calculus and Analysis
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 05 กรกฎาคม 2008, 23:36
Anonymous314's Avatar
Anonymous314 Anonymous314 ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 16 มีนาคม 2008
ข้อความ: 546
Anonymous314 is on a distinguished road
Default ช่วยด้วยครับ

มีวิธีดูหรือเปล่าครับ ว่าพหุนามนี้ไม่มีรากจริงเลย หรือมี

05 กรกฎาคม 2008 23:37 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Anonymous314
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 06 กรกฎาคม 2008, 08:57
owlpenguin's Avatar
owlpenguin owlpenguin ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 มีนาคม 2008
ข้อความ: 386
owlpenguin is on a distinguished road
Default

อย่างน้อยที่ผมนึกออกก็คือ
ถ้าเป็นกำลังคี่ มันก็ต้องมีรากจริงๆอย่างน้อบ 1 ราก ส่วนจะหาค่าออกมาได้แบบเป๊ะๆหรือเปล่านี่ก็อีกเรื่องหนึ่งครับ
ส่วนถ้าเป็นกำลังคู่... ถ้าดิฟพหุนาม มันจะได้พวก local extremum (ซึ่งตรงนี้จะออกมาเป็นพหุนามกำลังคี่ นั่นคือต้องมีอย่างน้อย 1 ราก) ก็ลองแทนแต่ละตัวดู (คิดว่าสามารถหาได้จาก Newton's Method) ถ้ามันมีอันที่แทนแล้วมันน้อยกว่า 0 ก็แสดงว่ามันต้องตัดแกน x สักที่หนึ่ง ใช่ไหมครับ?
แต่ถ้ามันมากกว่า 0 หมด ก็แสดงว่ามันไม่ตัดแกน x เลย

แบบนี้ได้ไหมครับ?

06 กรกฎาคม 2008 08:59 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ owlpenguin
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 06 กรกฎาคม 2008, 20:31
JanFS JanFS ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 26 มิถุนายน 2008
ข้อความ: 40
JanFS is on a distinguished road
Default

ใช่ครับ ปัญหามันอยู่ที่ดีกรีสูงสุดเป็นคู่
ถ้าถึงจุดนั้นแล้ว ก็ต้องงัดความสามารถอสมการออกมาใช้แล้วละครับ โดยแยกพิจารณาบวกกับลบเป็นสองพหุนาม (ได้มาจากแทน $x$ ด้วย $-x$)
หรือแล้วแต่เทคนิคแต่ละคนนะครับ
__________________
ผักกาด - Pakaj
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 06 กรกฎาคม 2008, 23:31
Anonymous314's Avatar
Anonymous314 Anonymous314 ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 16 มีนาคม 2008
ข้อความ: 546
Anonymous314 is on a distinguished road
Default

อย่าง $217 + 378 x + 333 x^2 + 175 x^3 + 56 x^4 + 11 x^5 + x^6$ ทำอย่างไรครับ ว่าไม่มีรากจริงอยู่เลย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 07 กรกฎาคม 2008, 02:05
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Anonymous314 View Post
อย่าง $217 + 378 x + 333 x^2 + 175 x^3 + 56 x^4 + 11 x^5 + x^6$ ทำอย่างไรครับ ว่าไม่มีรากจริงอยู่เลย
มีครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 07 กรกฎาคม 2008, 19:58
Anonymous314's Avatar
Anonymous314 Anonymous314 ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 16 มีนาคม 2008
ข้อความ: 546
Anonymous314 is on a distinguished road
Default

ขอโทษทีครับ ยกตัวอย่างผิด ถ้าเป็นอย่างนี้หละครับ
$3898+4104x+2241x^2+720x^3+145x^4+16x^5+x^6=0$ หละครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 08 กรกฎาคม 2008, 08:20
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

การวิเคราะห์รากของพหุนามที่มีกำลังมากกว่าสาม
ผมว่ายังคงยากอยู่มากๆเลยครับ
ตอนนี้ก็ยังมีการทำวิจัยกันอยู่เลย
ทั้งแบบ algebraic และ analytic

ในทางทฤษฎีเราสามารถแยกตัวประกอบพหุนาม
ที่มีส.ป.ส. เป็นจำนวนจริงให้อยู่ในรูปผลคูณของ
พหุนามเชิงเส้นกับพหุนามกำลังสองได้เสมอ
แต่ในทางปฏิบัติการแยกตัวประกอบดังกล่าวทำได้ยากมากครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 08 กรกฎาคม 2008, 18:06
owlpenguin's Avatar
owlpenguin owlpenguin ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 มีนาคม 2008
ข้อความ: 386
owlpenguin is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ nooonuii View Post
...ในทางทฤษฎีเราสามารถแยกตัวประกอบพหุนาม
ที่มีส.ป.ส. เป็นจำนวนจริงให้อยู่ในรูปผลคูณของ
พหุนามเชิงเส้นกับพหุนามกำลังสองได้เสมอ...
อันนี้เป็นผลโดยตรงจาก Fundamental Theorem of Algebra ใช่ไหมครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 09 กรกฎาคม 2008, 07:23
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

มาจากทฤษฎีที่ว่า

ถ้า $a+bi$ เป็นรากของ $P(x)$ แล้ว $a-bi$ เป็นรากของ $P(x)$ ด้วย

ดังนั้นพหุนามลดทอนไม่ได้บน $\mathbb{R}$ จะอยู่ในรูป $x-a$ หรือ $x^2-2ax+a^2+b^2$ ครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 09:33


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha