Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์ทั่วไป > ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 12 ธันวาคม 2006, 10:59
Redhotchillipepper Redhotchillipepper ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 01 พฤศจิกายน 2006
ข้อความ: 55
Redhotchillipepper is on a distinguished road
Cool ถ้าจะตีพิมพ์ผลงานคณิตศาสตร์ ต้องทำอย่างไร??

อยากทราบว่าเวลาที่คนเค้าคิดทฎษฎีบท แล้วตีพิมพ์ผลงาน ออกมาต้องผ่านขั้นตอนอะไรบ้างครับ?? ต้องผ่านการตรวจสอบจากใครบ้าง?? คือว่าตอนนี้ผม กำลังคิดหาระเบียบวิธี การหารากสมการพหุนามกำลัง n โดยใช้แคลคูลัสมาช่วยน่ะคับ แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ดี เอาไว้ถ้าเสร็จสมบูรณ์ แล้วจะมาบอกกับพี่ๆอีกทีคับ แต่ตอนนี้อยากถามก่อนว่า ถ้าสมมุติว่าผมคิดทฎษฎีใหม่ ได้จริงๆ แล้วอยากตีพิมพ์ออกมาเพื่อเป็นความรู้แก่ผู้อื่น และเป็นเกียรติแก่ตัวเอง จะต้องทำอย่างไรบ้างคับ??

ปล. ทฎษฎีของ Abel-Ruffini ผมเคยอ่านมาแล้ว แต่ผมคิดว่าน่าจะมีทางเลือกอื่นนะคับ ในการหารากของพหุนามกำลัง n
__________________
ไม่เอาน่าอย่าซีเรียส คิดมากเยี่ยวเหลือง!!!!
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 12 ธันวาคม 2006, 23:57
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Smile

ผมก็ไม่รู้เหมือนกันครับว่ามันยังไง ถ้าเป็นพวกอาจารย์ที่อยู่ในมหาวิทยาลัย เขาคงไปเสนอในที่ประชุมงานต่างๆกระมัง อืม...ถ้าจะเขียนเป็นภาษาอังกฤษอย่างเว็บนี้ก็น่าจะได้นะครับ... arxiv ไม่รู้ว่ามีใครมีประสบการณ์กับที่นี่บ้างหรือเปล่า

ไม่เก่งภาษาอังกฤษกับไม่ได้อยู่ในวงการนี่มันก็ดูมมืดๆตันชอบกลนะครับ มีบทความที่ผมเคยเขียนร่วมกับ Prof. ที่อเมริกาคนหนึ่งก็กว่าจะตกลงได้ลงนิตยสารอังกฤษแน่ๆก็นานน่าดูเหมือนกันเป็นปีเลย

ยังไงถ้าสนใจจะลงของไทยเรา หากคิดได้สำเร็จจริงก็ส่งมาที่นิตยสาร MY MATHS ได้ครับ... อาจจะไม่ถึงขั้นตรวจสอบได้ แต่น่าจะพอดูได้อยู่บ้างนิด ๆ หรือไม่ก็มาแปะให้ชาว MCT ช่วยๆกันดูก่อนก็ได้ครับ.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 12 ธันวาคม 2006, 23:58
M@gpie's Avatar
M@gpie M@gpie ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 ตุลาคม 2003
ข้อความ: 1,227
M@gpie is on a distinguished road
Post

ตีพิมพ์ผลงานขึ้นกับว่าระดับไหนครับ ถ้าระดับยิ่งสูงก็จะผ่านการตรวจสอบหลายขั้นตอนมาก
ทาง paper math ผมรู้จักอยู่แต่ SIAM น่ะครับ รอท่านอื่นๆมาเสริมข้อมูล ตรงนี้ละกัน

ไม่เก่งภาษาอังกฤษกับไม่ได้อยู่ในวงการนี่มันก็ดูมมืดๆตันชอบกลนะครับ << อันนี้จากพี่กร เห็นจะจริงครับ ถ้ามีชื่อมหาวิทยาลัย หรือ advisor ที่มีชื่อเสียงในด้านนั้นๆเนี่ยก็อาจจะได้รับความรวดเร็วในการตรวจเช็คแล้วตีพิมพ์อยู่บ้าง ที่สำคัญต้องเป็นภาษาอังกฤษ เนี่ยสิครับ เรื่องใหญ่ 55 ส่วนของไทยเราผมไม่รู้ว่ามีเกี่ยวกับ conference ไหม เพราะหาคนชอบเรียน math ก็ยังยากเต็มทีเลยครับ อิอิ
__________________
PaTa PatA pAtA Pon!

13 ธันวาคม 2006 00:02 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ M@gpie
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 15 ธันวาคม 2006, 11:00
SOS_math's Avatar
SOS_math SOS_math ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 กันยายน 2003
ข้อความ: 70
SOS_math is on a distinguished road
Post

เท่าที่ทราบนะครับสำหรับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ก็ต้องเข้าไปหาข้อมูลว่าเรื่องที่จะส่งไปนั้นเข้าข่าย เนื้อเรื่องของวารสารดังกล่าวหรือไม่ เช่น ถ้าทำเรื่องทฤษฎีจำนวน จะส่งไปวารสารที่เน้นเรื่องทฤษฎีกราฟ ก็คงจะโดนปฏิเสธแน่ ๆ เว้นแต่ว่าเนื้อเรื่องจะมีแนวทางทางทฤษฎีกราฟอยู่ เป็นต้น

ต่อไปถ้าได้วารสารที่จะส่งแล้ว ควรจะอ่านว่าวารสารดังกล่าวต้องการให้เราส่งไฟล์ หรือ ต้นฉบับ ในรูปแบบไหน เช่นให้ส่งต้นฉบับ 3 อันทางไปรษณีย์ หรือ ส่งแนบไฟล์มาทางอีเมล์ (บางกรณีวารสารจะบังคับมาด้วยว่า จะต้องจัดรูปแบบให้เหมือนกับวารสารที่ต้องการ เช่น ชื่อเรื่องต้องอยู่กลางหน้ากระดาษมีจำนวนคำไม่เกิน 15 ตัวอักษร หรืออะไรทำนองนี้ แต่ทางวารสารเองมักจะมี template ให้อยู่แล้ว)

เมื่อส่งไปแล้ว ก็รอ และรอ ให้ทางวารสารส่งให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจทาน และพิจารณาความเหมาะสมต่อไป ระยะเวลาก็ขึ้นอยู่กับวารสารและเนื้อหาของเรื่องที่ส่งไปด้วย มีตั้งแต่ 1 วันจนถึงหลายปีทีเดียว แต่ถ้าไม่แน่ใจก็สามารถถามบรรณาธิการ(อย่างสุภาพ)ว่าโดยเฉลี่ยจะใช้เวลาเท่าไหร่

ประสบการณ์ของคนไทยเท่าที่ทราบมา จะโดนตำหนิเรื่องภาษาค่อนข้างมาก ก็ระวังหน่อยแล้วกัน

การตอบรับก็มีสามแบบ คือ ปฏิเสธด้วยเหตุผลสารพัด (วันหลังจะมาเล่าให้ฟัง) รับลงวารสารโดยไม่มีเงื่อนไข และสุดท้ายรับลงวารสารภายใต้การแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ สุดท้ายขอให้น้องโชคดีนะครับ ได้เรื่องยังไงมาเล่าให้ฟังบ้างนะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 20 ธันวาคม 2006, 03:36
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Thumbs up

ที่คุณ SOS_math เล่ามาน่าสนใจมาก ว่างๆมาเล่าต่ออีกนะครับ

ผมว่าถ้าหากคุณ SOS_math สามารถแวะเวียนมาตอบคำถามที่นี่ได้บ่อยๆ ก็สุดยอดเลยครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 21 ธันวาคม 2006, 10:59
SOS_math's Avatar
SOS_math SOS_math ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 กันยายน 2003
ข้อความ: 70
SOS_math is on a distinguished road
Post

วันนี้ขอเล่าต่ออีกละกันนะครับ

ในกองบรรณาธิการ (Editorial Board) ของวารสาร ก็จะมีบรรณาธิการสูงสุด (Editor-in-chief) ที่มักจะเป็นปรมาจารย์ที่สำเร็จวิชาขั้นสุดยอด ได้รับการขนานนามว่าเป็นเลิศทางด้านศาสตร์นั้น ๆ จะรู้กันเองในแวดวง (เหมือนในหนังจีนแหละครับ จอมยุทธบ้านนอกบ้านนาเจอวิชาแปลก ๆ ก็ไม่มีทางทราบว่าใครเป็นต้นตำรับหรือเป็นผู้เยี่ยมยุทธทางด้านนั้น) เท่าที่ทราบไม่มีและไม่เคยมีคนไทยเป็น บรรณาธิการสูงสุด ของวารสารวิชาการทางคณิตศาสตร์เฉพาะทาง เช่น Journal of Algebra, Journal of Graph Theory หรือ Journal of Number Theory เป็นต้น ส่วนวารสารคณิตศาสตร์ทั่วไปที่เป็นที่ยอมรับกันในวงการก็ยังไม่เคยเห็นคนไทยเข้าเป็นสักที แต่ว่าบ้านเราก็มีวารสารคณิตศาสตร์ทั่วไปที่ค่อนข้างสากล อยู่สองอันนะครับ คือ East-West Journal of Mathematics และ Thai Journal of Mathematics ส่วนตัวผมก็ภูมิใจนะที่เรามีอะไรจะบอกชาวต่างชาติว่าเราก็เข้มแข็งทางคณิตศาสตร์อยู่บ้าง

กลับมาที่เรื่อง กองบรรณาธิการ แล้วกัน (นอกเรื่องไปไกลแล้ว) จะเป็นทีมผู้เชี่ยวชาญในหลายแขนง เพราะว่าต่อให้บรรณาธิการสูงสุดจะเก่งแค่ไหน ก็ไม่มีทางรู้ทุกอย่างและตัดสินใจยอมรับหรือปฏิเสธผลงานได้ทุกชิ้น นอกจากนี้ถ้าต้องอ่านคนเดียวก็ไม่ต้องทำอะไรพอดี

เมื่อบทความฉบับหนึ่งถูกส่งมาที่กองบรรณาธิการ ก็จะมีการคัดกรองเบื้องต้นว่าเข้าข่ายการพิจารณาให้ลงวารสารดังกล่าวหรือไม่ เช่น เนื้อเรื่องเป็นคณิตศาสตร์บริสุทธิ์มาก ๆ ไม่มีบทประยุกต์ในชีวิตประจำวันเลย แต่ส่งมาวารสาร Bulletin of Mathematical Biology มันก็ผิดที่ผิดทางมากไปหน่อย หากผ่านด่านแรกไปได้ หลังจากนั้นถ้ามีคนในกองบรรณาธิการอ่านได้ก็จะมอบหมายให้อ่านตรวจทานความถูกต้องและทันสมัยของเนื้อหา หรือไม่ก็กองบรรณาธิการจะหาคนอ่านที่เหมาะสม (referee) มารับผิดชอบอ่าน บางครั้งอาจมี referee 1-8 คนเพื่ออ่านเรื่อง ๆ เดียวกันนี้ เท่าที่ทราบนะครับ ตรงนี้มีคนไทยได้รับการติดต่อในลักษณะนี้อยู่เป็นประจำ ส่วนการพิจารณาก็จะมีหลายอย่าง เช่น ความถูกต้อง ลีลาการเขียนการถ่ายทอดที่กระชับและน่าสนใจ หรือแม้แต่การเขียนบรรณานุกรม-เอกสารอ้างอิง ตรงนี้มีรายละเอียดมากจริง ๆ ครับ จะมาเล่าวันหลังแล้วกัน

ระบบการอ่านตรวจทานนี้มีเพื่อช่วยให้วารสารมีเนื้อหาที่ถูกต้องทันสมัย ไม่ซ้ำซ้อนกัน เพราะว่าบางครั้งมีการคิดหรือการแก้ปัญหาที่เหมือนกันมานำเสนอ หรือไม่ก็มีการคำนวณที่ผิดพลาดเกิดขึ้นส่งผลให้ผลลัพธ์ผิดอย่างร้ายแรง ระบบดังกล่าวจะลดเหตุการณ์ดังกล่าวลง บางครั้ง(นานมาก ๆ เกิดที) บางคนก็ลอกผลงานคนอื่นมาเป็นของตัวเอง บางคนก็คิดอะไรที่จริง ๆ แล้วเป็นแค่ตัวอย่างของทฤษฎีหลักที่มีคนคิดมานานแล้ว บางคนก็ทำงานมาซ้ำกับคนอื่นแบบเดียวกันยังกับ clone กันมายังไงยังงั้นเลย (คณิตศาสตร์เป็นงานศาสตร์ไม่ใช่ศิลป์ก็เลยเป็นไปได้ จริง ๆ เคยเห็นมาแล้ว คนไทยกับคนต่างชาติคิงานออกมาเหมือนกันเลย บทพิสูจน์ก็ใช้เครื่องมือเดียวกัน)

อย่างว่ามนุษย์ก็เป็นมนุษย์อยู่วันอย่างค่ำ ความอ่อนแอของระบบนี้ก็มี คราวหน้าจะเล่าต่อเรื่องนี้และแนวทางแก้ไขนะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 21 ธันวาคม 2006, 11:53
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post

เรื่องคิดงานซ้ำซ้อนกับคนอื่นนี่ก็เคยเจอครับ เพื่อนรุ่นพี่ผมทำ senior project เรื่อง partition of integers ทำเสร็จคิดสูตรได้เรียบร้อยสอบผ่านเรียนจบ ตั้งใจจะส่งไปตีพิมพ์ อีกหนึ่งเดือนให้หลังมีบทความของคนอื่นลงตีพิมพ์ในวารสาร American Mathematical Monthly โดยที่ผลลัพธ์ทุกอย่างที่เขาคิดได้เหมือนกับพี่เขาเป๊ะเลย เพียงแต่ใช้เครื่องมือในการคิดคนละแบบกัน

ส่วนเรื่องบทความไม่ได้มาตรฐานนี่เจอมากับตัวเองเลยครับ อาจารย์ที่ปรึกษาผมส่ง paper ที่ผมทำวิทยานิพนธ์กับแกส่งไปลงวารสารเกาหลี ได้รับคำตอบกลับมาประมาณว่า บทความของคุณควรเขียนด้วยภาษา Dynamical Systems ไม่ใช่ Topology แป่ว
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 22 ธันวาคม 2006, 00:20
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ nooonuii:
เรื่องคิดงานซ้ำซ้อนกับคนอื่นนี่ก็เคยเจอครับ เพื่อนรุ่นพี่ผมทำ senior project เรื่อง partition of integers ทำเสร็จคิดสูตรได้เรียบร้อยสอบผ่านเรียนจบ ตั้งใจจะส่งไปตีพิมพ์ อีกหนึ่งเดือนให้หลังมีบทความของคนอื่นลงตีพิมพ์ในวารสาร American Mathematical Monthly โดยที่ผลลัพธ์ทุกอย่างที่เขาคิดได้เหมือนกับพี่เขาเป๊ะเลย เพียงแต่ใช้เครื่องมือในการคิดคนละแบบกัน
แต่จะว่าไปแล้ว ถ้าหนึ่งเดือนให้หลังมีบทความเรื่องเดียวกันออกมา แสดงว่าเขาน่าจะคิดได้ก่อนเป็นปีแล้วนะครับ ยังไงก็ตาม แค่นี้ก็ถือว่าสุดยอดมากๆแล้วครับ
อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ nooonuii:
ส่วนเรื่องบทความไม่ได้มาตรฐานนี่เจอมากับตัวเองเลยครับ อาจารย์ที่ปรึกษาผมส่ง paper ที่ผมทำวิทยานิพนธ์กับแกส่งไปลงวารสารเกาหลี ได้รับคำตอบกลับมาประมาณว่า บทความของคุณควรเขียนด้วยภาษา Dynamical Systems ไม่ใช่ Topology แป่ว
คุณ nooonuii หมายถึง วิทยานิพนธ์ปริญญาตรี โท หรือเอกครับ แล้วเจอแบบนี้ทำไงครับ แก้แล้วส่งกลับไปใหม่ หรือส่งไปให้วารสารอื่นแทนครับ แล้วคุณ nooonuii ไม่ได้ทำทางด้าน algebra เหรอครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 22 ธันวาคม 2006, 10:08
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ warut:
คุณ nooonuii หมายถึง วิทยานิพนธ์ปริญญาตรี โท หรือเอกครับ แล้วเจอแบบนี้ทำไงครับ แก้แล้วส่งกลับไปใหม่ หรือส่งไปให้วารสารอื่นแทนครับ แล้วคุณ nooonuii ไม่ได้ทำทางด้าน algebra เหรอครับ
อืมจะว่าไปแล้วผมยังไม่เคยทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเกี่ยวกับ Algebra เลยครับ ถึงแม้จะชอบมากๆก็ตาม ตอนปริญญาตรีผมทำ senior project ทางด้านทฤษฎีจำนวนครับ ส่วนที่เล่ามาเป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาโทตอนที่เรียนอยู่จุฬาครับ พอเขาท้วงมาอย่างนั้นผมก็ไม่ได้ถามอาจารย์ที่ปรึกษาอีกเลยว่าจะเอายังไงต่อ เพราะส่วนหนึ่งก็ยอมรับว่างานที่ทำไปมันขาดความรู้ทางด้าน Dynamical Systems จริงๆ ทฤษฎีที่คิดขึ้นมาก็ใช้แค่ point set topology อย่างเดียว ขาดการศึกษาหาข้อมูลค่อนข้างเยอะครับ ตอนนี้ผมเลยรื้อเอาวิทยานิพนธ์ตัวเองมาเสนอให้อาจารย์ที่นี่ดูแต่คราวนี้เขียนเป็นภาษา Dynamical Systems ซะที และมีแนวโน้มว่าผมจะทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกทางด้าน Topological Dynamics ซึ่งก็ยังไม่ใช่ Algebra อยู่ดี
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 18 มกราคม 2007, 11:22
SOS_math's Avatar
SOS_math SOS_math ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 กันยายน 2003
ข้อความ: 70
SOS_math is on a distinguished road
Post

ระบบการอ่านประเมินผลงาน (เท่าที่ทราบนะครับ) มีอยู่ 3 แบบด้วยกัน
1. ผู้ประเมินรู้ว่าอ่านผลงานของใคร และเจ้าของผลงานรู้ว่าใครบ้างเป็นผู้ประเมิน
2. ผู้ประเมินรู้ว่าอ่านผลงานของใคร แต่เจ้าของผลงานไม่รู้ว่าใครบ้างเป็นผู้ประเมิน
3. ผู้ประเมินไม่รู้ว่าอ่านผลงานของใคร และเจ้าของผลงานก็ไม่รู้ว่าใครบ้างเป็นผู้ประเมิน
(โดยหลักการนับต้องมี 4 แบบ ขาดอะไรไป เพื่อน ๆ คิดเองเล่น ๆ นะครับว่าทำไมไม่มีแบบที่ 4 และลองให้ความเห็นต่อท้ายมานะครับ)

ทุกแบบก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย เพราะว่ามนุษย์เป็นผู้ที่มีความโลภ โกรธ หลง ตกอยู่ในบ่วงกิเลศตัณหา ต่อให้เป็นนักวิชาการก็เถอะนะ นอกจากนี้ตรรกะทางคณิตศาสตร์สอนให้คิดว่าถ้ายังไม่ชัดเจน ก็ถือว่าผิดไว้ก่อน

แบบที่ 1 บางทีก็เกิดเหตุการณ์ผู้ประเมินได้อ่านผลงานของพวกพ้องพี่น้องตัวเองเข้า ครั้นจะ reject ไปก็เกิดเกรงอกเกรงใจ เพราะว่าเกิดเจอหน้ากันที่ไหน อาจมองหน้ากันไม่ติด-พูดไม่ออก คืออย่างนี้ ขออธิบายเพิ่มนะครับว่า บางคนก็ยอมรับยากเมื่อมี comment มาว่าผลงานยังไม่เข้าขั้นตีพิมพ์เผยแพร่ จริง ๆ เรื่องผลงานนั้นต้องมีความเข้มข้นขนาดไหน จึงเพียงพอที่จะตีพิมพ์ได้ เป็นเรื่องที่ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวครับ งานบางงานที่เคยเห็นตีพิมพ์ บอกได้คำเดียวว่า มันแย่มาก ๆ ถูก accept จากผู้ประเมินได้ยังไง และในทางกลับกันในประวัติศาสตร์งานนักคณิตศาสตร์ดัง ๆ และเป็นงานที่ดีมาก ๆ ก็ถูก reject ถมเถไป (หาอ่านได้จากประวัตินักคณิตศาสตร์) แต่ข้อดีก็มีนะครับสำหรับแบบนี้ คือระบบประเมินแบบนี้ถ้าจะ reject จะต้องให้เหตุผลที่ดีมากและมีน้ำหนักพอ อีกทั้งผู้ประเมินกล้าที่จะอธิบายเจ้าของผลงานเมื่อเจอหน้ากันในอนาคตอีกด้วย แบบต่อไป ขอมาเล่าคราวหน้าแล้วกัน ขอไปทำงานก่อนนะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 18 มกราคม 2007, 23:49
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post

มีคำถามครับ

ถ้าผมตีพิมพ์งานวิจัยระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ ผมจะสามารถนำผลงานเหล่านี้ไปขอตำแหน่งทางวิชาการหลังจากเรียนจบกลับไปทำงานได้หรือไม่ครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #12  
Old 19 มกราคม 2007, 10:19
SOS_math's Avatar
SOS_math SOS_math ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 กันยายน 2003
ข้อความ: 70
SOS_math is on a distinguished road
Post

ขอตอบคำถามคุณ nooonuii ก่อนนะครับ

ปกติเราไม่สามารถใช้ผลงานขณะศึกษาอยู่ในการขอตำแหน่งวิชาการ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์, รองศาสตราจารย์ และ ศาสตราจารย์) ได้ (เหตุผลก็มีอยู่บ้างแต่เรื่องมันยาวมาก ผู้หลักผู้ใหญ่เคยเล่าให้ฟัง) แต่ก็สามารถผ่อนผันได้บ้าง กล่าวคือ ผู้ขอตำแหน่งจะต้องระบุในรายละเอียดว่า ผลงานในการขอตำแหน่งวิชาการนั้น มีความแตกต่างกับผลงานขณะศึกษา อย่างมีนัยสำคัญ เช่น ใช้เครื่องมือ ใน thesis/dissertation ตอนเรียนจริง แต่ได้ผลลัพธ์ออกมาใหม่หรือน่าสนใจ หรือครอบคลุม (generalise) งานเดิม-งานอื่น ๆ เป็นต้น พร้อมกันนี้อาจต้องเซ็นเอกสารรับรองด้วย (เป็นหลักฐานเผื่อมีการขึ้นโรงขึ้นศาลครับ--เรื่องน่าเศร้าสำหรับบางคน)

คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่จะเป็นผู้ประเมินเรา จะพิจารณาจากเอกสารชี้แจงเองว่า รับได้หรือไม่ แต่เท่าที่ทราบ ตำแหน่งวิชาการ--ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไม่ยากมากนัก คุณ nooonuii ไม่ต้องห่วงหรอกครับ ผมเชื่อว่าโดยความสามารถคุณ nooonuii (ดูจากการตอบกระทู้ต่าง ๆ ) ตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ก็ไม่น่ามีปัญหา ขอแสดงความยินดีล่วงหน้า และหวังว่าประเทศไทยเราจะมีนักวิชาการเก่ง ๆ ทัดเทียมนานาชาติอีกหนึ่งคนครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #13  
Old 20 มกราคม 2007, 07:08
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post

ขอบคุณ คุณ SOS_MATH มากๆเลยครับ สำหรับข้อมูลที่น่าสนใจ สำหรับคำถามผมไม่ได้ถามเองครับ แต่เป็นรุ่นน้องผมฝากถามมาเพราะเขาตีพิมพ์งานวิจัยไปแล้วสองเรื่อง ส่วนผมยังไม่มีเลยซักชิ้นครับ
เรื่องตำแหน่งทางวิชาการผมว่าระบบของเมืองไทยค่อนข้างจะเข้มงวดมากๆเลยครับ กว่าจะได้ ศาสตราจารย์กันซักคนเลือดตาแทบกระเด็น โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ยังมีไม่ถึงสิบคนเลยครับ (เดาเอาครับ ถ้าคุณ SOS_MATH ทราบจำนวนที่แน่ชัดช่วยบอกด้วยนะครับ )
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #14  
Old 25 มกราคม 2007, 11:36
SOS_math's Avatar
SOS_math SOS_math ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 กันยายน 2003
ข้อความ: 70
SOS_math is on a distinguished road
Post

มาต่อแบบที่ 2 ครับ ก็จากแบบแรกมันทำให้ การประเมินถูกกดดันค่อนข้างมากด้วยเหตุผลที่ว่ามา ก็เลยให้เจ้าของผลงานไม่ต้องรู้เลยว่าใครอ่านและประเมินให้ ผู้ประเมินมีความอิสระมากขึ้น มากขนาดว่าไม่ต้องรับผิดชอบเลยก็ได้ หากประเมินผิดพลาด ( เช่น บทความผิดแต่ผู้ประเมินมองไม่เห็น เป็นต้น ) หรือว่าไม่พอใจเจ้าของผลงานเป็นการส่วนตัว ก็เขี่ยบทความที่ประเมินทิ้งไป ดองไว้ไม่อ่านซะงั้น เจ้าของผลงานก็รอแล้วรอเล่า หรือจนเกิดเหตุการณ์ เช่น มีคนทำคล้าย ๆ กัน แล้วเอาเหตุนั้นมา reject เรื่องแบบนี้ถ้าเจอเข้ากับใคร ถือว่าเป็นความโชคร้ายแสนสาหัส

ที่มาของเหตุ "ไม่พอใจเจ้าของผลงานเป็นการส่วนตัว" ก็มาจาก ระบบการจัดลำดับความน่าเชื่อถือของวารสาร (ของบริษัท ๆ หนึ่ง ไม่บอกแล้วกัน---ไม่ใช่เมืองไทยหรอกครับ---ท้ายสุดเป็นแนวคิดให้เกิด google เขาว่ากันว่าอย่างนั้นนะ) เพราะว่ามีวารสารเยอะมากจนคนเริ่มสงสัยว่า วารสารไหนดี วารสารไหนแย่ บางวารสารมีมาตรฐานน้อย มาตรฐานมากกว่ากัน ได้รับการยอมรับมากกว่ากัน มีคนอ่านเยอะกว่ากัน เลยมีการกำหนดมาตรฐานที่เรียกกันว่า impact factor ขึ้น เจ้าเลขตัวนี้เป็นดัชนีมาจัดอันดับว่าวารสารไหนดีกว่ากัน (จริง ๆ มีหลายดัชนี ขอเล่าแค่ตัวนี้ตัวเดียวนะครับ) ขอยกตัวอย่างแล้วกัน impact factor ของวารสาร X ปีที่ Y (สมมติ Y=2006) คำนวณจากอัตราส่วนของจำนวนครั้งทั้งหมดของการอ้างอิง (citation) บทความของวารสาร X ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ปีที่ Y-1 และ Y-2 (คือ 2005 และ 2004) ตลอดปี Y หารด้วยจำนวนบทความทั้งหมดของวารสาร X ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ปีที่ Y-1 และ Y-2 (การนับจะนับเฉพาะวารสารที่เข้ามาอยู่ในฐานข้อมูลของบริษัทที่ว่าเท่านั้น วารสารที่ไม่เข้ามาอยู่ในฐานข้อมูลก็ไม่นับ ต่อให้อ้างอิงเป็นร้อยเป็นพันก็ไม่นับ)

ถ้าอัตราส่วนนี้มาก หมายความว่า(ตามแนวความคิดของบริษัทดังกล่าว) วารสาร X เป็นที่นิยมชมชอบของหมู่นักวิชาการ เพราะว่า มีการอ้างอิง-กล่าวถึงบทความของวารสาร X บ่อยครั้งมากเมื่อเทียบกับจำนวนบทความที่เผยแพร่ (เดี๋ยวจะมาเล่าวันหลังนะครับ นักคณิตศาสตร์กลุ่มหนึ่ง(มากพอสมควร)ไม่เห็นด้วยกับเหตุผลดังกล่าว---เพื่อน ๆ ลองคิดดูนะว่า"ทำไม")

กลับมาเข้าเรื่องนะ เดี๋ยวออกนอกเรื่องไปไกลเกินไป ผู้ประเมินกับกองบรรณาธิการ(บางวารสาร ขอย้ำ) อยากให้วารสารของตัวเองมี impact factor สูง ๆ ก็เลยจะพอใจมากถ้ามีการอ้างอิงวารสารตัวเองบ่อยครั้ง (สร้างภาพ) ก็มีแนวโน้มจะ accept บทความที่เป็นประเภทข้างต้นมากกว่า บทความทั่ว ๆ ไป เลยเป็นที่มาของวิชา "มาร" เจ้าของผลงานก็เขียนอ้างอิงถึงบทความอื่น ๆ ของวารสาร บ่อย ๆ ในขณะที่ผู้ประเมินกับกองบรรณาธิการขะยั้นขะยอให้เจ้าของผลงานอ้างอิงบ่อย ๆ โดยหารู้ไม่ว่ามันก็ให้เกิดขยะของการอ้างอิงมหาศาล ผู้ประเมินถ้าถูกกล่าวถึงในบทความที่ถูกประเมิน ก็พอใจ ผผู้เขียนเจ้าของผลงานก็หว่านแหอ้างอิงเผื่อฟลุคเจอไปตรงกับผู้ประเมินพอดี

เรื่องมันหนักเข้าไปอีก ขนาดหว่านแหแบบนั้น เกิดไม่อ้างอิงผู้ประเมิน ก็โดน reject ไปเลย โทษฐานไม่รู้จักอ้างอิงให้ตรงใจผู้ประเมิน เฮ้อเหนื่อยใจแทน ถ้าเจอเรื่องแบบนี้

ก่อนจบวันนี้ ขอออกตัวก่อนนะครับ ไม่ใช่คณิตศาสตร์วิชาเดียวที่เจอเรื่องนี้ และไม่ใช่ทุกวารสารเป็นแบบนี้นะครับ ข้อมูลข้างต้นเป็นความคิดเห็นส่วนตัว--โปรดใช้วิจารณญาณในการรับฟังนะครับ และสุดท้ายนะครับ "ทองแท้ไม่กลัวไฟ(รน)"
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 23:27


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha