Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์ทั่วไป > ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 18 ตุลาคม 2016, 20:11
อัจฉริยะ อัจฉริยะ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไว
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 มิถุนายน 2016
ข้อความ: 217
อัจฉริยะ is on a distinguished road
Default conjecture ของผมเป็นจริงหรือไม่ครับ ?

ตอนนี้กำลังพิมพ์ผลงาน goldbach อยู่ครับ ส่วนของภาษาอังกฤษใกล้เสร็จแล้ว

แต่ขณะที่ทำการพิสูจน์อยู่นั้น ผมเจอ conjecture อันนึงครับ ไม่แน่ใจว่าเป็นจริงหรือไม่ ? ถ้า conjecture ของผมอันนี้ถูก บทพิสูจน์ Goldbach ก็จะถูกไปด้วยครับ

และเพื่อไม่ให้ผิดพลาดแบบ FLT อีก เลยอยากถามเพื่อนๆในนี้ว่าเป็นจริงมั๊ย ?

เป็น conjecture ที่ซ้อน conjecture อีกทีนึง ซับซ้อน ปวดหัวตึบๆ - -''



สมมุติให้ p เป็นจำนวนเฉพาะใดๆ

และมี p1 , p2 , p3 , ... , pn < 2pk , pk ก็คือจำนวนเฉพาะนะ

p1 , p2 , p3 , ... , pn คือ จำนวนเฉพาะทั้งหมดที่น้อยกว่า 2pk




conjecture ของผมมีอยู่ว่า...

''ในบรรดาจำนวน p1 , p2 , p3 , ... , pn จะต้องมีจำนวนอย่างน้อยหนึ่งค่าที่ บวกกับ 2pk แล้วได้จำนวนเฉพาะ''


ช่วยฟันธงให้หน่อยครับว่าถูกต้อง ส่วนผมได้เขียนบทพิสูจน์ conjecture นี้ไว้แล้ว ว่าเป็นจริง แต่ไม่แน่ใจว่าถูกหรือไม่ อยากให้เพื่อนๆ ช่วยดูกันหลายๆคนว่า conjecture ของผมถูกมั๊ย ?
__________________
วิศวกรรมศาสตร์ พระจอมเกล้าลาดกระบัง รุ่น 38

18 ตุลาคม 2016 20:16 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 5 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ อัจฉริยะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 18 ตุลาคม 2016, 20:32
อัจฉริยะ อัจฉริยะ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไว
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 มิถุนายน 2016
ข้อความ: 217
อัจฉริยะ is on a distinguished road
Default

ติดตรงนี้จุดเดียวครับ จุดเดียวจริงๆ นอกนั้นมั่นใจ 100%

ไอ้ conjecture ตัวนี้ ผมเจอตอนท้ายๆครับ เหมือนเป็นอุปสรรคในการพิสูจน์ goldbach ครับ ผมต้องผ่านไปให้ได้

ช่วยด้วยครับ

ถึงแม้ผมจะพิสูจน์มันแล้วก็เถอะ แต่ก็ยังไม่สบายใจอยู่ดี
__________________
วิศวกรรมศาสตร์ พระจอมเกล้าลาดกระบัง รุ่น 38

18 ตุลาคม 2016 20:33 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ อัจฉริยะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 18 ตุลาคม 2016, 20:38
Aquila Aquila ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 ตุลาคม 2013
ข้อความ: 412
Aquila is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ อัจฉริยะ View Post
สมมุติให้ p เป็นจำนวนเฉพาะใดๆ

และมี p1 , p2 , p3 , ... , pn < 2pk , pk ก็คือจำนวนเฉพาะนะ

p1 , p2 , p3 , ... , pn คือ จำนวนเฉพาะทั้งหมดที่น้อยกว่า 2pk

conjecture ของผมมีอยู่ว่า...

''ในบรรดาจำนวน p1 , p2 , p3 , ... , pn จะต้องมีจำนวนอย่างน้อยหนึ่งค่าที่ บวกกับ 2pk แล้วได้จำนวนเฉพาะ''

ช่วยฟันธงให้หน่อยครับว่าถูกต้อง ส่วนผมได้เขียนบทพิสูจน์ conjecture นี้ไว้แล้ว ว่าเป็นจริง แต่ไม่แน่ใจว่าถูกหรือไม่ อยากให้เพื่อนๆ ช่วยดูกันหลายๆคนว่า conjecture ของผมถูกมั๊ย ?
แบบนี้หรือเปล่า (ลองแสดงตัวบ่งปริมาณให้ชัดๆ)

ให้ $p_{k}$ คือจำนวนเฉพาะลำดับที่ $k$

กำหนดให้ $A=\left\{\,p_{1},p_{2},...,p_{n}\right\}$ เป็นจำนวนเฉพาะที่ทุกๆค่าน้อยกว่า $2p_{k}$

จะได้ว่า ทุก $p_{k} \in \mathbb{P}$ จะมี $p_{i} \in A$ ที่ทำให้ $p_{i}+2p_{k} \in \mathbb{P}$

ผมเข้าใจถูกหรือเปล่า ??

===========================================

ความถูกต้องผมยังไม่ได้ลองเชคให้นะ ให้คนอื่นๆที่อยากอ่าน proof ช่วยดูด้วยละกันนะครับ

ว่าแต่ที่อ้าง proof ของ Terry Tao นี่ใช้ตัว prime กับ arithmetic progression ที่มี Ben Green อีกคนหรือเปล่า....

เอา theorem ไหนของ Terry Tao ไปอ้างบ้าง ??

นอกเหนือจากนี้มี theorem ไหนอีก ??

18 ตุลาคม 2016 20:41 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Aquila
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 18 ตุลาคม 2016, 20:44
อัจฉริยะ อัจฉริยะ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไว
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 มิถุนายน 2016
ข้อความ: 217
อัจฉริยะ is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Aquila View Post
แบบนี้หรือเปล่า (ลองแสดงตัวบ่งปริมาณให้ชัดๆ)

ให้ $p_{k}$ คือจำนวนเฉพาะลำดับที่ $k$

กำหนดให้ $A=\left\{\,p_{1},p_{2},...,p_{n}\right\}$ เป็นจำนวนเฉพาะที่ทุกๆค่าน้อยกว่า $2p_{k}$

จะได้ว่า ทุก $p_{k} \in \mathbb{P}$ จะมี $p_{i} \in A$ ที่ทำให้ $p_{i}+2p_{k} \in \mathbb{P}$

ผมเข้าใจถูกหรือเปล่า ??

===========================================

ความถูกต้องผมยังไม่ได้ลองเชคให้นะ ให้คนอื่นๆที่อยากอ่าน proof ช่วยดูด้วยละกันนะครับ

ว่าแต่ที่อ้าง proof ของ Terry Tao นี่ใช้ตัว bound gap between prime ที่มี Ben Green อีกคนหรือเปล่า....

เอา theorem ไหนของ Terry Tao ไปอ้างบ้าง ??

ผมคงไม่รู้ลึกแบบคุณแน่ครับ ผมมือสมัครเล่น ทุกอย่างผมมโนเอาเองล้วนๆ พื้นฐานผมเรื่องนี้น้อยครับ แต่ก็ขอบคุณที่ช่วยนะครับ

จำนวน pk ก็คือจำนวนเฉพาะลำดับที่ k นั่นแหละครับ

ส่วนจำนวนเฉพาะ ทั้งหมดที่น้อยกว่า 2pk ผมคาดการว่า ต้องมีอย่างน้อยหนึ่งตัวที่บวกกับ 2pk แล้วได้ จำนวนเฉพาะเสมอน่ะครับ


ส่วนที่ผมอ้าง Terrence Tao ผมใช้แค่ บทสรุปของเค้าครับ ที่ว่า

''จำนวนคี่ใดๆสามารถเขียนเป็นผลบวกของจำนวนเฉพาะได้ไม่เกิน 5 ตัว'' แค่นี้แหละครับ
__________________
วิศวกรรมศาสตร์ พระจอมเกล้าลาดกระบัง รุ่น 38

18 ตุลาคม 2016 20:47 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ อัจฉริยะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 18 ตุลาคม 2016, 20:54
Aquila Aquila ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 ตุลาคม 2013
ข้อความ: 412
Aquila is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ อัจฉริยะ View Post
ผมคงไม่รู้ลึกแบบคุณแน่ครับ ผมมือสมัครเล่น ทุกอย่างผมมโนเอาเองล้วนๆ พื้นฐานผมเรื่องนี้น้อยครับ แต่ก็ขอบคุณที่ช่วยนะครับ

จำนวน pk ก็คือจำนวนเฉพาะลำดับที่ k นั่นแหละครับ

ส่วนจำนวนเฉพาะ ทั้งหมดที่น้อยกว่า 2pk ผมคาดการว่า ต้องมีอย่างน้อยหนึ่งตัวที่บวกกับ 2pk แล้วได้ จำนวนเฉพาะเสมอน่ะครับ


ส่วนที่ผมอ้าง Terrence Tao ผมใช้แค่ บทสรุปของเค้าครับ ที่ว่า

''จำนวนคี่ใดๆสามารถเขียนเป็นผลบวกของจำนวนเฉพาะได้ไม่เกิน 5 ตัว'' แค่นี้แหละครับ
ผมแก้ quote ผมตรง bound gap เป็น arithmetic progression ใน prime เป็นคนละตัวกันครับ

แต่ก็เป็นคนละตัวกับที่คุณใช้ไป prove อยู่ดี

คุณบอกว่าคุณ prove conjecture ย่อยไว้แล้ว ขอดูหน่อยได้มั้ยครับ ?

แต่มันแปลกตรงที่คุณบอกว่าคุณเขียน prove conjecture ย่อยไว้แล้ว แต่ไม่ชัวร์ว่ามันถูกหรือเปล่า

เลยเอามาถามคนที่นี้ คุณจะเขียน prove กับสิ่งที่คุณไม่รู้ว่ามันถูกหรือเปล่าได้ไง อธิบายทีครับ

อีกอย่าง ....... ประเด็นเรื่องการพิสูจน์ข้อความ for all ......
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 18 ตุลาคม 2016, 20:58
กขฃคฅฆง's Avatar
กขฃคฅฆง กขฃคฅฆง ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 เมษายน 2015
ข้อความ: 419
กขฃคฅฆง is on a distinguished road
Default

ก็เอาบทพิสูจน์มาสิครับ จะได้รู้ว่าถูกรึป่าว
__________________
เหนือฟ้ายังมีอวกาศ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 18 ตุลาคม 2016, 21:04
อัจฉริยะ อัจฉริยะ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไว
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 มิถุนายน 2016
ข้อความ: 217
อัจฉริยะ is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Aquila View Post
ผมแก้ quote ผมตรง bound gap เป็น arithmetic progression ใน prime เป็นคนละตัวกันครับ

แต่ก็เป็นคนละตัวกับที่คุณใช้ไป prove อยู่ดี

คุณบอกว่าคุณ prove conjecture ย่อยไว้แล้ว ขอดูหน่อยได้มั้ยครับ ?

แต่มันแปลกตรงที่คุณบอกว่าคุณเขียน prove conjecture ย่อยไว้แล้ว แต่ไม่ชัวร์ว่ามันถูกหรือเปล่า

เลยเอามาถามคนที่นี้ คุณจะเขียน prove กับสิ่งที่คุณไม่รู้ว่ามันถูกหรือเปล่าได้ไง อธิบายทีครับ

อีกอย่าง ....... ประเด็นเรื่องการพิสูจน์ข้อความ for all ......

เดี๋ยวรอผมพิมพ์ทีเดียวเลยครับ จะให้ดูหมดเลย

คือ conjecture นี้เป็นความหวังสุดท้ายของผมครับ ถ้ามันถูก บทพิสูจน์ผมก็จะถูกไปด้วย

คือผมคิดโมเดลทางคณิตศาสตร์มาตัวนึง ซึ่งใช้ได้ดีสำหรับจำนวนไม่มากครับ แต่สำหรับจำนวนสูงๆมันต้องพึ่งพา conjecture ตัวนี้ครับ

เพื่อที่จะใช้ได้กับจำนวนเฉพาะทุกตัวไปถึง infinity มันจำเป็นต้องถูกครับ
__________________
วิศวกรรมศาสตร์ พระจอมเกล้าลาดกระบัง รุ่น 38

18 ตุลาคม 2016 21:04 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ อัจฉริยะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 18 ตุลาคม 2016, 21:08
กขฃคฅฆง's Avatar
กขฃคฅฆง กขฃคฅฆง ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 เมษายน 2015
ข้อความ: 419
กขฃคฅฆง is on a distinguished road
Default

ใกล้เสร็จรึยังครับ
__________________
เหนือฟ้ายังมีอวกาศ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 18 ตุลาคม 2016, 21:24
Aquila Aquila ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 ตุลาคม 2013
ข้อความ: 412
Aquila is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ อัจฉริยะ View Post
เดี๋ยวรอผมพิมพ์ทีเดียวเลยครับ จะให้ดูหมดเลย

คือ conjecture นี้เป็นความหวังสุดท้ายของผมครับ ถ้ามันถูก บทพิสูจน์ผมก็จะถูกไปด้วย

คือผมคิดโมเดลทางคณิตศาสตร์มาตัวนึง ซึ่งใช้ได้ดีสำหรับจำนวนไม่มากครับ แต่สำหรับจำนวนสูงๆมันต้องพึ่งพา conjecture ตัวนี้ครับ

เพื่อที่จะใช้ได้กับจำนวนเฉพาะทุกตัวไปถึง infinity มันจำเป็นต้องถูกครับ
คุณต้องมั่นใจว่ามันถูกก่อนถึงเขียน proof ได้ จริงปะครับ

เพราะฉะนั้นประเด็นคือ "เครื่องมือยืนยัน"

คุณต้องยืนยันได้ค่อนข้างมากแล้วว่าทำไม conjecture ถึงน่าจะถูก

ผมไม่รู้ว่าคุณเชคยังไง ได้ใช้ code คอมพิวเตอร์เขียนเทส conjecture ย่อยบ้างหรือเปล่า?

เช่นกับ prime ขนาดใหญ่มากๆ เลือก $p_{100000}$ แล้วจับยัด algorithm เขียน code ให้มันหยุดที่ prime

อย่าง $p_{1}+p_{100000},p_{2}+p_{100000},.....$ เจอ prime เมื่อไรสั่ง end loop

มันจบลงที่กระบวนการจำกัดแน่นอน แบบนี้อะ พอจะน่าเชื่อถือบ้าง ได้ทำรึเปล่า

นอกเหนือจากนั้นคือคุณมีวิธีดูจริงๆอะว่ามันน่าจะจริง(ที่ผมเองก็คิดไม่ออก...)

ไม่อย่างนั้น เฉพาะบทพิสูจน์เต็มๆของคุณเท่านั้นแหละ ที่จะทำให้ทุกอย่างเคลียร์ชัดครับ

คือต้องโพสต์มาแล้วแหละ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 18 ตุลาคม 2016, 21:36
อัจฉริยะ อัจฉริยะ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไว
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 มิถุนายน 2016
ข้อความ: 217
อัจฉริยะ is on a distinguished road
Default

conjecture ของผม เพื่อให้เห็นภาพชัดมากขึ้น ยกตัวอย่างแบบนี้ครับ

สมมุติผมให้ pk = 17 แล้วกัน

2pk = 34

จำนวนเฉพาะที่น้อยกว่า 34 ก็คือ 3 , 5 , 7 , 11 , 13 , 17 , 19 , 23 , 29 , 31

แล้วผมเลือก 7 มา เป็น 34 + 7 = 41 เป็นจำนวนเฉพาะ แบบนี้น่ะครับ น่าจะพอเห็นภาพขึ้น


แต่สำหรับจำนวนเฉพาะที่สูงๆ ช่องห่างของจำนวนเฉพาะ มันจะยิ่งห่างไปเรื่อยๆ อันนี้ก็น่าคิดว่ามันยังจะจริงอยู่หรือไม่ ?
__________________
วิศวกรรมศาสตร์ พระจอมเกล้าลาดกระบัง รุ่น 38

18 ตุลาคม 2016 21:38 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ อัจฉริยะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 18 ตุลาคม 2016, 21:45
Aquila Aquila ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 ตุลาคม 2013
ข้อความ: 412
Aquila is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ อัจฉริยะ View Post
conjecture ของผม เพื่อให้เห็นภาพชัดมากขึ้น ยกตัวอย่างแบบนี้ครับ

สมมุติผมให้ pk = 17 แล้วกัน

2pk = 34

จำนวนเฉพาะที่น้อยกว่า 34 ก็คือ 3 , 5 , 7 , 11 , 13 , 17 , 19 , 23 , 29 , 31

แล้วผมเลือก 7 มา เป็น 34 + 7 = 41 เป็นจำนวนเฉพาะ แบบนี้น่ะครับ น่าจะพอเห็นภาพขึ้น


แต่สำหรับจำนวนเฉพาะที่สูงๆ ช่องห่างของจำนวนเฉพาะ มันจะยิ่งห่างไปเรื่อยๆ อันนี้ก็น่าคิดว่ามันยังจะจริงอยู่หรือไม่ ?
ผมก็เข้าใจแบบที่คุณพิมพ์นี่แหละครับ ผมมีคำถามมากมายจริงๆ แต่ไม่สามารถพูดได้

ถ้าคุณไม่โพสต์แบบเต็มๆมาให้อ่านกันก่อน คงแชร์อะไรต่อมิอะไรยากอะครับ

โพสต์มาเลย มั่นใจ ทุกคนรออยู่ ไม่ต้องไปกลัว
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #12  
Old 18 ตุลาคม 2016, 23:14
Lspeed Lspeed ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 17 ตุลาคม 2016
ข้อความ: 16
Lspeed is on a distinguished road
Default

อ่านแล้วยังนึกบทพิสูจน์ไม่ออกนะครับ ถ้ายังไงลงบทพิสูจน์มาเลย ทุกคนจะช่วยกันตรวจสอบครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #13  
Old 19 ตุลาคม 2016, 17:53
อัจฉริยะ อัจฉริยะ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไว
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 มิถุนายน 2016
ข้อความ: 217
อัจฉริยะ is on a distinguished road
Default

เพิ่งเลิกงานครับ เดี๋ยววันนี้กลับไปคิดต่อ กำลังสนุกเลย

มาดูๆไป conjecture ของผมถ้ามันจริง นอกจากจะพิสูจน์ goldbach ได้แล้ว ยังเป็นลู่ทางพิสูจน์ ทฤษฏีบทเบอร์แทรน-เชบีเชฟ ไปในตัวด้วยนะครับ

เหมือนกับที่รามานุจัน และ พอล แอดิช ได้เคยพิสูจน์ไว้ แต่เข้าใจว่าวิธีของผมอาจต่างออกไป
เรียกว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวกันเลยล่ะครับ

จะรีบกลับไปปั่นงานต่อครับ จะได้เอามาอัพเร็วๆ
__________________
วิศวกรรมศาสตร์ พระจอมเกล้าลาดกระบัง รุ่น 38

19 ตุลาคม 2016 19:00 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ อัจฉริยะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #14  
Old 19 ตุลาคม 2016, 19:34
จูกัดเหลียง's Avatar
จูกัดเหลียง จูกัดเหลียง ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 กุมภาพันธ์ 2011
ข้อความ: 1,234
จูกัดเหลียง is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ อัจฉริยะ View Post
เพิ่งเลิกงานครับ เดี๋ยววันนี้กลับไปคิดต่อ กำลังสนุกเลย

มาดูๆไป conjecture ของผมถ้ามันจริง นอกจากจะพิสูจน์ goldbach ได้แล้ว ยังเป็นลู่ทางพิสูจน์ ทฤษฏีบทเบอร์แทรน-เชบีเชฟ ไปในตัวด้วยนะครับ

เหมือนกับที่รามานุจัน และ พอล แอดิช ได้เคยพิสูจน์ไว้ แต่เข้าใจว่าวิธีของผมอาจต่างออกไป
เรียกว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวกันเลยล่ะครับ

จะรีบกลับไปปั่นงานต่อครับ จะได้เอามาอัพเร็วๆ
ตรงสีเเดงหมายความว่าอย่างไรครับ สรุปเเล้วทำได้หรือยังไม่ได้ เรารอคุณอยู่นะครับบทพิสูจน์ Strong GB นั่นน่ะนี่คุณผลัดมากี่วันเเล้วครับ ผมจำได้ว่าตั้งเเต่วันอาทิตย์เเล้วนะ สรุปว่าจะลงได้เมื่อไรครับ
__________________
Vouloir c'est pouvoir
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #15  
Old 20 ตุลาคม 2016, 07:34
Lspeed Lspeed ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 17 ตุลาคม 2016
ข้อความ: 16
Lspeed is on a distinguished road
Default

สรุปว่าคิดได้หรือคิดไม่ได้กันแน่ครับ คุณบอกว่าจะลงภายในวันอาทิตย์และบอกว่าเสร็จแล้วทำไมอยู่ดีๆกลับมาเปลี่ยนเป็นต้องไปคิดต่อ ยังไม่เสร็จอ่าครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
ผมพิสูจน์ Goldbach's Conjecture ได้แล้วครับ อัจฉริยะ ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป 77 03 พฤศจิกายน 2016 17:28
ช่วย prove หรือ disprove conjecture ตัวนี้หน่อยครับ จูกัดเหลียง ทฤษฎีจำนวน 3 22 กันยายน 2016 20:41
Oesterlé?Masser conjecture จูกัดเหลียง ฟรีสไตล์ 1 13 ตุลาคม 2012 20:41
My Conjecture Anonymous314 ทฤษฎีจำนวน 4 01 พฤศจิกายน 2008 22:29


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 02:46


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha