Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > ทฤษฎีจำนวน
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 25 ธันวาคม 2007, 02:23
MoDErN_SnC's Avatar
MoDErN_SnC MoDErN_SnC ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 กันยายน 2004
ข้อความ: 42
MoDErN_SnC is on a distinguished road
Send a message via MSN to MoDErN_SnC
Default ผลเฉลยของสมการคอนกรูเอนซ์กำลังสอง

สมมติว่าผมมีสมการคอนกรูเอนซ์
$x^2 - x \equiv 0 \pmod{30} $
ทีนี้ถ้าผมจะหาผลเฉลย ผมจะต้องมาพิจารณาสามสมการนี้ใช่ไหมครับ?
$x^2 - x \equiv 0 \pmod{2} $
$x^2 - x \equiv 0 \pmod{3} $
$x^2 - x \equiv 0 \pmod{5} $
ซึ่งถ้าสามสมการนี้มันจะได้ $x \equiv 0,1 \pmod{2}, x \equiv 0,1 \pmod{3}, x \equiv 0,1 \pmod{5}$
ทีนี้ผมลองเปิดดูในหนังสือ สอวน. จากตัวอย่าง
สมการ $x^2 + x + 7 \equiv 0 \pmod{189} $ ก็แยกสมการ แล้วก็หาคำตอบของสมการ
คำถามข้อต่อไปที่ผมสงสัยคือ สมมติแยกสมการ $x^2 + x + 7 \equiv 0 \pmod{3^3} $ นั่นหมายความว่า เราต้องลองหยิบ x ที่อยู่ใน $\mathbb{Z}_27$ ทุกตัวมาพิจารณาใช่ไหมครับ?
ถ้าไม่ใช่จะมีหลักเกณฑ์อะไรที่พิจารณาบ้างครับ?
จากสมการตัวอย่างอันหลังที่ว่า เขาก็สรุปว่า คำตอบของสมการ $x^2 + x + 7 \equiv 0 \pmod{3^3} $ มีผลเฉลยคือ $x \equiv 4, 13, 22 \pmod{3^3}$ และสมการ $x^2 + x + 7 \equiv 0 \pmod{7} $ มีผลเฉลยคือ $x \equiv 0, 6\pmod{7}$ แล้วสุดท้ายก็สรุปว่า สมการตัวอย่างแรกสุดนี้มี 6 คำตอบ
อยากทราบอีกครับว่า สรุปมาจากไหนว่ามี 6 คำตอบ มาจาก Chinese Remainder Theorem รึเปล่าครับ แล้วถ้ามันมาจริง ๆ มันมาได้อย่างไรครับ งงจากตรงนี้มานานพอสมควรแล้วครับ

แล้วจะหาหนังสือหรือเว็บอะไรจากไหนที่แก้สมการพวก Quadratic Congruence Equation แบบนี้ละเอียด ๆ อะครับ ? (หรือพวกคอนกรูเอนซ์แบบที่ละเอียดๆ เพราะว่าหาจากหนังสือทฤษฎีจำนวนของที่เป็นภาษาไทยนี่ก็ดูแล้วไม่ค่อยชัด ส่วน text ที่ยืมจากห้องสมุด ก็ยังงงๆ อยู่ครับ)


ขอบคุณมากครับ
__________________
SnC(R)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 25 ธันวาคม 2007, 17:03
Mathophile's Avatar
Mathophile Mathophile ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไว
 
วันที่สมัครสมาชิก: 31 มีนาคม 2007
ข้อความ: 250
Mathophile is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ MoDErN_SnC View Post
สมมติว่าผมมีสมการคอนกรูเอนซ์
$x^2 - x \equiv 0 \pmod{30} $
ทีนี้ถ้าผมจะหาผลเฉลย ผมจะต้องมาพิจารณาสามสมการนี้ใช่ไหมครับ?
$x^2 - x \equiv 0 \pmod{2} $
$x^2 - x \equiv 0 \pmod{3} $
$x^2 - x \equiv 0 \pmod{5} $
ไม่แน่ใจว่าเป็นคำถามหรือเปล่า แต่ก็ขอตอบว่าถูกต้องแล้วครับ

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ MoDErN_SnC View Post
คำถามข้อต่อไปที่ผมสงสัยคือ สมมติแยกสมการ $x^2 + x + 7 \equiv 0 \pmod{3^3} $ นั่นหมายความว่า เราต้องลองหยิบ x ที่อยู่ใน $\mathbb{Z}_{27}$ ทุกตัวมาพิจารณาใช่ไหมครับ?
ถ้าไม่ใช่จะมีหลักเกณฑ์อะไรที่พิจารณาบ้างครับ?
อันนี้ไม่รู้แฮะ สำหรับผม ขอตอบว่าใช่ครับ หรือถ้าให้ง่ายขึ้นอีกนิดนึงอาจพิจารณา ${0,\pm 1,\pm 2,...,\pm 13}$ แทน ${0,1,2,...,27}$ ก็ได้ครับ ซึ่งเป็นส่วนตกค้างบริบูรณ์ mod 27 เหมือนกัน

อีกวิธีที่ทำให้ง่ายขึ้นก็คือพยายามเปลี่ยนพหุนามด้านซ้ายให้สามารถแยกตัวประกอบได้ครับ
เช่นจากสมการด้านบน $0\equiv x^2 + x + 7 \equiv x^2 + x -20 \equiv (x+5)(x-4) \pmod{3^3}$
ถ้า modulo เป็นจำนวนเฉพาะ เราสามารถสรุปได้เลยครับว่า $x\equiv -5,4 \pmod{...}$
แต่ตรงนี้ 27 ไม่ใช่จำนวนเฉพาะ ฉะนั้นเรายังไม่สามารถบอกได้ว่า $x\equiv -5,4 \pmod{3^3}$ เท่านั้น อาจมีอันอื่นอีก แต่ก็คงทำให้การพิจารณาง่ายขึ้นครับ

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ MoDErN_SnC View Post
อยากทราบอีกครับว่า สรุปมาจากไหนว่ามี 6 คำตอบ มาจาก Chinese Remainder Theorem รึเปล่าครับ แล้วถ้ามันมาจริง ๆ มันมาได้อย่างไรครับ
ใช่แล้วครับ มาจาก Chinese Remainder Theorem (CRT) ส่วน "6 คำตอบ" มีที่มาดังนี้ครับ...
จาก CRT ที่ว่าระบบสมการ (เมื่อ $gcd(m_i,m_j)=1$ ทุก i,j)
$x\equiv a_1 \pmod {m_1}$
$x\equiv a_2 \pmod {m_2}$
...
$x\equiv a_k \pmod {m_k}$
มีคำตอบเดียวใน $\pmod{m_1m_2}$ คือ $x=\sum_{n = 1}^{k}A_iM_ia_i$
เมื่อ $M_i=\frac{m_1m_2...m_k}{m_i}$ และ $A_i$ เป็นอินเวอร์สของ $M_i\pmod {m_i}$

สำหรับกรณีที่มีแค่ 2 สมการ ก็เขียน x ในรูปง่ายๆก็คือ $x=A_1M_1a_1+A_2M_2a_2$
จะเห็นว่า $A_1,M_1,A_2,M_2$ มีค่าเดียว ฉะนั้นไม่มีผลกับจำนวนคำตอบ
แต่ตามตัวอย่างที่ให้มาจะพบว่า $a_1$ เป็นได้ 3 ค่า (4,13 และ 22) และ $a_2$ เป็นได้ 2 ค่า (0 และ 6)
ฉะนั้น โดย combinatorics จึงได้จำนวนคำตอบทั้งหมดคือ 3x2=6 คำตอบนั่นเองครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 29 ธันวาคม 2007, 02:42
MoDErN_SnC's Avatar
MoDErN_SnC MoDErN_SnC ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 กันยายน 2004
ข้อความ: 42
MoDErN_SnC is on a distinguished road
Send a message via MSN to MoDErN_SnC
Default ทฤษฎีบทลากรองจ์...;)

เกี่ยวกับสมการคอนกรูเอนซ์อะครับ...

มันมีทฤษฎีบทลากรองจ์บอกไว้ว่า
ถ้า p เป็นจำนวนเฉพาะ สมภาค $f(x)\equiv 0 \left(mod p\,\right) $ ระดับขั้น $k$ มีรากได้อย่างมาก $k$ ราก

ถ้าสมมติว่าเราพิจารณาสมภาค $f(x)\equiv 0 \left(mod p^k\,\right) $ ระดับขั้น $k$ จะยังคงมีรากได้ $k$ รากอยู่หรือไม่ครับ ถ้าไม่ใช่แล้วมีทฤษฎีอะไรที่มาช่วยพิจารณาครับ
__________________
SnC(R)

29 ธันวาคม 2007 02:46 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 3 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ MoDErN_SnC
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 19:35


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha