Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > คณิตศาสตร์อุดมศึกษา
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 20 พฤษภาคม 2008, 20:58
คนบ้า's Avatar
คนบ้า คนบ้า ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 กุมภาพันธ์ 2008
ข้อความ: 32
คนบ้า is on a distinguished road
Default ขอถามเกี่ยวกับ Complexity of Gaussian elimination

อ่านจาก wikipedia ได้ว่า การทำ Gaussian elimination matrix ขนาด $n \times n$ จะใช้ operation ประมาณ $\frac{2n^3}{3}$ operations.
ดังนั้นจึงมี complexity $O(n^3)$

ช่วยขยายความให้ทีว่ามันมายังไงครับ

แล้วถ้า matrix ที่ไม่ใช่ square matrix หละครับ คิด complexity ในการทำ Gaussian elimination อย่างไร
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 22 พฤษภาคม 2008, 00:48
TOP's Avatar
TOP TOP ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 มีนาคม 2001
ข้อความ: 1,003
TOP is on a distinguished road
Default

ผมก็ไม่แม่นเรื่องนี้ เพราะไม่ได้ใช้จริงจัง และเคยแต่อ่านผ่านๆ

สมมติว่าเราจะทำ Gaussian elimination ของ matrix ขนาด $n \times n$ แถวที่ $m$ แบบง่ายๆ

ขั้นแรก เราต้องการให้ $a_{m,m} = 1$ จึงต้องคูณสมาชิกทุกตัวของแถวที่ $m$ ด้วยค่า $\frac{1}{a_{m,m}}$ นับจำนวนครั้งที่คูณได้ $n - m + 1$ ครั้ง

ขั้นที่สอง เราต้องการให้ $a_{x,m} = 0$ สำหรับทุก $x > m$ ตรงจุดนี้ต้องคูณสมาชิกทุกตัวของแถวที่ $m$ ด้วยค่า $-a_{x,m}$ แล้วนำไปรวมกับสมาชิกแต่ละตัวของแถว $x$ นับจำนวนครั้งที่คูณและนำมาบวกได้ $2(n - m + 1)(n - m)$ ครั้ง

เราต้องทำสองขั้นตอนดังกล่าว ตั้งแต่ค่า $m = 1$ จนถึงค่า $m = n$ ดังนั้นจำนวน operation ที่ใช้คือ
\[\sum_{m = 1}^{n} (n - m + 1) + 2(n - m + 1)(n - m) = \frac{2n^3}{3} + \frac{n^2}{2} - \frac{n}{6}\]
จึงได้ complexity เป็น $O(n^3)$

ถ้าเข้าใจหลักการแล้ว น่าจะคำนวณกรณีที่ไม่ใช่ square matrix ได้นะครับ
__________________
The difference between school and life?
In school, you're taught a lesson and then given a test.
In life, you're given a test that teaches you a lesson.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 22 พฤษภาคม 2008, 10:42
คนบ้า's Avatar
คนบ้า คนบ้า ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 กุมภาพันธ์ 2008
ข้อความ: 32
คนบ้า is on a distinguished road
Default

ในขั้นตอนที่สอง นี่พจน์ $(n-m+1)(n-m )$ คือ จำนวน operations ในการคูณเพื่อทำให้แถวใต้ $a_{n,n}$ เป็นศูนย์ ใช่ไหมครับ

เลข2 นี่มายังไงครับ



ขอบคุณล่วงหน้าครับ

22 พฤษภาคม 2008 11:14 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ คนบ้า
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 23 พฤษภาคม 2008, 18:20
TOP's Avatar
TOP TOP ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 มีนาคม 2001
ข้อความ: 1,003
TOP is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ คนบ้า View Post
ในขั้นตอนที่สอง นี่พจน์ $(n-m+1)(n-m )$ คือ จำนวน operations ในการคูณเพื่อทำให้แถวใต้ $a_{n,n}$ เป็นศูนย์ ใช่ไหมครับ
$(n - m + 1)(n - m)$ เป็นจำนวนครั้งในการคูณ ซึ่งก็เท่ากับจำนวนครั้งในการบวกด้วย เมื่อนำมารวมกันค่าที่ได้จึงเป็น 2 เท่าของค่านี้ครับ
__________________
The difference between school and life?
In school, you're taught a lesson and then given a test.
In life, you're given a test that teaches you a lesson.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 30 พฤษภาคม 2008, 10:30
คนบ้า's Avatar
คนบ้า คนบ้า ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 กุมภาพันธ์ 2008
ข้อความ: 32
คนบ้า is on a distinguished road
Default

Thank you หลายเด้อครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
Gauss Elimination jae_bau คณิตศาสตร์อุดมศึกษา 1 03 สิงหาคม 2008 16:57


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 03:19


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha