Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์มัธยมศึกษา > ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 11 สิงหาคม 2005, 00:39
Ta Ta ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 ตุลาคม 2004
ข้อความ: 15
Ta is on a distinguished road
Post ช่วยพิสูจน์ให้ผมทีครับ

จงพิสูจน์ว่า (sinx)/x dx = pi/2
ผมดูวิธีทำให้หนังสือไม่เข้าใจเลย ขอวิธิทำแบบละเอียดเลยนะครับ ขอบคุณครัย
__________________
Mathematics inlove !!!
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 11 สิงหาคม 2005, 20:22
M@gpie's Avatar
M@gpie M@gpie ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 ตุลาคม 2003
ข้อความ: 1,227
M@gpie is on a distinguished road
Post

ถ้าเป็นแบบไม่จำกัดเขต ก็หาเป็นฟังก์ชันออกมาไม่ได้ครับ
อินทิกรัลที่ถูกต้อง น่าจะเป็นแบบนี้ครับ
\[ \int _0 ^{\infty} \frac{\sin x }{x } dx = \frac{\pi}{2} \]
ทำได้หลายวิธีมากๆครับ หนังสือที่คุณ Ta อ่านมาเป็นวิธีไหนเหรอครับ ถ้าพอจะรู้ก็จะพยายามอธิบายให้ตรงกับวิธีนั้นครับ
__________________
PaTa PatA pAtA Pon!

24 กันยายน 2007 00:02 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ M@gpie
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 23 กันยายน 2007, 20:53
Mastermander's Avatar
Mastermander Mastermander ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 ตุลาคม 2005
ข้อความ: 796
Mastermander is on a distinguished road
Default

Search มาเจอ

เลยมาท้วงว่าต้องเป็น

$$\int _0 ^{\infty} \frac{\sin x }{x } dx = \frac{\pi}{2}$$
__________________
โลกนี้มีคนอยู่ 10 ประเภท คือ คนที่เข้าใจเลขฐานสอง และคนที่ไม่เข้าใจ

23 กันยายน 2007 20:54 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Mastermander
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 24 กันยายน 2007, 00:02
M@gpie's Avatar
M@gpie M@gpie ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 ตุลาคม 2003
ข้อความ: 1,227
M@gpie is on a distinguished road
Default

แก้ไขแล้วขอบคุณน้อง Mastermander ครับ
__________________
PaTa PatA pAtA Pon!
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 24 กันยายน 2007, 21:48
DAKONG DAKONG ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 19 กุมภาพันธ์ 2007
ข้อความ: 77
DAKONG is on a distinguished road
Send a message via MSN to DAKONG
Smile

เพิ่งจะรู้จักมาเมื่อไม่นานมานี้เองครับ


http://mathworld.wolfram.com/SincFunction.html
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 24 กันยายน 2007, 23:18
Mastermander's Avatar
Mastermander Mastermander ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 ตุลาคม 2005
ข้อความ: 796
Mastermander is on a distinguished road
Default

Proving with Laplace Transform

$$L\{f(t)\}=\int_0^\infty e^{-st}f(t)\ dt$$

$$\displaystyle{L\{\sin t\}=\frac{1}{s^2+1} ,\; s>0}$$

$$\displaystyle{L\bigg\{ \frac{\sin t}{t}\bigg\}=\int_s^\infty \frac{dr}{1+r^2}=\frac{\pi}{2}-\arctan s}$$

$$F(s)=\int_0^\infty e^{-st}\frac{\sin t}{t} dt=\frac\pi2-\arctan s$$

$$F(0)=\int_0^\infty \frac{\sin t}{t} dt=\frac{\pi}{2}$$
__________________
โลกนี้มีคนอยู่ 10 ประเภท คือ คนที่เข้าใจเลขฐานสอง และคนที่ไม่เข้าใจ

24 กันยายน 2007 23:23 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Mastermander
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 25 กันยายน 2007, 00:56
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

$F(s)$ นิยามสำหรับ $s>0$ แล้วเราหา $F(0)$ ได้ยังไงครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 25 กันยายน 2007, 19:34
Timestopper_STG's Avatar
Timestopper_STG Timestopper_STG ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณคุ้มครองร่าง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 22 มกราคม 2006
ข้อความ: 256
Timestopper_STG is on a distinguished road
Send a message via MSN to Timestopper_STG
Default

หาลิมิตหรือเปล่าครับ???
__________________
$$\int_{0}^{\frac{\pi}{2}}\frac{a\cos x-b\sin x}{a\sin x+b\cos x}dx=\ln\left(\frac{a}{b}\right)$$
BUT
$$\int_{0}^{\frac{\pi}{2}}\frac{a\cos x+b\sin x}{a\sin x+b\cos x}dx=\frac{\pi ab}{a^{2}+b^{2}}+\frac{a^{2}-b^{2}}{a^{2}+b^{2}}\ln\left(\frac{a}{b}\right)$$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 25 กันยายน 2007, 21:40
M@gpie's Avatar
M@gpie M@gpie ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 ตุลาคม 2003
ข้อความ: 1,227
M@gpie is on a distinguished road
Default

ใช่แล้วครับจริงๆ ควรจะเขียนว่าลิมิตเมื่อ $s\rightarrow 0$ แต่ หนังสือส่วนใหญ่วิศวกรเป็นคนแต่งก็มักเขียนแบบนี้ครับ 55
__________________
PaTa PatA pAtA Pon!
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 25 กันยายน 2007, 22:02
Mastermander's Avatar
Mastermander Mastermander ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 ตุลาคม 2005
ข้อความ: 796
Mastermander is on a distinguished road
Default

ทดสอบโดย Dirichlets's Test ทำให้ได้ว่า $$\sum_{n=1}^\infty \frac{\sin n}{n}$$ Convergence.
ซึ่งทำให้ $\int_1^\infty \frac{\sin x}{x}\ dx$ ลู่เข้าด้วย
เนื่องจาก $\int_0^1 \frac{\sin x}{x}\ dx \in \mathbb{R}$
ทำให้ได้ว่า
$$\int_0^\infty \frac{\sin x}{x}\ dx$$ ลู่เข้าด้วย

เมื่อเราทดสอบได้แล้วว่าอินทิกรัลลู่เข้า ก็สามารถแทน $s=0$ ได้

ปล. ผมมั่วถูกรึเปล่าครับ
__________________
โลกนี้มีคนอยู่ 10 ประเภท คือ คนที่เข้าใจเลขฐานสอง และคนที่ไม่เข้าใจ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 26 กันยายน 2007, 01:43
M@gpie's Avatar
M@gpie M@gpie ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 ตุลาคม 2003
ข้อความ: 1,227
M@gpie is on a distinguished road
Default

พี่คิดว่า คนละเรื่องกันแล้วนะครับน้อง Mastermander ตอนแรกใช้ Laplace transform ซึ่งอินทิเกรตแล้วเป็น s-domain ซึ่งอยู่บน complex plane ซึ่งการแทนค่า $s$ นี้ขึ้นกับ Region of convergence ของ Laplace transform ในข้อนี้ Region of convergence เป็น $Re(s) > 0$ ไม่ใช่ $s>0$ เพราะ $s\in \mathbb{C}$

อีกอย่างคือตัวฟังก์ชัน $\frac{\sin x}{x}$ เองเนี่ยก็ไม่นิยามที่ 0 อยู่แล้วครับ แต่จะละไว้โดยการทำให้มันต่อเนื่องได้โดยให้มันเป็น 1 แต่วิธีการแสดงว่าลู่เข้าของอินทิกรัลนี้ คิดว่าถูกต้องแล้วครับแต่ไม่เกี่ยวกับการแทน $s=0$ ได้ เพราะจริงๆแล้วแทนไม่ได้แน่นอนครับผม
__________________
PaTa PatA pAtA Pon!

26 กันยายน 2007 01:46 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 3 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ M@gpie
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 15:05


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha