Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คลายเครียด > ฟรีสไตล์
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 24 ตุลาคม 2006, 11:12
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post ผลการประกาศรางวัล Fields Medals ปี 2006

รางวัล Fields Medal เป็นรางวัลเกียรติยศสูงสุดสำหรับนักคณิตศาสตร์เทียบเท่ารางวัลโนเบล ชื่อเหรียญรางวัลตั้งขึ้นตามชื่อของ John Charles Fields นักคณิตศาสตร์ชาวแคนาดา รางวัลนี้จะมีการประกาศทุกๆสี่ปี และปีนี้ปี 2006 มีผู้ได้รับรางวัลทั้งหมด 4 คน คือ
1. Andrei Okounkov
2. Grigori Perelman
3. Terence Tao
4. Wendelin Werner

วันนี้เพิ่งสอบเสร็จ ว่างงานมาก ผมจึงไปค้นประวัติและผลงานคร่าวๆของทั้งสี่คนมาให้อ่านกันครับ

Andrei Okounkov เกิดที่กรุง Moscow ประเทศรัสเซีย จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจาก Moscow State University ปัจจุบันเป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัย Princeton ในอเมริกา ผลงานที่ได้รับรางวัลคือการนำทฤษฎีความน่าจะเป็นและ Representation Theory ไปประยุกต์ใช้ในวิชา Algebraic Geometry ซึ่งเป็นวิชาที่นักคณิตศาสตร์กำลังสนใจกันอย่างกว้างขวาง

Grigori Perelman เป็นชาวรัสเซียเช่นเดียวกัน จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจาก Saint Petersburg State University สำหรับผลงานของคนนี้นั้นนักคณิตศาสตร์กำลังตรวจสอบกันอย่างเอาเป็นเอาตายเพราะพี่แกเป็นคนแรกที่ตีพิมพ์งานวิจัยที่นำไปสู่บทพิสูจน์ของ Conjecture สำคัญทาง Topology สองอย่างคือ Poincare Conjecture และ Thurston Geometrization Conjecture ในชื่อ ?Ricci Flow with Surgery on 3 ? Manifolds? สำหรับ Poincare Conjecture นั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นหนึ่งในเจ็ด Millennium Problems ซึ่งมีการตั้งรางวัลไว้สูงถึงปัญหาละหนึ่งล้านเหรียญสหรัฐ ส่วน Thurston Geometrization Conjecture เป็น conjecture ที่ต่อยอดจาก Poincare Conjecture อีกทีนึงครับ ตอนนี้เป็นที่แน่ชัด(รึเปล่า?)แล้วว่า Poincare Conjecture นั้นได้ถูกพิชิตไปเรียบร้อยแล้วโดยนาย Perelman คนนี้เพราะมีรายงานว่าไม่ตรวจพบข้อผิดพลาดใดๆในแนวทางการพิสูจน์ที่เขานำไปตีพิมพ์ไว้ที่ http://arxiv.org/archive/math แต่อย่างใด แต่น่าเสียดายที่พี่แกสละสิทธิ์ไม่ยอมรับรางวัลอันทรงเกียรตินี้ซะงั้น เอากะพี่แกสิ แนวจริงๆ

Terence Tao นานๆคนเอเชียเราจะได้มีชื่อจารึกไว้ในวงการคณิตศาสตร์ซักทีครับ(แอบดีใจไปกะเขาด้วย ) Terry(ชื่อเล่นเขาครับ) เกิดที่ออสเตรเลียแต่พ่อแม่เป็นชาวฮ่องกง คนนี้ได้ชื่อว่าเป็นอัจฉริยะของวงการคณิตศาสตร์ยุคปัจจุบันครับ เขาเป็นผู้เข้าแข่งขันที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์การแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิก โดยเริ่มเข้าแข่งขันในรายการนี้ด้วยอายุเพียงสิบขวบและได้เหรียญทองแดง และในที่สุดเขาก็ได้เหรียญทองเมื่ออายุเพียง 12 ปีเท่านั้น ตอนนี้ก็ยังเป็นเจ้าของสถิติเหรียญทองคณิตศาสตร์โอลิมปิกที่อายุน้อยที่สุดอยู่ครับ Terry เข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยเมื่ออายุเพียง 9 ขวบ เรียนจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัย Princeton ด้วยอายุเพียง 20 ปี ปัจจุบันอายุ 31 ปี(แก่กว่าผมสามปีเอง) ตีพิมพ์งานวิจัยไปแล้วประมาณ 80 ชิ้น ผลงานเด่นๆมีเยอะครับแต่ที่ผมจะเล่าให้ฟังคือ การพิสูจน์ conjecture ทางทฤษฎีจำนวนที่ว่า

?มีลำดับเลขคณิตของจำนวนเฉพาะในทุกความยาวที่กำหนดให้?

เช่น 109, 219, 329, 439, 549 เป็นลำดับเลขคณิตของจำนวนเฉพาะความยาว 5 เป็นต้น Terry พิสูจน์ทฤษฎีบทนี้กับเพื่อนอีกคนนึงชื่อ Ben Green ก่อนหน้านี้มีทฤษฎีบทที่เข้าใกล้ทฤษฎีนี้มากที่สุดซึ่งพิสูจน์โดยนักคณิตศาสตร์ชาวฮังการีชื่อ Endre Szemeredi แต่ก็ยังไม่ได้อยู่ดีเนื่องจากเซตของจำนวนเฉพาะนั้นไม่สอดคล้องเงื่อนไขในทฤษฎีบทของ Szemeredi (เคยเรียนวิธีพิสูจน์ทฤษฎีบทนี้มาเหมือนกันครับอยู่ใน Dynamical Systems) แต่สุดท้าย Terry และ Green ก็พิสูจน์สำเร็จจนได้

Terry มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อย่างยอดเยี่ยม หยิบจับอะไรก็ดูดีไปหมด(ตามสไตล์ของอัจฉริยะ ) งานวิจัยของเขาไม่ได้จำกัดอยู่ในสาขาใดสาขาหนึ่งทางคณิตศาสตร์ แต่กระจายไปยังสาขาต่างๆมากมายอาทิเช่น Nonlinear Differential Equations, Harmonic Analysis, Combinatorics, Number Theorey ยังมีงานวิจัยอีกหลายสาขาของเขาที่ผมยังไม่ได้เล่าให้ฟัง ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับ Differential Equations ครับ

Wendelin Werner เกิดที่เยอรมันแต่ปัจจุบันถือสัญชาติฝรั่งเศส จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจาก University of Paris VI ผลงานของเขาส่วนใหญ่จะเกี่ยวโยงกับฟิสิกส์ครับ เกี่ยวกับพวก Brownian Motion อะไรพวกนั้น ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ที่เขานำไปใช้ส่วนใหญ่จะเป็น ทฤษฎีความน่าจะเป็น และ Complex Analysis คนนี้ผมไม่รู้ประวัติมากเลยโม้ได้แค่นี้ครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น

25 ตุลาคม 2006 02:29 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ nooonuii
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 24 ตุลาคม 2006, 11:31
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post

เข้าไปดูหน้าตาของพวกเขาได้ที่นี่ครับ http://www.mathunion.org/medals/2006/
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 05 พฤศจิกายน 2006, 17:43
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Icon21

Terry Tao คนนี้ผมก็จำหน้าได้แม่นเลยครับ ลงนิตยสาร มิติที่ 4 มั้ง เมื่อสิบกว่าปีก่อน รูปที่ถ่ายออกมาเป็นท่านั่งกัดปากกาตอนทำข้อสอบโออยู่ ไม่นึกว่ายังอยู่ในวงการ เหอ ๆ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 09 พฤศจิกายน 2006, 20:25
thee's Avatar
thee thee ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 30 ตุลาคม 2004
ข้อความ: 119
thee is on a distinguished road
Post

เขาได้เงินกันคนละเท่าไรเหรอครับ รางวัลนี้อะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 09 พฤศจิกายน 2006, 21:12
Switchgear's Avatar
Switchgear Switchgear ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2006
ข้อความ: 472
Switchgear is on a distinguished road
Post

อ่านประวัติแล้วน่าชื่นชม และค้นหาประวัติได้ดีมากเลยครับ
ขอขอบคุณที่หาเนื้อหาดีๆ มาเล่าให้ฟัง :-)
__________________
หนึ่งปีของอัจฉริยะ อาจเทียบเท่าชั่วชีวิตของคนบางคน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 10 พฤศจิกายน 2006, 06:27
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ thee:
เขาได้เงินกันคนละเท่าไรเหรอครับ รางวัลนี้อะครับ
จะได้เงินรางวัลประมาณ 7000 ปอนด์ ซึ่งคิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 500,000 บาทครับ

comment : ผมว่าเงินรางวัลมันน้อยไปนะ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 10 พฤศจิกายน 2006, 22:51
thee's Avatar
thee thee ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 30 ตุลาคม 2004
ข้อความ: 119
thee is on a distinguished road
Post

เงินรางวัลน้อยจริงๆ ครับ ถ้าเทียบกับโนเบล แต่ก็ดูมีศักดิ์ศรี เทียบเท่ากับโนเบลเลยใช่ปะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 11 พฤศจิกายน 2006, 04:28
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post

หลังจากได้อ่านประวัติของ Perelman อีกรอบ พบว่าคนนี้ก็สุดยอดเหมือนกันครับ เคยได้เหรียญทองคณิตศาสตร์โอลิมปิกในปี 1982 ด้วยคะแนนเต็มมาแล้ว ตอนนี้ได้ข่าวว่าเขาอาจจะสละสิทธิ์ไม่รับเงินรางวัลจาก Clay Institute อีกด้วย ซึ่งเงินรางวัลที่เขาจะได้จากการที่เขาพิสูจน์ Poincare Conjecture ได้นั้น สูงถึง 1 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่อาจจะต้องแบ่งกับ Richard Hamilton ซึ่งเป็นคนคิด Ricci Flow ครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 18 ธันวาคม 2006, 02:03
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post

เข้ามา update ข่าว...

ปีนี้รู้สึกว่าจะเป็นปีทองของ Terence Tao จริงๆครับ ล่าสุดได้รับรางวัล Sastra Ramanujan Prize ไปอีกหนึ่งรางวัล รางวัลนี้มอบให้กับนักคณิตศาสตร์ที่สร้างผลงานทางคณิตศาสตร์โดยใช้ผลงานทางคณิตศาสตร์ที่ Ramanujan ได้พัฒนาขึ้นมา Ramanujan เป็นนักคณิตศาสตร์อัจฉริยะชาวอินเดีย มีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1887 - 1920 สร้างผลงานน่าทึ่งทางคณิตศาสตร์เอาไว้มากมายโดยเฉพาะทางด้าน ทฤษฎีจำนวน และ อนุกรมอนันต์ ดร.กิตติกร นาคประสิทธิ์ เล่าประวัติของ Ramanujan ไว้น่าอ่านมากที่นี่ครับ
http://www.vcharkarn.com/include/article/showarticle.php?Aid=241
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 20 สิงหาคม 2010, 00:04
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

ขอ update รางวัลสำหรับปี 2010 เอาไว้ที่นี่ด้วยเลย


And the Fields medals go to....

1. Stanislav Smirnov, Université de Genève

2. Elon Lindenstrauss, Hebrew University

3. Ngô Bảo Châu, Université Paris-Sud

4. Cédric Villani, Institut Henri Poincaré

Comment:
คนที่สามเป็นชาวเวียดนาม ยินดีกับชาวเวียดนามด้วยครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 20 สิงหาคม 2010, 00:17
หยินหยาง's Avatar
หยินหยาง หยินหยาง ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่จักรวาล
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,921
หยินหยาง is on a distinguished road
Default

แล้วคนไทยมีมั้ยครับ
2011 คุณ nooonuii ไปเอารางวัลนี้มาฝากคนไทยบ้างนะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #12  
Old 20 สิงหาคม 2010, 00:45
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ หยินหยาง View Post
แล้วคนไทยมีมั้ยครับ
2011 คุณ nooonuii ไปเอารางวัลนี้มาฝากคนไทยบ้างนะครับ
โอยไม่ไหวหรอกครับ แค่นั่งชื่นชมอยู่ห่างๆก็พอ

แต่คิดว่าอีกไม่นานไทยเราจะมีนักคณิตศาสตร์ในระดับนี้แน่นอน

ตอนนี้ยังอยู่ในช่วงส่งไป train กันอยู่ครับ

อ้อรางวัลนี้เขาแจกกันทุกสี่ปีครับ มาพร้อมบอลโลกเลย
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #13  
Old 21 สิงหาคม 2010, 00:11
Onasdi's Avatar
Onasdi Onasdi ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 พฤษภาคม 2005
ข้อความ: 760
Onasdi is on a distinguished road
Default

คนเอเชียสู้ๆครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #14  
Old 26 มิถุนายน 2011, 21:29
Real Matrik's Avatar
Real Matrik Real Matrik ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 พฤษภาคม 2011
ข้อความ: 386
Real Matrik is on a distinguished road
Default

ถ้าจำไม่ผิด ญี่ปุ่นได้ไป 3 เหรียญแล้วครับ

ปล. ทำไมไวลส์ไม่ได้รางวัลนี้นะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #15  
Old 26 มิถุนายน 2011, 22:27
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Real Matrik View Post
ถ้าจำไม่ผิด ญี่ปุ่นได้ไป 3 เหรียญแล้วครับ

ปล. ทำไมไวลส์ไม่ได้รางวัลนี้นะ
อายุเกิน $40$ ปีครับ เป็นข้อกำหนดของรางวัล
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
World ranking 2006 passer-by ฟรีสไตล์ 7 18 ตุลาคม 2006 13:10
ข้อสอบคณิตรอบ2 IJSO 2006 เมื่อวันที่ 20 ส.ค.ที่ผ่านมา (ม.ต้น) DeKlnwz ข้อสอบในโรงเรียน ม.ต้น 5 23 กันยายน 2006 07:57
SMO 2006 [Cb : TkZ] ข้อสอบโอลิมปิก 12 23 กรกฎาคม 2006 19:51
IMO 2006 nongtum ข้อสอบโอลิมปิก 2 13 กรกฎาคม 2006 21:58


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 05:37


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha