Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > คณิตศาสตร์อุดมศึกษา
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 08 ตุลาคม 2008, 12:21
lek_cha lek_cha ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 กันยายน 2007
ข้อความ: 21
lek_cha is on a distinguished road
Default ดูให้ด้วยครับบบบ

ทำไม


${(1+ \frac{x}{n})}^n = 1+x+\frac{n(n+1)}{2}\frac{x^2}{n^2}\dots>\frac{x^2}{4} and \frac{x^3}{27}$


ช่วยดูให้ด้วยนะครับบ ว่าทำไมถึงมากกว่า
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 10 ตุลาคม 2008, 01:01
คุณชายน้อย คุณชายน้อย ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 05 กรกฎาคม 2008
ข้อความ: 156
คุณชายน้อย is on a distinguished road
Default

ดูเฉลยของ nooonuii เองก็แล้วกันนะครับ.... รบกวน Screen คำถามด้วย ไม่อย่างนั้นคนอ่าน คนตอบ อาจจะเบื่อที่จะช่วยตอบนะครับ

10 ตุลาคม 2008 08:49 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ คุณชายน้อย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 10 ตุลาคม 2008, 01:52
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ lek_cha View Post
ทำไม


${(1+ \frac{x}{n})}^n = 1+x+\frac{n(n+1)}{2}\frac{x^2}{n^2}\dots>\frac{x^2}{4} \,and\, \frac{x^3}{27}$
ช่วยดูให้ด้วยนะครับบ ว่าทำไมถึงมากกว่า
ถ้า $x\geq 0$ และ $n\geq 3$ จะเป็นจริงครับ

${(1+ \frac{x}{n})}^n = 1+x+\dfrac{n(n-1)}{2}\dfrac{x^2}{n^2}+\dfrac{n(n-1)(n-2)}{6}\dfrac{x^3}{n^3}+\cdots$

เนื่องจาก $x\geq 0$ จึงเพียงพอที่จะแสดงว่า

$\dfrac{n(n-1)x^2}{2n^2}\geq \dfrac{x^2}{4}$

$\dfrac{n(n-1)(n-2)x^3}{6n^3}\geq \dfrac{x^3}{27}$

ซึ่งก็เำพียงพอที่จะพิสูจน์ว่า

$\dfrac{n(n-1)}{2n^2}\geq \dfrac{1}{4}$

$\dfrac{n(n-1)(n-2)}{6n^3}\geq \dfrac{1}{27}$

แต่

$\dfrac{n(n-1)}{2n^2}\geq \dfrac{1}{4}$

สมมูลกับ

$\dfrac{n-1}{n}\geq \dfrac{1}{2}$

$2n-2\geq n$

$n-2\geq 0$

$n\geq 2$

และ

$\dfrac{n(n-1)(n-2)}{6n^3}\geq \dfrac{1}{27}$

สมมูลกับ

$\dfrac{(n-1)(n-2)}{2n^2}\geq \dfrac{1}{9}$

$9(n-1)(n-2)\geq 2n^2$

$9n^2-27n+18\geq 2n^2$

$7n^2-27n+18\geq 0$

$(n-3)(7n-6)\geq 0$

ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นจริงจากข้อสมมติ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 10 ตุลาคม 2008, 10:32
คุณชายน้อย คุณชายน้อย ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 05 กรกฎาคม 2008
ข้อความ: 156
คุณชายน้อย is on a distinguished road
Default

nooonuii เฉลยได้ดี แต่อย่าลืมไปนะครับโจทย์เป็น Binomial ดังนั้น n เป็นจำนวนเต็มบวก เงื่อนไขการมีคำตอบของ nooonuii ยังมี Error อยู่ครับ ลองดู Source เผื่อมี Idea ในการ Simplify โจทย์
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 11 ตุลาคม 2008, 07:10
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ คุณชายน้อย View Post
nooonuii เฉลยได้ดี แต่อย่าลืมไปนะครับโจทย์เป็น Binomial ดังนั้น n เป็นจำนวนเต็มบวก เงื่อนไขการมีคำตอบของ nooonuii ยังมี Error อยู่ครับ ลองดู Source เผื่อมี Idea ในการ Simplify โจทย์
binomial ตัวยกกำลังเป็นจำนวนจริงก็ได้ครับ และเป็นได้แม้กระทั่งจำนวนเชิงซ้อน
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 11 ตุลาคม 2008, 22:26
คุณชายน้อย คุณชายน้อย ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 05 กรกฎาคม 2008
ข้อความ: 156
คุณชายน้อย is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ nooonuii View Post
binomial ตัวยกกำลังเป็นจำนวนจริงก็ได้ครับ และเป็นได้แม้กระทั่งจำนวนเชิงซ้อน
ปล. (ถ้าจำไม่ผิดนะครับ ไม่ได้ใช้มานาน...) ถูกต้องครับผม แต่ยกเว้น จำนวนเต็มลบนะครับ ... เพราะมีการใช้ฟังก์ชัน factorial มาคำนวน Combination ของ Binomial ในสัมประสิทธิ์ซึ่งเกิดจากสูตร
$$(n-1)! = \Gamma (n) = \int_{0}^{\infty}\,{t}^{n-1} {e}^{-t} dt $$
OK... โจทย์กระจายพจน์ที่ 3 ผิด และ n เป็นจำนวนทุกจำนวน เพราะ $n! = \infty i = Complex Infinity $ เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มลบ จึงทำให้เงื่อนไขเป็นจริงอยู่

11 ตุลาคม 2008 23:40 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ คุณชายน้อย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 12 ตุลาคม 2008, 00:11
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ คุณชายน้อย View Post
ปล. (ถ้าจำไม่ผิดนะครับ ไม่ได้ใช้มานาน...) ถูกต้องครับผม แต่ยกเว้น จำนวนเต็มลบนะครับ ... เพราะมีการใช้ฟังก์ชัน factorial มาคำนวน Combination ของ Binomial ในสัมประสิทธิ์ซึ่งเกิดจากสูตร
$$(n-1)! = \Gamma (n) = \int_{0}^{\infty}\,{t}^{n-1} {e}^{-t} dt $$
อันนี้เป็นนิยามของ factorial ครับ

ลองดูนิยาม binomial ที่สร้างโดยนิวตันได้ที่นี่ครับ

Binomial series
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 12 ตุลาคม 2008, 00:40
คุณชายน้อย คุณชายน้อย ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 05 กรกฎาคม 2008
ข้อความ: 156
คุณชายน้อย is on a distinguished road
Default

ขอบคุณครับ... แต่อย่าลืมนะครับ Combination $ \binom{n}{r} = \frac{n!}{(n-r)! r!}$ ซึ่งมีการคำนวณฟังก์ชันแฟคทอเรียล โดยใช้ แกมม่าฟังก์ชัน $ \Gamma (n)$ และ $ \Gamma (n)$ หาค่าไม่ได้ที่ n = -1,-2,-3,... นะครับ แต่ถ้าขยาย Domain ออกไปที่ Complex จะได้คำตอบของ
$$(-1)! = (-2)! = (-3)! = ... = Complex Infinity $$
ดูเพิ่มเติม..... ผมว่าเราเข้าใจเนื้องานในกระทู้นี้ดีทั้งคู่ กลัวว่าคนอื่นจะอึดอัด... เพราะจะลงลึก... จะสับสนเสียเปล่า OK.... นะครับ (Enough it?)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 12 ตุลาคม 2008, 01:19
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

สิ่งที่ผมอยากจะสื่อให้คุณชายเข้าใจคือ generalization ของ factorial กับ binomial นั้นไม่เหมือนกันครับ

generalization ของ factorial คือ Gamma function ตามที่คุณชายเข้าใจครับ

แต่ generalization ของ binomial coefficient ที่นิยามโดยนิวตันนั้นแตกต่างออกไป

ผมขอยกข้อความจาก wikipedia มาอ้างนะครับ

$$(1+x)^{\alpha}=\sum_{k=0}^{\infty}\binom{\alpha}{k} x^k $$

ซึ่งเรานิยาม

$$\binom{\alpha}{k}=\frac{\alpha(\alpha-1)\cdots (\alpha-k+1)}{k!} $$

จะเห็นว่าจากนิยามเราสามารถให้ $\alpha$ เป็นจำนวนจริง(หรือจำนวนเชิงซ้อน)ใดๆ

แต่ $k$ ต้องให้เป็น จำนวนเต็มบวกหรือศูนย์ ซึ่งสามารถใช้ factorial แบบธรรมดาได้

เราจึงไม่จำเป็นต้องใช้ gamma function แต่อย่างใด

ขออภัยเจ้าของกระทู้ที่ลากยาวมาไกลขนาดนี้ครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 12 ตุลาคม 2008, 02:28
คุณชายน้อย คุณชายน้อย ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 05 กรกฎาคม 2008
ข้อความ: 156
คุณชายน้อย is on a distinguished road
Default

ขอบคุณครับ.... ความเป็น generalization มันไม่เหมือนกันจริง ๆ ผมนั่งคิดอยู่ตั้งนาน ผมสับสนอะไร!!! เช่นเมื่อก่อน 0! = 1 เป็นทฤษฎีหรือนิยาม แน่นอนคำตอบก็คือนิยาม (นั่นมันตอนเด็ก ๆ) แต่พอมาหลัง ๆ generalization งานบ่อย ๆ ก็เลยบอกมันว่าเป็นทฤษฎีเฉยเลย เพราะเป็นกรณีหนึ่งของแกมม่าฟังก์ชันเมื่อ n = 1 เช่นเดียวกันผมไป generalization ของ Binomial ก่อนที่จะไปดูนิยามของ Binomial ที่แท้จริง ... ก็เลยติดยึดกับ factorial ครับ <---- น้อง ๆ ดูไว้นะครับ เป็นตัวอย่างการคิดที่ไม่ดีจริง ๆ .............
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 12 ตุลาคม 2008, 22:00
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ คุณชายน้อย View Post
ความเป็น generalization มันไม่เหมือนกันจริง ๆ
ผมก็เคยคิดแบบเดียวกับคุณชายนี่แหละครับ

ผมว่าไม่ใช่เรื่องผิดพลาดแต่อย่างใด

เพราะเราคุ้นเคยว่า

$$\binom{n}{r}=\frac{n!}{r!(n-r)!}$$

ก็เลยคิดไปทาง factorial ซึ่งก็ make sense

แต่ newton กลับมองไปอีกแบบ

ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าแบบของ newton ใช้งานได้ดีกว่า

และตรงตามจุดประสงค์การใช้งานคือ

generalization ของ ทฤษฎีบททวินาม

____________________________________________

ผมเคยพยายาม generalize factorial function ด้วย

แต่ไม่ได้เป็น Gamma function อย่างที่เขาใช้กันนะครับ

คิดแบบจินตนาการไปเรื่อย ตามกรอบความรู้ที่เรามี

แต่บางครั้งเราต้องกลับมามองที่จุดประสงค์การใช้งานของมันด้วย

ซึ่งสิ่งนี้อาจจะทำให้สิ่งที่เราฝันสลายไปในบัดดล
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 03:41


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha