Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์ทั่วไป > ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 15 พฤศจิกายน 2004, 14:53
kanji kanji ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 15 พฤศจิกายน 2004
ข้อความ: 151
kanji is on a distinguished road
Post จงตรวจสอบการพิสูจน์

ช่วยตรวจสอบการพิสูจน์ให้หน่อยนะครับว่า"วัวทุกตัวมีสีเดียวกัน"
ใช่หรือไม่

ให้ P(k) แทนข้อความ " วัวทุก ๆ k ตัวมีสีเดียวกัน" เห็นได้ชัดว่า
P(1) เป็นจริง ต่อไปสมมติว่า P(k) เป็นจริง นั่นคือ วัวทุก ๆ k ตัวมีสีเดียวกัน เราจะแสดงว่า P(k+1) เป็นจริงด้วย พิจารณาวัว k+1 ตัวใด ๆ นำวัวตัวหนึ่งออกจากการพิจารณา ดังนั้น วัวที่เหลือจะเป็นวัวจำนวน k ตัว จากที่เราสมมติว่า วัวทุก ๆ kตัว มีสีเดียวกัน ดังนั้น วัว k ตัวนี้จึงมีสีเดียวกัน นำวัวที่ถูกแยกออกตอนแรกกลับเข้ามาและนำวัวอีกหนึ่งตัวอื่นออกไปแทน ในทำนองเดียวกันเราจะได้ว่า วัว k ตัวกลุ่มใหม่ นี้มีสีเดียวกัน นั่นคือวัวทั้งหมด k+1 ตัวจึงมีสีเดียวกัน หรือ P(k+1) เป็นจริงนั่นเอง
__________________
Mathematics is my mind
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 15 พฤศจิกายน 2004, 23:08
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,607
gon is on a distinguished road
Smile

ผมว่ามันแปลก ๆ ตรงที่อยู่ ๆ บอกว่าไป " มองวัวที่มี k + 1 ตัว แล้ว หยิบออกไป 1 ตัว "

ตรงนี้ผมคิดว่าไม่น่าจะถูกนะ. การพิสูจน์ P(k + 1) ว่าเป็นจริง มันน่าจะเป็น เราหยิบตัว 1 ตัวใด ๆ ไปรวมกับวัวที่มี k ตัว จึงกลายเป็น k + 1 ซึ่งข้อความนี้เป็นเท็จแน่นอน เพราะ มีโอกาสอยู่เกือบ 100% ที่จะได้วัวที่มีสีต่างกับเดิม

การไปมองวัวที่มีอยู่ k + 1 ตัว มันจะเหมือนกับการยอมรับไปแล้วว่า P(k + 1) เป็นจริง การหยิบออกไป 1 ตัว แล้วบอกว่า วัวที่เหลือ k ตัว จะต้องเป็นจริงด้วย จึงไม่น่าจะถูกต้อง

คนอื่นคิดเห็นอย่างไรครับ ?

15 พฤศจิกายน 2004 23:09 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gon
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 16 พฤศจิกายน 2004, 04:51
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post

จริงๆแล้วต้องพิสูจน์ P(2) ให้จริงก่อนครับ เพราะในขั้นอุปนัยเราเอาวัวอย่างน้อยสองตัวมาเปรียบเทียบกันซึ่งจะทำไม่ได้ถ้า P(2) ไม่เป็นจริง
แต่ P(2) จริงป่าวล่ะ ?
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 16 พฤศจิกายน 2004, 10:55
<คิดด้วยคน>
 
ข้อความ: n/a
Post

ยังไม่ว่างคิดเรื่องหวยเลย แต่ไม่เป็นไรขอแสดงความเห็นเรื่องนี้ก่อนละกัน

การพิสูจน์นี้มีปัญหาในส่วนของการ induction จาก p(k) ไปสู่ p(k+1) แต่คุณกรอาจมองวิธีพิสูจน์นี้ไม่เข้าใจ ผมขอเรียบเรียงให้ใหม่นะครับ

สมมติว่า p(k) จริง ดังนั้น "วัวทุกๆ k ตัวมีสีเดียวกัน"

สมมติเริ่มต้นเรามีวัวอยู่ k ตัว โดยข้อสมมติจะได้ว่า วัวทั้ง k ตัวนี้มีสีเดียวกัน
จากนั้นเราเพิ่มวัวอีก 1 ตัวมาเข้ากลุ่ม รวมเป็นวัว k+1 ตัว เราจะพิสูจน์ว่า วัวทั้ง k+1 ตัวนี้มีสีเดียวกันทั้งหมดด้วย

เนื่องจากเรารู้แล้วว่า วัวทั้ง k ตัวเดิมมีสีเดียวกันหมด เหลือเพียงวัวอีก 1 ตัวที่เพิ่มขึ้นมา ไม่แน่ว่าจะมีสีเดียวกันหรือไม่ ก็ให้เราเลือกวัว 1 ตัวออกจากกลุ่มวัว k ตัวที่มีสีเดียวกันหมด แล้วเอาวัวตัวใหม่ไปแทนที่ รวมเป็นวัวในกลุ่ม k ตัว กับวัวอีก 1 ตัวที่ถูกดึงออกจากกลุ่ม

โดยข้อสมมติที่ p(k) จริงหรือ "วัวทุกๆ k ตัวมีสีเดียวกัน" ดังนั้น วัวในกลุ่ม k ตัวนั้นจึงมีสีเดียวกันหมดด้วย แสดงว่าวัวตัวใหม่ของเราก็มีสีเดียวกับวัว k ตัวในตอนแรกด้วย ดังนั้น วัวทุกๆ k+1 ตัวมีสีเดียวกันจริง หรือ p(k+1) จริง

การพิสูจน์นี้มีปัญหาในส่วนของการ induction จาก p(k) ไปสู่ p(k+1) เพราะไม่ได้เป็นจริงสำหรับ จำนวนนับ k ใดๆ ทำไม

หากเราสังเกตให้ดีๆจะพบว่า ในการพิสูจน์นี้ต้องมีวัวอย่างน้อย 2 ตัวขึ้นไป (k >= 2) จึงจะทำได้ เพราะ
  • ต้องมีวัวอย่างน้อย 1 ตัว เป็นวัวในกลุ่มที่ไม่ถูกดึงออกไป จะได้เป็นตัวเชื่อมโยงว่า สีของวัวกลุ่มเดิม กับวัวที่มาใหม่เป็นสีเดียวกัน
  • มีวัว 1 ตัว สำหรับดึงออกจากกลุ่ม แล้วให้วัวตัวใหม่เข้ามาแทนที่

หรือจะ induction จาก p(k) ไปสู่ p(k+1) ได้ เมื่อ k >= 2 เท่านั้น ดังนั้นเงื่อนไขเริ่มต้นเพื่อให้ induction นี้สมบูรณ์ จึงต้องเริ่มจากพิสูจน์ให้ได้ว่า p(2) จริง มิใช่ p(1) จริง (เพราะเราไม่สามารถ induction จาก p(1) ==> p(2) ได้)

แต่มาคิดๆดูอีกที หากเราพิสูจน์ได้ว่า p(2) จริงหรือ "วัวทุกๆ 2 ตัวมีสีเดียวกัน" มันก็เห็นได้ชัดอยู่แล้วว่า "วัวทุกตัวมีสีเดียวกัน"
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 17 พฤศจิกายน 2004, 17:02
PaoBunJin PaoBunJin ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 มีนาคม 2004
ข้อความ: 69
PaoBunJin is on a distinguished road
Send a message via MSN to PaoBunJin
Post

ผมก้อว่ามันแปลกๆตรงที่หยิบวัวออกมาเหมือนกันคับ เพราะเราอาจหยิบตัวเดิมออกไปก็ได้ แต่ถ้าบอกว่าเขียนหมายเลข 1 ถึง k+1 แล้วครั้งที่ 1 หยิบเลข 1 ไปเรื่อยๆ ถึง k+1 อย่างนี้คงเข้าใจได้ และถ้าเรายอมรับว่า p(1) จริงแล้วใช้วิธีนี้กับ p(2) ก็จะได้ว่า p(2) จริง เพราะ มีวัว 2 ตัว เอาออกไป 1 ตัว วัว 1 ตัวที่เหลือก้อมีสีเดียวกัน (ซึ่งจริงๆจะเห็นว่า p(2) เท็จแต่ถ้าพิสูจน์ด้วยวิธีนี้จะจริง ! ) แต่พอ p(3) เป็นต้นไปจะไม่จริง
ผมเห็นด้วยกับพี่กรนะครับ ว่ามันเหมือนกับการยอมรับว่า p(k+1) เป็นจริงไปก่อนแล้ว มันเลยดูเหมือนไม่ขัดแย้ง แต่ที่ คุณ kanji พิสูจน์คือ บอกว่า วัว k+1 ตัวหมายถึงวัวสีเดียวกัน k ตัวรวมกับวัว 1 ตัว เขียนเป็นสัญสักษณ์คือ p(k+1) = p(k)+1 ซึ่งจริงๆแล้วมันไม่เท่ากัน(คนละความหมาย)


* พี่กรคับเมื่อไรจะทำเสริมประสบการณ์เป็น E book อีกคับ แล้วหนังสือเขียนเกือบเสร็จยังคับ รออ่านอยู่นะคับ ^^ *

17 พฤศจิกายน 2004 17:20 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ PaoBunJin
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 17 พฤศจิกายน 2004, 17:40
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,607
gon is on a distinguished road
Smile

อืม. เหตุผลข้างบนที่พี่ให้ไว้ ผิดถูกยังไง คงต้องพิจารณาดี ๆ อีกหลาย ๆ ครั้งครับ. พี่ก็แค่คิดเล่น ๆ ไปรอบเดียว ยังไม่ได้ทบทวนอีกครั้งเลย ก็เฉยไว้ก่อน เพราะเจ้าของกระทู้เขายังไม่กลับมาสงสัยเลย

สำหรับน้อง.PaoBunJin. E-Book เสริมประสบการณ์พี่ยังไม่เคยทำนะ มีแต่เนื้อหาบทที่ 17 (ตอนโน้น) เรื่อง ลำดับและอนุกรม บางส่วน ที่เขียนไว้ ตอนนี้ก็คงถูกลบออกไปจาก server ??? เรียบร้อยแล้ว มีใครอยากได้อีกไหม ? เอาไปอ่านเล่นแก้กลุ้มก่อน ถ้ามีสมาชิกสนใจลงชื่อไว้สัก 5 คน. เดี๋ยวผมจะทิ้งให้ Download อีกที สัก 3 วัน.

เออใช่. เคยทำ E-Book รวมเล่มเสริมประสบการณ์ ไว้ตอนปีใหม่ 2002 มั้ง เดี๋ยวปีใหม่นี้ทำอีกทีดีหรือเปล่า ถ้ามีสมาชิกลงชื่อสนใจถึง 20 คน จะทำให้แล้วกันนะครับ.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 19 พฤศจิกายน 2004, 09:52
alongkorn alongkorn ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 สิงหาคม 2004
ข้อความ: 82
alongkorn is on a distinguished road
Post

ผมคิดว่าน่าจะปรับโจทย์ใหม่ตรงที่สีเดียวกัน คือ สีอะไร ณ ที่นี้ให้เป็นสีน้ำตาล นั่นคือจงพิสูจน์ว่า วัว n ตัวมีสีน้ำตาล ทุก nN
การพิสูจน์ ให้ P(n) แทนข้อความ วัว n ตัวมีสีน้ำตาล
ขั้นแรกต้องใส่เบอร์ (label) ให้กับวัวทุกตัว ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า P(1) คือ วัวตัวที่ 1 มีสีน้ำตาล จริง ซึ่งไม่แน่ว่าจะจริงหรือไม่
ต่อมาสมมติว่า P(k) วัวตัวที่ k ตัวมีสีน้ำตาล ต้องพิสูจน์อีกว่าวัวตัวที่ k+1 มีสีน้ำตาล
จุดอ่อนของโจทย์ข้อนี้อีกประเด็นก็คือ การอุปนัยเชิงคณิตศาสตร์จะใช้สำหรับการพิสูจน์ที่ nN นั่นคือในโลกนี้มีวัวอนันต์ตัว แต่ในความเป็นจริงวัวมีจำนวนจำกัด ไม่จำเป็นต้องใช้อุปนัยครับ เช่น จงพิสูจน์ว่า x2 - 16 0 ทุก x{1, 2, 3, 4} ไม่ต้องใช้อุปนัยครับ
__________________
รักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง

19 พฤศจิกายน 2004 09:56 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ alongkorn
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 19 พฤศจิกายน 2004, 14:13
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

เพื่อความชัดเจนผมขอเขียนโจทย์ใหม่อีกครั้งนะครับ

ให้ P(n) แทนข้อความว่า
"ในกลุ่มของวัวจำนวน n ตัวใดๆ วัวทุกตัวในกลุ่มนั้นจะมีสีเดียวกันหมด"

เรารู้อยู่แก่ใจว่าข้อความที่ว่า "P(n) เป็นจริงสำหรับทุกจำนวนนับ n" นั้นเป็นเท็จ

แต่ข้างล่างนี้ผมจะแสดงการพิสูจน์โดยใช้การอุปนัยเชิงคณิตศาสตร์
เพื่อให้เห็นว่าข้อความ "P(n) เป็นจริงสำหรับทุกจำนวนนับ n" นั้นเป็นจริง
สิ่งที่โจทย์ถามก็คือให้หาที่ผิดของการพิสูจน์ต่อไปนี้นั่นเอง

แน่นอน P(1) เป็นจริง

ต่อไปผมจะแสดงว่าถ้า P(k) เป็นจริงแล้ว P(k+1) จะเป็นจริงด้วย (k เป็นจำนวนนับ)

ให้ W แทนวัวหนึ่งตัวและ W1 W2 W3 ... Wk-1 Wk Wk+1 แทนกลุ่มของวัว k+1 ตัว

จะเห็นว่ากลุ่มของวัวที่อยู่ในวงเล็บ [ W1 W2 W3 ... Wk-1 Wk ] Wk+1
จะมีสีเดียวกันหมดเพราะเป็นกลุ่มของวัวจำนวน k ตัว

ทำนองเดียวกันกลุ่มของวัวที่อยู่ในวงเล็บปีกกา W1 { W2 W3 ... Wk-1 Wk Wk+1 }
ก็จะมีสีเดียวกันหมดเพราะเป็นกลุ่มของวัวจำนวน k ตัวเช่นกัน

แต่เนื่องจากกลุ่มของวัวขนาด k ตัวทั้งสองกลุ่มนั้นมีสมาชิกร่วมกันอยู่
ดังนั้นกลุ่มของวัวทั้งหมดซึ่งมีขนาด k+1 ตัวย่อมต้องมีสีเดียวกันด้วย!

ผมจะยังไม่เฉลยนะครับเผื่อคนที่เพิ่งจะเข้าใจโจทย์จะได้มีโอกาสคิดบ้าง

19 พฤศจิกายน 2004 14:26 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ warut
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 22 พฤศจิกายน 2004, 21:42
<งง>
 
ข้อความ: n/a
Post

ตอนแรกผมนึกว่าจบแล้ว
มันผิดเพราะว่า P(2) ไม่จริงไงครับ
เพราะ เซต 2 เซตที่สร้างนั้นมันไม่มีสมาชิกร่วมกัน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 23 พฤศจิกายน 2004, 00:03
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

งงเหมือนกัน...ไม่เข้าใจว่าที่คุณงงเขียนว่า "ตอนแรกผมนึกว่าจบแล้ว" หมายความว่าอย่างไร
แต่คำตอบของคุณงงยังไม่ถูกต้องนะครับ จริงๆแล้วการพิสูจน์ผิดเพราะ P(1) P(2) ไม่เป็นจริง
ไม่ใช่เพราะ P(2) ไม่จริง การพิสูจน์ในโจทย์ไม่ได้พูดถึงค่าความจริงของ P(2) เลยครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 10:49


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha