Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > Calculus and Analysis
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 19 พฤศจิกายน 2008, 16:20
owlpenguin's Avatar
owlpenguin owlpenguin ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 มีนาคม 2008
ข้อความ: 386
owlpenguin is on a distinguished road
Default ยกกำลังอนันต์ครั้ง

$x^{x^{x^{.^{.^{.}}}}}$ จะ converge เมื่อใดครับ
ช่วยแสดงวิธีทำด้วยครับ ขอบคุณครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 19 พฤศจิกายน 2008, 19:39
Timestopper_STG's Avatar
Timestopper_STG Timestopper_STG ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณคุ้มครองร่าง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 22 มกราคม 2006
ข้อความ: 256
Timestopper_STG is on a distinguished road
Send a message via MSN to Timestopper_STG
Default

ปัญหาข้อนี้ผมเคยคุยกับคุณ passer-by ผ่านทาง pm จึงขอนำบางส่วนมาให้ดู
ให้ $\displaystyle{f(x)=x^{x^{.^{.^{.}}}}},\forall x\in\mathbb{R}^{+}$ จะหา Domain
$$f(x)=y=x^{y}\rightarrow y'=\frac{f^{2}(x)}{x\left(1-\ln f(x)\right)}$$
ได้จุดวิกฤตเมื่อ $x=0,f(x)=0,e$ แต่ $x,f(x)=0$ ไม่ได้
ดังนั้นจาก $f(1)=1$ ทำให้ได้ว่า $f(x)=e$ เป็นค่าสูงสุดของฟังก์ชันเกิดเมื่อ $\displaystyle{x=e^{\frac{1}{e}}}$
และจาก $f$ เป็นฟังก์ชันเพิ่มอย่างแท้จริงบนช่วง $[1,\infty)$ ทำให้ได้ $\displaystyle{D_{f}\subseteq\left(0,e^{\frac{1}{e}}\right]}$
$$y=x^{y}\rightarrow\ln x=\frac{\ln y}{y}$$
ต่อไปพิจารณา $\displaystyle{g(x)=\frac{\ln x}{x},\forall x\in\mathbb{R}^{+}}$ จะได้ว่า $\displaystyle{R_{g}=\left(-\infty,\frac{1}{e}\right]}$
สรุปว่า $\displaystyle{\forall x\in\left(0,e^{\frac{1}{e}}\right]\exists y\in\mathbb{R}^{+},\ln x=\frac{\ln y}{y}}$ หรือ $\displaystyle{D_{f}=\left(0,e^{\frac{1}{e}}\right]}$
__________________
$$\int_{0}^{\frac{\pi}{2}}\frac{a\cos x-b\sin x}{a\sin x+b\cos x}dx=\ln\left(\frac{a}{b}\right)$$
BUT
$$\int_{0}^{\frac{\pi}{2}}\frac{a\cos x+b\sin x}{a\sin x+b\cos x}dx=\frac{\pi ab}{a^{2}+b^{2}}+\frac{a^{2}-b^{2}}{a^{2}+b^{2}}\ln\left(\frac{a}{b}\right)$$

19 พฤศจิกายน 2008 19:40 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Timestopper_STG
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 19 พฤศจิกายน 2008, 23:04
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Timestopper_STG View Post
$$f(x)=y=x^{y}\rightarrow y'=\frac{f^{2}(x)}{x\left(1-\ln f(x)\right)}$$
ดิฟผิดรึเปล่าครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 20 พฤศจิกายน 2008, 16:25
beginner01 beginner01 ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 15 กันยายน 2008
ข้อความ: 177
beginner01 is on a distinguished road
Default

ถูกแล้วไม่ใช่เหรอครับ?
ก็ $y=x^y$
$\ln{y}=y\ln{x}$ นั่นคือ $\frac{\ln{y}}{y}=\ln{x}$
$\displaystyle\frac{d\left(\frac{\ln{y}}{y}\right)}{dx}=\frac{d(\ln{x})}{dx}$ นั่นคือ $\displaystyle\frac{d\left(\frac{\ln{y}}{y}\right)}{dy}\cdot\frac{dy}{dx}=\frac{d(\ln{x})}{dx}$
จาก $\displaystyle\frac{d\left(\frac{\ln{y}}{y}\right)}{dy}=\frac{1-\ln{y}}{y^2}$
$\displaystyle\therefore\frac{dy}{dx}=\frac{1}{x}\cdot\frac{y^2}{1-\ln{y}}$
$\displaystyle y'=\frac{f^2(x)}{x(1-\ln{(f(x))})}$
__________________
จะคิดเลขก็ติดขัด จะคิดรักก็ติดพัน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 20 พฤศจิกายน 2008, 20:01
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Default

อูย คิดเลขผิดอีกละ (ลืมดิฟอีกข้างง่ะ ) เป็นอย่างงี้ทุกทีเลย เบื๊อเบื่อ

ขอบคุณ คุณ beginner01 ที่ช่วยให้ความกระจ่างครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 21 พฤศจิกายน 2008, 18:43
gnopy's Avatar
gnopy gnopy ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 มกราคม 2006
ข้อความ: 516
gnopy is on a distinguished road
Default

ก็ว่าระดับคุณ Timestopper จะดิฟผิด แคลเค้าไปถึงไหนแร้วหนะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 22 พฤศจิกายน 2008, 12:56
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

ในนี้กล่าวไว้ว่า $x^{x^{\cdot^{\cdot^{\cdot}}}}$ ลู่้เข้าเมื่อ $e^{-e}\leq x\leq e^{1/e}$ ครับ

exp(1)
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 22 พฤศจิกายน 2008, 17:12
beginner01 beginner01 ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 15 กันยายน 2008
ข้อความ: 177
beginner01 is on a distinguished road
Default

เห็นมันบอกในนี้ว่าถ้า $\displaystyle x<e^{-e}$ แล้วฟังก์ชัน $\displaystyle ^{n}x$ (tetration) นิยามโดย $\displaystyle ^{n}x=\underbrace{ูx^{x^{\cdot^{\cdot^{\cdot^{x}}}}}}_{n}$จะลู่เข้า 2 ค่า
ทำให้ $\displaystyle y=x^{x^{x^{\cdot^{\cdot^{\cdot}}}}}$ ไม่สามารถลู่เข้าได้ เมื่อ $\displaystyle x<e^{-e}$
http://en.wikipedia.org/wiki/Tetration
พอจะมีใครอธิบายได้ไหมครับ?
__________________
จะคิดเลขก็ติดขัด จะคิดรักก็ติดพัน

22 พฤศจิกายน 2008 17:14 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 3 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ beginner01
เหตุผล: แก้ไขเล็กๆน้อยๆ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 23 พฤศจิกายน 2008, 00:09
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

เรื่องนี้มีมาตั้งแต่สมัย Euler แล้วครับ

ลองดูจาก paper นี้

iterated exponentials

ถ้าใครอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมลองหาจาก google โดยใช้ keyword

iterated exponential
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 23 พฤศจิกายน 2008, 20:42
Timestopper_STG's Avatar
Timestopper_STG Timestopper_STG ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณคุ้มครองร่าง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 22 มกราคม 2006
ข้อความ: 256
Timestopper_STG is on a distinguished road
Send a message via MSN to Timestopper_STG
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ nooonuii View Post
ในนี้กล่าวไว้ว่า $x^{x^{\cdot^{\cdot^{\cdot}}}}$ ลู่้เข้าเมื่อ $e^{-e}\leq x\leq e^{1/e}$ ครับ
ถ้าทำตามวิธีของผมตัวเลข $\displaystyle{e^{-e}}$ จะโผล่มาตรงไหนไหมครับ
หรือว่าวิธีที่ผมทำมันมองข้ามจุดไหนไปทำให้ได้คำตอบเกิน
__________________
$$\int_{0}^{\frac{\pi}{2}}\frac{a\cos x-b\sin x}{a\sin x+b\cos x}dx=\ln\left(\frac{a}{b}\right)$$
BUT
$$\int_{0}^{\frac{\pi}{2}}\frac{a\cos x+b\sin x}{a\sin x+b\cos x}dx=\frac{\pi ab}{a^{2}+b^{2}}+\frac{a^{2}-b^{2}}{a^{2}+b^{2}}\ln\left(\frac{a}{b}\right)$$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 24 พฤศจิกายน 2008, 08:16
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Timestopper_STG View Post
และจาก $f$ เป็นฟังก์ชันเพิ่มอย่างแท้จริงบนช่วง $[1,\infty)$ ทำให้ได้ $\displaystyle{D_{f}\subseteq\left(0,e^{\frac{1}{e}}\right]}$
ผมว่าบรรทัดนี้ยังไม่ clear ครับ เพราะเรายังไม่รู้เลยว่าโดเมนของ $f$ เริ่มจาก $(0,...)$ จริงหรือเปล่า

ผมเจอ paper อีกอันนึงซึ่งมองฟังก์ชัน $f(x)=x^{x^{\cdot^{\cdot^{\cdot}}}}$

ให้เป็น inverse function ของฟังก์ชัน $g(x)=x^{1/x}$

อันนี้มาจาก $y=x^{x^{\cdot^{\cdot^{\cdot}}}}\Rightarrow y=x^y\Rightarrow x=y^{1/y}$

ดังนั้นโดเมนของ $f$ ก็คือ range ของ $g$

paper นี้จึงไปสนใจฟังก์ชัน $g(x)$ แทน
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #12  
Old 24 พฤศจิกายน 2008, 21:03
Timestopper_STG's Avatar
Timestopper_STG Timestopper_STG ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณคุ้มครองร่าง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 22 มกราคม 2006
ข้อความ: 256
Timestopper_STG is on a distinguished road
Send a message via MSN to Timestopper_STG
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ nooonuii View Post
ให้เป็น inverse function ของฟังก์ชัน $g(x)=x^{1/x}$
ดังนั้นโดเมนของ $f$ ก็คือ range ของ $g$
ผมทำอะไรผิดไปหรือเปล่าครับผมได้$\displaystyle{R_{g}=\left(0,e^{\frac{1}{e}}\right]}$
__________________
$$\int_{0}^{\frac{\pi}{2}}\frac{a\cos x-b\sin x}{a\sin x+b\cos x}dx=\ln\left(\frac{a}{b}\right)$$
BUT
$$\int_{0}^{\frac{\pi}{2}}\frac{a\cos x+b\sin x}{a\sin x+b\cos x}dx=\frac{\pi ab}{a^{2}+b^{2}}+\frac{a^{2}-b^{2}}{a^{2}+b^{2}}\ln\left(\frac{a}{b}\right)$$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #13  
Old 22 ธันวาคม 2008, 23:17
Juniors's Avatar
Juniors Juniors ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 30 พฤษภาคม 2008
ข้อความ: 35
Juniors is on a distinguished road
Default

ตกลงตอบอะไรกันแน่ครับ แต่ผมคิดว่าถ้า $x<e^{-e}$ จะได้ว่ามันลู่เข้า 2 ค่านะครับ ผมลองมาแล้วครับ มันแกว่ง
__________________
There are only two ways to live your life.
One is as though nothing is a miracle.
The other is as though everything is a miracle.

5th POSN: Gold medal
IPST 2008: Gold medal


Friendship:
Dektep RoSe_JoKer Anonymous314 owlpenguin tatari_nightmare
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #14  
Old 15 เมษายน 2009, 21:48
Juniors's Avatar
Juniors Juniors ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 30 พฤษภาคม 2008
ข้อความ: 35
Juniors is on a distinguished road
Default

ขอขุดหน่อยครับ
__________________
There are only two ways to live your life.
One is as though nothing is a miracle.
The other is as though everything is a miracle.

5th POSN: Gold medal
IPST 2008: Gold medal


Friendship:
Dektep RoSe_JoKer Anonymous314 owlpenguin tatari_nightmare
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #15  
Old 16 เมษายน 2009, 11:47
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Juniors View Post
ตกลงตอบอะไรกันแน่ครับ แต่ผมคิดว่าถ้า $x<e^{-e}$ จะได้ว่ามันลู่เข้า 2 ค่านะครับ ผมลองมาแล้วครับ มันแกว่ง
ขออ้างจาก link ที่ผมให้ไว้ในความคิดเห็นที่ 9 นะครับ

Lemma 1.9 ถ้า $x>e^{1/e}$ แล้ว $x^{x^{\cdot^{\cdot^{\cdot}}}}$ ลู่ออก

ุLemma 1.7 ถ้า $e^{-e}\leq x\leq e^{1/e}$ แล้ว $x^{x^{\cdot^{\cdot^{\cdot}}}}$ ลู่เข้า

Lemma 1.8 ถ้า $0<x<e^{-e}$ แล้วลำดับ $x^{x^{\cdot^{\cdot^{\cdot}}}}$ จะเป็น attracting 2-cycle

คำว่า attracting 2-cycle นี้เป็นภาษา Dynamical Systems ครับ หมายความว่า

ลำดับที่เราสร้างขึ้นมานั้นจะมีค่าแกว่งไปแกว่งมาในสองบริเวณ (ถ้าเป็น 3-cycle มันก็จะวนไปสองที่แล้วก็กลับมายังบริเวณใกล้ๆกับจุดเดิม)

แต่แกว่งอย่างเดียวไม่พอ คำว่า attracting บ่งบอกว่า ลักษณะการแกว่งจะถูกดึงดูดด้วยจำนวนค่าหนึ่งในแต่ละบริเวณ

หมายความว่า ถ้าเรามองที่ลำดับย่อยมันจะลู่เข้าด้วย

ซึ่งในที่นี้จะเป็นลำดับที่เกิดจากการทำซ้ำเป็นจำนวนคู่กับจำนวนคี่ครั้ง

โดยลำดับ

$x,x^{x^{x}},x^{x^{x^{x^x}}},...$ จะลู่เข้าหาจำนวนจริง $a$

และลำดับ

$x^x,x^{x^{x^x}},...$ จะลู่เข้าหาจำนวนจริง $b$

เมื่อ $a,b$ สอดคล้องระบบสมการ

$b=x^{x^b}$

$a=x^b$

สังเกตว่าจำนวนที่ดึงลำดับ $x^{x^{\cdot^{\cdot^{\cdot}}}}$ เข้าไปหาก็คือ $a,b$ นี่เ้องครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น

16 เมษายน 2009 12:01 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ nooonuii
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 02:37


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha