Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > ทฤษฎีจำนวน
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 18 ตุลาคม 2005, 21:28
gools's Avatar
gools gools ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 26 เมษายน 2004
ข้อความ: 390
gools is on a distinguished road
Post Last Fermat Theorem

ช่วยตรวจให้หน่อยครับว่าผิดตรงไหน จะได้เอาไปเป็นความคืบหน้าในการทำโครงงาน
ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาต์ ให้ \(n\) เป็นจำนวนเต็มบวกที่มากกว่า 2 แล้วสมการ \(x^n+y^n=z^n\) ไม่มีคำตอบที่เป็นจำนวนเต็มบวก
พิสูจน์ ให้ \(z\) เป็นค่าคงที่ พิจารณาฟังก์ชัน \(f:\mathbf{R}^+\rightarrow \mathbf{R}^+\) โดยที่
\[y=f(x)=\sqrt[n]{z^n-x^n}\]
ให้ฟังก์ชัน \(g(x)=x+k\) เมื่อ \(k\) เป็นค่าคงที่ที่เป็นจำนวนเต็มบวก ตัดกับ \(f(x)\) ที่จุด \((x_0,y_0)\) เมื่อ \(GCD(x_0,y_0)=1\)
เนื่องจาก
\[f'(x_0)=\lim_{h\rightarrow 0} \frac{f(x_0+h)-f(x_0)}{h}=-x_0^{n-1}(z^n-x^n_0)^{(1-n)/n}\]
เมื่อ \(h\) มีค่าเล็กมากๆ \(\frac{f(x_0+h)-f(x_0)}{h}\) จะมีค่าเข้าใกล้ \(-x_0^{n-1}(z^n-x^n_0)^{(1-n)/n}\) ดังนั้น
\[f(x_0+h) \approx -hx_0^{n-1}(z^n-x^n_0)^{(1-n)/n}+f(x_0)\]
ดังนั้นฟังก์ชัน \(l(h)=-hx_0^{n-1}(z^n-x^n_0)^{(1-n)/n}+f(x_0)\) เป็นเส้นสัมผัสโดยประมาณที่ดีที่สุดที่จุด \((x_0,y_0)\) เพราะ \(l(h)\) เป็นฟังก์ชันเดียวที่ \(\lim_{h\rightarrow 0} (f(x_0+h)-l(h))=0\)
แทน \(h\) ด้วย \(x\) จะได้ฟังก์ชัน
\[l(x)=-xx_0^{n-1}(z^n-x^n_0)^{(1-n)/n}+f(x_0)=-xx_0^{n-1}(z^n-x^n_0)^{(1-n)/n}+\sqrt[n]{z^n-x_0^n}\]
หาจุดตัดของฟังก์ชัน \(l(x)\) และ \(g(x)\) โดยการแทนค่า \(y=x+k\) เข้าไปในฟังก์ชัน \(l(x)\)
\[\begin{array}{rcl}x+k &=& -xx_0^{n-1}(z^n-x^n_0)^{(1-n)/n}+\sqrt[n]{z^n-x_0^n}\\x(1+x_0^{n-1}(z^n-x^n_0)^{(1-n)/n}) &=& \sqrt[n]{z^n-x_0^n}-k\\x &=& \frac{\sqrt[n]{z^n-x_0^n}-k}{1+x_0^{n-1}(z^n-x^n_0)^{(1-n)/n}}\\&=& \frac{y_0-k}{1+\frac{x_0^{n-1}}{(\sqrt[n]{z^n-x^n})^{n-1}}}\\&=& \frac{y_0-k}{1+\frac{x_0^{n-1}}{y^{n-1}}}\\&=& \frac{y_0^n-ky_0^{n-1}}{y_0^{n-1}+x_0^{n-1}}\end{array}\]
เนื่องจาก \(x=x_0\) ดังนั้น
\[\begin{array}{rcl}x_0&=&\frac{y_0^n-ky_0^{n-1}}{y_0^{n-1}+x_0^{n-1}}\\x_0(y_0^{n-1}+x_0^{n-1})&=&y_0^n-ky_0^{n-1}\\x_0^n-y_0^n&=&-y_0^{n-1}(k+x_0)\\ y_0-\frac{x_0^n}{y_0^{n-1}}&=&k+x_0\end{array}\]
เนื่องจาก \(GCD(x_0,y_0)=1\) และ \(k\) เป็นจำนวนเต็มบวกเสมอ จะได้ว่าค่า \(x\) หรือค่า \(y\) ของจุดตัดของฟังก์ชัน \(f(x)\) กับฟังก์ชัน \(g(x)\) ไม่เป็นจำนวนเต็มเสมอ
ดังนั้นสมการ \(x^n+y^n=z^n\) ไม่มีคำตอบที่เป็นจำนวนเต็มบวกทุกจำนวนเต็มบวก \(n\) ที่มากกว่า 2 และ \(GCD(x,y,z)=1\) และจากตรงนี้เราก็สามารถสรุปได้ว่าสมการ \(x^n+y^n=z^n\) ไม่มีคำตอบที่เป็นจำนวนเต็มบวกทุกจำนวนเต็มบวก \(n\) ที่มากกว่า 2

19 ตุลาคม 2005 11:16 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 8 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gools
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 19 ตุลาคม 2005, 00:19
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Post

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ gools:
\[f'(x_0)=\lim_{h\rightarrow 0} \frac{f(x_0+h)-f(x_0)}{h}=-x_0^{n-1}(z-x_0)^{(1-n)/n}\]
ผมหา \(f'(x_0)\) ได้เท่ากับ\[-x_0^{n-1}(z^n-x_0^n)^{(1-n)/n}\]
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 19 ตุลาคม 2005, 11:01
gools's Avatar
gools gools ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 26 เมษายน 2004
ข้อความ: 390
gools is on a distinguished road
Post

ขอบคุณพี่ warut มากครับ
แก้แล้วนะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 19 ตุลาคม 2005, 13:47
Punk Punk ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 108
Punk is on a distinguished road
Post

One mistake (and maybe many)! First you assume h to be a small perturbation of x from x_0. Thus you define f as a function of x=x_0+h. But then you set h to be x!!! So the new x(=h) is not same as the variable x in the function y=g(x)=x+k, i.e. you cannot find the intersecting point of g and l by the way you did.

Also you cannot set the new x(=h) to be x_0!!!
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 20 ตุลาคม 2005, 12:54
alongkorn alongkorn ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 สิงหาคม 2004
ข้อความ: 82
alongkorn is on a distinguished road
Talking

เป็นโครงงาน ป.ตรี เหรอครับ ถ้าคิดออกและถูกก็ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่เลยละครับ อยากเป็นกำลังใจให้ครับ เท่าที่อ่านก็เจอข้อผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ ครับ
1. กราฟผิดครับ กราฟของ y = x + k เมื่อ k เป็นจำนวนเต็มบวก น่าจะตัดแกน x ที่ -k นะครับ
2. ไม่ทราบว่า z ในฟังก์ชัน f ที่กำหนดให้เป็น constant จะเสียนัยสำคัญหรือไม่

ปัญหาเรื่องของการกำหนดให้ h มีค่าน้อยมาก ลองแก้โดยใช้ Mean Value Theorem ดู ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะ work หรือไม่
__________________
รักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง

20 ตุลาคม 2005 13:00 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ alongkorn
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 21 ตุลาคม 2005, 09:55
gools's Avatar
gools gools ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 26 เมษายน 2004
ข้อความ: 390
gools is on a distinguished road
Post

ขอบคุณพี่ๆทั้งสองคนมากเลยครับ
งั้นผมแทน \(h\) ด้วย \(x-x_0\) ได้มั้ยครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 22 ตุลาคม 2005, 00:48
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Post

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ gools:
ดังนั้นฟังก์ชัน \(l(h)=-hx_0^{n-1}(z^n-x^n_0)^{(1-n)/n}+f(x_0)\) เป็นเส้นสัมผัสโดยประมาณที่ดีที่สุดที่จุด \((x_0,y_0)\)
ผมไม่เข้าใจประโยคนี้ครับ คือเวลาพูดถึงเส้นสัมผัสผมก็นึกถึง linear function ในรูป \(l(x)=ax+b\) แต่ทำไมอันนี้มันเป็นฟังก์ชันของ h ล่ะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 22 ตุลาคม 2005, 09:58
gools's Avatar
gools gools ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 26 เมษายน 2004
ข้อความ: 390
gools is on a distinguished road
Post

ก็คงเป็นจุดที่ผิดอีกจุดหนึ่งครับ สมการเส้นสัมผัสจริงๆแล้วต้องแทน \(h\) ด้วย \(x-x_0\) อีกที จะได้ \(f(x) \approx -(x-x_0)x_0^{n-1}(z^n-x^n_0)^{(1-n)/n}+f(x_0)\) เมื่อ \(h\) มีค่าเข้าใกล้ \(0 \) นั่นคือ \(x\) มีค่าเข้าใกล้ \(x_0\)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 22 ตุลาคม 2005, 20:45
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post

บอกได้คำเดียวครับว่า

การประมาณไม่ใช่วิถีทางของพีชคณิต
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 23 ตุลาคม 2005, 19:23
gools's Avatar
gools gools ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 26 เมษายน 2004
ข้อความ: 390
gools is on a distinguished road
Post

คมมากครับพี่ nooonuii
สรุปก็คือวิธีนี้ไม่ work ใช่ไหมครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 23 ตุลาคม 2005, 20:43
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post

มันก็บอกไม่ได้หรอกครับ เพราะอย่าง Analytic Number Theory เขาก็ใช้ Analysis ในการศึกษา แต่ FLT เนี่ยมันเป็นทฤษฎีที่มีความละเอียดสูงมากแม้แต่วิชาพีชคณิตเองยังเข้าไปจับได้ยากมากๆครับ พี่ยังไม่ได้อ่านอย่างละเอียดเลยยังไม่รู้ว่ามีข้อผิดพลาดตรงไหนบ้าง(ตัวหนังสือค่อนข้างเล็กครับ อ่านไม่ค่อยออก ลองใส่ \Large{} คร่อมทั้งข้อความที่มี Latex ดูครับ จะอ่านได้ง่ายขึ้น)
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
Alternating series (and Abel's theorem) Punk Calculus and Analysis 3 17 กรกฎาคม 2012 21:05
ทำไมจึงเรียก Completeness Theorem rigor ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป 6 02 กรกฎาคม 2006 16:39
Tchebyshev theorem passer-by คณิตศาสตร์อุดมศึกษา 11 01 กุมภาพันธ์ 2006 23:46
Mean Value Theorem kanji ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป 8 27 มกราคม 2005 18:06
Fundamental Theorem of Calculus .... Not!!! aaaa ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป 13 27 มกราคม 2005 15:36


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 23:37


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha