Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คลายเครียด > ฟรีสไตล์
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #16  
Old 13 พฤษภาคม 2009, 21:24
คusักคณิm's Avatar
คusักคณิm คusักคณิm ไม่อยู่ในระบบ
เทพยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 28 มีนาคม 2008
ข้อความ: 4,888
คusักคณิm is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Platootod View Post
ผมก็อยากเรียนครับแต่ต้องทำใจว่าความฝันกับความจริงมันคนละอย่างกันครับ
ถ้าผมเรียนแล้วหางานไม่ได้ทำไงอ่ะครับ
หมายถึงไร วิทย์ หรือ วิศวะ
__________________
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #17  
Old 14 พฤษภาคม 2009, 22:32
cenia cenia ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไว
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 ธันวาคม 2008
ข้อความ: 206
cenia is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Platootod View Post
วิศวะไม่เกี่ยวกับวิทนะครับ
คณะวิทยาศาสตร์มันมีโควต้าไปวิศวะด้วยเหรอครับ
อ๋อ คือผมจะเรียนวิทยา คณิตครับ

แล้วเอาพื้นฐานคณิตฯไป ช่วยในวิศวะ


เผื่ออะไรๆ จะดีขึ้น


หมายเหตุ กำลังหาทุนไปเมืองนอก อิอิ (แต่ไม่รู้ว่าจะสอบได้หรือปล่าว)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #18  
Old 15 พฤษภาคม 2009, 20:39
pure_mathja pure_mathja ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 19 กันยายน 2008
ข้อความ: 81
pure_mathja is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Platootod View Post
ผมก็อยากเรียนครับแต่ต้องทำใจว่าความฝันกับความจริงมันคนละอย่างกันครับ
ถ้าผมเรียนแล้วหางานไม่ได้ทำไงอ่ะครับ

เรียนวิทยาศาสตร์ ถ้าเก่งทางด้านนั้นจริงๆ หรือที่ว่าแบบเจ๋งหน่อย มีงานทำเกือบหมดครับ
เห็นประมาณ 5-10% ของนักเรียนแต่ละปีไปเรียนนอก กลับมาเป็นอาจารย์ ตามมหาวิทยาลัย


เปลี่ยนความคิดพิชิตคณิตศาสตร์ จบเลขเป็นได้มากกว่า "ครู"

จะเรียนเลขมากมายไปทำไมให้ปวดหัว? เรียนคณิตศาสตร์แล้วจะทำมาหากินอะไรได้? จบคณิตศาสตร์ใครที่ไหนเขาจะรับเข้าทำงานถ้าไม่เป็นอาจารย์สอนหนังสือ? อีกสารพันคำถามและความคิดที่เกิดจากความไม่เข้าใจคณิตศาสตร์ แต่ต่อไปนี้เตรียมตัวลืมความเชื่อแบบนี้ไปได้เลย โดยเฉพาะในยุคของสังคมที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงรอบด้าน

นักเรียนชั้น ม.ปลาย จากโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศกว่า 150 ชีวิต ได้มีโอกาสใกล้ชิดกับนักวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้าของไทย ในกิจกรรมเสวนากับนักวิทยาศาสตร์ระดับชาติ ระหว่างเข้าค่ายกับโครงการ "ไทย ไซน์ แคมป์ ไทยแลนด์" (Thai Science Camp, Thailand) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-27 มี.ค.52 ณ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทยมาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนความเห็นกับ เด็กๆ อย่างเป็นกันเอง ซึ่งทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์

ศ.ดร.ยงค์วิมล เลณบุรี อาจารย์ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นสาขากายภาพ ประจำปี 2550 กล่าวในระหว่างบรรยายเรื่อง "ความเชื่อปรำปรากับวิชาคณิตศาสตร์" ว่าสมัยก่อนผู้คนมักมีความเชื่อว่า เรียนคณิตศาสตร์แล้วจะไปทำอะไรได้นอกจากเป็นครูเงินเดือนน้อยๆ

ทว่าปัจจุบันนี้ มีหลายองค์กรที่ต้องการนักคณิตศาสตร์เข้าไปร่วมงานจำนวนมาก และให้ค่าตอบแทนสูง เช่น ธนาคาร บริษัทประกันภัย องค์กรด้านการลงทุนต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องมีนักคณิตศาสตร์ช่วยในการวางแผน วิเคราะห์ข้อมูล หรือบริหารความเสี่ยง โดยเฉพาะนักคณิตศาสตร์ประกันภัย นอกจากนี้ก็ยังสามารถทำงานเกี่ยวกับสถิติ คอมพิวเตอร์ ฟิสิกส์ วิศวกรรมศาสตร์ ก็ได้เช่นกัน

"เหตุที่เราต้องเรียนคณิตศาสตร์ เพราะว่าคณิตศาสตร์นั้น เกี่ยวกับการแก้ปัญหา ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ มนุษย์มีปัญหาต้องแก้มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับการหาสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น อาหาร ให้เพียงพอต่อความต้องการ หรือการสร้างที่อยู่อาศัย การจัดการโซ่อุปสงค์อุปทาน และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งปัญหาเหล่านี้มีอยู่ให้เราต้องแก้จนถึงทุกวันนี้" ศ.ดร.ยงค์วิมลกล่าว

ทั้งนี้ ผู้ที่จะแก้ปัญหาได้สำเร็จ ต้องเข้าใจปัญหา สามารถตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ถูกต้องได้อย่างชาญฉลาด มีการวางแผนอย่างรอบคอบ และทดลองดำเนินการ เพื่อค้นหาวิธีการที่เหมาะสม ถูกต้องและความสมเหตุสมผล

สำหรับความคิด (โบร่ำโบราณ) ที่ว่า "เลือกเรียนสายศิลป์แล้ว แต่ทำไมยังต้องถูกบังคับให้เรียนคณิตศาสตร์อีก ทั้งที่ไม่เห็นจำเป็นจะต้องใช้อีกเลย เอาแค่คำนวณเงินในสมุดบัญชีธนาคารของเราได้ก็พอแล้ว" ศ.ดร.ยงค์วิมลชี้แจงว่า คณิตศาสตร์นั้นมีประโยชน์มากมายกว่าแค่การคิดเงินเท่านั้น

คณิตศาสตร์ใช้ได้ทั้งใน "ฮาร์ดไซน์" (hard science) ได้แก่ ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ และ “ซอฟต์ไซน์" (soft science) คือ เศรษฐศาสตร์ จิตวิทยา สังคมศาสตร์ และใช้ได้กับวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีทุกสาขา เช่น คอมพิวเตอร์ จรวดและการสื่อสาร เป็นต้น ส่วนด้านศิลปกรรมศาสตร์ สามารถนำคณิตศาสตร์ไปใช้ได้ทั้งด้านสถาปัตยกรรม การวาด การออกแบบ ไม่เว้นแม้แต่ดนตรี

ศ.ดร.ยงค์วิมล มีคำแนะนำว่า คนที่ชอบคณิตศาสตร์ ชอบความท้าทาย ชอบอะไรที่ใช้เหตุผล และไม่ชอบท่องจำ สามารถเรียนคณิตศาสตร์ได้เลย ส่วนการเรียนคณิตศาสตร์ให้ได้ดีและสนุกนั้น ต้องหมั่นฝึกฝนทำแบบฝึกหัด ก็จะทำให้ทำข้อสอบได้คะแนนดี เมื่อยิ่งได้คะแนนดี ก็จะยิ่งรู้สึกสนุกมากขึ้นและชอบเรียนวิชานี้มากขึ้น ทำให้ยิ่งชอบทำแบบฝึกหัด และก็ได้คะแนนดี และรู้สึกว่ายิ่งสนุก เป็นวัฏจักรแบบนี้เรื่อยไป

นอกจากนี้ ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ที่ปรึกษาอาวุโส ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) และนักวิทยาศาสตร์ชีวภาพแถวหน้าของไทยก็ได้มาร่วมให้ข้อคิดและคำแนะนำกับ เด็กๆ ด้วย โดยบอกว่า วิทยา ศาสตร์เป็นเรื่องราวของคนหนุ่มสาว และวิทยาศาสตร์มีความสวยงามอยู่ในตัวเองเพราะเป็นเรื่องใหม่ๆ และวิทยาศาสตร์ยังก้าวหน้าเร็วมาก เราต้องตามให้ทัน ต้องมีจิตใจที่กระตือรือล้น มีความขยันและอดทน

ใครที่คิดว่าชอบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก็เริ่มต้นศึกษาได้เลยแต่เนิ่นๆ เพราะเวลาไม่เคยรอใคร และการเรียนวิทยาศาสตร์ก็อย่าคิดเพียงว่า จะต้องเก่งและชนะ ต้องอาศัยเวลาและความอดทน เมื่อถึงจุดที่ตนเองพัฒนาแล้วก็ต้องหมั่นเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆ

พร้อมกับยกตัวอย่างนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกที่ประสบความสำเร็จหรือ เริ่มงานวิทยาศาสตร์ตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น ไอน์สไตน์, ลาวัวซิเอร์, ทิม เบอร์เนอร์-ลี (ผู้สร้างเวิลด์ไวด์เว็บ: www) เมื่ออายุ 25 ปี และชาร์ลส์ ดาร์วิน และพวกเขาเหล่านี้ยังทุ่มเทเวลาศึกษาต่อไปอีกหลายปี เพื่อให้งานมีความสมบูรณ์มากที่สุด

ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร นักฟิสิกส์ระดับหัวแถวของไทย เล่าว่าตนเองเป็นเด็กต่างจังหวัด (จ.ตรัง) เดิมที่ไม่ได้คิดจะเรียนวิทยาศาสตร์ แต่มีใจรักอยากจะเป็นครู ทั้งที่ค่านิยมในสมัยนั้นต้องเรียนแพทย์หรือวิศวกรรมศาสตร์เท่านั้น แต่ก็พยายามสอบชิงทุน จนได้ไปเรียนสาขาฟิสิกส์ในอังกฤษและสหรัฐฯ และกลับมาเป็นอาจารย์สอนที่ มศว. โดยมีไอน์สไตน์ และมาดามคูรี เป็นฮีโรในดวงใจ

อาจารย์ฟิสิกส์ให้ข้อคิดว่า การเรียนเก่ง ได้เกรดดี ไม่ได้หมายความว่าเราจะทำงานเก่งด้วย โดยยกตัวอย่างนักวิทยาศาสตร์เอกของโลกอย่าง ดาร์วิน เรียนจบแค่ปริญญาตรีด้วยเกรดระดับปานกลาง หรืออย่างไอน์สไตน์ที่มีประวัติสอบเข้าเรียนมหาวิทยาลัยไม่ได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความเป็นอัจฉริยะมาจากความขยันหมั่นเพียร พร้อมกับให้คำแนะนำว่าให้มองอนาคตหลังเรียนจบด้วยว่าเราจะทำงานอะไรที่ทำแล้วมีความสุขและเป็นประโยชน์ต่อสังคม

น.ส.รสสุคนธ์ รุ่งโรจน์โชติช่วง ชั้น ม.5 จากโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม จ.กาญจนบุรี หนึ่งในนักเรียนที่มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ กล่าวกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ ได้ความรู้เพิ่มเติมมากมาย หลายๆ เรื่องเป็นเรื่องที่ไม่เคยรู้มาก่อน แล้วยังมีโอกาสได้ซักถามปัญหาคาใจกับอาจารย์สุทัศน์ ที่ติดตามผลงานของอาจารย์มานานแล้ว และยิ่งทำให้รู้สึกว่าวิทยาศาสตร์ยังมีอะไรให้น่าค้นหาอีกมาก และตั้งใจว่าจะเรียนวิทยาศาสตร์แล้วนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับสังคม โดยมีมาดามคูรีเป็นนักวิทยาศาสตร์ในดวงใจ

ด้านนายรังสิมันตุ์ เพ็ชรป้อม ชั้น ม.5 โรงเรียนเทพมงคลรังษ์ จ.กาญจนบุรี เผยความรู้สึกว่าหลังจากได้ฟังเรื่องราวจากอาจารย์นักวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 คน ทำให้รู้ว่าวิทยาศาสตร์ยังมีเรื่องน่าสนใจให้ศึกษาอีกมากมาย และความรู้บางเรื่องอาจถูกหักล้างได้เมื่อมีการค้นพบใหม่ ยิ่งทำให้สนใจวิทยาศาสตร์มากขึ้นกว่าเดิมที่สนใจอยู่แล้ว โดยเฉพาะด้านชีววิทยาและดาราศาสตร์ โดยคิดว่าจะเลือกเรียนสาขาชีววิทยาแน่นอน และหลังจากนั้นจะพยายามศึกษาต่อไปในด้านชีวดาราศาสตร์.



ใครที่คิดว่าคนที่ชอบเรียน คณิตศาสตร์นั้นเป็น "เด็กเนิร์ด" ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ มีคลิปวิดีโอเพลง "I Will Derive" จาก ศ.ดร.ยงค์วิมล เลณบุรี มาฝากกัน ซึ่งดัดแปลงมาจากเพลง "I Will Survive" โดยใส่คำศัพท์คณิตศาสตร์เข้าไปในเนื้อเพลง ส่วนจะมีกี่คำ และคำว่าอะไรบ้าง ลองฟังกันได้ แล้วจะรู้ว่าคณิตศาสตร์ก็สร้างความสนุกสนานครื้นเครงให้ผู้เรียนได้และไม่ น่าเบื่ออย่างที่คิด
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #19  
Old 15 พฤษภาคม 2009, 21:13
cenia cenia ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไว
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 ธันวาคม 2008
ข้อความ: 206
cenia is on a distinguished road
Default

อันนี้ แหละ

ที่เราต้องการ

อิอิ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #20  
Old 26 พฤษภาคม 2009, 22:43
ToP_555's Avatar
ToP_555 ToP_555 ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 พฤษภาคม 2009
ข้อความ: 155
ToP_555 is on a distinguished road
Default

ใจของเราเองครับไม่มีใครบังคับได้หรอก
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #21  
Old 27 พฤษภาคม 2009, 05:37
ครูนะ ครูนะ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 ตุลาคม 2007
ข้อความ: 618
ครูนะ is on a distinguished road
Default

ผมไม่อยากจะพูดครับ ตอนนี้ต้องขอพูดครับ โดยพื้นฐานประเทศไทยมันแย่ครับ ไม่มีการสนับสนุนในด้านวิทยาศาสตร์เท่าไหร่ จริงๆ แล้ว ประเทศที่มีงบประมาณน้อย จะไม่ค่อยเน้นทางด้านวิทยาศาสตร์ ยกตัวอย่าง โรมาเนีย สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลมีงบประมาณมาก การศึกษาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ไปไกลมากครับ พอหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โรมาเนีย แย่ครับ ความนิยมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์จึงไม่มีเหมือนเมื่อก่อน แต่โดยรวมตอนนี้ยังดีกว่าประเทศไทยมากครับ อย่างประเทศเวียดนามก็หันมาพัฒนาคณิตศาสตร์มากครับ เพราะเล็งเห็นว่าใช้งบประมาณไม่มาก เพียงแค่ กระดาษ ดินสอและสมอง แต่สามารถพัฒนาบุคลากรในประเทศได้ครับ อย่างน้อยๆ ก็ให้คนในประเทศมีเหตุมีผล มีวินัย และเคารพกติกาบ้านเมือง
ต่างจากเมืองไทยมาก นอกจากไม่พัฒนา ยังทำลาย ง่ายๆ เลย คนที่เรียนมาทางคณิตศาสตร์จะถูกใครๆ ว่า ไม่มีอะไรจะเรียนหรือไง อยากเป็นครูเหรอ จนจะตาย
เคยมีรองศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยหนึ่ง บอกว่าไม่ต้องเก่งหรอก ทำยังไงก็ได้มีเงินมากๆ มากๆ ก็พอ
และตอนนี้ประเทศไทยมีปัญหา วิกฤตหลายด้านมากครับ ทำท่าว่าจะไปไม่รอด เพราะมุ่งพัฒนาตามอย่างตะวันตก แต่ลืมไปว่าโครงสร้างภายในประเทศ โดยเฉพาะวัฒนธรรมเรายังไม่พร้อม อีกนานครับ กับการพัฒนาปัญญาในประเทศไทย ฝรั่งเองมาเจอการศึกษาบ้านเรายังตกใจเลยครับ ฝรั่งมาบอกกับผมเองว่า ทำไปได้ จึงอยากจะบอกว่าถ้าคิดจะมาสายนี้ต้องใจรักจริงๆ ครับ ลำพังความคิดอยากเรียนอย่างเดียวไม่พอครับ จะถูกกระแสความด้อยปัญญาของสังคมไทยกลืน ซึ่งมันรุนแรงมากครับ ต้านยากมาก

27 พฤษภาคม 2009 05:38 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ ครูนะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #22  
Old 18 สิงหาคม 2009, 01:15
เอกสิทธิ์'s Avatar
เอกสิทธิ์ เอกสิทธิ์ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 30 กรกฎาคม 2009
ข้อความ: 602
เอกสิทธิ์ is on a distinguished road
Default

ทำสิ่งที่ตนรักเรียกว่าความสุข
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #23  
Old 18 สิงหาคม 2009, 13:13
ไอ้ลูกระเบิด ไอ้ลูกระเบิด ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 กรกฎาคม 2009
ข้อความ: 82
ไอ้ลูกระเบิด is on a distinguished road
Default

ผมก็เคยผ่านมาอยู่เหมือนครับ ถ้าสนใจอะไรก็ควรจะทำสิ่งนั้นเลยครับ เเต่ผมจะบอกสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งนะครับว่าไม่ควรทิ้งสิ่งที่ตนเองชอบ
ตัวผมเองก็เรียนวิศวะ เเต่ก็มีใจรักคณิตศาสตร์บริสุทอยู่ดีครับ

เอาใจช่วยครับ

18 สิงหาคม 2009 19:31 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ nongtum
เหตุผล: double post
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #24  
Old 18 สิงหาคม 2009, 22:19
เอกสิทธิ์'s Avatar
เอกสิทธิ์ เอกสิทธิ์ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 30 กรกฎาคม 2009
ข้อความ: 602
เอกสิทธิ์ is on a distinguished road
Default

ทำสิ่งที่ตนรักเรียกว่าความสุข ทำสิ่งที่ตนเองพอใจเรียกว่าความต้องการ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #25  
Old 22 สิงหาคม 2009, 00:21
KizPer KizPer ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 28 มิถุนายน 2008
ข้อความ: 36
KizPer is on a distinguished road
Default

งบงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เมืองไทยน้่อยครับ ไม่ค่อยก้าวหน้าเท่าที่ควร แต่ว่าทุน วิจัยของต่างประเทศก็มีเยอะพอสมควร
โครงสร้าง แผนงาน มาจากฝ่ายบริหารประเทศอย่างนี้ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #26  
Old 22 สิงหาคม 2009, 09:39
เอกสิทธิ์'s Avatar
เอกสิทธิ์ เอกสิทธิ์ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 30 กรกฎาคม 2009
ข้อความ: 602
เอกสิทธิ์ is on a distinguished road
Default

ถึงแม้งบประมาณจะน้อยอย่างไร แต่การพัฒนาความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ก็ไม่ต้องลงทุนมากมายอะไร แค่กระดาษกับปากกา ดินสอ ยางลบ กับคนที่มีไอเดียอะไรดี ๆ ก็แค่นั้น รัฐบาลน่าจะสนับสนุน

ใครเห็นด้วยยกมือขึ้น

22 สิงหาคม 2009 11:20 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ nongtum
เหตุผล: double post+แก้ไขเล็กน้อยโปรดใช้ปุ่มแก้ไข
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 04:36


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha