Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > คณิตศาสตร์อุดมศึกษา
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 20 เมษายน 2010, 09:57
จินตนาการ สร้างสรรค์ จินตนาการ สร้างสรรค์ ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 01 ธันวาคม 2009
ข้อความ: 40
จินตนาการ สร้างสรรค์ is on a distinguished road
Default สำหรับการพิสูจน์ลิมิต Delta & Epsilon คืออะไร ใครเป็นคนคิดอ่ะ

รบกวนช่วยประมวลความคิดของแต่ละท่านด้วยน่ะคับ

หรือว่าเป็นค่าที่ใช้สำหรับการพิสูจน์ลิมิตเท่านั้น แล้วเรื่องอื่นหล่ะมีป่าวคับ รบกวนหน่อย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 20 เมษายน 2010, 13:01
nongtum's Avatar
nongtum nongtum ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 3,246
nongtum is on a distinguished road
Default

ลองอ่านจากลิงค์พวกนี้ดูก่อนนะครับ
Calculus/Formal Definition of the Limit
(ε, δ) limit-definition
Limit (mathematics) (wiki)
(ε, δ)-definition of limit (wiki)
Epsilon-Delta Definition
__________________
คนไทยร่วมใจอย่าใช้ภาษาวิบัติ
ฝึกพิมพ์สัญลักษณ์สักนิด ชีวิต(คนตอบและคนถาม)จะง่ายขึ้นเยอะ (จริงๆนะ)

Stay Hungry. Stay Foolish.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 21 เมษายน 2010, 20:18
จินตนาการ สร้างสรรค์ จินตนาการ สร้างสรรค์ ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 01 ธันวาคม 2009
ข้อความ: 40
จินตนาการ สร้างสรรค์ is on a distinguished road
Default

ดีมากเลย เริ่มเข้าใจนิดนึง ว่าแต่ถ้าในกรณีที่ลิมิตหาค่าไม่ได้ เราจะพิสูจน์ยังไง หรือใช้ Contraposition Proof
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 22 เมษายน 2010, 06:20
ครูนะ ครูนะ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 ตุลาคม 2007
ข้อความ: 618
ครูนะ is on a distinguished road
Default

ยกตัวอย่างโจทย์ได้ไหมครับ กรณีที่ลิมิตหาค่าไม่ได้มันเป็นยังไง คือมันลู่ออก หรือ ไม่ลู่เข้า (ลำดับกวัดแกว่ง ในทางวิชาการไม่ใช้ ลู่ออก)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 22 เมษายน 2010, 11:08
จินตนาการ สร้างสรรค์ จินตนาการ สร้างสรรค์ ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 01 ธันวาคม 2009
ข้อความ: 40
จินตนาการ สร้างสรรค์ is on a distinguished road
Default

โจทย์ก็ ลิมิตของ sin(1/x) เมื่อ x เข้าใกล้ 0 ไม่มีค่าเกิดขึ้น เราจะต้องวิเคราะห์โจทย์หาเดลต้า ช่ายป่าวคับ

โดยที่ใช้การพิสูจน์แบบตรงข้าม โดยสมมติให้มีค่าเกิดขึ้น หยี่งนี้หรือป่าว

ผมยังไม่พิสูจน์เลย อิอิ หาแนวทางให้ได้ก่อน

^^

ช่วยหน่อยนะคับบ แลกเปลี่ยนการพิสูจน์เรื่องกันต่อไป เรื่อย ๆๆ เพราะว่ามันน่าสนใจดี
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 23 เมษายน 2010, 11:39
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

ให้ $L$ เป็นจำนวนจริงใดๆที่ไม่เป็นศูนย์ เลือก $\epsilon=\dfrac{|L|}{2}$

สำหรับแต่ละ $\delta >0$ เลือก $x=\dfrac{1}{n\pi}$ สำหรับบางค่า $n$

ซึ่งทำให้ $\dfrac{1}{n\pi}<\delta$

จะได้ว่า $|x|<\delta$ แต่

$|\sin{(1/x)}-L|=|L|> \dfrac{|L|}{2}=\epsilon$

สำหรับ $L=0$ เลือก $\epsilon=\dfrac{1}{2}$

สำหรับแต่ละ $\delta >0$ เลือก $x=\dfrac{2}{(4n+1)\pi}$ สำหรับบางค่า $n$

ซึ่งทำให้ $\dfrac{2}{(4n+1)\pi}<\delta$

จะได้ว่า $|x|<\delta$ แต่

$|\sin{(1/x)}-L|=1> \dfrac{1}{2}=\epsilon$

ดังนั้น $\lim_{x\to 0}\sin{\dfrac{1}{x}}$ หาค่าไม่ได้
__________________
site:mathcenter.net คำค้น

23 เมษายน 2010 11:45 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ nooonuii
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 24 เมษายน 2010, 06:00
ครูนะ ครูนะ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 ตุลาคม 2007
ข้อความ: 618
ครูนะ is on a distinguished road
Default

ผมเข้าใจครับ แต่วิธีเลือก x และ เอปซิลอน มีหลักอย่างไรครับในการเลือก ให้ถูกต้องและเหมาะสม

รบกวนช่วยด้วยครับ ผมอยากรู้จริงๆ ครับ

ขอบคุณมากครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 24 เมษายน 2010, 21:43
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

$x$ เลือกมาจากคุณสมบัติที่ว่า $\sin{n\pi}=0$ และ $\sin{(\frac{1}{2}+2n)\pi}=1$

ค่า $\epsilon$ เลือกมาทีหลัง หลังจากใส่ค่า $x$ ลงไป แล้วดูผลต่าง $|\sin{\frac{1}{x}}-L|$
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 25 เมษายน 2010, 07:04
ครูนะ ครูนะ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 ตุลาคม 2007
ข้อความ: 618
ครูนะ is on a distinguished road
Default

ขอบคุณมากครับ ผมอีกไกลเลยกว่าจะเข้าถึงมันได้

ในอาณาจักรคณิตศาสตร์ ผมรู้น้อยมากครับ รู้เท่าไข่มด

26 เมษายน 2010 05:38 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ ครูนะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 25 เมษายน 2010, 12:20
จินตนาการ สร้างสรรค์ จินตนาการ สร้างสรรค์ ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 01 ธันวาคม 2009
ข้อความ: 40
จินตนาการ สร้างสรรค์ is on a distinguished road
Default

อยากทราบว่า ถ้าพิสูจน์ลิมิตของ (3x-1)/(x-5) เมื่อ x เข้าใกล้ 3 เท่ากับ -4 โดยเค้าบอกว่าใช้เดลต้าเท่ากับ Delta (min) = (1,epsilon/7 )

ทำไมต้องเลือก Delta(1) = 1 and Delta (2) = epsilon / 7 และ สามารถเลือก Delta (1)= 1/2 ได้หรือไม่

ส่วนอันนี้ ถ้าเป็น lim (3x-1)/(x-5) เมื่อ x เข้าใกล้ 4 เท่ากับ -11 ทำไมต้องเลือก Delta (1) = 1/2 แล้วทำไมไม่เลือก Delta (1)= 1 ?

ปล. รบกวนด้วยน่ะคับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 25 เมษายน 2010, 13:15
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ จินตนาการ สร้างสรรค์ View Post
อยากทราบว่า ถ้าพิสูจน์ลิมิตของ (3x-1)/(x-5) เมื่อ x เข้าใกล้ 3 เท่ากับ -4 โดยเค้าบอกว่าใช้เดลต้าเท่ากับ Delta (min) = (1,epsilon/7 )

ทำไมต้องเลือก Delta(1) = 1 and Delta (2) = epsilon / 7 และ สามารถเลือก Delta (1)= 1/2 ได้หรือไม่

ส่วนอันนี้ ถ้าเป็น lim (3x-1)/(x-5) เมื่อ x เข้าใกล้ 4 เท่ากับ -11 ทำไมต้องเลือก Delta (1) = 1/2 แล้วทำไมไม่เลือก Delta (1)= 1 ?

ปล. รบกวนด้วยน่ะคับ
ไม่จำเป็นต้องเลือกแบบนั้นก็ได้ ถ้าเรามีวิธีอื่นในการทำให้เงื่อนไขทุกอย่างเป็นจริง ลองดูของผมก็ได้

ให้ $\epsilon >0$ เลือก $\delta = \dfrac{\epsilon}{\epsilon+7}$

จะเห็นว่า $\delta < 1$

ถ้า $|x-3|<\delta$ แล้ว

$-\delta < x-3 < \delta$

$-\delta - 2 < x-5 < \delta - 2$

$2-\delta < 5-x < \delta + 2$

ดังนั้น $|x-5|=5-x > 2-\delta$

จึงได้

$\Big|\dfrac{3x-1}{x-5}+4\Big|=\dfrac{7|x-3|}{|x-5|}$

$~~~~~~~~~~~~~~~~<\dfrac{7\delta}{2-\delta}$

$~~~~~~~~~~~~~~~~=\dfrac{7\epsilon}{\epsilon+14}$

$~~~~~~~~~~~~~~~~<\epsilon$

แต่เลือก $\dfrac{1}{2}$ คงไม่ได้เพราะมันเจาะจงค่าเกินไป ส่วนใหญ่ต้องเลือกให้เป็นฟังก์ชันของ $\epsilon$ ครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #12  
Old 25 เมษายน 2010, 22:36
จินตนาการ สร้างสรรค์ จินตนาการ สร้างสรรค์ ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 01 ธันวาคม 2009
ข้อความ: 40
จินตนาการ สร้างสรรค์ is on a distinguished road
Default

นั่นหมายความว่า เราไม่จำเป็นต้องกำหนดแบบนั้นช่ายป่ะ

แต่ให้เราพิจารณาสิ่งที่เรามีอยู่ นั่นคือ 0<abs(x-a)< Delta โดยที่ Abs(f(x)-L)< Epsilon โดยที่ Epsilon and Delta > 0

และอยากทราบว่า พี่กำหนด เดลต้ายังไง หรือว่ามาจาก 0<abs(x-a)< Delta โดยปรับให้อยู่ให้รูปของ Epsilon

ที่เอาไปสมมูลกับ Abs(f(x)-L) < Epsilon ใช่มั๊ยคับ ( จากที่พี่ทำให้ข้างบน )
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #13  
Old 26 เมษายน 2010, 01:53
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

เลือกมาจาก $|f(x)-L|<\epsilon$ ครับ

นี่คือเงื่อนไขที่เราต้องการมากที่สุดในการพิสูจน์
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #14  
Old 26 เมษายน 2010, 05:39
ครูนะ ครูนะ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 ตุลาคม 2007
ข้อความ: 618
ครูนะ is on a distinguished road
Default

แนวทางของอาจารย์ NOOONUII ต้องดูว่าฟังก์ชันนั้นต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอด้วยใช่ไหมครับ
เพราะถ้าไม่ต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอแล้ว จะเลือกเดลต้าขึ้นกับเอปซิลอนค่าเดียวไม่ได้
นั่นคือ อาจารย์รู้มาล่วงหน้าแล้วว่าฟังก์ชันนี้ต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ
รบกวนด้วยครับ ผมคิดถูกไหม ผมสงสัยมากครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #15  
Old 26 เมษายน 2010, 10:27
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ ครูนะ View Post
แนวทางของอาจารย์ NOOONUII ต้องดูว่าฟังก์ชันนั้นต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอด้วยใช่ไหมครับ
เพราะถ้าไม่ต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอแล้ว จะเลือกเดลต้าขึ้นกับเอปซิลอนค่าเดียวไม่ได้
นั่นคือ อาจารย์รู้มาล่วงหน้าแล้วว่าฟังก์ชันนี้ต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ
รบกวนด้วยครับ ผมคิดถูกไหม ผมสงสัยมากครับ
ไม่เกี่ยวกับ uniform continuity แต่อย่างใดครับ

เลือกตามนิยามของลิมิตโดยตรงเลยครับ โจทย์อยากได้อะไรก็มองไปที่เงื่อนไขนั้น

แล้วก็พยายามจัดรูปให้ได้ค่าประมาณของ $\delta$

เริ่มจาก

$\Big|\dfrac{3x-1}{x-5}+4\Big|=\dfrac{7|x-3|}{|x-5|}$

เรารู้ว่า $|x-3|<\delta$ จึงได้เป็น

$\dfrac{7|x-3|}{|x-5|}<\dfrac{7\delta}{|x-5|}$

คราวนี้มันจะติดเทอม $|x-5|$ อยู่ จึงหาทาง เปลี่ยนให้ขึ้นกับ $\delta$ โดยการเล่นกับอสมการ

$|x-3|<\delta$

$-\delta -2 < x - 5 < \delta - 2$

เนื่องจาก $\delta$ ควรจะมีค่าน้อยๆ จึงสมมติว่า $\delta < 2$ เอาไว้ก่อน

ซึ่งถ้าสมมติเงื่อนไขนี้เราจะได้

$2-\delta < 5-x < \delta + 2$

ซึ่งจะได้ $2-\delta < |x-5|$

$\dfrac{1}{|x-5|}<\dfrac{1}{2-\delta}$

จึงได้ว่า

$\dfrac{7|x-3|}{|x-5|}<\dfrac{7\delta}{2-\delta}$

ดังนั้น

$\Big|\dfrac{3x-1}{x-5}+4\Big|<\dfrac{7\delta}{2-\delta}$

แต่เราอยากได้ว่า

$\Big|\dfrac{3x-1}{x-5}+4\Big|<\epsilon$

ถ้าเราบีบให้ $\dfrac{7\delta}{2-\delta}<\epsilon$ เราก็จะได้อสมการที่ต้องการ

จากอสมการนี้แก้อสมการได้ว่า

$\delta < \dfrac{2\epsilon}{\epsilon + 7}$

ดังนั้นเราก็เลือก $\delta$ เป็นอะไรก็ได้ที่น้อยกว่า $\dfrac{2\epsilon}{\epsilon + 7}$ และต้องไม่ลืมเงื่อนไขที่ว่า $\delta<2$ ด้วย แต่้เงื่อนไขนี้จะถูกกลืนไปด้วยเงื่อนไข

$\delta < \dfrac{2\epsilon}{\epsilon + 7}$ เพราะว่า $ \dfrac{2\epsilon}{\epsilon + 7}<2$ เสมอ

จึงเลือก $\delta$ ให้ขึ้นกับเงื่อนไข $\delta < \dfrac{2\epsilon}{\epsilon + 7}$ ก็พอ

ที่อธิบายมาทั้งหมดเป็นวิธีคิดในเศษกระดาษครับ เวลาเขียนพิสูจน์ก็นำมาเรียบเรียงใหม่ให้สละสลวย

เหมือนที่ผมอธิบายไว้ข้างบนครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 03:25


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha