Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > เรขาคณิต
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 15 มีนาคม 2018, 08:25
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default เรขาคณิตของอัตราส่วนผสม

เคยได้ยินปัญหาแบบนี้ไหมครับ......
คำถามที่1.....มีน้ำส้มชนิด A ความเข้มข้น 8% ราคาขวดละ 18บาท
น้ำส้มชนิด B ความเข้มข้น 10% ราคาขวดละ 22บาท
และน้ำส้มชนิด C ความเข้มข้น 15% ราคาขวดละ 25บาท
โดยที่น้ำส้มแต่ละชนิดมีขนาดขวดปริมาตรเท่ากัน
ถ้านำน้ำส้มทั้งชนิดมาผสมกันในอัตราส่วนA:B:C=1:2:3
ถามว่าน้ำส้มผสมที่ได้มีความเข้มข้นเท่าใด
และถ้าจะขายน้ำส้มที่ผสมนี้ต้องตั้งราคาขายไว้ที่อย่างน้อยน้อยขวดละเท่าใดถึงจะไม่ขาดทุน?
......หลักการหาคำตอบก็ใช้หลักหาค่าเฉลี่ยน้ำหนักใช่ไหมครับ?
คำตอบจะคือ ความเข้มข้นเฉลี่ยเท่ากับ$\frac{[(8x1)+(10x2)+(15x3)]}{(1+2+3)}=\frac{73}{6}\approxร้อยละ12.17 $
และราคาเฉลี่ยอยู่ที่ขวดละ$\frac{[(18x1)+(22x2)+(25x3)]}{(1+2+3)}=\frac{137}{6}\approx 22.83บาท $

คำถามที่2.....สามเหลี่ยม$ABC$มีพิกัด....$A(8,18).....B(10,22) และC(15,25)$
จุดDอยู่บนด้านABโดยแบ่งเส้นตรง$AB$เป็นอัตราส่าน$2:1$.......$(AD: DB=2:1)$
จุดEอยู่บนด้านBCโดยแบ่งเส้นตรง$CB$เป็นอัตราส่าน$3:2$.......$(BE:EC=3:2)$
และจุดFอยู่บนด้านACโดยแบ่งเส้นตรง$AC$เป็นอัตราส่าน$3:1$.......$(AF:FC=3:1)$
ถามว่าถ้าลากเส้นDC,EAและFBจะมาตัดกันที่จุดๆเดียวใช่หรือไม่และถ้าใช้จงหาพิกัดของจุดนั้น?
ตามรูปประกอบที่แนบนะครับ
รูปภาพที่แนบมาด้วย
 
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต

15 มีนาคม 2018 09:54 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ tngngoapm
เหตุผล: คิดเลขผิด
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 15 มีนาคม 2018, 16:32
superman1786's Avatar
superman1786 superman1786 ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 05 มกราคม 2018
ข้อความ: 53
superman1786 is on a distinguished road
Default

ผมน่าจะเคยเจอคำถามที่1ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 16 มีนาคม 2018, 11:44
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ superman1786 View Post
ผมน่าจะเคยเจอคำถามที่1ครับ
เชื่อไหมครับถ้าจะบอกว่าคำถามที่2มีคำตอบเดียวกับคำถามที่1
ทั้งๆที่ทั้งสองปัญหาไม่น่าจะมีอะไรเกี่ยวข้องกัน
คำถามแรกสามารถใช้พีชคณิตพื้นฐานมาแก้ปัญหาได้โดยไม่ยากนัก
แต่คำถามที่2มีลักษณะเป็นทวิปัญหากับคำถามที่1คือไม่ได้เกี่ยวข้องกัน
แต่สามารถจัดระเบียบวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหามาสัมพันธ์อ้างอิงถึงกันได้
....ซึ่งคำถามที่2ก็คือการหาcentroid of pointแบบมีน้ำหนักของจุด....ผมเข้าใจถูกต้องไหมครับ
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 16 มีนาคม 2018, 17:00
superman1786's Avatar
superman1786 superman1786 ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 05 มกราคม 2018
ข้อความ: 53
superman1786 is on a distinguished road
Default

พี่ครับคำถามที่2พี่ลองทำให้ผมดูเอาละเอียดเลยครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 19 มีนาคม 2018, 15:46
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ superman1786 View Post
พี่ครับคำถามที่2พี่ลองทำให้ผมดูเอาละเอียดเลยครับ
คือคำถามที่2 ถ้ามองปัญหาแบบเรขาคณิตวิิธีหนึ่งที่ใช้แก้ปัญหาคือวิธีแบบเรขาคณิตวิเคราะห์
อันดับแรกหาจุดหรือพิกัด $D,E,F$ให้ได้ก่อนตามรูปแนบครับ
หลังจากนั้นหาสมการเส้นตรง $AE,BFและCD$ แก้สมการจะได้เส้นตรงทั้ง3เส้นตัดกันที่จุดๆเดียวคือ$(\frac{73}{6},\frac{137}{6} )$
จะเห็นว่าวิธีนี้มีความซับซ้อนของการคิดเลขค่อนข้างมาก แต่มีความชัดเจนดี

แต่ถ้าใช้วิธีน้ำหนักของจุดจะลดความซับซ้อนของตัวเลขลงได้เยอะแต่ไม่แน่ใจว่าถ้ามี4จุดไปจะซับซ้อนขึ้นไหม
อีกระเบียบวิธีก็เนี่ยละครับ เรขาคณิตของส่วนผสมคือวิธีเกรเดียนไลน์ของอัตราส่วนผสมซึ่งพอมีโอกาสจะนำเสนอให้ครับ
รูปภาพที่แนบมาด้วย
 
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 22 มีนาคม 2018, 00:56
superman1786's Avatar
superman1786 superman1786 ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 05 มกราคม 2018
ข้อความ: 53
superman1786 is on a distinguished road
Default

ขอบคุณมากครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 22 มีนาคม 2018, 10:57
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default ระเบียบวิธีเส้นส่วนผสม

การหาปริมาณผสมของของผสม2ชนิดและ3ชนิดเบื้องต้นที่อัตราส่วนผสมหนึ่งๆแบบวิธีทางเรขาคณิต.....
ด้วยระเบียบวิธีนี้สามารถใช้วิธีย้อนกลับแก้ปัญหาทางเรขาคณิตเช่นเส้นตัดกันภายในรูปสามเลี่ยมหรือหลายเหลี่ยมได้
รูปภาพที่แนบมาด้วย
   
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 04 มิถุนายน 2018, 17:59
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default

ของผสม4ชนิดก็มีเรขาคณิตของส่วนผสมที่อัตราส่วนต่างๆเช่นกัน...
ยกตัวอย่างเช่นผสมของ4อย่างด้วยอัตราส่วนผสม1:2:3:4จะมีวิธีการหาส่วนผสมแบบเรขาคณิตดังรูป
รูปภาพที่แนบมาด้วย
   
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 17 พฤศจิกายน 2018, 10:05
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default ตัวอย่างการประยุกต์ความน่าจะเป็นเข้ากับเรขาคณิต

การนำเรขาคณิตของอัตราส่วนผสมมาประยุกต์กับความน่าจะเป็น...
เช่น...ถ้าถามว่ามีความเป็นไปได้เท่าใดที่จะผสมของผสม3อย่างคือ A,Bและ C โดยที่อัตราส่วนของผสม A:Bต้องมากกว่า 1:2 และอัตราส่วนของผสมระหว่าง C:Bต้องมากกว่า 3:2 จะตอบได้ว่ามีความเป็นไปได้เท่ากับ$ \frac{1}{3} $เท่านั้น....
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต

17 พฤศจิกายน 2018 10:07 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ tngngoapm
เหตุผล: สลับBกับC
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 23 มกราคม 2019, 14:39
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default การประยุกต์ค่าเฉลี่ยแบบมีน้ำหนักของจุด

กำหนดสามเหลี่ยม$ABC$มีมุม$A,BและC$เป็นมุมยอดที่มีขนาด$\leqslant 90^\circ $
และมีพิกัด $(x_a,y_a),(x_b,y_b)และ(x_c,y_c)$ตามลำดับ
...จะสามารถหาพิกัด$(x_i,y_i)$ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของวงกลมภายในสามเหลี่ยมนี้ได้คือ
การหาค่าเฉลี่ยแบบมีน้ำหนักของจุดโดยให้น้ำหนักดังนี้...
...จุดAมีน้ำหนักถ่วงเท่ากับ sinA
...จุดBมีน้ำหนักถ่วงเท่ากับ sinB
...จุดCมีน้ำหนักถ่วงเท่ากับ sinC
หรือ...$x_i=\frac{(sinA)(x_a)+(sinB)(x_b)+(sinC)(x_c)}{sinA+sinB+sinC} $
$y_i=\frac{(sinA)(y_a)+(sinB)(y_b)+(sinC)(y_c)}{sinA+sinB+sinC} $

...จะสามารถหาพิกัด$(x_o,y_o)$ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของวงกลมล้อมรอบสามเหลี่ยมนี้ได้คือ
การหาค่าเฉลี่ยแบบมีน้ำหนักของจุดโดยให้น้ำหนักดังนี้...
...จุดAมีน้ำหนักถ่วงเท่ากับ sin2A
...จุดBมีน้ำหนักถ่วงเท่ากับ sin2B
...จุดCมีน้ำหนักถ่วงเท่ากับ sin2C
หรือ...$x_o=\frac{(sin2A)(x_a)+(sin2B)(x_b)+(sin2C)(x_c)}{sin2A+sin2B+sin2C} $
$y_o=\frac{(sin2A)(y_a)+(sin2B)(y_b)+(sin2C)(y_c)}{sin2A+sin2B+sin2C} $
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 28 มกราคม 2019, 12:14
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ tngngoapm View Post
กำหนดสามเหลี่ยม$ABC$มีมุม$A,BและC$เป็นมุมยอดที่มีขนาด$\leqslant 90^\circ $
และมีพิกัด $(x_a,y_a),(x_b,y_b)และ(x_c,y_c)$ตามลำดับ
...จะสามารถหาพิกัด$(x_i,y_i)$ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของวงกลมภายในสามเหลี่ยมนี้ได้คือ
การหาค่าเฉลี่ยแบบมีน้ำหนักของจุดโดยให้น้ำหนักดังนี้...
...จุดAมีน้ำหนักถ่วงเท่ากับ sinA
...จุดBมีน้ำหนักถ่วงเท่ากับ sinB
...จุดCมีน้ำหนักถ่วงเท่ากับ sinC
หรือ...$x_i=\frac{(sinA)(x_a)+(sinB)(x_b)+(sinC)(x_c)}{sinA+sinB+sinC} $
$y_i=\frac{(sinA)(y_a)+(sinB)(y_b)+(sinC)(y_c)}{sinA+sinB+sinC} $

...จะสามารถหาพิกัด$(x_o,y_o)$ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของวงกลมล้อมรอบสามเหลี่ยมนี้ได้คือ
การหาค่าเฉลี่ยแบบมีน้ำหนักของจุดโดยให้น้ำหนักดังนี้...
...จุดAมีน้ำหนักถ่วงเท่ากับ sin2A
...จุดBมีน้ำหนักถ่วงเท่ากับ sin2B
...จุดCมีน้ำหนักถ่วงเท่ากับ sin2C
หรือ...$x_o=\frac{(sin2A)(x_a)+(sin2B)(x_b)+(sin2C)(x_c)}{sin2A+sin2B+sin2C} $

$y_o=\frac{(sin2A)(y_a)+(sin2B)(y_b)+(sin2C)(y_c)}{sin2A+sin2B+sin2C} $


...และสามารถหาพิกัด$(x_{orthocenter},y_{orthocenter})$ซึ่งเป็นจุดตัดกันของส่วนสูงทั้งสามของสามเหลี่ยมนี้ได้คือ
การหาค่าเฉลี่ยแบบมีน้ำหนักของจุดโดยให้น้ำหนักดังนี้
...จุดAมีน้ำหนักถ่วงเท่ากับ (-sin2A+sin2B+sin2C)
...จุดBมีน้ำหนักถ่วงเท่ากับ (sin2A-sin2B+sin2C)
...จุดCมีน้ำหนักถ่วงเท่ากับ (sin2A+sin2B-sin2C)
หรือ...$x_{orthocenter}=\frac{(-sin2A+sin2B+sin2C)(x_a)+(sin2A-sin2B+sin2C)(x_b)+(sin2A+sin2B-sin2C)(x_c)}{sin2A+sin2B+sin2C} $
$y_{orthocenter}=\frac{(-sin2A+sin2B+sin2C)(y_a)+(sin2A-sin2B+sin2C)(y_b)+(sin2A+sin2B-sin2C)(y_c)}{sin2A+sin2B+sin2C}$...
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #12  
Old 08 เมษายน 2019, 11:27
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default การหาจุดcentriodของรูปเรขาคณิตในระนาบด้วยวิธีน้ำหนักของจุด

ตัวอย่างที่1...กรณีจุด3จุดในระนาบ
จุดเซนทรอยด์ของรูปเรขาคณิตสามเหลี่ยมของจุดทั้งสามในระนาบคือค่าเฉลี่ยแบบมีน้ำหนักของจุดทั้งสามในอัตราส่วนที่เท่ากัน
ตัวอย่างที่2...กรณีจุด4จุดในระนาบ
จุดเซนทรอยด์ของรูปเรขาคณิตสี่เหลี่ยม(นูน)ในระนาบคือค่าเฉลี่ยแบบมีน้ำหนักของจุดทั้งสี่ในอัตราส่วน$1:1+p: p:1+pตามทิศทวนเข็มนาฬิกา
เมื่อpคืออัตราส่วนของพื้นที่ของสามเหลี่ยม2รูปที่ประกอบกันเป็นสี่เหลี่ยมนั้น โดยให้แบ่งสี่เหลี่ยมนั้นให้เป็นสองรูปตามแนวจุด2จุดที่ให้น้ำหนักเป็น1+pเท่ากัน$
---------------แก้ไขชื่อเรื่องเป็น "centroid"
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต

13 เมษายน 2019 09:17 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 3 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ tngngoapm
เหตุผล: นำเครื่องหมาย$ออก
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #13  
Old 13 เมษายน 2019, 09:21
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default การหาจุดตัดกันของเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมในระนาบด้วยวิธีน้ำหนักของจุด

...รูปสี่เหลี่ยมนูนในระนาบที่มีจุดยอด4จุดคือ A,B,Cและ D เรียงกันทวนเข็มนาฬิกาตามลำดับ จะสามารถหาจุดตัดกันของเส้นทแยงมุมด้วยวิธีหนึ่งคือ...วิธีน้ำหนักของจุดได้โดยให้ค่าน้ำหนักของจุดต่างๆดังนี้
1.จุดAให้น้ำหนักเท่ากับพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมBCDซึ่งเป็นสามเหลี่ยมที่อยู่ตรงข้ามกับจุดA
2.จุดBให้น้ำหนักเท่ากับพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมCDAซึ่งเป็นสามเหลี่ยมที่อยู่ตรงข้ามกับจุดB
3.จุดCให้น้ำหนักเท่ากับพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมDABซึ่งเป็นสามเหลี่ยมที่อยู่ตรงข้ามกับจุดC
4.จุดDให้น้ำหนักเท่ากับพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมABCซึ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมอยู่ตรงข้ามกับจุดD
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #14  
Old 16 เมษายน 2019, 19:53
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default วงกลมแนบนอกสามเหลี่ยม

กำหนดสามเหลี่ยม$ABC$มีมุม$A,BและC$เป็นจุดยอดและมีพิกัด $(x_a,y_a),(x_b,y_b)และ(x_c,y_c)$ตามลำดับ
...จะสามารถหาพิกัด$(x_{OA},y_{OA})$ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของวงกลมแนบนอกสามเหลี่ยมนี้ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับจุด$A$ได้คือ
การหาค่าเฉลี่ยแบบมีน้ำหนักของจุดโดยให้น้ำหนักดังนี้...
...จุดAมีน้ำหนักถ่วงเป็นลบเท่ากับ $(-sinA)$
...จุดBมีน้ำหนักถ่วงเท่ากับ $sinB$
...จุดCมีน้ำหนักถ่วงเท่ากับ $sinC$
หรือ...$x_{OA}=\frac{(-sinA)(x_a)+(sinB)(x_b)+(sinC)(x_c)}{(-sinA+sinB+sinC)} $
$y_{OA}=\frac{(-sinA)(y_a)+(sinB)(y_b)+(sinC)(y_c)}{(-sinA+sinB+sinC)} $
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #15  
Old 19 เมษายน 2019, 06:50
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default วงกลมแนบในสี่เหลี่ยม

กำหนดสี่เหลี่ยม$ABCD$มีมุม$A,B,CและD$เป็นจุดยอดและมีพิกัด $(x_a,y_a),(x_b,y_b),(x_c,y_c)และ(x_d,y_d)$ตามลำดับ
และสี่เหลี่ยมรูปนั้นสามารถมีวงกลมแนบในได้
...จะสามารถหาพิกัด$(x_i,y_i)$ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของวงกลมแนบในสี่เหลี่ยมนี้ได้คือ
การหาค่าเฉลี่ยแบบมีน้ำหนักของจุดโดยให้น้ำหนักดังนี้...
...จุดAมีน้ำหนักถ่วงเท่ากับ $sinA$
...จุดBมีน้ำหนักถ่วงเท่ากับ $sinB$
...จุดCมีน้ำหนักถ่วงเท่ากับ $sinC$
และจุดDมีน้ำหนักถ่วงเท่ากับ $sinD$
หรือ...$x_i=\frac{(sinA)(x_a)+(sinB)(x_b)+(sinC)(x_c)+(sinD)(x_d)}{(sinA+sinB+sinC+sinD)} $
$y_i=\frac{(sinA)(y_a)+(sinB)(y_b)+(sinC)(y_c)+(sinD)(y_d)}{(sinA+sinB+sinC+sinD)} $
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต

19 เมษายน 2019 10:32 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ tngngoapm
เหตุผล: แก้ไขเอ็กซ์เป็นวายน์
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 20:31


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha