Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คลายเครียด > ฟรีสไตล์
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #16  
Old 25 เมษายน 2011, 20:51
หยินหยาง's Avatar
หยินหยาง หยินหยาง ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่จักรวาล
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,921
หยินหยาง is on a distinguished road
Default

มาเพิ่มข้อมูลให้อีกว่าปัญหานี้ไม่ได้อยู่ที่นักการเมืองโกงกิน และก็ุรู้มาตั้งแต่ปี 51 แต่เป็นที่ระบบ

อึ้ง! คะแนนโอเน็ตได้ 0 กว่าแสนคน ‘ชินวรณ์’ ชี้ไม่ตั้งใจทำข้อสอบ
“ชินวรณ์” ระบุ นักเรียนไม่ตั้งใจทำข้อสอบโอเน็ต ส่งผลเด็ก ป.6, ม.3 กว่า 1 แสนคน ได้ 0 คะแนน กปน.สรุปกำหนดตัวบ่งชี้เพิ่มเปรียบเทียบคะแนน GAT-PAT พร้อมนำข้อมูลประสานองค์กรหลักรวบรวมเสนอ ครม.

นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เผยผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (กนป.) เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุม กนป.ได้พิจารณาตัวชี้วัดในเรื่องของตัวบ่งชี้ที่ได้กำหนดไว้ เช่น เรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องใฝ่รู้ใฝ่ดี เรื่องของความเป็นพลเมือง เรื่องของการมีงานทำ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ กนป.ต้องการให้เกิดขึ้นจริง แต่ที่ผ่านมา เราไม่เคยมีตัวชี้วัด หรือตัวบ่งชี้อย่างเป็นรูปธรรม เพราะส่วนใหญ่จะเน้นแต่การทำกิจกรรม ดูแค่ว่าได้ทำอะไรไปบ้าง

นายชินวรณ์ กล่าวต่อว่า ใน ที่ประชุม กนป.จึงได้กำหนดตัวบ่งชี้ที่ออกมาจากตัวนักเรียนอย่างแท้จริง โดยผ่านอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง อย่าง ผลสัมฤทธิ์แบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ระหว่างปี 51-53 ที่ผ่านมา เป็นต้น ซึ่งอยู่ในระดับยังไม่น่าพอใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีตัวเลขที่ชี้วัดว่า มีนักเรียนได้คะแนนเป็นศูนย์ถึง 100,000 คน ตนคิดว่า สาเหตุน่าจะเกิดมาจากผลการสอบโอเน็ตไม่ได้นำมาใช้ในการประเมินการผ่านช่วง ชั้นหรือการเรียนต่อ ทำให้นักเรียนจำนวนดังกล่าวไม่สนใจ ที่ประชุม เห็นว่า ควรจะนำตัวเลขเข้ามาเปรียบเทียบเพิ่มขึ้น โดยเป็นในส่วนของการสอบแบบทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT) และการสอบแบบทดสอบความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ (PAT) เข้ามาเปรียบเทียบด้วย ซึ่งในท้ายสุดที่ประชุมก็ได้ให้ความเห็นชอบในตัวบ่งชี้ที่ได้กำหนดเอาไว้

นายชินวรณ์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาผลของการศึกษาของอนุกรรมการทั้ง 7 ชุดที่ กนป.ได้มอบหมายไป ซึ่งได้ให้ความเห็นชอบการดำเนินของอนุกรรมการ พร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะให้อนุกรรมการ แต่ละชุดประสานกับองค์กรหลักของ ศธ.เพื่อนำผลการศึกษาดังกล่าวมาสู่ปฏิบัติจริง และจะได้รวบรวมผลทั้งหมดจากการประชุมไปเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

ถ้าสนใจว่าคนอื่นเขาคิดเห็นอย่างไรก็ตามไปดูได้ที่
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...=9540000050311

ส่วนอีกปัญหาน่าจะมาจากเรื่องที่ว่า ต่างคนต่างคิด ไม่ได้ทำความเข้าใจ หรือกองทัพต้องเดินด้วยท้อง แล้วจะไปเหลือหรือ เป็นที่ระบบอีก

ชี้ครูตกประเมินวิทยฐานะเหตุวิจัยแย่

“อภิชาติ” เผย ครูไม่ผ่านการประเมินวิทยฐานะ “ขั้นชำนาญการ” อื้อ ชี้ เหตุประเมิน ไม่ให้ผ่านเพราะงานวิจัยแย่ ไม่ตรงประเด็น แบบสอบถามต้องถามครูแต่ไปถามเด็ก ป.1

นายอภิชาติ จีระวุฒิ รักษาการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยถึงการประเมินวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งเป็นการประเมินเชิงประจักษ์นั้น พบว่า มีครูและบุคลากรทางการศึกษาจำนวนมากไม่ผ่านการประเมิน และได้ร้องเรียนให้ ก.ค.ศ.ช่วยเหลือนั้น ทั้งๆ ที่การประเมินมีหลักเกณฑ์และมาตรฐาน เป็นตะแกรงคัดกรองว่า บุคคลที่ยื่นขอรับการประเมินนั้นเป็นผู้มีผลงานดีเด่นสมควรได้วิทยฐานะที่ เหมาะสมกับความรู้ความสามารถหรือไม่ ถ้าตะแกรงขาดความเป็นธรรมมองไม่เห็นผลงานที่ครูเสนอมา หรือมองว่า ผลงานนั้นดีมาก ทั้งที่ไม่ได้ดีจริง ก็อาจทำให้เกิดความเสียหายได้ ตนในฐานะรองประธาน ก.ค.ศ.ก็จะรักษามาตรฐานการประเมินให้ดีที่สุด เพื่อไม่ให้มีเสียงนี้ และ ก.ค.ศ.ขาดความน่าเชื่อถือ อีกทั้งเพื่อไม่ให้ครูที่เป็นวิชาชีพชั้นสูงถูกดูถูกได้

นายอภิชาติ กล่าวอีกว่า ทั้ง นี้ ที่พบว่า เป็นปัญหามาก คือ ขั้นชำนาญการ ทำให้มีผู้ผ่านการประเมินน้อย เพราะบังคับให้ต้องทำวิจัย 1 ชิ้น และงานวิจัยมีหลายประเภท แต่ครูมักทำงานวิจัยประเภทออกแบบสอบถาม แล้วแบบสอบถามที่ออกมาไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น ออกแบบสอบถามที่เกี่ยวกับครูไปใช้ถามเด็ก ป.1 ซึ่งเด็กไม่สามารถตอบคำถามได้ ทำให้งานวิจัยไม่สามารถตอบโจทย์ได้

ถ้าสนใจว่าคนอื่นเขาคิดเห็นอย่างไรก็ตามไปดูได้ที่
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...=9540000050321

ปล. ผมนำข้อมูลมาเสนอหรือแสดงความเห็นมิได้ต้องการให้คนอ่าน มีความรู้สึกสมเพช ท้อถอย หรือหมดทางเยียวยากับการศึกษาไทย จุดประสงค์ก็เพื่อที่จะให้ผู้อ่านช่วยกันแก้หรือส่งเสียงสะท้อนตามหน้าที่และโอกาสที่จะอำนวยให้ แต่ถ้าหากโชคดี คนที่อ่านเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงและมีพละกำลังอำนาจในการจัดการก็จะเป็นการดี
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #17  
Old 26 เมษายน 2011, 01:52
RoSe-JoKer's Avatar
RoSe-JoKer RoSe-JoKer ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤศจิกายน 2007
ข้อความ: 390
RoSe-JoKer is on a distinguished road
Default

ขอบคุณคุณหยินหยางสำหรับข้อมูลนะครับ ดูเหมือนข้อมูลของคุณหยินหยางจะช่วยสนับสนุนความคิดของผมได้เป็นอย่างดียกเว้นบางจุดที่ผมอยากจะอธิบายของผมเสริมต่อไปเ่ช่นนี้
"การเริ่มจากทุกคนที่มีหน้าที่ที่ต้องทำเป็นสิ่งที่ถูกต้องครับแต่ขาดรูปธรรมในการไปปฎิบัติใช้ อีกอย่างถ้าทำงานเป็นทีมและเป็นระบบจะไม่ดีกว่าหรือครับ สิ่งที่ผมกำลังชี้ให้เห็นก็คือขาดการประสานงานและความเข้าใจกันทุกส่วนเพื่อให้การขับเคลื่อนมีพลัง และอีกอย่างที่ผมได้แสดงความเห็นให้ก่อนหน้าก็คือการกำกับ การตรวจสอบที่ขาดประสิทธิภาพ ส่วนเรื่องคุณภาพของแต่ละส่วนผมไม่ได้มองเป็นเรื่องใหญ่เพราะผมเชื่อว่าถ้าระบบดีคนตั้งใจทำ ประสิทธิภาพและมาตรฐานจะมาเอง เพราะผมเชื่อว่าคนสามารถพัฒนาได้"
ตรงนี้ผมคิดต่างครับ ผมคิดว่าเรื่องการประสานงานและความเข้าใจร่วมกันทุกส่วน รวมไปถึงการทำงานเป็นทีม เป็นระบบ รวมไปถึงหลักการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพนั้นเป็นเรื่องพื้นฐานที่เป็นปัจจัยสำคัญมากๆๆๆไม่ว่าจะเป็นสำหรับการทำงานในองค์กรไหนๆทุกๆที่ อยู่แล้ว เดี๋ยวนี้เราทำงานกันคนเดียวโดยปราศจากความโปร่งใสไม่ได้แล้วครับ ซึ่งผมคิดว่าตัวไอเดียนี้มีอยู่ โดยเฉพาะความคิดพื้นฐานในเรื่องการทำงานร่วมกัน สร้างชุมชนเข้มแข็ง(อันรวมไปถึงกลุ่มประชากรนักเรียนด้วย) ผมเชื่อครับว่าระบบที่มีอยู่ตอนนี้มันก็ไม่ได้แย่อะไรมาก ซึ่งผมเข้าใจว่าคุณหยินหยางมองว่า "ถ้าระบบดีจะทำให้คนตั้งใจทำ จึงส่งผลให้ประสิทธิภาพและมาตรฐานมาเอง"

(เพราะถ้ามองเป็น"ถ้าระบบดีและคนตั้งใจทำ จึงส่งผลให้ประสิทธิภาพและมาตรฐานมาเอง" ก็ให้เลิกอ่านที่ผมจะเขียนต่อเสีย เพราะ็ก็ถือว่าสอดคล้องกับที่ผมคิด จะกลายเป็นโดยส่วนตัวแล้วผมแค่เน้นย้ำไปที่คน แต่คุณหยินหยางเน้นไปที่ระบบก็เท่านั้นเอง ทั้งๆที่เราทั้งสองมองความสำคัญของมันเท่าๆกัน แต่ที่ผมเขียนนิถือว่าผมคิดว่าคุณมองว่าไม่เท่ากันนะ? ผม imply จากที่คุณเขียนตอบได้ว่าอย่างนั้น)

เอาหล่ะ มาต่อกันจากมุมมองของคุณหยินหยางที่ตามที่ผมคิด มันจะมีปัญหาคือ เมื่อไหร่ถึงจะเรียกได้ว่า "ระบบดี" และยิ่งต่างคนต่างก็รับรู้แตกต่างกันอีก เมื่อไหร่ระบบถึงจะเรียกได้ว่า "ดี" สำหรับคนหมู่มากหล่ะครับ...ถ้าหากเราจะมามัวแต่รอวันนั้น ประเทศชาติก็คงเดินหน้าไปได้แค่ไม่กี่เมตร ผมจึงแค่คิดว่าสุดท้ายมันก็อยู่ที่คน โดยตรงจุดนี้ถ้ามองตามตรรกะที่ผมคาดเดาไว้ของคุณหยินหยาง ก็ต้องบอกว่าผมคิดว่าอยู่ที่คนที่จะเลือกยอมรับในระบบที่มีอยู่นี้หรือไม่แม้ว่าจะไม่ได้"ดี"ตามมาตรฐานของตนเอง และเลือกที่จะเ็ป็น "ถ้าระบบพอโอเคจะทำให้คนยอมที่จะก้าวต่อไปข้างหน้า จึงส่งผลให้ประสิทธิภาพและมาตรฐาน-ค่อยๆ-มาเอง" จากที่ควรจะเป็น "ถ้าระบบดีจะทำให้คนตั้งใจทำ จึงส่งผลให้ประสิทธิภาพและมาตรฐานมาเอง"...

ส่วนอีกเรื่องหนึ่งก็คือเรื่อง
มาเพิ่มข้อมูลให้อีกว่าปัญหานี้ไม่ได้อยู่ที่นักการเมืองโกงกิน และก็ุรู้มาตั้งแต่ปี 51 แต่เป็นที่ระบบ
ตรงนี้ผมเห็นด้วยตรงที่ว่าเป็นที่ระบบ โดยเฉพาะระบบราชการ ส่วนมุมมองเืรื่องปัญหานี้ไม่ได้อยู่ที่นักการเมืองโกงกินนั้น ผมอยากจะชี้แจงให้ทราบดังนี้ว่า ผมเห็นคุณหยินหยางเขียนล้อเลียนนโยบายเรียนฟรี 15 เป็น "โครงการเลียดี เลียฟรี 15 ปี" ซึ่งนโยบายนี้เป็นนโยบายสานต่อจากการปฎิรูปการศึกษาไทยปี 2542 ของพรรคประชาธิปัตย์ ผมเลยเข้าใจไปเองว่าคุณหยินหยางเห็นว่านักการเมืองโกงกินเอาแต่หน้าเป็นปัญหา แต่ดูเหมือนว่าผมจะเข้าใจผิด ซึ่งตรงนี้ก็แล้วแต่วิจารณญาณของบุคคลว่าจะเลือกที่จะมองว่าเป็นปัญหาหรือไม่ เพราะโดยส่วนตัวเืรื่องการโกงกินในนโยบายต่างๆมันค่อนข้างแน่นอนว่ามีอยู่แล้ว แต่สำหรับการศึกษาไทยนี้ถ้า้เทียบการโกงกินของนักการเมืองกับระบบโครงสร้างก็เรียกได้ว่าปัญหาเรื่องระบบโครงสร้างเด่นกว่ากันอย่างชัดเ จน กล่าวคือ ถ้าเีทียบปัญหาการโกงกินกับปัญหาระบบโครงสร้าง ปัญหาระบบโครงสร้างนั้นใหญ่กว่าอย่างเห็นได้ชัดเจน (อย่างที่ผมเข้าใจว่าเราสองคนก็คิดเหมือนกัน) ดังนั้นถ้าจะบอกว่าปัญหาการโกงกินของนักการเมืองไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อย่างมีนัยสำคัญ ผมก็เห็นด้วย แ่ต่ถ้าถามว่าการโกงกินของนักการเมืองยังเ็ป็นปัญหาอยู่หรือไม่? ผมก็คิดว่าใช่ ยังเป็นปัญหาอยู่ เพียงแต่มันอาจจะไม่ได้สำคัญอย่างมีนัยสำคัญในกรณีนี้ก็เท่านั้นเอง และจะเห็นได้จากที่ผมเขียนไว้ใน ณ คำตอบแรกแล้ว ว่าสุดท้ายมันก็อยู่ที่ตัวคนไทยทุกคนจริงๆนั้นแหละครับ ทั้งนักการเมืองและคนทุกคนที่เกี่ยวข้องกับทั้งระบบเลย...ก็แค่นั้นเอง
ส่วนเรื่อง ส่วนอีกปัญหาน่าจะมาจากเรื่องที่ว่า ต่างคนต่างคิด ไม่ได้ทำความเข้าใจ หรือกองทัพต้องเดินด้วยท้อง อันนี้ผมเห็นด้วยนะครับ โดยเฉพาะเรื่องกองทัพต้องเดินด้วยท้อง สาเหตุการตายอันดับต้นๆของประชากรโลกก็คือปัญหาจากการอดอยากไม่มีอันจะกินนิแหละครับ คนมันจะตาย มันจะไปสนใจอะไรอีก? ตรงนี้เห็นด้วยนะครับ...
แล้วก็เรื่องการผลักดันระบบการปฎิรูปการศึกษาไทยนั้นผมก็ไม่แน่ใจว่าคุณหยินหยางจะเอามาพูดทำไม? หรือถ้าจะเป็นการให้ข้อมูลเฉยๆ ถ้าเป็นการแบ่งปันข้อมูล ผมก็ยินดีนะครับที่ได้เห็นการแบ่งปันข้อมูล และเสริมในสิ่งที่ผมเขียนไปไม่ลึกมาก เพราะที่ผมเขียนก็แค่กล่าวถึงบุคคลสองบุคคลที่มีส่วนสำคัญในระบบวงการศึกษาไทยแค่นั้นเอง ว่าพวกเขามีความคิดและเป็นคนที่พัฒนาระบบการศึกษาไทยให้มันดีขึ้นในส่วนหนึ่ง (ผมไม่อยากจะคิดว่าคุณหยินหยางตีความผิด ไปเข้าใจว่าผมเข้าใจผิดว่าบุคคลที่ผมกล่าวอ้างเป็นผู้ออกไอเดียระบบการปฎิรูปการศึกษาไทยนะครับ ถึงได้มาขยายความเกี่ยวกับ ดร.รุ่ง แก้วแดง...ผมคิดว่าคุณหยินหยางไม่น่าจะเข้าใจผิดในสิ่งที่ผมเขียนอย่างง่ายๆเช่นนั้น)

สุดท้าย ผมไม่แน่ใจว่าคุณหยินหยางเขียน "และผมเคารพทุกความเห็นด้วยครับ" ปิดท้ายไว้เพื่อต้องการจะสื่อว่าผมไม่เคารพความเห็นของคุณหยินหยางหรือไม่? แต่อย่างน้อยที่สุดสิ่งที่คุณหยินหยางเขียนมันก็ทำให้ผมเข้าใจเช่นนั้น เพราะมันสอดคล้องในเรื่องที่ผมเขียนเปรียบเทียบความคิดของคุณหยินหยางว่ามีคนที่เก่งกว่าคุณหยินหยางคิดไว้เยอะแล้ว ถ้าหากคุณหยินหยางเข้าใจว่าการที่ผมเขียนเช่นนั้นเป็นการไม่เคารพความเห็นของคุณหยินหยาง ผมก็ขอโทษมา ณ ที่นี้ด้วย ผมขอโทษคุณหยินหยางอย่างสุดซึ้ง...ขอโทษจริงๆนะครับ เพราะโดยส่วนตัวแล้วผมเป็นคนที่ไม่ได้คิดอะไรมาก ผมก็แค่มีความคิดว่าปกติแล้วคนเขาน่าจะคิดเสมอว่าเหนือฟ้ายังมีฟ้า และยอมรับได้ในเรื่องที่ว่าน่าจะมีคนอื่นที่เก่งกว่าเราและคิดไว้เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพมากกว่าของเรา ผมคิดว่าคนเขาน่าจะมองกันเช่นนี้ เลยคิดว่าการจะเขียนความจริงที่ผมคิดว่าคุณหยินหยางน่าจะคิดและรู้อยู่แล้วไม่ได้เป็นการแสดงความไม่เคารพต่อความคิดเห็นของคุณหยินหยาง ...แต่ผมก็คิดผิด ผมผิดไปตรงนี้จริงๆที่เข้าใจไปเองว่าคุณหยินหยางน่าจะยอมรับเรื่อง "เหนือฟ้ายังมีฟ้า" เหมือนที่ผมยอมรับ เพราะถ้าหากเป็นผม ผมก็คงจะไม่ได้คิดอะไรมากและยอมรับจุดนี้...ผมเข้าใจผิดตรงจุดนี้จริงๆ มันเป็นสิทธิ์ของคุณหยินหยางที่จะยอมรับความคิดใดๆ ดังนั้นคุณหยินหยางก็ไม่ได้ผิดอะไร ผมผิดเองที่ดันงี่เง่าคิดไปเองว่าคุณหยินหยางยอมรับเรื่อง "เหนือฟ้ายังมีฟ้า" ตอนนี้ผมเข้าใจความคิดนี้ของคุณหยินหยางแล้วนะครับ...
สุดท้ายจริงๆก็ขอโทษด้วยครับ ที่ไม่ได้เคารพความคิดเห็นของคุณหยินหยาง ขอโทษจริงๆนะครับจากใจจริงเลยถึงความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผมเอง...
__________________
Rose_joker @Thailand
Serendipity

26 เมษายน 2011 01:58 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 3 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ RoSe-JoKer
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #18  
Old 26 เมษายน 2011, 20:23
หยินหยาง's Avatar
หยินหยาง หยินหยาง ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่จักรวาล
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,921
หยินหยาง is on a distinguished road
Default

ไม่เป็นไรครับเรื่องขอโทษ ผมไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องเสียหายในเรื่องความคิดเห็นต่าง ตราบใดที่ข้อมูล หลักคิดและความเชื่อไม่ตรงกัน ความคิดเห็นแตกต่างย่อมเป็นเรื่องธรรมดา และเราก็ไม่ได้ว่ากันแบบสาดเสียเทเสีย คุณ RoSe-JoKer ไม่ต้องขอโทษหรอกครับ การแสดงความเห็นของแต่ละคน ถูกหรือผิดชอบหรือไม่อนาคตและผู้อ่านจะเป็นผู้ตัดสิน ที่ผมพยายามนำเสนอข้อมูล ให้ มิได้ต้องการมาหักล้างความคิดเห็นของคุณ RoSe-JoKer เลย เพียงเข้าใจว่าคุณ RoSe-JoKer สนใจทางด้านการศึกษาก็เลยนำข้อมูลอีกด้านที่คิดว่าไม่ตรงกันให้อ่านครับ และเท่าที่ผมดูจากที่เขียนตอบก็อนุมานเอาว่าคงไม่ได้อ่านรายละเดียดเกี่ยวกับการปฎิรูปการศึกษา ที่ผมลิงค์ให้ (ถ้าเข้าใจผิดก็ขอโทษครับ) เพราะในนั้นได้ระบุถึงปัญหาต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมันก็ยังมีอยู่ และในส่วนของ พรบ. ก็ได้ระบุอยู่แล้วว่าจะต้องจัดให้เรียนฟรี อย่างน้อย 12 ปี ภาคบังคับ 9 ปี ถ้าได้ติดตามการเมืองจะเห็นว่าหลายพรรคก็ชูนโยบายด้านการศึกษาในตอนนั้นให้เรียนฟรี มากกว่า 12 ปี นะครับ ผมก็เลยมองเป็นประชานิยมแทบทุกพรรคแหละครับ ไม่ได้ตื่นเต้นอะไร เพียงแต่ใครโชคดีได้มาเป็นรัฐบาลเท่านั้น แต่ที่ผมไม่ได้ไปพูดเพราะไม่อยากไปยุ่งเรื่องการเมือง เพราะที่ผมได้แสดงความเห็นในกระทู้ก่อนหน้าถ้าได้กลับไปอ่านก็จะพบว่า ปัญหาส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับระบบ การจัดการ การกำกับ การตรวจสอบ ประสิทธิภาพของครู เด็กนัเรียน การประสานงาน เป็นต้น ถ้ามีเวลาน้อยและได้อ่านบทสรุปสำหรับผู้บริหาร ก็จะเข้าใจว่าใครเป็นผู้ผลักดันเรื่องนี้โดยแถลงต่อสภา และในนั้นก็จะบอกถึงปัญหาที่มีอยู่ที่ผมพยายามไม่เขียนหรือเอยนามใครเพราะไม่อยากจะไปยุ่งการเมืองอีกครับ ผมขออนุญาตไม่ตอบในความเห็นต่างหรือความเห็นที่เข้าใจไม่ตรงกัน เพราะเป็นสิทธิ์ของสมาชิกแต่ละท่านที่อาจเข้าใจไม่ตรงกันหรือความเห็นต่างได้ขอเพียงไม่แตกแยกก็ใช้ได้แล้วครับ แต่ผมจะตอบในส่วนที่ถาม ที่ว่า ระบบดี เมื่อไหร่ระบบถึงจะเรียกได้ว่า "ดี" เรียกได้ครับ ถ้าเอาแบบง่ายๆ ก็สังคมส่วนใหญ่ยอมรับ ครับ แต่ถ้าเอาแบบวิชาการ ก็ต้องมีตัววัด ตัววัดที่ว่าก็คือเป้าหมาย เช่น ถ้าระบบ o-net ดี เด็กในแต่ละปีต้องผ่านเกณฑ์เท่านั้นเท่านี้ เป็นต้น “ ถ้าหากเราจะมามัวแต่รอวันนั้น ประเทศชาติก็คงเดินหน้าไปได้แค่ไม่กี่เมตร ผมจึงแค่คิดว่าสุดท้ายมันก็อยู่ที่คน โดยตรงจุดนี้ถ้ามองตามตรรกะที่ผมคาดเดาไว้ของคุณหยินหยาง ก็ต้องบอกว่าผมคิดว่าอยู่ที่คนที่จะเลือกยอมรับในระบบที่มีอยู่นี้หรือไม่ แม้ว่าจะไม่ได้"ดี" “ การจะรอหรือไม่ไม่สำคัญเท่ากับถ้าเดินต่อไปแล้วมันจะตกเหวเอาก็ได้ (เป็นเพียงให้แง่คิดอีกด้าน) อันที่จริงระบบหรือคนคงต้องทำงานประสานกันไป แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่ามีปัญหา ก็ไปดูที่ผลลัพธ์ ผมขอนำเสนอแนวคิดหรือหลักคิด ในวิชา motion & time study หลักมีอยู่ว่าเค้า พยายามที่จะหาหรือจัดระบบหรือเทคนิคมาพัฒนาคน เพื่อให้ได้มาตรฐาน โดยใช้เวลาหรือประสิทธิภาพของชิ้นงานมาเป็นตัววัด พอคนพัฒนามาได้ถึงจุดที่ต้องการ จุดตรงนั้นก็จะเป็นมาตรฐานธรรมดาไปซะแล้ว คนก็ต้องมาคิดระบบต่อที่จะช่วยพัฒนาคน ดังนั้นทั้งคนและระบบมักจะไปด้วยกัน จึงมักมีคำกล่าวที่ว่า คนพัฒนาระบบ ระบบพัฒนาคน
(ให้อีกแง่คิด ระบบแม้จะดีอย่างไร ถ้าไม่สามารถนำไปปฏิบัติหรือทำให้สัมฤทธิ์ผลได้ ก็ไม่ต่างกับขยะดีๆนี่เอง)

ปล. ผมอาจไม่สามารถขยายความในแต่ละประเด็นได้ เนื่องจากมีข้อจำกัด ก็ต้องขอโทษผู้อ่านด้วย บางครั้งเพื่อไม่ให้น่าเบื่อจึงเขียนด้วยลีลาเสียดสีบ้าง ออกเฮฮาบ้าง เพื่อให้คนอ่านจจะได้สะดุดคิดบ้างก็เท่านั้นเองครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #19  
Old 26 เมษายน 2011, 21:54
RoSe-JoKer's Avatar
RoSe-JoKer RoSe-JoKer ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤศจิกายน 2007
ข้อความ: 390
RoSe-JoKer is on a distinguished road
Default

ยังไงก็ต้องขอพูดเกี่ยวกับเรื่องการเมืองแบบเล็กน้อย เพราะต้องตอบประเด็นให้เข้าใจ
เหอะๆๆ...ต้องบอกว่าจริงๆแล้วผมสนใจการเมือง และเพราะว่าผมสนใจการเมืองผมจึงต้องศึกษาหลายๆเรื่องเนื่องจากการเมืองเชื่อมโยงกับทุกๆเรื่องของประชาชน ผมคงต้องยอมรับว่าใช่ครับ ผมไม่ได้อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับการปฎิรูปการศึกษาในลิงค์ที่คุณหยินหยางให้ เพราะผมไม่ได้คลั่งไคล้ระบบการศึกษาขนาดนั้น...หากแต่เ็ป็นเรื่องการชูนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมือง และเป็นเรื่องที่ผมทราบ...ซึ่งตรงนี้ผมก็คิดว่ายังไงๆถ้าจะมองว่าเป็นประชานิยมก็ใช่แน่นอนอยู่แล้วถ้าคุณจะมอง ถ้าจะมองว่าการที่รัฐบาลจ่ายเงินและทำให้ประชาชนพอใจเป็นประชานิยม มันก็ต้องเป็นประชานิยมตลอดกาลอยู่แล้วสิครับ แหม่คุณหยินหยางหล่ะก็...
แต่ที่ผมเชื่อมั่นในนโยบายเรียนฟรี 15 ปีและพรรคประชาธิปัตย์ก็เพราะคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะที่เป็นหัวหน้าพรรคในตอนนี้ เพราะว่าเขาเป็นหนึ่งในบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการปฎิรูปการศึกษาปี 2542 อย่างชัดเจน ดังนั้นผมก็เลยเชื่อว่าพรรคประชาธิปัตย์น่าจะทำได้แตกต่างในเรื่องนี้ ก็แค่นั้นเอง...
-> reference จากเว็บเดียวกัน http://www.onec.go.th/publication/43...ord_apisit.pdf
ส่วนไอ้เดินหน้าต่อไปจะตกเหวหรือไม่ตกเหว...ก็อยู่ที่สายตาของประชาชนแล้วหล่ะครับ...ว่าเลือกที่จะปิดตา ปล่อยให้คำว่า "ระบบ" พาไปในเส้นทางที่ถูกต้อง หรือเปิดตา เพื่อเดินหน้าต่อไปอย่างไม่ตกเหว...เพียงเท่านั้น...จริงๆมันสำคัญพอๆกันนั้นแหละครับ ทั้งคนและระบบ...ผมก็แค่ให้ความสำคัญไปที่คนมากกว่า ก็เท่านั้นเอง...
__________________
Rose_joker @Thailand
Serendipity

26 เมษายน 2011 21:55 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ RoSe-JoKer
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #20  
Old 26 เมษายน 2011, 22:31
หยินหยาง's Avatar
หยินหยาง หยินหยาง ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่จักรวาล
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,921
หยินหยาง is on a distinguished road
Default

#20
ก็แน่นอนอยู่แล้วตอนนั้นเป็นรัฐบาลอยู่ สงสัยจะชื่นชอบพรรคปะชาธิปัตย์ เอามาก +555 จบข่าว
ผมเป็นคนที่ศึกษาการเมือง และคิดว่าพอรู้เรื่องราวต่างๆในแวดวงการเมืองพอควร แต่ผมมีหลักอยู่ว่าเรื่อง ศาสนา กับการเมือง เป็นเรื่องที่ไม่ควรคุยหรือต้องระมัดระวังในการคุยถ้าจะคุย ผมเลือกจบข่าวดีกว่าครับ +555 เพราะผมก็สงสัยอยู่แล้วเชียว ขอแซวทิ้งท้ายหน่อยครับ น่าจะเอ่ยชื่อ ท่าน ศ.วิจิตร ศรีสอ้าน อีกซักคนนะครับ เพราะท่านก็อยู่ประชาธิปัตย์ และก็คร่ำหวอดทางด้านการศึกษามาตลอด ถ้าจำไม่ผิดท่านเคยเป็นประธานคณะกรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการศึกษา ในสมัยรัฐบาลท่านชวนด้วยครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #21  
Old 27 เมษายน 2011, 00:00
mebius mebius ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 22 กันยายน 2010
ข้อความ: 82
mebius is on a distinguished road
Default

ผมอ่านที่พิมพ์ตัวอักษรขาวๆแล้วคิดว่าน่าจะยังไม่จบนะครับ
แต่ผมอยากให้กระทู้นี้ไปถึงผู้ใหญ่ในกระทรวงศึกษาธิการ
แล้วเกิดการแก้ไขอย่างจริงจัง มากกว่าครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 21:33


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha