Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์ประถมศึกษา > ปัญหาคณิตศาสตร์ ประถมปลาย
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #31  
Old 01 มีนาคม 2012, 19:59
polsk133's Avatar
polsk133 polsk133 ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 สิงหาคม 2011
ข้อความ: 1,873
polsk133 is on a distinguished road
Default

ผมคิดว่า แผนภาพต้นไม้น่าจะง่ายสุดแล้วแหละครับ อยู่ที่ว่านับถูกหรือไม่
__________________
เพจรวมโจทย์คอมบินาทอริกที่น่าสนใจ
https://www.facebook.com/combilegends
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #32  
Old 02 มีนาคม 2012, 05:56
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Wink

อ้างอิง:
จงหาว่าจะมีจำนวนห้าหลักทั้งหมดกี่จำนวน ที่สร้างจากเลขโดด '4', '5' และ '6' โดยที่ห้ามมี '4' สองตัวใด ๆ ติดกัน และห้ามมี '6' สองตัวใด ๆ อยู่ติดกัน
คำตอบของคุณ Banker ถูกต้องครับ ทีแรกผมก็จะเล่น 555 แต่สวรรค์ไม่ส่งเสริมเท่าไรนัก ถ้าจะได้ 555..5 อาจจะต้องไปไกลเกินไป เลยลดมาเป็น 99 ก็น่าจะพอ

คือผมเห็นโจทย์ใน EMIC จะมีอยู่หลายข้อที่ถ้าใช้ ความสัมพันธ์เวียนเกิด ในการแก้ปัญหาแล้วจะทำได้ง่ายดายยิ่ง อีกทั้งแนวคิดของเรื่องนี้ ก็เข้าใจได้ไม่ยากนัก (หรือเปล่า ) ผมเลยแอบดัน(และผลัก ) วิธีการแก้โดยใช้ความสัมพันธ์เวียนเกิดอยู่เนือง ๆ โดยคาดหวังว่าจะมีคนนำไปใช้ให้เคยชินจนเป็นเรื่องปกติ สัก 1 ใน 100 ก็ยังดี แม้ว่าตามเนื้อหาหลักสูตรปกติจะอยู่ในระดับอุดมศึกษา แต่ผมคิดว่าในเฉพาะส่วนของการสร้างความสัมพันธ์นี้ให้ได้นั้น ระดับประถมขึ้นไป ก็น่าจะไปได้ (แม้ว่าอาจจะฝืดไปบ้าง)

ผมขอเฉลยดังนี้ครับ

==============================================

ให้ $a_n$ แทน จำนวนของจำนวน n หลักที่สร้างจากเลขโดด 4, 5, 6 โดยไม่มี 4 สองตัวใด ๆ ติดกัน และไม่มี 6 สองตัวใด ๆ ติดกัน

เราอาจจะแบ่งปัญหาในข้อนี้ ออกเป็น 3 กรณี คือ

กรณีที่ 1. จำนวน n หลัก ดังกล่าว ขึ้นต้นด้วย 4 ให้เขียนแทนด้วย $a_{n, 4}$

กรณีที่ 2. จำนวน n หลัก ดังกล่าว ขึ้นต้นด้วย 5 ให้เขียนแทนด้วย $a_{n, 5}$

กรณีที่ 3. จำนวน n หลัก ดังกล่าว ขึ้นต้นด้วย 6 ให้เขียนแทนด้วย $a_{n, 6}$

ดังนั้น โดยกฎการบวก เราจึงได้ว่า $$a_n = a_{n, 4} + a_{n, 5} + a_{n, 6} ... (*)$$

กรณีที่ 1. ถ้าขึ้นต้นด้วย 4

4 _ _ _ _ _ ... _

แล้วจำนวน n - 1 หลักที่เหลือ ก็จะต้องขึ้นต้นด้วย 5 หรือ 6 เท่านั้น

ซึ่งเราเขียนในรูปแบบเดียวกันได้ว่า $a_{n, 4} = a_{n-1, 5} + a_{n-1, 6}$ ... (1)

กรณีที่ 2. ถ้าขึ้นต้นด้วย 5

5 _ _ _ _ _ ... _

แล้วจำนวน n - 1 หลักที่เหลือ ก็จะต้องขึ้นต้นด้วยอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น 4, 5, 6 นั่นก็คือ $a_{n, 5} = a_{n-1}$ ... (2)

กรณีที่ 3. ถ้าขึ้นต้นด้วย 6

6 _ _ _ _ _ ... _

แล้วจำนวน n - 1 หลักที่เหลือ ก็จะต้องขึ้นต้นด้วย 4 หรือ 5 เท่านั้น

ซึ่งเราเขียนในรูปแบบเดียวกันได้ว่า $a_{n, 6} = a_{n-1, 4} + a_{n-1, 5}$ ... (3)

แทนค่าจากสมการ (1), (2), (3) ลงในสมการ (*) จะได้ $$a_n = a_{n-1, 5} + a_{n-1, 6} + a_{n-1} + a_{n-1, 4} + a_{n-1, 5}$$ $$a_n = (a_{n-1, 4} + a_{n-1, 5} + a_{n-1, 6}) + a_{n-1} + a_{n-1, 5}$$ผลรวมในวงเล็บนั้น เราประยุกต์ซ้ำเหมือนสมการ (*) แต่ย้อนจากขวาไปซ้ายได้เป็น $$a_n = a_{n-1} + a_{n-1}+ a_{n-1, 5}$$$$a_n = 2a_{n-1} + a_{n-1, 5}$$และจากสมการ (2) แสดงว่า $a_{n-1, 5} = a_{n-2}$ (หรือจะใช้ความเข้าใจก็ได้)
ดังนั้น $$a_n = 2a_{n-1}+a_{n-2}$$

และเนื่องจาก
จำนวนหนึ่งหลัก ตามเงื่อนไขได้แก่ 4, 5, 6 นั่นคือ $a_1 = 3$

จำนวนสองหลัก ตามเงื่อนไขได้แก่ 45, 46, 54 55, 56, 64, 65 นั่นคือ $a_2 = 7$

ดังนั้น $a_3 = 2a_2 + a_1 = 2(7) + 3 = 17$

$a_4 = 2a_3 + a_2 = 2(17) + 7 = 41$

$a_5 = 2a_4 + a_3 = 2(41) + 17 = 99$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #33  
Old 02 มีนาคม 2012, 23:47
polsk133's Avatar
polsk133 polsk133 ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 สิงหาคม 2011
ข้อความ: 1,873
polsk133 is on a distinguished road
Default

เป็นวิธีที่เจ๋งมากครับ พอจะมีโจทย์ประมาณนี้อีกไหมครับ
__________________
เพจรวมโจทย์คอมบินาทอริกที่น่าสนใจ
https://www.facebook.com/combilegends
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #34  
Old 03 มีนาคม 2012, 09:08
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Cool

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ polsk133 View Post
เป็นวิธีที่เจ๋งมากครับ พอจะมีโจทย์ประมาณนี้อีกไหมครับ
จัดไป 2 ข้อครับ. ถ้าเข้าใจแล้ว สองข้อนี้ก็เรียกว่าง่ายเกินห้ามใจ

อ้างอิง:
(03/03/2555-01) จงหาว่าจะมีจำนวนห้าหลักทั้งหมดกี่จำนวน ที่สร้างจากเลขโดด '4', '5', '6' และ '7 'โดยที่
ห้ามมี '4' สองตัวใด ๆ ติดกัน และ
ห้ามมี '6' สองตัวใด ๆ อยู่ติดกัน และ
ห้ามมี '7' สองตัวใด ๆ อยู่ติดกัน

(03/03/2555-02) จงหาว่าจะมีจำนวนห้าหลักทั้งหมดกี่จำนวน ที่สร้างจากเลขโดด '4', '5', '6' และ '7 'โดยที่
ห้ามมี '4' สองตัวใด ๆ ติดกัน และ
ห้ามมี '7' สองตัวใด ๆ อยู่ติดกัน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #35  
Old 03 มีนาคม 2012, 13:57
polsk133's Avatar
polsk133 polsk133 ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 สิงหาคม 2011
ข้อความ: 1,873
polsk133 is on a distinguished road
Default

ข้อแรกได้469 อะครับผมไดิว่า
$a_n=3(a_{n-1})+a_{n-2}$

ปลขอบคุณมากครับสำหรับวิธีแบบนี้

เพิ่มอีกข้อ. ผมได้634 คิดได้ว่า $a_n=3(a_{n-1})+2(a_{n-2})$
__________________
เพจรวมโจทย์คอมบินาทอริกที่น่าสนใจ
https://www.facebook.com/combilegends

03 มีนาคม 2012 14:08 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 4 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ polsk133
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #36  
Old 03 มีนาคม 2012, 15:23
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Cool

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ polsk133 View Post
ข้อแรกได้469 อะครับผมไดิว่า
$a_n=3(a_{n-1})+a_{n-2}$

ปลขอบคุณมากครับสำหรับวิธีแบบนี้

เพิ่มอีกข้อ. ผมได้634 คิดได้ว่า $a_n=3(a_{n-1})+2(a_{n-2})$
แจ่มมากครับ.

จัดให้อีกโดยไม่ต้องขอ

ถ้าสนใจจะปวดหัวต่อก็ลองคิดดูได้นะครับ.
อ้างอิง:
(03/03/2555-03)
จงหาว่าจะมีจำนวนห้าหลักทั้งหมดกี่จำนวน ที่สร้างจากเลขโดด '4' และ '5' โดยที่มี '5' ติดกันอย่างน้อย 2 ตัวขึ้นไป

และจงหาความสัมพันธ์เวียนเกิดของจำนวน n หลัก ที่สร้างจากเลขโดด '4' และ '5' โดยที่มี '5' ติดกันอย่างน้อย 2 ตัวขึ้นไปด้วย

(03/03/2555-04)
จงหาว่าจะมีจำนวนห้าหลักทั้งหมดกี่จำนวน ที่สร้างจากเลขโดด '4' , '5' และ '6' โดยที่มี '5' ติดกันอย่างน้อย 2 ตัวขึ้นไป

และจงหาความสัมพันธ์เวียนเกิดของจำนวน n หลัก ที่สร้างจากเลขโดด '4' , '5' และ '6' โดยที่มี '5' ติดกันอย่างน้อย 2 ตัวขึ้นไปด้วย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #37  
Old 03 มีนาคม 2012, 22:57
polsk133's Avatar
polsk133 polsk133 ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 สิงหาคม 2011
ข้อความ: 1,873
polsk133 is on a distinguished road
Default

ข้อแรกไม่ค่อยมั่นใจครับ
ผมได้ว่า $a_n=a_{n-1}+a_{n-2}$

ข้อสองได้ $a_n=2a_{n-1}+a_{n-2}$
__________________
เพจรวมโจทย์คอมบินาทอริกที่น่าสนใจ
https://www.facebook.com/combilegends

03 มีนาคม 2012 22:59 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ polsk133
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #38  
Old 06 มีนาคม 2012, 12:29
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Smile

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ polsk133 View Post
ข้อแรกไม่ค่อยมั่นใจครับ
ผมได้ว่า $a_n=a_{n-1}+a_{n-2}$

ข้อสองได้ $a_n=2a_{n-1}+a_{n-2}$
ไม่ใช่ทั้งสองข้อครับ. ผมทำให้ดูข้อแรกละกัน

ให้ $a_n$ แทนจำนวนของจำนวน n หลักที่สร้างจากเลขโดด '4', '5' โดยที่ไม่มี '5' สองตัวใด ๆ ติดกัน
ให้ $b_n$ แทนจำนวนของจำนวน n หลักที่สร้างจากเลขโดด '4', '5' โดยที่มี '5' ติดกันอย่างน้อยสองตัวขึ้นไป
จะได้ว่า $a_n + b_n = 2^n $ ... (*)

ดังนั้น $b_n = 2^n - a_n$

แต่เนื่องจากเราทราบว่า $a_n = a_{n-1} + a_{n-2}$
ดังนั้น $b_n = 2^n - (a_{n-1} + a_{n-2})$ ... (**)

แต่จากสมการ (*) เราได้ว่า $a_n = 2^n - b_n$ ประยุกต์สมการนี้กับสมการ (**) จะได้

$b_n = 2^n - (2^{n-1} - b_{n-1} + 2^{n-2} - b_{n-2})$

ดังนั้น $b_n = b_{n-1} + b_{n-2} + 2^{n-2}$ โดยที่ $b_1=0, b_2 = 1$ เป็นความสัมพันธ์เวียนเกิดที่ต้องการ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #39  
Old 02 มีนาคม 2013, 14:34
gnap's Avatar
gnap gnap ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 04 ธันวาคม 2011
ข้อความ: 563
gnap is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ gon View Post
ไม่ใช่ทั้งสองข้อครับ. ผมทำให้ดูข้อแรกละกัน

ให้ $a_n$ แทนจำนวนของจำนวน n หลักที่สร้างจากเลขโดด '4', '5' โดยที่ไม่มี '5' สองตัวใด ๆ ติดกัน
ให้ $b_n$ แทนจำนวนของจำนวน n หลักที่สร้างจากเลขโดด '4', '5' โดยที่มี '5' ติดกันอย่างน้อยสองตัวขึ้นไป
จะได้ว่า $a_n + b_n = 2^n $ ... (*)

ดังนั้น $b_n = 2^n - a_n$

แต่เนื่องจากเราทราบว่า $a_n = a_{n-1} + a_{n-2}$
ดังนั้น $b_n = 2^n - (a_{n-1} + a_{n-2})$ ... (**)

แต่จากสมการ (*) เราได้ว่า $a_n = 2^n - b_n$ ประยุกต์สมการนี้กับสมการ (**) จะได้

$b_n = 2^n - (2^{n-1} - b_{n-1} + 2^{n-2} - b_{n-2})$

ดังนั้น $b_n = b_{n-1} + b_{n-2} + 2^{n-2}$ โดยที่ $b_1=0, b_2 = 1$ เป็นความสัมพันธ์เวียนเกิดที่ต้องการ

ขอบคุณมากครับ
__________________
ขอปลอบใจตัวเองหน่อยนะครับ:

เอาน่า..นี่แค่สนามเดียว,ถือว่าฟาดเคราะห์ละกัน
สนามหน้าต้องดีแน่[เคราะห์โดนฟาดไปเกลี้ยงแล้วนี่นา]
สู้ๆ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #40  
Old 06 มีนาคม 2013, 21:02
pond=w= pond=w= ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 มกราคม 2013
ข้อความ: 4
pond=w= is on a distinguished road
Default

ขอบคุณค่ะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
เตรียมสอบ สพฐ. 2555 เรื่องจำนวนเส้นทาง gon ข้อสอบในโรงเรียน ประถมปลาย 22 19 ตุลาคม 2012 20:52
มาราธอนโจทย์เข้าเตรียมฯ2555กันครับ tonklaZolo ปัญหาคณิตศาสตร์ ม. ต้น 29 03 กุมภาพันธ์ 2012 00:48
ข้อสอบสิรินธรม.ปลายครั้งที่ 9 (8/1/2555) Ne[S]zA ข้อสอบในโรงเรียน ม.ปลาย 22 14 มกราคม 2012 23:44
สวัสดีปีใหม่ 2555 ปีมะโรง gon ฟรีสไตล์ 19 04 มกราคม 2012 18:15
การรับตรงเข้ามหาวิทยาลัยที่จะใช้ในปี 2555 หยินหยาง ฟรีสไตล์ 4 03 มีนาคม 2011 21:50


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 16:44


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha