Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์ทั่วไป > ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 13 มิถุนายน 2006, 21:22
chaitung chaitung ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 มิถุนายน 2006
ข้อความ: 9
chaitung is on a distinguished road
Post การจัดสิ่งของ R สิ่งลงในN กล่อง

การจัดสิ่งของ R สิ่งลงในN กล่อง

อยากได้สูตรและวิธีพิสูจน์นะครับซึ่งแยกเป็น 4วิธี 4สูตร
1.ของเหมือนกัน กล่องต่างกัน
2.ของเหมือนกัน กล่องเหมือนกัน
3.ของต่างกัน กล่องต่างกัน
4.ของต่างกัน กล่องเหมือนกัน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 14 มิถุนายน 2006, 17:30
rigor's Avatar
rigor rigor ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 30 มกราคม 2005
ข้อความ: 137
rigor is on a distinguished road
Post

ผมคิดว่าแทนที่จะจำสูตรของทั้งสี่กรณี ให้ใช้หลักการคูณพลิกแพลงไปตามสถานการณ์ดีกว่านะครับ

ผมจะตอบแต่กรณีที่ง่ายที่สุด 3.ของต่างกัน กล่องต่างกัน

การจัดสิ่งของที่แตกต่างกัน $R$ สิ่งลงในกล่องที่แตกต่างกัน $N$ กล่อง จะให้รูปแบบผลลัพธ์ $N^R$ วิธี ใช้หลักการคูณ จะเห็นว่านี่เป็นกระบวนการเลือก $R$ ขั้นตอนโดยที่

ขั้นตอนที่ $1$ เลือกสิ่งของใส่กล่องได้ $N$ กล่อง

ขั้นตอนที่ $2$ เลือกสิ่งของใส่กล่องได้ $N$ กล่อง

...

ขั้นตอนที่ $R$ เลือกสิ่งของใส่กล่องได้ $N$ กล่อง

ดังนั้นรูปแบบทางเลือกที่เป็นไปได้คือ $N$ คูณกัน $R$ ตัว นั่นคือ $N^R$ วิธี
__________________
$ \rho\iota\gamma$o$\rho \ \iota\sigma \ \omega$o$\rho\kappa\iota\nu\gamma \ \eta\alpha\rho\delta $
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 14 มิถุนายน 2006, 20:09
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Smile

ขอเขียนแ่ค่ 2 แบบเท่านั้นนะครับ กรณีที่เป็นจำนวนสเตอริงกับ partition รอคนอื่นมาเติมครับ.

การแจกของ k สิ่ง ลงในกล่อง n สิ่งที่ต่างกัน

เมื่อของทั้ง k สิ่ง ต่างกัน
กรณีที่ 1 : เมื่อแต่ละกล่องรับของได้เพียง 1 สิ่ง และ $k \le n$ จะทำได้ $n(n-1)(n-2) \cdots (n - k + 1) = \frac{n!}{(n-k)!}$
กรณีที่ 2 : เมื่อแต่ละกล่องรับของได้เท่าไรก็ได้ จะทำได้ $(n)(n)\cdots n (n) = n^k$


เมื่อของทั้ง k สิ่ง เหมือนกัน
กรณีที่ 1 : เมื่อแต่ละกล่องรับของได้เพียง 1 สิ่ง และ $k \le n$ จะทำได้ ${n \choose k}$
กรณีที่ 2 : เมื่อแต่ละกล่องรับของได้เท่าไรก็ได้ จะเหมือนกับจำนวนคำตอบของสมการ $x_1 + x_2 + \cdots + x_n = r$ เมื่อจำนวนเต็ม $x_i \ge 0 $
ซึ่งทำได้ ${n + k -1 \choose k}$
กรณีที่ 3 : เมื่อแต่ละกล่องจะต้องมีของอย่างน้อย 1 ชิ้น โดยที่ $k \ge n$
ขั้นแรกให้เอาของแต่ละสิ่งไปใส่ในกล่องละใบ จะเหลือของอยู่ k - n สิ่ง จากนั้นจึงแจกของ n - k สิ่งลงในกล่อง n สิ่ง โดยที่แต่ละกล่องจะได้ของหรือไม่ก็ได้ (แบบในกรณีที่ 2) ทำได้ ${(k - n) + n - 1 \choose k - n} = {k - 1 \choose k - n} = { k - 1\choose n - 1}$ (เพราะ ${n \choose k} = {n \choose n -k}$ )

14 มิถุนายน 2006 20:11 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gon
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 14 มิถุนายน 2006, 21:39
R-Tummykung de Lamar R-Tummykung de Lamar ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 20 ธันวาคม 2004
ข้อความ: 566
R-Tummykung de Lamar is on a distinguished road
Post

$\huge \mathbf{จำนวนสเตอริง (Stirling Numbers)}$
อันนี้ จัดว่าอยู่ในกรณีของ กล่องเหมือนกัน แต่ของต่างกันครับ
สมมติว่ามี เซต {1,2,3,4} แบ่งใส่ลงใน 2 กล่อง (โดยที่แต่ละกล่องต้องมีอย่างน้อย 1 อย่าง) ได้ดังนี้
(เมื่อ เซต แทนกล่อง)

{{1},{2,3,4}}
{{2},{1,3,4}}
{{3},{1,2,4}}
{{4},{1,2,3}}
{{1,2},{3,4}}
{{1,3},{2,4}}
{{1,4},{2,3}}
รวม 7 วิธี

จะแทนการใส่สิ่งของ k ชิ้นที่แตกต่างกัน กับ กล่อง n กล่องที่เหมือนกัน ว่า $\large S(n,k)$
เมื่อสักครู่ได้ $S(4,2)=7$
อันนี้เพิ่มเติมครับ
$S(n,k)=0$ เมื่อ $k>n$
$S(n,n)=S(n,1)=1$ เมื่อ $n \in I^{+}$
$S(n,0)=0$ เมื่อ $n \in I^{+}$
$S(0,0)=1$

รู้สึกจะไม่มีรูปปิดตายตัวนะครับ จะมีเพียง ความสัมพันธ์


$$S(n+1,k)=\sum_{i=0}^{n} {n \choose i}S(n-i,k-1)$$



เช่น เมื่อสักครู่ $$S(4,2)=\sum_{i=0}^{3} {3 \choose i}S(3-i,1)$$
$$={3 \choose 0}S(3,1)+{3 \choose 1}S(2,1)+{3 \choose 2}S(1,1)+{3 \choose 3}S(0,1)$$
$$=1(1)+3(1)+3(1)+1(0)=7$$

__________________
[[:://R-Tummykung de Lamar\\::]] ||
(a,b,c > 0,a+b+c=3)
$$\sqrt a+\sqrt b+\sqrt c\geq ab+ac+bc$$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 15 มิถุนายน 2006, 17:12
rigor's Avatar
rigor rigor ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 30 มกราคม 2005
ข้อความ: 137
rigor is on a distinguished road
Post

สงสัยหลักการคูณจะหากินไม่ได้ทุกกรณีแล้วหละ
__________________
$ \rho\iota\gamma$o$\rho \ \iota\sigma \ \omega$o$\rho\kappa\iota\nu\gamma \ \eta\alpha\rho\delta $
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 17 มิถุนายน 2006, 15:30
chaitung chaitung ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 มิถุนายน 2006
ข้อความ: 9
chaitung is on a distinguished road
Post

เหลืออีกวิธีหนึ่องนะครับ "ของเหมือนกัน กล่องเหมือนกัน" ช่วยตอบที่นะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 18 มิถุนายน 2006, 15:59
Ryo - Shi - Ki Ryo - Shi - Ki ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 มิถุนายน 2006
ข้อความ: 8
Ryo - Shi - Ki is on a distinguished road
Exclamation

ไม่ค่อยแน่ใจนะ ว่าใช่หรือป่าว ถ้าใครรู้อันที่ถูกจริงๆ ก็ช่วยมาแก้ให้ด้วยละกันคับ


ถ้าให้คน r คน ของ n สิ่ง โดยบางคนอาจไม่ได้รับส่วนแบ่ง

{ n+r-1 C r } /r!
__________________
-*- In Mathematics, nothing is impossible..... -*-
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 00:03


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha