Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์มัธยมศึกษา > ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย > ข้อสอบในโรงเรียน ม.ปลาย
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 28 มกราคม 2010, 20:09
Stupendous Stupendous ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 28 มกราคม 2010
ข้อความ: 10
Stupendous is on a distinguished road
Default โจทย์ฟังก์ชัน กสพท.

ให้ P(x) เป็นพหุนามที่มี สัมประสิทธิ์ เป็นจำนวนเต็ม และ P(x)P(1/x)=P(x)+P(1/x) กำหนดให้ P(1/2)=7/8
จงหา P(1)+P(2)+P(3)+P(4)+P(5)

28 มกราคม 2010 20:09 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Stupendous
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 28 มกราคม 2010, 22:41
not11's Avatar
not11 not11 ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 พฤศจิกายน 2008
ข้อความ: 16
not11 is on a distinguished road
Default

$สมมติว่า p(x) = A + Bx + Cx^2 + ... ; A,B,C,... \in I$
$ดังนั้น p(\frac{1}{x}) = A + B\frac{1}{x} + C\frac{1}{x^2} + ...$
$จะได้ P(x)P(1/x) = P(x)+P(1/x)$
$ (A + Bx + Cx^2 + ...)(A + B\frac{1}{x} + C\frac{1}{x^2} + ...) = (A + Bx + Cx^2 + ...) + (A + B\frac{1}{x} + C\frac{1}{x^2} + ...)$
$พิจารณาสัมประสิทธิ์พจน์ที่ไม่มี x $

$A^2 + B^2 + C^2 + ... = 2A $
$นั่นคือ A^2 \leqslant 2A$
$จะได้ช่วง A คือ [0,2] $
$กรณี A=0$
$>> จะได้ P(x) = 0 ใช้ไม่ได้$
$ กรณี A=2$
$>> จะได้ B^2 + C^2 + ... = 0 >>> \therefore B=C=...=0$
$>> จะได้ P(x) = 2 ใช้ไม่ได้$

$\therefore A=1$
$แทนค่าในสมการ$
$1 + B^2 + C^2 + ... = 2 >>> B^2 + C^2 + ... = 1$
$นั่นคือ มีตัวแปรหนึ่งตัว=1,-1 นอกนั้น=0$
$\therefore P(x) = 1 \pm x^n$
$แทน x = \frac{1}{2} ; p(\frac{1}{2}) = 1 \pm (\frac{1}{2})^n >>> \frac{7}{8} = 1 - (\frac{1}{2})^n เท่านั้น$
$(\frac{1}{2})^n = \frac{1}{8} $
$\therefore n=3 $
$\therefore P(x) = 1 - x^3 โดย x \not= 0$
$ P(1) + P(2) + P(3) + P(4) + P(5) = 5 - ( 1 + 8 + 27 + 64 + 125 ) = -220 $


29 มกราคม 2010 22:02 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ not11
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 06 ธันวาคม 2010, 01:20
Jaez's Avatar
Jaez Jaez ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 ธันวาคม 2010
ข้อความ: 25
Jaez is on a distinguished road
Default

ขอบคุณคะ แต่ไม่เข้าใจคำเฉลยเลยอ่ะคะ ถามเป็นข้อ ๆ นะคะ

๑ ทำไมต้องพิจารณาสัมประสิทธิ์พจน์ที่ไม่มี x
๒ ทำไม $ B^2 + C^2 + ... = 0 แล้ว B=C=...=0 $ได้ยังไงอ่ะคะ

ขอบคุณคำตอบในการไขกระจ่างคะ

06 ธันวาคม 2010 01:24 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 3 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Jaez
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 06 ธันวาคม 2010, 10:22
กิตติ's Avatar
กิตติ กิตติ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 2,723
กิตติ is on a distinguished road
Default

การพิจารณาสัมประสิทธิ์ของพจน์ที่ไม่มี$x$ เพราะเวลากระจายผลคูณจากวงเล็บแล้วพจน์$x$ คูณกับ $\frac{1}{x} $ แล้วเหลือแค่สัมประสิทธิ์คือ $A^2+B^2+C^2+....$ เพราะเราอยากรู้ว่าพหุนามนั้นหน้าตาเป็นยังไง
สำหรับ$A^2+B^2+C^2+....=0$ แล้วสรุปว่า$A=B=C=...=0$ เพราะเรารู้แล้วว่า $x^2\geqslant 0$ สำหรับ$x$ ที่เป็นจำนวนจริง เมื่อแต่ละพจน์เป็นบวก ผลรวมทั้งหมดจะเป็นศูนย์เมื่อแต่ละพจน์เท่ากับศูนย์เท่านั้น
__________________
"ถ้าเราล้มบ่อยๆ ในที่สุดเราจะรู้ว่าถ้าจะล้ม ล้มท่าไหนจะเจ็บน้อยที่สุด และรู้อีกว่าต่อไปทำยังไงจะไม่ให้ล้มอีก
ดังนั้นจงอย่ากลัวที่จะล้ม
"...อาจารย์อำนวย ขนันไทย
ครั้งแรกในชีวิตที่สอบคณิตสมาคมคณิตศาสตร์เมื่อปี2533...ผมได้แค่24คะแนน(จากร้อยคะแนน)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 07 ธันวาคม 2010, 02:22
Jaez's Avatar
Jaez Jaez ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 ธันวาคม 2010
ข้อความ: 25
Jaez is on a distinguished road
Default

ขอบคุณคะ เคลียร์บางส่วน ^^

แต่ก็ยังสงสัยตรงที่ $(A + Bx + Cx^2 + ...) + (A + B\frac{1}{x} + C\frac{1}{x^2} + ...) = 2A$ หรอคะ ($2A$ คือพหุนาม เข้าใจถูกใช่ไหมคะ)
หรือเพราะเรา พิจารณาสัมประสิทธิ์พจน์ที่ไม่มี x (ซึ่งจริงๆๆ แล้ว มันจะได้ $2A + B(x^2+1) + C(x^4+1)$ ใช่ไหมคะ)

แล้ว ถ้าเราไม่พิจารณาสัมประสิทธิ์พจน์ที่ไม่มี x มันจะยุ่งยากรึเปล่าคะ

07 ธันวาคม 2010 02:23 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Jaez
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 07 ธันวาคม 2010, 10:04
กิตติ's Avatar
กิตติ กิตติ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 2,723
กิตติ is on a distinguished road
Default

เฉพาะสัมประสิทธิ์ของพจน์ที่ไม่มี $x$ เพราะโจทย์กำหนดให้$p(x)p(\frac{1}{x} )=p(x)+p(\frac{1}{x} )$
เลยจับมาเท่ากันได้ครับ แนะนำว่าลองเขียนกระจายทีละข้างดีกว่าครับแล้วเลือกตรงพจน์ที่ไม่มี$x$
$p(x)p(\frac{1}{x} )=(A^2+B^2+C^2+...)+(..)x+(...)x^2+....$
$p(x)+p(\frac{1}{x} )=2A+Bx+Cx^2+....+B\frac{1}{x}+C\frac{1}{x^2}+...$
ผมว่าน่าจะเห็นชัดแล้วนะครับ
มันยุ่งมากที่เราจะพิจารณาพจน์อื่นครับ
__________________
"ถ้าเราล้มบ่อยๆ ในที่สุดเราจะรู้ว่าถ้าจะล้ม ล้มท่าไหนจะเจ็บน้อยที่สุด และรู้อีกว่าต่อไปทำยังไงจะไม่ให้ล้มอีก
ดังนั้นจงอย่ากลัวที่จะล้ม
"...อาจารย์อำนวย ขนันไทย
ครั้งแรกในชีวิตที่สอบคณิตสมาคมคณิตศาสตร์เมื่อปี2533...ผมได้แค่24คะแนน(จากร้อยคะแนน)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 13 ธันวาคม 2010, 10:43
Jaez's Avatar
Jaez Jaez ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 ธันวาคม 2010
ข้อความ: 25
Jaez is on a distinguished road
Default

พอเข้าใจแล้วคะ ข้อนี้วิเคราะห์ยากจัง ขอบคุณคะ
__________________
จะสู้กับคณิตศาสตร์ให้ถึงที่สุด
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 15 มกราคม 2011, 01:16
NNA-MATH's Avatar
NNA-MATH NNA-MATH ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤศจิกายน 2010
ข้อความ: 85
NNA-MATH is on a distinguished road
Default

อยากจะถามเกี่ยวกับข้อนี้หน่อยครับว่า . . .
โจทย์กำหนดแค่ สปส. เป็นจำนวนเต็ม แล้วทำไมเราต้องสมมุติดีกรีของ p(x) เป็นจำนวนเต็มด้วย
อาจมีพจน์ที่เป็น $x^{\frac{1}{2}}$ หรือ อื่นๆก็ได้ไม่ใช่หรอครับ
หรือว่าเป็นเพราะว่ามันคือ p(x) ไม่ใช่ f(x)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 15 มกราคม 2011, 02:06
Amankris's Avatar
Amankris Amankris ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,492
Amankris is on a distinguished road
Default

@#8
พหุนาม ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 15 มกราคม 2011, 23:34
NNA-MATH's Avatar
NNA-MATH NNA-MATH ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤศจิกายน 2010
ข้อความ: 85
NNA-MATH is on a distinguished road
Default

โอเคครับ ขอบคุณครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 22 ธันวาคม 2011, 01:20
catholic catholic ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 พฤศจิกายน 2011
ข้อความ: 3
catholic is on a distinguished road
Default

นานแล้วนะครับ แต่เพิ่งจะสงสัยว่าทำไม 1+B^2+C^2+...=2>>>B^2+C^2+...=1
นั่นคือมีตัวแปรหนึ่งตัว=1,−1นอกนั้น=0 จึงสรุปได้ว่า P(x)=1±x^n ล่ะครับ ม.6แล้วก็ยัง งงๆอยู่ดีครับ TT
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #12  
Old 22 ธันวาคม 2011, 10:47
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ catholic View Post
นานแล้วนะครับ แต่เพิ่งจะสงสัยว่าทำไม 1+B^2+C^2+...=2>>>B^2+C^2+...=1
นั่นคือมีตัวแปรหนึ่งตัว=1,−1นอกนั้น=0 จึงสรุปได้ว่า P(x)=1±x^n ล่ะครับ ม.6แล้วก็ยัง งงๆอยู่ดีครับ TT
สมมติสั้นๆแค่ $B^2+C^2=1$

$B^2,C^2$ เป็นบวกหรือศูนย์ทั้งคู่

ถ้ามีซักจำนวนมีค่าเกินหนึ่งจะเกิดอะไรขึ้นครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #13  
Old 23 ธันวาคม 2011, 13:11
PP_nine's Avatar
PP_nine PP_nine ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 เมษายน 2010
ข้อความ: 607
PP_nine is on a distinguished road
Default

ช่วงนี้รู้สึกโจทย์เลขกำลังมาแรง สำหรับใครที่สอบ PAT1

ข้อนี้ผมจัดรูปเอาครับ (นั่งกระจายมันปวดหัว )

จัดรูปเป็น $(p(x)-1)\Big(p\Big(\dfrac{1}{x}\Big)-1\Big)=1$

ให้ $q(x)=p(x)-1$ ได้ว่า $q(x)q\Big(\dfrac{1}{x}\Big)=1$

ที่เหลือก็ง่ายแล้วครับ
______________________________________________________

จากสมการที่กำหนดให้ สามารถจัดได้ในรูป $\Big[p(x)-1\Big]\Big[p\Big(\dfrac{1}{x}\Big)-1\Big]=1$

สร้างพหุนาม $q$ ซึ่งนิยามโดย $q(x)=p(x)-1$ ฉะนั้น $q(x) \cdot q\Big(\dfrac{1}{x}\Big) =1$

ถ้าพหุนาม $q$ มีดีกรี $n$ แล้ว สามารถเขียนได้ว่า $q(x)=a_nx^n+a_{n-1}x^{n-1}+\cdots+a_1x+a_0$

แต่เมื่อเรานำการกระจายพหุนาม $q(x)$ ไปแทนในสมการเดิมจะได้ว่า $a_n^2+a_{n-1}^2+\cdots+a_0^2+[\cdots]=1$

โดยที่ข้างในวงเล็บ $[\cdots]$ ทุกพจน์จะติดตัวแปร $x^k$ หรือ $\dfrac{1}{x^k}$ เสมอ โดยที่ $k\not=0$

กรณีเดียวที่เป็นไปได้คือ $a_{n-1}=a_{n-2}=...=a_0=0$ เพราะ $a_n \not= 0$ (เรากำหนดไว้้แล้วว่า $deg(q)=n$)

และทุกพจน์ต้องมี สปส. $a_{n-1},a_{n-2},...,a_0$ อย่างน้อยตัวหนึ่ง

ทำให้ $q(x)=a_nx^n$ เมื่อนำไปแทนในสมการจะได้ว่า $a_n^2=1$ จึงได้ว่า $q(x)=\pm x^n$

จากเดิมจึงได้ $p(x)=1+q(x)=1 \pm x^n$ เมื่อ $n$ เป็นจำนวนเต็มไม่ติดลบ (เป็น 0 ได้) #
__________________
keep your way.

06 เมษายน 2012 19:15 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 4 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ PP_nine
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 23:21


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha