Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์มัธยมศึกษา > ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 04 กุมภาพันธ์ 2011, 19:16
MiNd169's Avatar
MiNd169 MiNd169 ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 15 สิงหาคม 2009
ข้อความ: 444
MiNd169 is on a distinguished road
Default โจทย์ความสัมพันธ์และฟังก์ชันครับ

มีเซต A และ B แล้วหา
จำนวนความสัมพันธ์จาก A ไป B ที่โดเมนเป็น A และจำนวนความสัมพันธ์ภายใน A ที่โดเมนเป็น A อย่างไรครับ

ตัวอย่างโจทย์
ให้ n(A) = 3 และ n(B) = 4 จงหา จำนวนความสัมพันธ์จาก A ไป B ที่โดเมนเป็น A

ขอบคุณครับ
__________________
แข่งคณิตฯ คิดได้ ง่ายดายเหลือ
แข่งทุกเมื่อ ร้อนแรง แจ้งประจักษ์
รับรางวัล หลากหลาย มากมายนัก
แต่แข่งรัก ยากแท้ แพ้ใจเธอ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 04 กุมภาพันธ์ 2011, 20:24
lek2554's Avatar
lek2554 lek2554 ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 07 กันยายน 2010
ข้อความ: 1,036
lek2554 is on a distinguished road
Default

$n(A)=1 , n(B)=4$ จำนวนความสัมพันธ์จาก A ไป B ที่โดเมนเป็น A $= 2^4-1$

$n(A)=2 , n(B)=4$ จำนวนความสัมพันธ์จาก A ไป B ที่โดเมนเป็น A $= 2^8-\binom{2}{1}(2^4-1)-1 $

$n(A)=3 , n(B)=4$ จำนวนความสัมพันธ์จาก A ไป B ที่โดเมนเป็น A $= 2^{12}-\binom{3}{1}(2^4-1)-\binom{3}{2}\left[2^8-\binom{2}{1}(2^4-1)-1\right ] -1 $

05 กุมภาพันธ์ 2011 13:20 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ lek2554
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 04 กุมภาพันธ์ 2011, 23:40
MiNd169's Avatar
MiNd169 MiNd169 ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 15 สิงหาคม 2009
ข้อความ: 444
MiNd169 is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ lek2554 View Post
$n(A)=1 , n(B)=4$ จำนวนความสัมพันธ์จาก A ไป B ที่โดเมนเป็น A $= 2^4-1$

$n(A)=2 , n(B)=4$ จำนวนความสัมพันธ์จาก A ไป B ที่โดเมนเป็น A $= 2^8-\binom{2}{1}(2^4-1)-1 $

$n(A)=3 , n(B)=4$ จำนวนความสัมพันธ์จาก A ไป B ที่โดเมนเป็น A $= 2^{12}-\binom{3}{1}(2^4-1)-\binom{3}{2}\left[2^8-\binom{2}{1}(2^4-1)\right] -1 $
ขอบคุณมากๆครับ
รบกวนขอ concept หรือที่มาีแนวคิดอีกนิดนึงครับ
__________________
แข่งคณิตฯ คิดได้ ง่ายดายเหลือ
แข่งทุกเมื่อ ร้อนแรง แจ้งประจักษ์
รับรางวัล หลากหลาย มากมายนัก
แต่แข่งรัก ยากแท้ แพ้ใจเธอ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 05 กุมภาพันธ์ 2011, 13:48
lek2554's Avatar
lek2554 lek2554 ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 07 กันยายน 2010
ข้อความ: 1,036
lek2554 is on a distinguished road
Default

จำนวนความสัมพันธ์ทั้งหมดจาก A ไป B = $2^{n(A)n(B)}$

จำนวนวิธีในการเลือกสิ่งของที่แตกต่างกันทั้งหมดอย่างน้อย 1 สิ่ง จาก n สิ่ง = $2^n-1$

ถ้าให้ $A=\left\{1\right\} , B=\left\{a,b\right\}$

ความสัมพันธ์ทั้งหมดจาก A ไป B ที่มี A เป็นโดเมน ได้จากการเลือกสมาชิกของ B อย่างน้อย 1 ตัว มาจับคู่กับ 1 จะได้ทั้งหมด = $2^2-1$ ความสัมพันธ์ คือ

$r_1 = \left\{(1,a)\right\}$

$r_2 = \left\{(1,b)\right\}$

$r_3 = \left\{(1,a),(1,b)\right\}$

ถ้าให้ $A=\left\{1,2\right\} , B=\left\{a,b\right\}$

ความสัมพันธ์ทั้งหมดจาก A ไป B ที่มี A เป็นโดเมน = ความสัมพันธ์ทั้งหมดจาก A ไป B - ความสัมพันธ์จาก A ไป B ที่มีโดเมน 1 ตัว - เซตว่าง

ถ้าให้ $A=\left\{1,2,3\right\} , B=\left\{a,b\right\}$

ความสัมพันธ์ทั้งหมดจาก A ไป B ที่มี A เป็นโดเมน = ความสัมพันธ์ทั้งหมดจาก A ไป B - ความสัมพันธ์จาก A ไป B ที่มีโดเมน 1 ตัว - ความสัมพันธ์จาก A ไป B ที่มีโดเมน 2 ตัว - เซตว่าง

ป.ล. ที่ตอบครั้งแรก ผมพิมพ์ -1 ตกไป แก้แล้วครับ ดูเปรียบเทียบกับที่อ้างอิงไว้ด้วยครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 05 กุมภาพันธ์ 2011, 18:30
MiNd169's Avatar
MiNd169 MiNd169 ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 15 สิงหาคม 2009
ข้อความ: 444
MiNd169 is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ lek2554 View Post
จำนวนความสัมพันธ์ทั้งหมดจาก A ไป B = $2^{n(A)n(B)}$

จำนวนวิธีในการเลือกสิ่งของที่แตกต่างกันทั้งหมดอย่างน้อย 1 สิ่ง จาก n สิ่ง = $2^n-1$

ถ้าให้ $A=\left\{1\right\} , B=\left\{a,b\right\}$

ความสัมพันธ์ทั้งหมดจาก A ไป B ที่มี A เป็นโดเมน ได้จากการเลือกสมาชิกของ B อย่างน้อย 1 ตัว มาจับคู่กับ 1 จะได้ทั้งหมด = $2^2-1$ ความสัมพันธ์ คือ

$r_1 = \left\{(1,a)\right\}$

$r_2 = \left\{(1,b)\right\}$

$r_3 = \left\{(1,a),(1,b)\right\}$

ถ้าให้ $A=\left\{1,2\right\} , B=\left\{a,b\right\}$

ความสัมพันธ์ทั้งหมดจาก A ไป B ที่มี A เป็นโดเมน = ความสัมพันธ์ทั้งหมดจาก A ไป B - ความสัมพันธ์จาก A ไป B ที่มีโดเมน 1 ตัว - เซตว่าง

ถ้าให้ $A=\left\{1,2,3\right\} , B=\left\{a,b\right\}$

ความสัมพันธ์ทั้งหมดจาก A ไป B ที่มี A เป็นโดเมน = ความสัมพันธ์ทั้งหมดจาก A ไป B - ความสัมพันธ์จาก A ไป B ที่มีโดเมน 1 ตัว - ความสัมพันธ์จาก A ไป B ที่มีโดเมน 2 ตัว - เซตว่าง

ป.ล. ที่ตอบครั้งแรก ผมพิมพ์ -1 ตกไป แก้แล้วครับ ดูเปรียบเทียบกับที่อ้างอิงไว้ด้วยครับ
ขอบคุณมากๆครับ เข้าใจแล้วครับ
__________________
แข่งคณิตฯ คิดได้ ง่ายดายเหลือ
แข่งทุกเมื่อ ร้อนแรง แจ้งประจักษ์
รับรางวัล หลากหลาย มากมายนัก
แต่แข่งรัก ยากแท้ แพ้ใจเธอ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 06 กุมภาพันธ์ 2011, 20:19
MiNd169's Avatar
MiNd169 MiNd169 ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 15 สิงหาคม 2009
ข้อความ: 444
MiNd169 is on a distinguished road
Default

ขอเพิ่มเติมโจทย์เล็กน้อยครับ

ถูกหรือผิด?
มีเซต A บางเซต ที่ทำให้ A อินเตอร์เซ็ก (A x B) ไม่เท่ากับ เซตว่าง

ผมคิดว่าถูกครับ แต่เฉลยบอกว่าผิด แล้วเป็นอย่างไรกันแน่ครับ
__________________
แข่งคณิตฯ คิดได้ ง่ายดายเหลือ
แข่งทุกเมื่อ ร้อนแรง แจ้งประจักษ์
รับรางวัล หลากหลาย มากมายนัก
แต่แข่งรัก ยากแท้ แพ้ใจเธอ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 06 กุมภาพันธ์ 2011, 20:36
lek2554's Avatar
lek2554 lek2554 ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 07 กันยายน 2010
ข้อความ: 1,036
lek2554 is on a distinguished road
Default

ยกตัวอย่างเซต A , B ที่ทำให้ข้อความนี้เป็นจริงซัก 1 ตัวอย่างได้มั้ยล่ะครับ

ข้อความนี่เป็นนิเสธของข้อความ $\forall A\left[A\cap (A\times B)=\phi \right]$ ซึ่งเป็นจริง เพราะ $A$ กับ $(A\times B) $ ไม่มีทางที่จะมีสมาชิกซ้ำกันได้เลย

ดังนั้นข้อความที่กำหนดให้จึงเป็นเท็จ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 06 กุมภาพันธ์ 2011, 20:43
MiNd169's Avatar
MiNd169 MiNd169 ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 15 สิงหาคม 2009
ข้อความ: 444
MiNd169 is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ lek2554 View Post
ยกตัวอย่างเซต A , B ที่ทำให้ข้อความนี้เป็นจริงซัก 1 ตัวอย่างได้มั้ยล่ะครับ

ข้อความนี่เป็นนิเสธของข้อความ $\forall A\left[A\cap (A\times B)=\phi \right]$ ซึ่งเป็นจริง เพราะ $A$ กับ $(A\times B) $ ไม่มีทางที่จะมีสมาชิกซ้ำกันได้เลย

ดังนั้นข้อความที่กำหนดให้จึงเป็นเท็จ
ผมคิดว่า ถ้า A = {a,(a,b)} และ B = {b,c}

AxB = {(a,b),(a,c),((a,b),b),((a,b),c)}

ซึ่ง $A\cap (A\times B) =$ {(a,b)}
__________________
แข่งคณิตฯ คิดได้ ง่ายดายเหลือ
แข่งทุกเมื่อ ร้อนแรง แจ้งประจักษ์
รับรางวัล หลากหลาย มากมายนัก
แต่แข่งรัก ยากแท้ แพ้ใจเธอ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 06 กุมภาพันธ์ 2011, 21:03
lek2554's Avatar
lek2554 lek2554 ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 07 กันยายน 2010
ข้อความ: 1,036
lek2554 is on a distinguished road
Default

ยกต้วอย่างได้จริง ผมพลาดไปอย่างใหญ่หลวง ขอโทษครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 06 กุมภาพันธ์ 2011, 21:08
MiNd169's Avatar
MiNd169 MiNd169 ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 15 สิงหาคม 2009
ข้อความ: 444
MiNd169 is on a distinguished road
Default

คือผมสงสัยน่ะครับ ว่า
เราจะสามารถกำหนดให้ A ตอนเริ่มต้นมีสมาชิกที่เป็นคู่อันดับได้ไหม

ขอบคุณครับ
__________________
แข่งคณิตฯ คิดได้ ง่ายดายเหลือ
แข่งทุกเมื่อ ร้อนแรง แจ้งประจักษ์
รับรางวัล หลากหลาย มากมายนัก
แต่แข่งรัก ยากแท้ แพ้ใจเธอ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 06 กุมภาพันธ์ 2011, 21:33
Amankris's Avatar
Amankris Amankris ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,492
Amankris is on a distinguished road
Default

โจทย์จริงๆ อาจจะมี Universe นะครับ

ต้องไปดูที่ต้นฉบับจริงๆ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #12  
Old 06 กุมภาพันธ์ 2011, 21:40
MiNd169's Avatar
MiNd169 MiNd169 ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 15 สิงหาคม 2009
ข้อความ: 444
MiNd169 is on a distinguished road
Default

เขาบอกว่า ให้ A B C เป็นเซตใดๆน่ะครับ

แล้วมันยังอยู่ในความหมายเดิมรึเปล่า?
__________________
แข่งคณิตฯ คิดได้ ง่ายดายเหลือ
แข่งทุกเมื่อ ร้อนแรง แจ้งประจักษ์
รับรางวัล หลากหลาย มากมายนัก
แต่แข่งรัก ยากแท้ แพ้ใจเธอ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #13  
Old 06 กุมภาพันธ์ 2011, 23:17
lek2554's Avatar
lek2554 lek2554 ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 07 กันยายน 2010
ข้อความ: 1,036
lek2554 is on a distinguished road
Default

จากข้อตกลงในเรื่องเซต เมื่อกล่าวถึงเซตของจำนวน และไม่ได้ระบุเอกภพสัมพัทธ์ ให้หมายถึงเอกภพสัมพัทธ์เป็นเซตของจำนวนจริง

แต่จะนำมาใช้อ้างอิงกับข้อความที่กล่าวมาได้หรือเปล่าผมไม่แน่ใจครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #14  
Old 07 กุมภาพันธ์ 2011, 21:27
MiNd169's Avatar
MiNd169 MiNd169 ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 15 สิงหาคม 2009
ข้อความ: 444
MiNd169 is on a distinguished road
Default

อ่าครับ ขอบคุณมากครัึบ
__________________
แข่งคณิตฯ คิดได้ ง่ายดายเหลือ
แข่งทุกเมื่อ ร้อนแรง แจ้งประจักษ์
รับรางวัล หลากหลาย มากมายนัก
แต่แข่งรัก ยากแท้ แพ้ใจเธอ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 13:41


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha