Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > ข้อสอบโอลิมปิก
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #16  
Old 17 พฤษภาคม 2007, 20:12
Mathophile's Avatar
Mathophile Mathophile ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไว
 
วันที่สมัครสมาชิก: 31 มีนาคม 2007
ข้อความ: 250
Mathophile is on a distinguished road
Default

ขอบคุณสำหรับคำอธิบายของคุณ [Tong]_1412 ครับ

ตอบคุณ [Tong]_1412
ตอนนี้ผมยังไม่มีเฉลยในมือครับ แต่เคยเห็นเฉลยผ่าน ๆ รู้สึกจะแบ่งกรณีคล้าย ๆ กับที่คุณ [Tong]_1412 ทำน่ะครับ

ข้อ 2 วันที่ 2 ผมไม่แน่ใจว่าจะใช้ Induction ได้หรือเปล่า แต่คิดว่าน่าจะใช่ครับ ลองคิดกันดูครับ

ปล. คุณ [Tong]_1412 ได้สอบ สอวน. ครั้งนี้หรือเปล่าครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #17  
Old 18 พฤษภาคม 2007, 09:00
CmKaN's Avatar
CmKaN CmKaN ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 ตุลาคม 2006
ข้อความ: 185
CmKaN is on a distinguished road
Default

ข้อ16 คือไม่แน่ใจว่าทำอย่างนี้จะได้ไหมน่ะครับ
จงหาจำนวนเต็มบวกที่น้อยที่สุดที่มีจำนวนตัวหารที่เป็นบวกเท่ากับ 24ตัว
ไม่รู้เขาเรียกว่าทฤษฏีอะไรแล้วน่ะครับที่หาจำนวนตัวหารอะครับ เช่น
$18 =2^{1}\times{3^{2}}$ เอาเลขชี้กำลังมาบวก1แล้วคูณกัน ได้ตัวประกอบบวกของ18=6ตัว
จากข้างบนจะได้ว่า $24=2\times{2}\times{2}\times{3}$
ซึ่งจะได้จำนวนๆคือ
$x^{24-1},x^{8-1}y^{3-1},x^{12-1}y^{2-1},x^{6-1}y^{4-1},x^{4-1}y^{2-1}z^{3-1},x^{2-1}y^{2-1}z^{2-1}q^{3-1}$
=$x^{23},x^{11}y^{1},x^{7}y^{2},x^{5}y^{3},x^{3}y^{1}z^{2},x^{1}y^{1}z^{1}q^{2}$
ซึ่งการที่จะได้จำนวนที่มีค่าน้อยที่สุดจำนวนที่มีเลขยกกำลังสูงสุดต้องเป็น 2 จึงจะมีค่าต่ำที่สุด ตัวที่เลขชี้กำลังลองลงมา
ต้องเป็น 3 ลองลงมาต้องเป็น 5 เนื่องจากถ้าเป็นสี่ทำให้เป็น $2^{2}$ ทำให้ค่าย้อนกลับคลาดเคลื่อน ถัดมาก ็7 ได้
$2^{23}$
$2^{11}\times{3}$
$2^{7}\times{3^{2}}$
$2^{5}\times{3^{3}}$
$2^{3}\times{3^{2}}\times{5}$
$2^{2}\times{3}\times{5}\times{7}$
ซึ่งจะได้ $2^{3}\times{3^{2}}\times{5}=360$เป็นจำนวนที่น้อบที่สุด

ถ้าผิดพลาดก็ขออภัยด้วยน่ะครับ
__________________
..................สนุกดีเนอะ...................
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #18  
Old 18 พฤษภาคม 2007, 13:33
[Tong]_1412's Avatar
[Tong]_1412 [Tong]_1412 ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2007
ข้อความ: 77
[Tong]_1412 is on a distinguished road
Send a message via MSN to [Tong]_1412
Default

ทฤษฎีของคุณ CmKaN รู้สึกจะเป็นเทคนิคเชิงการนับเฉย ๆ มั้งครับ ผมก็เรียกไม่ถูกเหมือนกัน

อ่อ สอวน.ครั้งที่ 4 ผมไปมาเหมือนกันครับ แล้วคุณ Mathophile และสมาชิกใน Mathcenter ละครับใครได้ไป สอวน. ครั้งที่4 บ้างครับ
__________________
* รัก คณิต



18 พฤษภาคม 2007 13:34 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ [Tong]_1412
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #19  
Old 18 พฤษภาคม 2007, 18:34
Mathophile's Avatar
Mathophile Mathophile ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไว
 
วันที่สมัครสมาชิก: 31 มีนาคม 2007
ข้อความ: 250
Mathophile is on a distinguished road
Default

คุณ CmKan ทำถูกต้องแล้วครับ
ทฤษฏีที่คุณ CmKan พูดถึงเรียกว่า "ฟังก์ชันเทา (Tau Function)" ครับ เป็นฟังก์ชันเลขคณิตฟังก์ชันหนึ่งซึ่งนิยามว่า

ให้ $n=p_1^{a_1}p_2^{a_2}...p_k^{a_k}$ เมื่อ $p_1,p_2,...,p_k$ เป็นจำนวนเฉพาะที่แตกต่างกัน และ $a_1,a_2,...,a_k$ เป็นจำนวนนับ จะได้ว่า
$\tau (n)=$ จำนวนตัวหารบวกของ $n=\displaystyle{\prod_{i = 1}^{k}(a_i+1)}$

สำหรับวิธีพิสูจน์สามารถหาดูได้ในหนังสือทฤษฎีจำนวน ของ สอวน. เรื่องฟังก์ชันเลขคณิตครับ

สอวน. ครั้งที่ 4 ผมก็ได้ไปสอบเหมือนกันครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #20  
Old 09 มิถุนายน 2007, 20:35
passer-by passer-by ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 เมษายน 2005
ข้อความ: 1,442
passer-by is on a distinguished road
Smile

เพิ่งปิ๊งไอเดียวันนี้ สรุปว่าข้อ 11 วันแรก ตอบ $ 3^{2549}$ หรือเปล่าครับ (จริงๆมันเหลืออีกข้อ แต่คุณ Mathophile ให้ แนวไว้แล้ว คงไม่ต้อง post)

ระหว่างที่รอคนมาเช็คคำตอบ ผมขอแปะวิธีคิดของผมไว้ก่อนแล้วกัน

จาก range ของฟังก์ชัน จะเห็นว่า หารด้วย3 แล้วเหลือเศษ 0,1,2 พอดี ดังนั้น จำนวนฟังก์ชันข้อนี้ จึงเทียบเท่ากับจำนวน integer solutions ของสมการ

$ f_1+f_2+\cdots f_{2550}= 0,3,6,\cdots 2(2550) $ เมื่อ $ 0 \leq f_i \leq 2$

ผมจะแก้ปัญหานี้ โดยใช้ generating function มาช่วยในขั้นแรก โดยเปลี่ยนปัญหาเป็น

ถ้า $a_i$ คือ สปส.ของ $x^i $ จากการกระจาย $(1+x+x^2)^{2550}$ แล้ว หาค่า $ a_0+a_3+\cdots a_{2(2550)}$ ออกมา ก็จะได้สิ่งที่โจทย์ต้องการ

เพราะ $(1+x+x^2)^{2550} = a_0+a_1 x +a_2 x^2+\cdots a_{2(2550)} x^{2(2550)} $

แทนค่า $ x= \omega , \omega^{-1} ,1 $ ลงไป (เมื่อ $ \omega^3=1 \,\, , \omega \neq 1 $)

จากนั้นก็จับ 3 สมการบวกกัน ก็จะได้คำตอบครับ
__________________
เกษียณตัวเอง ปลายมิถุนายน 2557 แต่จะกลับมาเป็นครั้งคราว

11 มิถุนายน 2007 12:56 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ passer-by
เหตุผล: add method
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #21  
Old 14 มิถุนายน 2007, 19:18
Mathophile's Avatar
Mathophile Mathophile ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไว
 
วันที่สมัครสมาชิก: 31 มีนาคม 2007
ข้อความ: 250
Mathophile is on a distinguished road
Default

คำตอบของคุณ passer-by ถูกต้องแล้วครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 02:06


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha