Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คลายเครียด > ฟรีสไตล์
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 27 มกราคม 2010, 23:05
NUTMATH's Avatar
NUTMATH NUTMATH ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 มกราคม 2010
ข้อความ: 25
NUTMATH is on a distinguished road
Default ภัย iPOD วัยรุ่น70% หูตึง

เสียบหูฟังตลอด เปิดเสียงดังเกิน อายุ 5ขวบระวัง อาจกระทบสมอง



สาธารณ สุขเตือนภัยวัยรุ่นที่ฮิตใช้หูฟังเพลงจากเครื่องเล่นเอ็มพี 3 ไอพอด เร่งเสียงดัง หนัก สะใจ ได้อารมณ์ เสี่ยงอันตรายหูตึง-หูหนวกถาวร ชี้รักษาไม่หาย อาจทำให้การพูดคุยสื่อสารเพี้ยนไป แนะเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบเลี่ยงใช้ อาจส่งผล พัฒนาการสมองช้าลง ผงะน.ร. ม.ต้น-ม.ปลาย ร้อยละ 70 มีอาการหูตึงเพราะฟังเพลงดัง เสนอหน่วยงานเกี่ยวข้องออกกฎหมายควบ คุมระดับเสียงมาตรฐานของหูฟังที่ปลอดภัย

เมื่อวันที่ 17 ม.ค. น.พ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้เครื่องเล่นเพลงดิจิตอลพกพา อาทิ เครื่องเอ็มพี 3 ไอพอด กำลังเป็นที่นิยมของวัยรุ่นทั่วโลก เพราะมีความเป็นโลกส่วนตัว พกพาสะดวกเพราะใช้หูฟังขนาดเล็ก ขณะนี้กำลังจะกลายเป็นปัญหาต่อสุขภาพของผู้ฟังเครื่องดังกล่าว เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักคุ้มครองความปลอดภัยผู้บริโภคสหภาพยุโรปได้ประกาศเตือนภัย โดยผลการสำรวจพบว่าระบบการได้ยินของวัยรุ่นยุโรปมากกว่า 10 ล้านคนกำลังอยู่ในอันตรายจากการใช้หูฟัง เพราะฟังเพลงจากเครื่องเล่นดิจิตอลในระดับเสียงที่ดังเกินไปติดต่อกันเป็น เวลานาน ทำให้มีอาการหูอื้อและหูตึง โดยผู้ใช้เอ็มพี 3 ร้อยละ 5-10 ทั่วโลกกำลังมีความเสี่ยง ซึ่งน่าห่วงมาก

น.พ.ไพจิตร์กล่าวว่า ในส่วนของไทยขณะนี้พบว่าวัยรุ่นจำนวนมากนิยมฟังเพลงจากเครื่องเล่นเอ็มพี 3 เครื่องไอพอด รวมไปถึงโทรศัพท์มือถือที่คัดลอกเพลงจากอินเตอร์เน็ตเป็นร้อยๆ จนถึงพันเพลง ซึ่งผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติล่าสุดในปี 2551 พบประชาชนอายุ 6 ปีขึ้นไปทั่วประเทศใช้โทรศัพท์มือถือ 32 ล้านคน หรือร้อยละ 53 เพิ่มจากปี 2547 ซึ่งมีผู้ใช้ประมาณ 17 ล้านคน การใช้หูฟังเพลงหากฟังเสียงดังปกติทั่วไปคือไม่เกิน 80 เดซิเบล จะไม่เกิดปัญหาต่อระบบประสาทในหู

"แต่หากฟังดังเกินกว่านี้จะเกิด ปัญหาหูตึง หูหนวก เพราะลำโพงเสียงจ่อติดที่รูหู ซึ่งวัยรุ่นมีความเสี่ยงเนื่องจากวัยรุ่นส่วนใหญ่นิยมฟังเพลงประเภทที่มี จังหวะเร็ว เสียงเบสดังกระแทกหนักๆ และมักฟังเสียงดัง เพื่อความสะใจ ได้อารมณ์ และเมื่อหูตึงแล้วจะเกิดปัญหาการสื่อสาร หากไม่เร่งแก้ ไขตั้งแต่ตอนนี้คาดว่าในอนาคตสมรรถนะการเรียนและการทำงานของเยาวชนอาจมี ปัญหา สื่อสารกันไม่รู้เรื่องหรือสื่อสารเพี้ยนไป ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ" ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกล่าว

ส่วนน. พ.สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์ ผู้อำนวยการสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กล่าวเรื่องเดียวกันว่า โดยปกติหูมีหน้าที่ในการได้ยิน และการทรงตัวของร่างกาย หูสามารถทนรับฟังเสียงได้ไม่เกิน 90 เดซิเบลเท่านั้น โดยหูฟังเครื่องเล่นเอ็มพี 3 ไอพอด โทร ศัพท์มือถือที่ใช้ในขณะนี้ ยังไม่มีการควบ คุมมาตรฐานความดังเสียงที่ปลอดภัย ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยควรรับฟังในระดับความดังไม่เกิน 80 เดซิเบล หูฟังที่มีจำหน่าย ในท้องตลาดขณะนี้มี 3 ประเภท คือ แบบแยงเข้าไปในรูหู (In-Ear หรือ Ear-Plug) แบบแปะหรือสวมแนบพอดีหู และแบบครอบที่ใบหู

น.พ.สม เกียรติกล่าวว่า แต่ที่วัยรุ่นนิยมมากที่สุดเป็นแบบแยงเข้าไปในรูหูเพราะมีขนาดเล็ก พกพาสะดวก แยกแยะเสียงดนตรีได้ชัดเจน หาซื้อง่ายตามแผงลอย ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้าทั่วไป ราคาไม่แพง เริ่มต้นที่ 30 บาทขึ้นไป การฟังเพลงจากหูฟังชนิดนี้เสี่ยงอันตรายสูงกว่าหูฟังประเภทอื่น เนื่อง จากตัวลำโพงหูฟังจะอยู่ใกล้กับประสาทรับเสียงในหูมากที่สุด โดยเพลงที่วัยรุ่นนิยมฟังจะมีหลากหลายแนว เช่น ป๊อป ร็อก ฮิพ ฮอพ แร็พ พังก์ เป็นต้น เป็นเพลงประเภทที่มีจังหวะแรง เร็ว เสียงเบสกระแทกหู หากฟังเสียงดังเกินไปจะมีผลต่อระบบประสาทการได้ยิน

"การฟังเพลงที่มี ความดังเกิน 80 เดซิเบลเป็นเวลานานจะเป็นอันตรายต่อเซลล์ประสาทรับสัญญาณในหู ทำให้เสื่อมลงไปเรื่อยๆ จนเกิดอาการหูตึง ต้องฟังเสียงดังขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายได้" น.พ.สมเกียรติกล่าวว่า ผลสำรวจวัยรุ่นไทยในระดับมัธยมตอนต้นและมัธยมตอนปลายในกทม. พบว่าหูตึงสูงถึงร้อยละ 70 การฟังเพลงจากหูฟังหากเปิดเสียงดังไม่ควรฟังนานเกินครึ่งชั่วโมง เพราะเสียงอาจดังมากเกินไป เช่น อาจดังกว่า 110 เดซิเบล จะทำให้เกิดภาวะหูตึงแบบถาวร การฟังที่เป็นอันตรายต่อหูมากที่สุดคือ การเสียบหูฟังตลอดเวลา ไม่เว้นแม้เวลาหลับ จะเป็นตัวเร่งทำให้หูตึงเร็วขึ้น เนื่องจากแก้วหูจะทำงานตลอดเวลา และจะมีผลหลังจากตื่นนอน จะทำให้อารมณ์หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน ส่งผลให้เป็นคนอารมณ์ร้ายถึงก้าวร้าว เรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง อาการหูตึงจะเกิดทั้งสองข้างพร้อมกัน หากขับขี่รถจะเกิดปัญหาจราจร เพราะไม่ได้ยินเสียงแตรรถ

น.พ.สมเกียรติกล่าวว่า ในส่วนของเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ หากฟังเพลงจากหูฟังและเปิดเสียงดังเกินไป นอกจากจะทำให้ประสาทหูเสื่อมจนหูหนวกแล้ว ยังทำให้พัฒนาการของสมองในด้านการเรียนรู้ของเด็กลดลงอีกด้วย เนื่องจากเซลล์ประสาทรับคลื่นเสียงของเด็กอ่อนแอกว่าผู้ใหญ่ มีความไวต่อการเสื่อมจากเสียงดังมากกว่าผู้ใหญ่ ทำให้การได้ยินต่ำกว่ามาตรฐานของเด็กทั่วๆ ไปในวัยเดียวกัน และจะมีผลไปถึงการพูดของเด็กด้วย เพราะการได้ยินกับการพูดจะสัมพันธ์กัน หากการได้ยินไม่ดีการพูดก็จะไม่ดีด้วย อาจเกิดปัญหาในการเรียนต่อไป อาจเรียนไม่รู้เรื่อง เรียนตามเพื่อนไม่ทัน หรืออาจต้องพึ่งเครื่องช่วยฟังเสียงตั้งแต่วัยเด็ก ความสามารถในการทำงานลดลงเมื่อเติบโตและทำงาน การติดต่อประสานงานเพี้ยนไป

น.พ.สม เกียรติกล่าวอีกว่า ขณะนี้ต่างประเทศมีการควบคุมมาตรฐานความดังหูฟังแล้ว และใช้วิธีการแก้ไขเป็นรายๆ ไป หากมีคนที่หูตึงจากการฟังเพลงจากหูฟังก็สามารถ ฟ้องเอาผิดบริษัทที่ผลิตตามกฎหมายได้ ทั้ง นี้ อาการหูเสื่อมจะมี 2 แบบ คือแบบชั่ว คราว เป็นอาการที่ยังสามารถรักษาหายได้ โดยให้พักฟังเสียง 8-10 ชั่วโมง อาการก็จะดีขึ้น และแบบถาวรเป็นแล้วไม่มียารักษาให้หายได้ อาจต้องใช้วิธีการผ่าตัด แต่ไม่รับ รองว่าจะหายเป็นปกติหรือไม่ สำหรับวิธีการในการสังเกตง่ายๆ ว่าสถานที่นั้นมีเสียงดังเกิน 80 เดซิเบลหรือไม่ สังเกตได้จากเมื่อยืนห่างกันระยะหนึ่งเมตรแทนที่จะพูดกันได้ยินแต่ต้องตะโกน ใส่กันจึงจะได้ยิน

ข้อมูลจาก

ข่าวสด
__________________
เคยท้อ แต่ก็ไม่ถอย

ตาสามารถมองเห็นสิ่งที่ไกลได้ แต่ไม่สามารถ มองเห็นคิ้วของตน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 28 มกราคม 2010, 23:00
cenia cenia ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไว
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 ธันวาคม 2008
ข้อความ: 206
cenia is on a distinguished road
Default

ผมก็ฟังอ่า เปิดดังด้วย - - ประมาณ 70% ของความดังเต็มที่เลยนะ เหอๆ
__________________
เสียใจ แค่ไหน อยากรู้ บอกเธอได้คำเดียว ...

29 พฤศจิกายน 2552 จะจำวันนี้ไว้
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 20:53


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha