Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > ข้อสอบโอลิมปิก
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #16  
Old 01 พฤษภาคม 2010, 14:43
Keehlzver's Avatar
Keehlzver Keehlzver ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 26 มกราคม 2009
ข้อความ: 533
Keehlzver is on a distinguished road
Default

คือจริงๆเเล้วเขาเฉลยไว้เเค่ข้อเดียวน่ะครับ คือข้อที่ผมบอกว่าได้ไอเดียมาเเละก็เฉลยเเค่อสมการข้างขวาเท่านั้นด้วย กระทู้เเบบนี้ไม่ซ้ำหรอกครับ เป็นเเหล่งรวมเฉลยหนังสือเล่มใหญ่ก็ดีเเล้วครับ (ผมละอยากให้มีเฉลยถึงโจทย์ข้อสุดท้ายของสมการเชิงฟังก์ชันจริงๆเลย)

ส่วนข้อที่คุณ Nooonuii ให้ไปเเก้ผมลองคิดเเบบอุปนัยดูเเล้วคิดไม่ออกจริงๆครับ เลยเอาเฉลยของโลกอสมการมาลงไว้ก่อน
__________________
"ชั่วโมงหน้าต้องดีกว่าเดิม!"

01 พฤษภาคม 2010 14:44 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Keehlzver
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #17  
Old 01 พฤษภาคม 2010, 15:11
Switchgear's Avatar
Switchgear Switchgear ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2006
ข้อความ: 472
Switchgear is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Keehlzver View Post
คือจริงๆเเล้วเขาเฉลยไว้เเค่ข้อเดียวน่ะครับ คือข้อที่ผมบอกว่าได้ไอเดียมาเเละก็เฉลยเเค่อสมการข้างขวาเท่านั้นด้วย กระทู้เเบบนี้ไม่ซ้ำหรอกครับ เป็นเเหล่งรวมเฉลยหนังสือเล่มใหญ่ก็ดีเเล้วครับ (ผมละอยากให้มีเฉลยถึงโจทย์ข้อสุดท้ายของสมการเชิงฟังก์ชันจริงๆเลย)

ส่วนข้อที่คุณ Nooonuii ให้ไปเเก้ผมลองคิดเเบบอุปนัยดูเเล้วคิดไม่ออกจริงๆครับ เลยเอาเฉลยของโลกอสมการมาลงไว้ก่อน
ผมเองก็อยากให้เฉลยถึงข้อสุดท้ายเหมือนกัน ... คงเป็นกระทู้ในฝันของบรรดาคนสอบ สอวน. อย่างสุดๆ

อ.ดำรงค์ เขียนโลกอสมการไว้ แต่ยังไม่มีเล่มสมการเชิงฟังก์ชัน และเท่าที่ผมรู้ก็ยังไม่มีหนังสือภาษาไทยที่เฉลย
สมการเชิงฟังก์ชันไว้เยอะๆ ด้วย (ยกเว้นตัวอย่างในเล่ม สอวน. ซึ่งก็ถือว่ามากพอดู)

เราชาว MathCenter มาช่วยกันสร้างความฝันให้เป็นจริงดีกว่าครับ ...
__________________
หนึ่งปีของอัจฉริยะ อาจเทียบเท่าชั่วชีวิตของคนบางคน

01 พฤษภาคม 2010 15:12 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Switchgear
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #18  
Old 01 พฤษภาคม 2010, 15:50
Ne[S]zA's Avatar
Ne[S]zA Ne[S]zA ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 กรกฎาคม 2008
ข้อความ: 1,221
Ne[S]zA is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Switchgear View Post
แบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ 2.1: อสมการ AM-GM (มี 15 ข้อ)

1. ให้ $\;a,b,c \in R_0\;$ จงพิสูจน์ว่า $(a+b)(b+c)(c+a) \geqslant 8abc$

2. ให้ $\;a_i > 0 (i = 1,...,n)\;$ สอดคล้องกับ $\;a_1a_2...a_n = 1\;$ จงพิสูจน์ว่า $\;(1+a_1)(1+a_2)...(1+a_n) \geqslant 2^n$

โจทย์ที่เหลือผมจะเข้ามาโพสต์เพิ่มเติมอีก ...
1. โดย AM.-GM. Inequality จะได้ว่า
$a+b\geqslant 2\sqrt{ab}$ และ $b+c\geqslant 2\sqrt{bc}$ และ$c+a\geqslant 2\sqrt{ca}$
คูณกันจะได้ว่า
$(a+b)(b+c)(c+a) \geqslant 8abc$

2.โดย AM.-GM. Inequality จะได้ว่า
$1+a_1 \geqslant 2\sqrt{a_1}$
$1+a_2 \geqslant 2\sqrt{a_2}$
.
.
.
$1+a_n \geqslant 2\sqrt{a_n}$
คูณกันจะได้ว่า
$(1+a_1)(1+a_2)...(1+a_n)\geqslant 2^n\sqrt{a_1a_2...a_n}=2^n$
__________________
||!<<<<iNesZaii>>>>!||
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #19  
Old 01 พฤษภาคม 2010, 17:11
Little Penguin Little Penguin ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 ตุลาคม 2009
ข้อความ: 65
Little Penguin is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Keehlzver View Post
...
ข้อ $7$ อสมการข้างขวาเราต้องพิสูจน์ว่า $\frac{1}{k+1}+\frac{1}{k+2}+\cdots+\frac{1}{2k}+\frac{1}{2k+1}+\frac{1}{2k+2}<\frac{3}{4}$ เมื่อ $k\geq 2$ เเต่พอลองเเทนลงไปเเล้วอสมการเป็นเท็จ เเบบนี้หมายความว่าพิสูจน์โดยอุปนัยไม่ได้เหรอครับ
ได้ครับ แต่ต้องดัดแปลงนิดหน่อย ยังใช้อุปนัยกับตัวโจทย์ทันทีเลยไม่ได้

ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #20  
Old 01 พฤษภาคม 2010, 18:26
กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย's Avatar
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 กุมภาพันธ์ 2009
ข้อความ: 647
กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย is on a distinguished road
Default

ผมมีข้อสงสัยในข้อ 4 นิดหน่อยครับ
โจทย์มีเงื่อนไขว่า a , b , c เป็นจำนวนจริงบวก
แล้ว ab+bc+ca จะเป็นลบได้ไงครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #21  
Old 01 พฤษภาคม 2010, 21:57
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Switchgear View Post
10. ถ้า $a, b \in R^{+}\;$ แล้ว จงพิสูจน์ว่า $\;\frac{1}{a}+\frac{4}{b} > \frac{9}{a+b}$

11. จงพิสูจน์ว่า $\left(\,1-\frac{1}{(1993)^3}\right) \left(\,1-\frac{1}{(1994)^3}\right) ... \left(\,1-\frac{1}{n^3} \right) > \frac{1992}{1993}\;$ เมื่อ $n$ เป็นจำนวนนับ $\geqslant 1993$

12. จงแก้อสมการ $(x^3+x^2+1)^2 > 4x^3(x-1)^2$
10. อสมการสมมูลกับ $(2a-b)^2\geq 0$

11. จาก $1-\dfrac{1}{(k+1)^3}=\dfrac{k(k^2+3k+3)}{(k+1)^3}>\dfrac{k(k+1)(k+2)}{(k+1)^3}$

ดังนั้น

$LHS>\dfrac{(1992\cdot 1993\cdot 1994)(1993\cdot 1994\cdot 1995)\cdots((n-1)\cdot n\cdot (n+1))}{1993^3\cdot1994^3\cdots n^3}$

$~~~~~=\dfrac{1992(n+1)}{1993n}$

$~~~~~>\dfrac{1992}{1993}$

12. ถ้า $x<0$ อสมการเป็นจริงอย่างเห็นได้ชัด

ถ้า $x>0$ อสมการสมมูลกับ $x^4((x-1)^2+8)+2x^3+6x^2+9>0$
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #22  
Old 01 พฤษภาคม 2010, 23:47
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Switchgear View Post

15. ให้ $\; m, n \in N\;$ จงพิสูจน์ว่า $\;\left|\,\frac{m+2n}{m+n} - \sqrt{2} \right| < \;\left|\,\frac{m}{n} - \sqrt{2} \right|$
ให้ $x=\dfrac{m}{n}$

จะได้ว่าอสมการที่ต้องพิสูจน์คือ

$\Big|\dfrac{x+2}{x+1}-\sqrt{2}\Big|<|x-\sqrt{2}|$

แยกเป็นสองกรณี

กรณีที่ 1 $x\leq \sqrt{2}$ จะได้ว่า

$x\leq\sqrt{2}\leq\dfrac{x+2}{x+1}$

ดังนั้นอสมการจะกลายเป็น

$\dfrac{x+2}{x+1} -\sqrt{2}\leq \sqrt{2}-x$

ซึ่งจะสมมูลกับ

$(x-\sqrt{2})(x+2-\sqrt{2})\leq 0$

กรณีที่ 2 $x\geq \sqrt{2}$ จะได้ว่า

$x\geq\sqrt{2}\geq\dfrac{x+2}{x+1}$

ดังนั้นอสมการจะกลายเป็น

$\sqrt{2}-\dfrac{x+2}{x+1} \leq x -\sqrt{2}$

ซึ่งจะสมมูลกับ

$(x-\sqrt{2})(x+2-\sqrt{2})\geq 0$
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #23  
Old 02 พฤษภาคม 2010, 06:42
Switchgear's Avatar
Switchgear Switchgear ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2006
ข้อความ: 472
Switchgear is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย View Post
ผมมีข้อสงสัยในข้อ 4 นิดหน่อยครับ
โจทย์มีเงื่อนไขว่า a , b , c เป็นจำนวนจริงบวก
แล้ว ab+bc+ca จะเป็นลบได้ไงครับ
ผมพิมพ์ผิดพลาดเองครับ ความจริงโจทย์ต้องเป็น "จำนวนจริง" ... ขอบคุณครับ!

ผมเข้าไปแก้ไขแล้ว
__________________
หนึ่งปีของอัจฉริยะ อาจเทียบเท่าชั่วชีวิตของคนบางคน

02 พฤษภาคม 2010 06:44 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Switchgear
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #24  
Old 02 พฤษภาคม 2010, 18:50
กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย's Avatar
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 กุมภาพันธ์ 2009
ข้อความ: 647
กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย is on a distinguished road
Default

แบบฝึกหัด 2.1 อสมการ A.M.-G.M. ครับ
ข้อ 1. นะครับ
$\frac{a+b}{2}\geqslant \sqrt{ab}$ ...(1)
$\frac{b+c}{2}\geqslant \sqrt{bc}$ ...(2)
$\frac{c+a}{2}\geqslant \sqrt{ac}$ ...(3)
นำอสมการมาคูณกัน
$\frac{(a+b)(b+c)(c+a)}{8}\geqslant \sqrt{a^2b^2c^2}$
$(a+b)(b+c)(c+a)\geqslant 8abc$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #25  
Old 02 พฤษภาคม 2010, 19:19
กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย's Avatar
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 กุมภาพันธ์ 2009
ข้อความ: 647
กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย is on a distinguished road
Default

ตามมาด้วยข้อ 2. นะครับแนวคิดเดียวกัน
$\frac{1+a_1}{2} \geqslant \sqrt{1*a_1} $
$\frac{1+a_2}{2} \geqslant \sqrt{1*a_2} $
$\frac{1+a_3}{2} \geqslant \sqrt{1*a_3} $
.
.
.
$\frac{1+a_n}{2} \geqslant \sqrt{1*a_n} $
นำทั้งหมดมาคูณกัน
$\frac{(1+a_1)(1+a_2)(1+a_3)...(1+a_n)}{2^n} \geqslant \sqrt{a_1a_2a_...a_n} $

และโจทย์กำหนดว่า $a_1a_2a_...a_n=1$ จึงได้

$(1+a_1)(1+a_2)(1+a_3)...(1+a_n)\geqslant 2^n$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #26  
Old 02 พฤษภาคม 2010, 22:44
PP_nine's Avatar
PP_nine PP_nine ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 เมษายน 2010
ข้อความ: 607
PP_nine is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Switchgear View Post
ผมเองก็อยากให้เฉลยถึงข้อสุดท้ายเหมือนกัน ... คงเป็นกระทู้ในฝันของบรรดาคนสอบ สอวน. อย่างสุดๆ

อ.ดำรงค์ เขียนโลกอสมการไว้ แต่ยังไม่มีเล่มสมการเชิงฟังก์ชัน และเท่าที่ผมรู้ก็ยังไม่มีหนังสือภาษาไทยที่เฉลย
สมการเชิงฟังก์ชันไว้เยอะๆ ด้วย (ยกเว้นตัวอย่างในเล่ม สอวน. ซึ่งก็ถือว่ามากพอดู)

เราชาว MathCenter มาช่วยกันสร้างความฝันให้เป็นจริงดีกว่าครับ ...
เอ ทำไมคุย FE ในนี้ล่ะ 55
ว่าแต่ มีหนังสือเล่มนึง ไม่รู้คนอื่นเคยเห็นกันบ้างป่าว
เป็นหนังสือเล่มสีแดง "สมการเชิงฟังก์ชัน" ของ สสวท ซึ่งเลิกพิมพ์ไปแล้ว
ตอนนี้ผมมีสะสมไว้ที่บ้านอยู่ ซึ่งก็มีเฉลยมากพอควร โจทย์ก็พอๆกับหนังสือ สอวน
แต่เฉลยของเล่มนี้เค้าจะง่ายกว่าของ สอวน อีก ,พอไปดู สอวน แล้วอ่านไม่รู้เรื่องเลย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #27  
Old 03 พฤษภาคม 2010, 11:35
กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย's Avatar
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 กุมภาพันธ์ 2009
ข้อความ: 647
กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย is on a distinguished road
Default

แบบฝึกหัดท้ายหัวข้อ 2.1 ข้อ 3.
$\frac{ad+bc}{2}\geqslant \sqrt{adbc}....(1)$
$ad+bc\geqslant 2\sqrt{adbc}$
$ab+ad+bc+cd\geqslant ab+2\sqrt{adbc}+cd$
$(a+c)(b+d)\geqslant (\sqrt{ab}+\sqrt{cd})^2$
$\sqrt{(a+c)(b+d)}\geqslant \sqrt{ab}+\sqrt{cd}$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #28  
Old 11 พฤษภาคม 2010, 07:04
Switchgear's Avatar
Switchgear Switchgear ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2006
ข้อความ: 472
Switchgear is on a distinguished road
Default

ผมเพิ่มโจทย์บทที่ 2 ในความเห็น #15 ครบหมดแล้ว ... ใครเฉลยได้ก็โพสต์เลยครับ!

ช่วงนี้ใกล้เปิดเทอมแล้ว คิดว่าเพื่อนๆ ชาว MC ส่วนใหญ่คงเริ่มจะไม่ค่อยว่างนัก แต่ก็หวังว่ากระทู้นี้
จะค่อยๆ คืบคลานสู่จุดหมายได้ ... แม้จะกินเวลานานหน่อย :-)

มาเริ่มโจทย์สำหรับบทที่ 3 กันดีกว่า ...

บทที่ 3: อสมการ Cauchy-Schwarz (มีเฉพาะแบบฝึกหัดท้ายบท ทั้งหมด 16 ข้อ)

1. ให้ $\;a_1,...,a_n,b_1,...,b_n\;$ เป็นจำนวนจริง จงพิสูจน์ว่า
$\qquad \sqrt{a_1^2 + ... + a_n^2}\;\sqrt{b_1^2 + ... + b_n^2} \;\; \geqslant \; \sqrt{(a_1+b_1)^2 + ... + (a_n+b_n)^2}$

2. ให้ $\;a_1,...,a_n \in R \;(n>1)\;$ และ $\;A + \sum_{i = 1}^{n} a_i^2 \;<\; \frac{1}{n-1}\left(\,\sum_{i = 1}^{n} a_i\right)^2$ จงพิสูจน์ว่า $A < 2a_ia_j (1 \leqslant i < j \leqslant n)$

3. ให้ $\;x_1,...,x_n \in R^+,\; k \in N_0 \;$ จงพิสูจน์ว่า $\displaystyle{\frac{x_1^k+...+x_n^k}{n}\;\; \leqslant\;\; \frac{x_1^{k+1}+...+x_n^{k+1}}{x_1+...+x_n}}$

4. ถ้า $\;2x+4y = 1\;$ สำหรับบาง $x,y \in R$ แล้ว จงแสดงว่า $x^2 + y^2 \;\;\geqslant\;\; \frac{1}{20}$

โจทย์ที่เหลือค่อยมาโพสต์ต่อนะครับ ...
__________________
หนึ่งปีของอัจฉริยะ อาจเทียบเท่าชั่วชีวิตของคนบางคน

11 พฤษภาคม 2010 18:46 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Switchgear
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #29  
Old 11 พฤษภาคม 2010, 16:12
Keehlzver's Avatar
Keehlzver Keehlzver ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 26 มกราคม 2009
ข้อความ: 533
Keehlzver is on a distinguished road
Default

ขอบคุณที่อุตสาห์เอามาลงเพิ่มนะครับ อย่าหายกันไปไหนละครับ
บท AM-GM

5. (APMC 1971) ให้ $\;n \in N, n \geqslant 2\;$ เเละ $\;a, x_1,...,x_n \in R^+\;$ จงพิสูจน์ว่า
$\qquad \frac{a^{x_1-x_2}}{x_1+x_2} + \frac{a^{x_2-x_3}}{x_2+x_3} + ... + \frac{a^{x_n-x_1}}{x_n+x_1} \geqslant \frac{n^2}{2(x_1+...+x_n)}$ เเละหาเงื่อนไขที่ทำให้เป็นสมการ


6. ให้ $\;a_1,...,a_n,b_1,...,b_n,c_1,...c_n$ เป็นจำนวนจริงบวก จงพิสูจน์ว่า $\qquad \left(\,\sum_{i = 1}^{n} a_ib_ic_i \right)^3 \leqslant \left(\,\sum_{i = 1}^{n} a_i^3 \right)^3\left(\,\sum_{i = 1}^{n} b_i^3 \right)^3\left(\,\sum_{i = 1}^{n} c_i^3 \right)^3$






7. ให้ $\;a,b,c \in R^+$ จงพิสูจน์ว่า $\;2\sqrt{ab+bc+ca} \leqslant \sqrt{3}\; \sqrt[3]{(a+b)(b+c)(c+a)}$


บท Weight AM-GM

1.(British MO) ให้ $\;p,q,r \in R_0\;$ มีสมบัติว่า $p+q+r=1$ จงพิสูจน์ว่า $7(pq+qr+rp) \leqslant 2+9pqr$


บท Cauchy-Schwarz ไว้จะมาลงให้ทีหลังนะครับ ทั้งร้อนทั้งง่วง ขอตัวไปนอนก่อนละครับ
__________________
"ชั่วโมงหน้าต้องดีกว่าเดิม!"
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #30  
Old 11 พฤษภาคม 2010, 16:59
Switchgear's Avatar
Switchgear Switchgear ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2006
ข้อความ: 472
Switchgear is on a distinguished road
Default

ผมไม่สบายไปหลายวัน ... ได้แค่เข้ามาแวะดู แต่ไม่มีสมาธิจะทำอะไร
ก็เลยเหมือนกับหายไปนาน ยังไงก็จะพยายามต่อยอดให้ได้เยอะที่สุดครับ :-)
__________________
หนึ่งปีของอัจฉริยะ อาจเทียบเท่าชั่วชีวิตของคนบางคน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
"TU" or "MWIT" The jumpers ฟรีสไตล์ 28 26 สิงหาคม 2010 03:47
"Songkran" Festival Siren-Of-Step ฟรีสไตล์ 11 11 เมษายน 2010 20:29
Teach Me "Homothety" The jumpers เรขาคณิต 2 29 พฤศจิกายน 2009 21:33
กรุณา"แสดงวิธีทำ" 5 ข้อExpo&Log ให้ดูหน่อยครับ rattachin calculated ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย 11 14 พฤษภาคม 2009 15:45
ถึงพี่ "nongtum" comza ฟรีสไตล์ 1 09 มกราคม 2008 21:49


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 19:53


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha