Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คลายเครียด > ฟรีสไตล์
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 03 กุมภาพันธ์ 2016, 07:43
armpakorn armpakorn ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 ตุลาคม 2011
ข้อความ: 61
armpakorn is on a distinguished road
Default [เศรษฐศาสตร์] ทำไม ณ "ราคาอุดมคติ" จึงมีการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดครับ

เนื่องจากเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับคณิตศาสตร์พอสมควร (แม้ว่าอาจจะน้อยกว่าฟิสิกส์ อิอิ) จึงขอถามในเว็บบอร์ดคณิตศาสตร์แห่งนี้เลยแล้วกันนะครับ

คำถามก็ตามหัวข้อกระทู้เลยครับ อยากทราบเหตุผลว่าทำไม "ที่ระดับราคาอุดมคติ จะมีการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด" และจะแสดงในรูปกราฟได้อย่างไรครับ

ขอบคุณทุกๆ ท่านมากครับ

__________________
สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง ขนาดออยเลอร์คนดัง ยังคาดหวังผิดไปได้ (Euler's Conjecture)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 03 กุมภาพันธ์ 2016, 15:48
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

ผมไม่รู้เรื่องพวกนี้เลยแฮะ ก็เลยให้ความเห็นอะไรไม่ได้ครับ

เข้ามาชวนคุยครับ เพราะคิดว่าคงจะมีคนมาตอบคำถามนี้น้อยมาก
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 04 กุมภาพันธ์ 2016, 14:05
share share ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 23 เมษายน 2013
ข้อความ: 1,211
share is on a distinguished road
Default

หวังก่อนว่า จขกท อ่านกราฟที่เสนอมาได้นะครับ

ในแง่ผู้ผลิต การจะผลิตเพิ่มใด ๆ จะทำต่อเมื่อ mr>mc
(คือหน่วยเพิ่มชิ้นท้ายสุด ให้ผลตอบแทนมากกว่าต้นทุน)

หาก mr=mc จะหยุดผลิต ซึ่ง ณ จุดนี้ จะเห็นว่า ราคาที่ขายได้ Pm(ผู้ซื้อยอมรับ ดูจากเส้น Demand)
สูงกว่า ATC (ต้นทุนเฉลี่ย) ผู้ผลิตกำไร แต่มีสินค้าบริการเพียง Qm

ณ ราคา Pr มีสินค้ามากถึง Qr ในราคาถูกมากเพียง Pr สังคมโดยรวมชอบใจแน่ ๆ
แต่ราคา Pr ต่ำกว่า ATC ซึ่งไม่มีผู้ผลิตคนใดจะยอมผลิตออกมาจริง ๆ
(เว้นแต่รัฐบาลเอาเงินภาษีเรา ควักจ่ายชดเชยให้ไป)

ณ ราคา Pf สังคมได้สินค้า Qf แม้น้อยกว่า Qr แต่ก็มากกว่า Qm ในราคา Pf ซึ่งสังคมพอรับได้ (จากเส้น D)
และผู้ผลิตก็ได้ราคาพอกับ ต้นทุนเฉลี่ย ATC ก็จะยอมผลิต

หวังว่าพอเข้าใจนะครับ
หากไม่เข้าใจ ถามได้อีกครับ


*** สิ่งสำคัญในการเรียน เรียนแล้วต้องสามารถนำมาดัดแปลงใช้ให้ได้ครับ ***

04 กุมภาพันธ์ 2016 14:06 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ share
เหตุผล: พิมพ์ผิดครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 04 กุมภาพันธ์ 2016, 22:37
armpakorn armpakorn ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 ตุลาคม 2011
ข้อความ: 61
armpakorn is on a distinguished road
Default

ขอบคุณมากเลยครับที่เข้ามาช่วยตอบ แต่จริงๆ แล้วที่ผมอยากทราบคือ ทำไมณ ราคา Pr จึงทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมครับ และจะแสดงในกราฟได้อย่างไรว่า "ณ ราคานั้นจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม" ครับผม
__________________
สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง ขนาดออยเลอร์คนดัง ยังคาดหวังผิดไปได้ (Euler's Conjecture)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 05 กุมภาพันธ์ 2016, 02:02
Scylla_Shadow's Avatar
Scylla_Shadow Scylla_Shadow ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 กุมภาพันธ์ 2009
ข้อความ: 1,151
Scylla_Shadow is on a distinguished road
Default

สวัสดีทั้งสองท่านค่ะ

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ armpakorn View Post
อยากทราบเหตุผลว่าทำไม "ที่ระดับราคาอุดมคติ จะมีการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด" และจะแสดงในรูปกราฟได้อย่างไรครับ

ขอบคุณทุกๆ ท่านมากครับ


ขอสารภาพว่าตอนแรกอ่านผ่านๆ โดยไม่ได้ใส่ใจดูกราฟ แล้วงงมากว่า "อุดมคติ" หมายความว่าอะไร
เลยปิดไปเลย เพราะไม่รู้ว่ามันคืออะไร พอเห็นกระทู้มันเด้งว่ามีคนมาตอบแล้ว ถึงรู้ว่าหมายถึง $P_r$

อ้างอิง:
แต่จริงๆ แล้วที่ผมอยากทราบคือ ทำไมณ ราคา Pr จึงทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมครับ
ตามความเข้าใจของหนู socially optimal price คือ price ที่ทำให้เกิด allocative efficiency (หาอ้างอิงที่เป็น textbook ไม่เจอ(ขี้เกียจหา) แต่มีอ้างอิงในอินเทอร์เน็ตค่ะ https://apecon2.wikispaces.com/Socially+Optimal+Price )

นั่นคือ ราคาที่ปริมาณของสินค้าที่ผู้ผลิตจะผลิตเท่ากับปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคจะซื้อ

นั่นคือ ถ้าแยกเอา Supply and demand curves ไป plot ในอีกกราฟแยก มันจะเป็นจุด equilibrium point. ทีนี้พิจารณาทั้งสอง curves
1. Demand curve อันนี้มีกองไว้แล้วในกราฟ
2. Supply curve มันคือเศษซากของ MC เอาส่วนที่มากกว่า AVC (กราฟไม่มี AVC มาให้ จะพิจารณาว่ามันเกินมาแล้ว)
จะเห็นว่ามันตัดกันที่ ราคา $P_r$

อ้างอิง:
จะแสดงในกราฟได้อย่างไรว่า "ณ ราคานั้นจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม" ครับผม
เข้าใจว่าคงแปลมาตรงๆ จาก socially optimal ส่วนตัวคิดว่า แปลว่า "ณ ราคานั้นทำให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรดีที่สุด" จะดีกว่า (แต่ยังไม่ใช่คำแปลที่ดีที่สุดอยู่ดี ช่างมันเหอะ)

แสดงว่า ณ ราคานี้ supply เท่ากับ demand ค่ะ

ต่อไปขอแสดงความคิดเห็นต่อหลายๆประเด็นในคอมเม้นต์ค่ะ

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ share View Post
ในแง่ผู้ผลิต การจะผลิตเพิ่มใด ๆ จะทำต่อเมื่อ mr>mc
(คือหน่วยเพิ่มชิ้นท้ายสุด ให้ผลตอบแทนมากกว่าต้นทุน) อ่านในวงเล็บไม่รู้เรื่อง เข้าใจว่า ถ้าผลิตสินค้าเพิ่มอีกหนึ่งหน่วย จะทำให้มีกำไรมากขึ้น

หาก mr=mc จะหยุดผลิต ซึ่ง ณ จุดนี้ จะเห็นว่า ราคาที่ขายได้ Pm(ผู้ซื้อยอมรับ ดูจากเส้น Demand)
สูงกว่า ATC (ต้นทุนเฉลี่ย) ผู้ผลิตกำไร แต่มีสินค้าบริการเพียง Qm ไม่ได้หยุดผลิตค่ะ จะผลิตที่ปริมาณนี้ค่ะ

ณ ราคา Pr มีสินค้ามากถึง Qr ในราคาถูกมากเพียง Pr สังคมโดยรวมชอบใจแน่ ๆ ถ้าให้ฟรี จะชอบใจกว่าค่ะ เหตุผลนี้จึงตกไป
แต่ราคา Pr ต่ำกว่า ATC ซึ่งไม่มีผู้ผลิตคนใดจะยอมผลิตออกมาจริง ๆ จริงๆเป็น AVC ป่ะคะ?
(เว้นแต่รัฐบาลเอาเงินภาษีเรา ควักจ่ายชดเชยให้ไป)

ณ ราคา Pf สังคมได้สินค้า Qf แม้น้อยกว่า Qr แต่ก็มากกว่า Qm ในราคา Pf ซึ่งสังคมพอรับได้ (จากเส้น D)
และผู้ผลิตก็ได้ราคาพอกับ ต้นทุนเฉลี่ย ATC ก็จะยอมผลิต คำว่า "รับได้" มันขึ้นอยู่กับความคิดของแต่ละคน (subjective) อ่านแล้วงงๆ กับ Demand curve ไม่ได้บ่งบอกว่าราคานี้สังคมรับได้หรือไม่ได้ แต่บ่งบอกปริมาณของคนที่อยากจะซื้อสินค้าในราคาต่างๆ
สวัสดีค่ะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 06 กุมภาพันธ์ 2016, 17:43
share share ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 23 เมษายน 2013
ข้อความ: 1,211
share is on a distinguished road
Default

ทำไม ณ ราคา Pr จึงทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมครับ และจะแสดงในกราฟได้อย่างไรว่า
"ณ ราคานั้นจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม" ครับผม


ในคำตอบก่อน ก็ได้ตอบแล้วว่า
ณ ราคา Pr มีสินค้ามากถึง Qr ในราคาถูกมากเพียง Pr สังคมโดยรวมชอบใจแน่ ๆ
แต่ราคา Pr ต่ำกว่า ATC ซึ่งไม่มีผู้ผลิตคนใดจะยอมผลิตออกมาจริง ๆ
(เว้นแต่รัฐบาลเอาเงินภาษีเรา ควักจ่ายชดเชยให้ไป)

ประโยชน์สูงสุดต่อสังคม คือ ราคาที่ถูก และมีปรมาณมาก ๆ
กราฟแสดงไว้ชัดเจนแล้วครับ
สังเกต Pr < Pf < Pm แต่ได้
Qr > Qf > Qm

เพื่อให้เข้าใจข้อปัญหาชัด ตัวอย่างคือ
สินค้าสาธารณูปโภค เช่น น้ำประปา รถเมล์ รถไฟ
ล้วนขาดทุน
รัฐบาลต้องช่วยเหลือโดยเอาภาษีที่เก็บได้ มาจ่ายชดเชย

(หากเอกชนใดประกอบการก็ขาดทุน แต่จะทำก็ต่อเมื่อมี
- การกดขี่ค่าแรงกันเกิดขึ้น
- รัฐบาลจ่ายชดเชย)

อ๋อ ลืมบอก ณ จุดนี้ P = MC ครับ
คือต้นทุนของทุก ๆ หน่วยผลิตที่ผลิตเพิ่ม จะตั้งเป็นราคาขาย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 06 กุมภาพันธ์ 2016, 17:57
share share ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 23 เมษายน 2013
ข้อความ: 1,211
share is on a distinguished road
Default

ตอบคุณ Scylla_Shadow

1. (คือหน่วยเพิ่มชิ้นท้ายสุด ให้ผลตอบแทนมากกว่าต้นทุน) อ่านในวงเล็บไม่รู้เรื่อง เข้าใจว่า ถ้าผลิตสินค้าเพิ่มอีกหนึ่งหน่วย จะทำให้มีกำไรมากขึ้น

หน่วยเพิ่มชิ้นท้ายสุด คือ Marginal Product ครับ

In economics and in particular neoclassical economics, the marginal product or marginal physical product of an input (factor of production) is the change in output resulting from employing one more unit of a particular input (for instance, the change in output when a firm's labor is increased from five to six units), assuming that the quantities of other inputs are kept constant.

marginal revenue is the additional revenue that will be generated by increasing product sales by one unit. It can also be described as the unit revenue the last item sold has generated for the firm.

marginal cost is the change in the total cost that arises when the quantity produced is incremented by one unit, that is, it is the cost of producing one more unit of a good. In general terms, marginal cost at each level of production includes any additional costs required to produce the next unit.

Wikipedia
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 06 กุมภาพันธ์ 2016, 18:08
share share ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 23 เมษายน 2013
ข้อความ: 1,211
share is on a distinguished road
Default

2. หาก mr=mc จะหยุดผลิต ซึ่ง ณ จุดนี้ จะเห็นว่า ราคาที่ขายได้ Pm(ผู้ซื้อยอมรับ ดูจากเส้น Demand)
สูงกว่า ATC (ต้นทุนเฉลี่ย) ผู้ผลิตกำไร แต่มีสินค้าบริการเพียง Qm ไม่ได้หยุดผลิตค่ะ จะผลิตที่ปริมาณนี้ค่ะ

ขอบคุณครับ ผมใช้ศัพท์ไม่ชัดเจน
ครับ เขาอาจหยุดผลิต
หรืออาจผลิตต่อไป (กรณีนี้เขาจะไม่ขายออกมาครับ)

mr=mc

An equivalent perspective relies on the relationship that, for each unit sold, marginal profit (Mπ) equals marginal revenue (MR) minus marginal cost (MC). Then, if marginal revenue is greater than marginal cost at some level of output, marginal profit is positive and thus a greater quantity should be produced, and if marginal revenue is less than marginal cost, marginal profit is negative and a lesser quantity should be produced.

At the output level at which marginal revenue equals marginal cost, marginal profit is zero and this quantity is the one that maximizes profit.

กรุณาอ่าน Profit maximization
Wikipedia
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 06 กุมภาพันธ์ 2016, 18:33
share share ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 23 เมษายน 2013
ข้อความ: 1,211
share is on a distinguished road
Default

3. ณ ราคา Pr มีสินค้ามากถึง Qr ในราคาถูกมากเพียง Pr สังคมโดยรวมชอบใจแน่ ๆ ถ้าให้ฟรี จะชอบใจกว่าค่ะ เหตุผลนี้จึงตกไป
แต่ราคา Pr ต่ำกว่า ATC ซึ่งไม่มีผู้ผลิตคนใดจะยอมผลิตออกมาจริง ๆ จริงๆเป็น AVC ป่ะคะ?
(เว้นแต่รัฐบาลเอาเงินภาษีเรา ควักจ่ายชดเชยให้ไป)

อืม สงสัยครับ ประเด็น ๑ (ณ ราคา Pr มีสินค้ามากถึง Qr ในราคาถูกมากเพียง Pr สังคมโดยรวมชอบใจแน่ ๆ)
ใช่เป็น เหตุผล หรือครับ

ในขณะที่ Pr < Pf < Pm สังคมโดยรวมไม่ชอบใจดอกหรือ
ต้องถึงกับ "แจกฟรี" เลยหรือ สังคมโดยรวมจึงชอบใจ

ประเด็น ๒
แต่ราคา Pr ต่ำกว่า ATC ซึ่งไม่มีผู้ผลิตคนใดจะยอมผลิตออกมาจริง ๆ จริงๆเป็น AVC ป่ะคะ?

ATC= AFC+AVC
ถ้า ATC = 10
AFC = 3
AVC = 7
ถ้า Pr = 8
Pr < ATC (8<10) ผู้ผลิตจะผลิตหรือ? เขาขาดทุน AFC แล้วนะครับ


หาก Pr < AVC < ATC (6<7<10)
ผู้ผลิตจะขาดทุนทั้ง AFC และ AVC ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 06 กุมภาพันธ์ 2016, 18:42
share share ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 23 เมษายน 2013
ข้อความ: 1,211
share is on a distinguished road
Default

ขาดอีกประเด็น ขอหยุดก่อน มีภาระหน้าที่ต้องไปทำครับ

ขอบคุณทุกท่านครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 07 กุมภาพันธ์ 2016, 16:30
Scylla_Shadow's Avatar
Scylla_Shadow Scylla_Shadow ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 กุมภาพันธ์ 2009
ข้อความ: 1,151
Scylla_Shadow is on a distinguished road
Default

สวัสดีค่ะ คุณ share

หนูคิดว่า เราต่างเห็นพ้องกันว่าที่ราคา $P_r$ ทำให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรสูงสุด แต่เรามีคำอธิบายที่ต่างกัน
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม

ขอตอบแบบตรงๆตามความรู้สึกว่า คำอธิบายนั้นเหมือนมาจากคนที่ไม่ได้เรียนเศรษฐศาสตร์มา หรือถ้าเรียนมาก็ลืมไปเสียส่วนใหญ่

ปกติช่วงนี้จะไม่ค่อยตอบกระทู้ แต่มีกระทู้นี้ที่เห็นแล้วรู้สึกว่าต้องมาตอบ
ขอตอบตามประเด็นดังนี้

อ้างอิง:
หน่วยเพิ่มชิ้นท้ายสุด คือ Marginal Product ครับ
Marginal Product มีศัพท์เทคนิคภาษาไทยว่า "ผลผลิตเพิ่ม" ค่ะ
อ้างอิงจาก http://e-book.ram.edu/e-book/e/EC111(H)/EC111(H)-5.pdf

ตอนแรกที่ตอบไป แค่มาแก้คำอธิบายให้มันดูอ่านรู้เรื่อง เลยใช้เป็นสีน้ำเงินค่ะ

ต่อไปเป็นประเด็นที่ใช้สีแดง คือมีความเห็นไม่ตรงกันค่ะ

อ้างอิง:
อืม สงสัยครับ ประเด็น ๑ (ณ ราคา Pr มีสินค้ามากถึง Qr ในราคาถูกมากเพียง Pr สังคมโดยรวมชอบใจแน่ ๆ)
ใช่เป็น เหตุผล หรือครับ
ตอนแรกจะใช้คำว่า "ตรรกะ" แต่ดูแรงไปเลยใช้คำว่าเหตุผลแทน
ตอนนี้ขอใช้คำว่า "ตรรกะ" เลยค่ะ

อ้างอิง:
ในขณะที่ Pr < Pf < Pm สังคมโดยรวมไม่ชอบใจดอกหรือ
ต้องถึงกับ "แจกฟรี" เลยหรือ สังคมโดยรวมจึงชอบใจ
ใช่ค่ะ ถ้าจะใช้ตรรกะนี้ ถ้าบอกว่ายิ่งถูกยิ่งชอบใจ
จริงๆไม่ใช่ต้อง "แจกฟรี" นะคะ ต้องจ่ายเงินให้ผู้ซื้อด้วยค่ะ ถึงจะชอบใจ

ยิ่งถ้าบอกว่า ที่ราคา $P_r$ จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม เพราะสังคมชอบใจ
ทำให้เกิดคำถามต่อทันทีว่า ถ้าราคาน้อยกว่า $P_r$ สังคมจะชอบใจน้อยกว่าราคา $P_r$ เหรอ
แล้วยิ่งถ้าแจกฟรี จะไม่ชอบใจกว่าเหรอ
แล้วถ้าเกิดแจกฟรี แล้วแถมเงินให้อีก จะไม่ชอบใจกว่าเหรอ
แล้วเมื่อไรจะหยุดที่เกิดประโยชน์สูงสุดกับสังคม

จริงๆจากการที่อ่านครั้งแรก และครั้งที่สองวันนี้ อ่านแล้วรู้สึกว่า จะมีการตีความสังคมว่าเป็นผู้บริโภคอย่างเดียว
ไม่ใช่ผู้ผลิตและผู้บริโภค (สังเกตจาก "ในราคาถูกมากเพียง Pr สังคมโดยรวมชอบใจแน่ ๆ") จึงตึความว่าตรรกะอาจมาประมาณนี้

และถึงแม้จะนำผู้ผลิตมาคำนึงด้วย
มันก็ยังเกิดคำถามต่ออยู่ดีว่า
ถ้ายิ่งแจกฟรียิ่งแถม ผู้บริโภคยิ่งดี ชอบ ถึงแม้ผู้ผลิตจะแย่ แต่แย่แค่ผู้ผลิต
เวลาคิดออกมาโดยรวมแล้ว ก็ออกมาดี (assume ว่ามีจำนวนผู้บริโภคมากกว่าผู้ผลิต บลาๆ)

และถึงแม้จะนำรัฐบาลมาจ่ายส่วนต่างให้ผู้ผลิตด้วย
มันก็เกิดคำถามอยู่ดีว่า
เมื่อไรความชอบใจจะหยุด เพราะสามารถทำให้ผู้บริโภคชอบใจได้มากขึ้นๆเรื่อยๆ

จริงๆ เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากร อยากให้ใช้ประเด็นนี้มาอธิบายมากกว่า "ความชอบใจ" เนื่องจาก
1. การจัดสรรทรัพยากรสามารถบอกได้จากกราฟ และรู้ได้ว่าเมื่อไรจะจัดสรรได้ดีที่สุด (การจัดสรรทรัพยากรที่เกิดประโชน์ที่สุด คือปริมาณทรัพยากร/สินค้าที่ผู้ผลิตอยากขาย เท่ากับปริมาณทรัพยากร/สินค้าที่ผู้บริโภคต้องการ) โดยดูจากจุดตัดของอุปสงค์ และอุปทาน

2. ความชอบใจขึ้นอยู่กับบุคคล บุคคลแต่ละคนมีความชอบใจต่างกัน เช่น
1. ผู้ผลิตอาจชอบใจมากขึ้น หากขายสินค้าได้ในปริมาณมากขึ้น ในราคาที่สูงขึ้น
2. ผู้บริโภคอาจชอบใจมากขึ้น หากซื้อสินค้าได้ในปริมาณที่มากขึ้น ในราคาที่น้อยลง
3. คนที่ซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมอาจชอบใจมากขึ้น ถ้ากระเป๋าแบรนด์เนมที่ตัวเองถืออยู่ราคาห้าแสนบาทหรือแพงกว่า ด้วยเหตุผลส่วนตัว และจะชอบใจน้อยลง ถ้าราคากระเป๋าแบรนด์เนมที่ตัวเองถือตกลง

การนำแนวคิดของความชอบใจมาใช้ จะลำบากมากในการทำให้ทุกๆคนที่อ่าน และทุกๆคนที่เรียนเข้าใจตรงกัน
อย่างไรก็ดี เศรษฐศาสตร์มีเนื้อหาเรื่อง Preference ที่มีความเกี่ยวข้องกับความชอบใจ หากสนใจก็ลองไปศึกษาดูได้ค่ะ

3. ความชอบใจไม่สามารถนำมาอธิบายได้ว่า ทำไมที่ระดับราคา $P_r$ ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม (assume ว่ามีข้อมูลแค่กราฟ) หากมีข้อมูลเกี่ยวกับ Preference curve / utility อาจนำมาคำนวณได้ อีกทั้งถึงจะ assume ได้ว่ายิ่งถูกยิ่งดี แต่ไม่สามารถบอกได้ว่า ทำไมต้องหยุดที่ $P_r$.



อ้างอิง:
ATC= AFC+AVC
ถ้า ATC = 10, AFC = 3, AVC = 7
ถ้า Pr = 8 Pr < ATC (8<10) ผู้ผลิตจะผลิตหรือ? เขาขาดทุน AFC แล้วนะครับ ????

หาก Pr < AVC < ATC (6<7<10) ผู้ผลิตจะขาดทุนทั้ง AFC และ AVC ครับ ????? รอบสอง
ถ้า $P_r=8$ ถ้าผลิต เขาจะขาดทุน $2Q$ ถ้าขายได้ $Q$
แต่ถ้าไม่ผลิต เขาจะขาดทุน $3Q$ เขาจึงควรเลือกที่จะผลิตต่อค่ะ

ลองศึกษาเรื่อง shutdown condition ดูนะคะ คิดว่ามีในหนัง Intro to Microeconomics ทุกเล่มค่ะ (น่าจะบทพวก Production function)

ปกติสมมุติฐานของผู้ผลิต จะมี
1. Profit Maximization: ผู้ผลิตต้องการกำไรมากที่สุด
2. Loss minimization: ผู้ผลิตต้องการความเสียหายน้อยที่สุด

และสมมติฐานเกี่ยวกับ cost ของผู้ผลิตว่ามีสองชนิดคือ
1. Fixed cost คือค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น ถึงแม้จะไม่มีการผลิตสินค้า เช่น ค่าเช่าที่ดิน ค่าอาหารกลางวันผู้ผลิต บลาๆ
2. Variable cost คือค่าใช้จ่ายที่จะแปรตามจำนวนสินค้าที่ผลิต เช่น ค่าผ้าสำหรับตัดเสื้อส่งออก บลาๆ

ถ้า $P>ATC$ นั้นทำให้เกิด Profit ก็ดีแล้ว ปกติสุข
ถ้า $ATC>P>AVC$ ถึงแม้ว่า จะขาดทุนแต่หากพิจารณาทางเลือก
1. ไม่ผลิต แต่ว่าผู้ผลิตต้องเสียค่า fixed cost ด้วย สมมุติเป็น $-FC$ (คือขาดทุน)
2. ผลิตไป สมมุติว่าขายได้ $Q$ หน่วย จะพบว่าขาดทุน $Q \cdot P-Q\cdot ATC=Q(P-ATC)$ (ไม่คิดเครื่องหมายลบ เลยตั้ง ATC ก่อน)
แต่ $Q(P-ATC) > Q(AVC-ATC) = -Q(AFC) = -FC$

นั่นคือถ้าเลือกว่าจะผลิตไป จะเสียหาย (loss) น้อยกว่าไม่ผลิตค่ะ (ถึงแม้จะเป็นเครื่องหมาย $'>'$ แต่อย่างลิมว่ามันเป็นจำนวนลบ) ถึงแม้จะขาดทุน ก็ต้องทำให้ขาดทุนน้อยที่สุดค่ะ

ส่วนถ้า P<AVC จะพบว่าควรหยุดผลิตค่ะ

ถึงแม้จะเป็น Profit-maximizing firm ก็ต้อง perform loss minimization ในเวลาที่ต้องทำนะคะ

หมายเหตุ การเลือกไปผลิตอย่างอื่น ไม่มีใน option นะคะ

สวัสดีค่ะ

07 กุมภาพันธ์ 2016 16:47 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Scylla_Shadow
เหตุผล: แก้ไขที่พิมพ์ผิด
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #12  
Old 14 กุมภาพันธ์ 2016, 23:38
armpakorn armpakorn ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 ตุลาคม 2011
ข้อความ: 61
armpakorn is on a distinguished road
Default

ขอบตุณทั้งสองท่านมากเลยนะครับที่เข้ามาช่วยตอบ ช่วงที่หายไปนี้ผมกลับไปทบทวนตำราเศรษฐศาสตร์มาใหม่ ก็พอจะเข้าใจประเด็นนี้แล้วครับ ตามความเข้าใจของผมเป็นดังนี้

1) ในกราฟอุปสงค์-อุปทาน พื้นที่ส่วนที่อยู่เหนือเส้นอุปทานแต่อยู่ใต้เส้นราคา เรียกว่า ส่วนเกินผู้ผลิต และพื้นที่ส่วนที่อยู่เหนือเส้นราคา แต่อยู่ใต้เส้นอุปสงค์ เรียกว่า ส่วนเกินผู้บริโภค พื้นที่ทั้งสองส่วนเรียกว่า สวัสดิการสังคม(อธิบายอีกทีคือ เป็น "ผลประโยชน์" ที่ตกกับสังคมนั่นเอง)

2) ณ ราคาดุลยภาพ สวัสดิการสังคมจะมีค่าสูงสุด(พูดอีกทีคือ เกิดประโยชน์ต่อสังคมมากสุด หรือ "socially optimal" ที่อยู่ในกราฟนั่นเอง)
3) ทางด้านผู้ผลิต อุปทานคือส่วนของเส้นต้นทุนส่วนเพิ่ม(MC) ที่อยู่เหนือเส้น AVC ขึ้นไปนั่นเอง
4) ในเมื่อส่วนของเส้น MC คือเส้นอุปทาน จุดที่เส้น MC ตัดกับเส้นอุปสงค์ ก็คือจุดดุลยภาพ ซึ่งจะทำให้ "เกิดประโยชน์ต่อสังคมสูงสุด"(socially optimal) นั่นเอง

ผมเข้าใจถูกหรือไม่ครับ

มีข้อสงสัยอีกข้อครับ คำว่า socially optimal ที่อยู่ในกราฟนั้นควรจะใช้คำว่า "เกิดประโยชน์ต่อสังคมสูงสุด" หรือ "เกิดการจัดสรรทรัพยากรดีที่สุด" ดีครับ และสองคำนี้มีความหมายต่างกันอย่างไร ในเชิงเศรษฐศาสตร์

ขอบคุณครับ

ปล. มีเว็บบอร์ดสำหรับถามปัญหาเศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะไหมครับ จะได้ไปถามให้เป็นหลักเป็นแหล่ง อิอิ
__________________
สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง ขนาดออยเลอร์คนดัง ยังคาดหวังผิดไปได้ (Euler's Conjecture)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #13  
Old 16 กุมภาพันธ์ 2016, 00:37
Scylla_Shadow's Avatar
Scylla_Shadow Scylla_Shadow ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 กุมภาพันธ์ 2009
ข้อความ: 1,151
Scylla_Shadow is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ armpakorn View Post
ขอบตุณทั้งสองท่านมากเลยนะครับที่เข้ามาช่วยตอบ ช่วงที่หายไปนี้ผมกลับไปทบทวนตำราเศรษฐศาสตร์มาใหม่ ก็พอจะเข้าใจประเด็นนี้แล้วครับ ตามความเข้าใจของผมเป็นดังนี้

1) ในกราฟอุปสงค์-อุปทาน พื้นที่ส่วนที่อยู่เหนือเส้นอุปทานแต่อยู่ใต้เส้นราคา เรียกว่า ส่วนเกินผู้ผลิต และพื้นที่ส่วนที่อยู่เหนือเส้นราคา แต่อยู่ใต้เส้นอุปสงค์ เรียกว่า ส่วนเกินผู้บริโภค พื้นที่ทั้งสองส่วนเรียกว่า สวัสดิการสังคม(อธิบายอีกทีคือ เป็น "ผลประโยชน์" ที่ตกกับสังคมนั่นเอง)

2) ณ ราคาดุลยภาพ สวัสดิการสังคมจะมีค่าสูงสุด(พูดอีกทีคือ เกิดประโยชน์ต่อสังคมมากสุด หรือ "socially optimal" ที่อยู่ในกราฟนั่นเอง)
3) ทางด้านผู้ผลิต อุปทานคือส่วนของเส้นต้นทุนส่วนเพิ่ม(MC) ที่อยู่เหนือเส้น AVC ขึ้นไปนั่นเอง
4) ในเมื่อส่วนของเส้น MC คือเส้นอุปทาน จุดที่เส้น MC ตัดกับเส้นอุปสงค์ ก็คือจุดดุลยภาพ ซึ่งจะทำให้ "เกิดประโยชน์ต่อสังคมสูงสุด"(socially optimal) นั่นเอง

ผมเข้าใจถูกหรือไม่ครับ ถูกค่ะ

มีข้อสงสัยอีกข้อครับ คำว่า socially optimal ที่อยู่ในกราฟนั้นควรจะใช้คำว่า "เกิดประโยชน์ต่อสังคมสูงสุด" หรือ "เกิดการจัดสรรทรัพยากรดีที่สุด" ดีครับ และสองคำนี้มีความหมายต่างกันอย่างไร ในเชิงเศรษฐศาสตร์ ไม่ต่างค่ะ แต่มันมาจากต่างมุม
เกิดประโยชน์ต่อสังคมสูงสุด เป็น maximum surplus ใช้เรื่องที่คุณโพสมาอธิบายค่ะ
การจัดสรรทรัพยากรสูงสุด เป็นจุดบน market-clear price ที่หนูยกมาตอบค่ะ
จริงๆ ตอนหนูเรียนก็ใช้สองคำนี้สลับกันไปไม่มีปัญหา



ขอบคุณครับ

ปล. มีเว็บบอร์ดสำหรับถามปัญหาเศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะไหมครับ จะได้ไปถามให้เป็นหลักเป็นแหล่ง อิอิ

ขอเพิ่งตรงคำอธิบายของ "เกิดประโยชน์ต่อสังคมสูงสุด" หรือ "เกิดการจัดสรรทรัพยากรดีที่สุด" ดีครับ และสองคำนี้มีความหมายต่างกันอย่างไร

ถ้าไม่ใช่ในแง่เศรษฐศาสตร์ (คือในแง่ วิชาอื่นๆ) สำหรับคำว่า เกิดประโยชน์ต่อสังคมสูงสุด เกิดการตีความคำว่า "สังคม" และ "ประโยชน์สูงสุด" แตกต่างกันไปค่ะ ทำให้เกิดคำอธิบายมหาศาล อีกทั้งคำว่าประโยชน์ แต่ละคนคิดไม่เหมือนกัน ทำให้หาคำมาอธิบายตรงกลางไม่ได้ ว่าจริงๆแล้วสูงสุดคืออะไร ขนาดไหน

แต่ถ้าพูดว่าเกิดการจัดสรรทรัพยากรสูงสุด (ในความคิดของหนู) มันคือ ไม่มีของล้น ไม่มีของขาด เข้าใจตรงกันได้ง่ายกว่าค่ะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
การแข่งขัน "MATH CONTEST 2010" และ " Science Test 2010 " โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อุบลฯ kabinary ข่าวคราวแวดวงประถม ปลาย 0 05 พฤศจิกายน 2010 21:06
"TU" or "MWIT" The jumpers ฟรีสไตล์ 28 26 สิงหาคม 2010 03:47
concept of "degree of freedom" t.B. ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป 4 17 กรกฎาคม 2010 00:40
"Songkran" Festival Siren-Of-Step ฟรีสไตล์ 11 11 เมษายน 2010 20:29
Teach Me "Homothety" The jumpers เรขาคณิต 2 29 พฤศจิกายน 2009 21:33


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 13:11


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha