Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์มัธยมศึกษา > ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 23 เมษายน 2011, 18:26
A.DreN@l_ine A.DreN@l_ine ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 ธันวาคม 2010
ข้อความ: 43
A.DreN@l_ine is on a distinguished road
Default งง เรื่อง limit นิดหน่อยครับ

พอดีไปอ่านบทความจากพระตะบองก็เลยงง อะครับ

ตกลง A หรือ B ถูกอะครับ แล้วถูก/ผิด เพราะอะไร
รูปภาพที่แนบมาด้วย
 
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 23 เมษายน 2011, 18:51
mebius mebius ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 22 กันยายน 2010
ข้อความ: 82
mebius is on a distinguished road
Default

งั้นลองหาค่าทีละน้อยๆก่อนดีไหมครับ
$\frac{1}{1^2}=1$
$ \frac{1+2}{2^2}=\frac{3}{4} $
$ \frac{1+2+3}{3^2}=\frac{6}{9} $
$ \frac{1+2+3+4}{4^2}=\frac{10}{16} $
.
.
.$ \frac{1+2+...+10}{10^2}=\frac{55}{100} $
ถ้าทำต่อไปเรื่อยๆ ค่าจะเข้าใกล้ 0.5 น่ะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 23 เมษายน 2011, 19:39
-InnoXenT-'s Avatar
-InnoXenT- -InnoXenT- ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 17 มิถุนายน 2008
ข้อความ: 487
-InnoXenT- is on a distinguished road
Default

ผมว่า นาย B ผิดนะครับ

เนื่องด้วยพจน์สุดท้าย มันเป็น $\frac{\infty}{\infty}$ นี่นา
__________________
เมื่อไรเราจะเก่งเลขน้าาาาาา ~~~~

T T

ไม่เก่งซักที ทำไงดี
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 23 เมษายน 2011, 20:10
Hirokana's Avatar
Hirokana Hirokana ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 20 ธันวาคม 2009
ข้อความ: 97
Hirokana is on a distinguished road
Default

เข้ามานอนยันครับ นาย B ผิด 100%

เนื่องจาก การแจกลิมิตการบวกในที่นี้แจกไม่ได้ครับ เพราะพจน์นั้นยังขึ้นกับค่า n อยู่เลย ไปแจกทั้งที่ยังไม่ทราบจุดสุดท้ายที่แน่นอน

จำเป็นต้องหาวิธีการใหม่ ซึ่งวิธีของ นาย A เป็นวิธีนึงครับ

ถ้าอยากรู้เรื่องลิมิตละเอียดลองหาอ่านจำพวก

ลิมิตของฟังก์ชันเพิ่มก็ได้นะครับจะเข้าใจในส่วนนี้มากขึ้น

ตัวอย่างง่ายๆที่น่าสนใจก็คือ

$$ \lim_{n\to\infty} \left(\,1+\frac{1}{2}+\frac{1}{2^2}+\frac{1}{2^3}+\,...\,+\frac{1}{2^n}\right) $$
__________________
พยายามเพื่อสิ่งที่ดีที่สุด

23 เมษายน 2011 20:17 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Hirokana
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 23 เมษายน 2011, 23:40
A.DreN@l_ine A.DreN@l_ine ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 ธันวาคม 2010
ข้อความ: 43
A.DreN@l_ine is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Hirokana View Post
เข้ามานอนยันครับ นาย B ผิด 100%

เนื่องจาก การแจกลิมิตการบวกในที่นี้แจกไม่ได้ครับ เพราะพจน์นั้นยังขึ้นกับค่า n อยู่เลย ไปแจกทั้งที่ยังไม่ทราบจุดสุดท้ายที่แน่นอน

จำเป็นต้องหาวิธีการใหม่ ซึ่งวิธีของ นาย A เป็นวิธีนึงครับ

ถ้าอยากรู้เรื่องลิมิตละเอียดลองหาอ่านจำพวก

ลิมิตของฟังก์ชันเพิ่มก็ได้นะครับจะเข้าใจในส่วนนี้มากขึ้น

ตัวอย่างง่ายๆที่น่าสนใจก็คือ

$$ \lim_{n\to\infty} \left(\,1+\frac{1}{2}+\frac{1}{2^2}+\frac{1}{2^3}+\,...\,+\frac{1}{2^n}\right) $$
ผมเริ่มถูกไหมเนี่ยครับ

$$ \lim_{n\to\infty} \left(\,1+\frac{1}{2}+\frac{1}{2^2}+\frac{1}{2^3}+\,...\,+\frac{1}{2^n}\right) $$
$$ \lim_{n\to\infty} \left(\,\frac{2^n+2^{n-1}+2^{n-2}+...+1}{2^n}\right)$$
เริ่มตันครับ เข้าอีหรอบเดิม
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 24 เมษายน 2011, 00:04
Amankris's Avatar
Amankris Amankris ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,492
Amankris is on a distinguished road
Default

#4
ผมว่าแจกการบวกได้นะ (แม้ว่าแต่ละพจน์จะมี $n$ อยู่ก็ตาม)


จุดที่ผิดจริงๆก็คือ

การนำ 0 จำนวนอนันต์ตัว มาบวกกัน ผลลัพธ์เป็น indeterminate form ครับ (ไม่ใช่บวกกันได้ 0)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 24 เมษายน 2011, 00:34
7o'clock's Avatar
7o'clock 7o'clock ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 30 มีนาคม 2011
ข้อความ: 16
7o'clock is on a distinguished road
Default

#5
มองเป็นลำดับเรขาคณิตสิครับ
__________________
ความมุ่งมั่นตั้งใจ เปรียบเหมือนแรงกำลัง
ที่จะคอยผลักดันเราอยู่ข้างหลังเสมอ
ยิ่งเชื่อมั่นเต็มร้อยเท่าไหร่
โอกาสเข้าชิงชัยก็มีมากกว่าครึ่งเท่านั้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 24 เมษายน 2011, 00:47
Hirokana's Avatar
Hirokana Hirokana ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 20 ธันวาคม 2009
ข้อความ: 97
Hirokana is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Amankris View Post
#4
ผมว่าแจกการบวกได้นะ (แม้ว่าแต่ละพจน์จะมี $n$ อยู่ก็ตาม)

จุดที่ผิดจริงๆก็คือ

การนำ 0 จำนวนอนันต์ตัว มาบวกกัน ผลลัพธ์เป็น indeterminate form ครับ (ไม่ใช่บวกกันได้ 0)
ผมทำความเข้าใจตามที่เคยเรียนมานะครับ

แต่ถ้าพิจารณาตามที่ พี่บอกก็อาจจะเป็นได้ครับ ขอบคุณครับ
__________________
พยายามเพื่อสิ่งที่ดีที่สุด

24 เมษายน 2011 01:17 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Hirokana
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 24 เมษายน 2011, 01:07
หยินหยาง's Avatar
หยินหยาง หยินหยาง ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่จักรวาล
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,921
หยินหยาง is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Amankris View Post
#4

การนำ 0 จำนวนอนันต์ตัว มาบวกกัน ผลลัพธ์เป็น indeterminate form ครับ (ไม่ใช่บวกกันได้ 0)
มี reference มั้ยครับ ว่ารูปแบบที่ว่าจัดอยู่เป็น indeterminate form
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 24 เมษายน 2011, 01:29
Amankris's Avatar
Amankris Amankris ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,492
Amankris is on a distinguished road
Default

#9
จัดเป็นรูป $0\cdot\infty$ ได้ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 24 เมษายน 2011, 02:00
หยินหยาง's Avatar
หยินหยาง หยินหยาง ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่จักรวาล
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,921
หยินหยาง is on a distinguished road
Default

#10
ผมไม่ได้ต้องการให้จัดรูปให้ดูครับ เพราะเข้าใจได้ว่าน่าจะเป็นแบบ #9 ที่แสดง แต่ผมเพียงอยากรู้ว่ามี textbook หรือแหล่งอ้างอิงใดหรือโจทย์ตัวอย่างไหนที่แปลงแบบที่ว่าครับ
เพราะที่ผมเข้าใจ $0\cdot\infty$ นั้นมาจาก $f(x)*g(x)$ แต่ืที่ผมสงสัยก็เพราะว่า $1+2+3+...n$ มันมาจากฟังก์ชันคือ $f(x) $ และถ้าให้ $g(x) = n^2$ มันน่าจะอยู่ในรูปของ $\frac{\infty }{\infty } $ ถ้ามองว่าอยู่ในรูปแบบ indeterminate form
ขอบคุณครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #12  
Old 24 เมษายน 2011, 07:03
t.B.'s Avatar
t.B. t.B. ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 17 มิถุนายน 2007
ข้อความ: 634
t.B. is on a distinguished road
Default

โดยนิยามการแจกลิมิตเข้าไปนั่น $\lim_{x \to a} \frac{f(x)}{g(x)} = \frac{\lim_{x \to a} f(x)}{\lim_{x \to a} g(x)} $ ได้นั้น ก็ต่อเมื่อ $\lim_{x \to a} f(x) $ และ $\lim_{x \to a} g(x) $ หาค่าได้ค่า ส่วนกรณี $\lim_{x \to \infty} (f(x)+g(x)) $ก็เช่นเดียวกัน lim ของแต่ละส่วนย่อยต้องหาค่าได้ถึงจะกระจายแล้วเท่ากับก่อนกระจาย เช่น $\lim_{x \to \infty} 1 \not= \lim_{x \to \infty} (1-x) + \lim_{x \to \infty} x $ ซึ่ง LHS. ได้ 1 แต่ RHS. หาค่าไม่ได้

และตรงวิธีของนาย B เหตุผลก็ผิดอย่างที่คุณ Amarkris บอกไว้แหละครับ
สังเกตว่า การรู้ว่า limได้ 0 นั้นไม่ได้แปลว่า ค่าของมันจะเป็น0 แค่ลู่เข้า 0 ดังนั้นเอาค่าลู่เข้า 0 หลายๆตัวมากบวกกัน ค่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แล้วยิ่งบวกกันอนันต์ตัว ก็มีโอกาสทำให้ไม่ลู่เข้า 0 ได้ครับ

ซึ่งแน่นอนว่า ถ้า 0 นั้นหมายถึง ค่า 0 จริงๆไม่ใช่แค่ลู่เข้า เอามาบวกกันกี่ตัวก็ยังเป็น 0 อยู่ดีครับ แต่ในที่นี้มันแค่ไม่ได้เป็น 0 จริงๆ เพียงแต่ลู่เข้าสู่ 0
__________________
I am _ _ _ _ locked

24 เมษายน 2011 07:13 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 3 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ t.B.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #13  
Old 24 เมษายน 2011, 07:44
A.DreN@l_ine A.DreN@l_ine ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 ธันวาคม 2010
ข้อความ: 43
A.DreN@l_ine is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Hirokana View Post
เข้ามานอนยันครับ นาย B ผิด 100%

เนื่องจาก การแจกลิมิตการบวกในที่นี้แจกไม่ได้ครับ เพราะพจน์นั้นยังขึ้นกับค่า n อยู่เลย ไปแจกทั้งที่ยังไม่ทราบจุดสุดท้ายที่แน่นอน

จำเป็นต้องหาวิธีการใหม่ ซึ่งวิธีของ นาย A เป็นวิธีนึงครับ

ถ้าอยากรู้เรื่องลิมิตละเอียดลองหาอ่านจำพวก

ลิมิตของฟังก์ชันเพิ่มก็ได้นะครับจะเข้าใจในส่วนนี้มากขึ้น

ตัวอย่างง่ายๆที่น่าสนใจก็คือ

$$ \lim_{n\to\infty} \left(\,1+\frac{1}{2}+\frac{1}{2^2}+\frac{1}{2^3}+\,...\,+\frac{1}{2^n}\right) $$
อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ 7o'clock View Post
#5
มองเป็นลำดับเรขาคณิตสิครับ
ขอบคุณครับอย่างนี้รึเปล่าครับ
$$ \lim_{n\to\infty} \left(\,1+\frac{1}{2}+\frac{1}{2^2}+\frac{1}{2^3}+\,...\,+\frac{1}{2^n}\right) $$
$$ \lim_{n\to\infty} \left(\,\frac{1(1-\frac{1}{2^n})}{\frac{1}{2}}\right) $$
$$=2$$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #14  
Old 24 เมษายน 2011, 07:55
poper's Avatar
poper poper ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 พฤษภาคม 2010
ข้อความ: 2,643
poper is on a distinguished road
Send a message via MSN to poper
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ t.B. View Post
โดยนิยามการแจกลิมิตเข้าไปนั่น $\lim_{x \to a} \frac{f(x)}{g(x)} = \frac{\lim_{x \to a} f(x)}{\lim_{x \to a} g(x)} $ ได้นั้น ก็ต่อเมื่อ $\lim_{x \to a} f(x) $ และ $\lim_{x \to a} g(x) $ หาค่าได้ค่า ส่วนกรณี $\lim_{x \to \infty} (f(x)+g(x)) $ก็เช่นเดียวกัน lim ของแต่ละส่วนย่อยต้องหาค่าได้ถึงจะกระจายแล้วเท่ากับก่อนกระจาย เช่น $\lim_{x \to \infty} 1 \not= \lim_{x \to \infty} (1-x) + \lim_{x \to \infty} x $ ซึ่ง LHS. ได้ 1 แต่ RHS. หาค่าไม่ได้

และตรงวิธีของนาย B เหตุผลก็ผิดอย่างที่คุณ Amarkris บอกไว้แหละครับ
สังเกตว่า การรู้ว่า limได้ 0 นั้นไม่ได้แปลว่า ค่าของมันจะเป็น0 แค่ลู่เข้า 0 ดังนั้นเอาค่าลู่เข้า 0 หลายๆตัวมากบวกกัน ค่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แล้วยิ่งบวกกันอนันต์ตัว ก็มีโอกาสทำให้ไม่ลู่เข้า 0 ได้ครับ

ซึ่งแน่นอนว่า ถ้า 0 นั้นหมายถึง ค่า 0 จริงๆไม่ใช่แค่ลู่เข้า เอามาบวกกันกี่ตัวก็ยังเป็น 0 อยู่ดีครับ แต่ในที่นี้มันแค่ไม่ได้เป็น 0 จริงๆ เพียงแต่ลู่เข้าสู่ 0
ชัดเจนครับ ขอบคุณมากครับ
__________________
คณิตศาสตร์ คือ ภาษาสากล
คณิตศาสตร์ คือ ความสวยงาม
คณิตศาสตร์ คือ ความจริง
ติดตามชมคลิปวีดีโอได้ที่http://www.youtube.com/user/poperKM
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #15  
Old 24 เมษายน 2011, 18:09
หยินหยาง's Avatar
หยินหยาง หยินหยาง ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่จักรวาล
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,921
หยินหยาง is on a distinguished road
Default

ก่อนที่จะไปกันใหญ่ประเด็นของผมที่สงสัยไม่ได้อยู่ที่คำตอบของข้อนี้ เพราะคำถามของข้อนี้เค้าถามตอนท้ายว่า งง ไหม คำตอบง่ายมาก อ่านแล้วไม่รู้เรื่องก็ตอบว่า งง อ่านแล้วรู้เรื่องก็ตอบว่า ไม่งง ไม่ต้องคิดมาก

เอาประเด็นที่ผมถามเพราะไม่งั้นจะตอบกันไม่ตรงประเด็น คงไม่ต้องสงสัยว่าใครทำถูกหรือทำผิด เพราะน่าจะรู้ได้อยู่แล้วว่า B ทำผิด เพียงแต่ว่าเหตุผลที่คุณ Amankris ให้ไว้คือ บอกว่าแจกแจงได้ และแจกแจงแล้วไปเข้าอยู่ในรูปของ $0\cdot\infty$ (indeterminate form ) เพราะต้องเข้าใจซะก่อนว่าเรื่องลิมิตเป็นเรื่องของฟังก์ชัน ที่มีค่าของ x ลู่เข้าค่าๆ หนึ่ง แล้วดูว่า f(x) นั้นมีค่าหรือไม่ คือสิ่งที่เราสนใจและพูดถึงในเรื่องนี้ ส่วน ทบ.และ เทคนิคต่างๆ ก็สามารถหาอ่านได้ และเนื่องจากลิมิต เป็นค่าประมาณการ ของ f(x) ดังนั้นบางครั้งที่เราดูเหมือนว่าค่าที่แทนลงไปแล้วหาค่าไม่ได้อาจหาค่าได้ นักคณิตศาสตร์จึงได้พูดถึงรูปแบบที่อยู่ในรูป indeterminate form สามารถศึกษาได้จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Indeterminate_form เป็นต้น ว่าถ้าอยู่ในรูปแบบนี้ ก็ยังสรุปไม่ได้ วิธีการหาค่าลิมิตประเภทนี้ก็มีหลักง่ายๆ ที่เรียนกัน คือ การจัดรูปแล้วกำจัดตัวแปรที่สามารถทำได้ หรือการใช้สังยุค เพื่อให้รูปแบบที่มีอยู่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบ ของ indeterminate form หรือใช้กฎของ โลปิตาล เป็นต้น ผมจึงสงสัยว่ารูปแบบ ของ 0 บวกกัน อนันต์ตัวนั้นเป็น indeterminate form หรือไม่ เพราะผมไม่เคยเห็นตำราไหนเขียนไว้แบบนี้ เลยเขียนขอความรู้ เหมือนครั้งหนึ่งที่ผมเคยเข้าใจว่า $\lim_{x \to 0} \frac{sin x}{x} = 1$ สามารถหาค่าได้โดยใช้ กฎของโลปิตาล ซึ่งจริงๆผิด (และคุณ Top ได้ให้วิทยาทานในครั้งนั้น ซึ่งอันที่จริงในตอนนั้นกระทู้เรื่องนี้มีการเอามาถามก่อนหน้าโดยคุณ warut แล้ว) แต่ต้องพิสูจน์ทางเรขาถึงจะถูก ไม่สามารถใช้ โลปิตาล ได้ แต่ก็จะพบได้ในหนังสือบางเล่มหรือเว็บไซต์หลายแห่ง ที่อ้างถึงการใช้ กฎของโลปิตาล ถ้าสนใจก็ลองค้นหากระทู้เก่าดูครับ
กับมาที่โจทย์ของข้อนี้ ผมเข้าใจว่าโจทย์ของข้อนี้ผู้ออกข้อสอบต้องการทดสอบความรู้ของเด็กว่าเข้าใจรูปแบบของ indeterminate form $(\frac{\infty }{\infty })$ และมีวิธีการหาค่าเป็นหรือไม่ ซึ่งผมได้กล่าวไว้ในตอนต้นแล้วเกี่ยวกับเทคนิคการหาค่าเมื่ออยู่ในรูปแบบของ indeterminate form
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
Limit Influenza_Mathematics Calculus and Analysis 13 25 เมษายน 2011 18:02
ช่วนสอน อนุกรม ให้หน่อยได้ป่าวครับ และการหาlimit vanillaaaa ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป 2 26 พฤศจิกายน 2009 14:07
หา limit คะ rinso คณิตศาสตร์อุดมศึกษา 4 28 ตุลาคม 2009 18:55
ขอถามเรื่อง limit หน่อยครับ monster99 ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย 3 27 สิงหาคม 2009 12:10
ถามเรื่อง limit อีกรอบค่ะ pacemaker คณิตศาสตร์อุดมศึกษา 2 24 กรกฎาคม 2009 18:37


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 03:05


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha