Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์ทั่วไป > ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 28 มีนาคม 2005, 00:30
zzz010307's Avatar
zzz010307 zzz010307 ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 28 มีนาคม 2005
ข้อความ: 29
zzz010307 is on a distinguished road
Post อยากทราบ เวลาที่เหมาะสม ในการอ่านหนังสือ

อยากทราบว่า คนที่เรียนคณิตศาสตร์เป็น นั้น
เขาใช้เวลาในการอ่านหนังสือคณิตศาสตร์ วันละประมาณกี่ชม ครับ?

ผมได้ยินมาว่า พวกที่เตรียมอุดม สวนกุหลาบ เล่นมันวันละไม่ต่ำกว่า 4 ชมเลยน่ะครับ
และพอผมไปถามคนอื่น
บางคนตอบว่า "ก็อ่านไปจนกว่าสมองจะรับอะไรไม่ได้แล้ว"
บางคนตอบว่า "ต้องคำนึงถึงสุขภาพด้วย"

แล้วถ้าจะศึกษาวิชาจริงๆจังๆแล้ว
ควรอ่านประมาณวันละกี่ชมดีครับ

(สมมติว่า ผมอ่านได้มากที่สุดวันละ 6 ชมก็ได้)
__________________
รักคณิตศาสตร์
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 28 มีนาคม 2005, 00:49
M@gpie's Avatar
M@gpie M@gpie ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 ตุลาคม 2003
ข้อความ: 1,227
M@gpie is on a distinguished road
Post

มันไม่เป็นกฏเกณฑ์ตายตัวสำหรับทุกคนหรอกคับ แต่ละคนก็มีวิธีอ่าน และ วิธีการเรียนรู้แตกต่างกันออกไป
โดยความเห็นส่วนตัวนะคับ ไม่จำเป็นต้องบังคับขนาดว่า วันละกี่ชม. หรอกคับ เวลาไหนก็ไม่สำคัญด้วย สิ่งที่สำคัญคือ อ่านให้เข้าใจ มากกว่า อย่างที่บอกถ้า อ่านวันละ 4 ชม. บ้าง 6 ชม. บ้าง แต่ไม่เข้าใจเลย ก็ถือว่าไม่ได้ประโยชน์เอาซะเลย อาจจะสู้คนอื่นแค่ ชม.เดียว แต่เข้าใจ ยังไม่ได้เลย สิ่งสำคัญของการเรียนรู้คณิตศาสตร์นอกจากการท่องสูตร และ นิยาม ก็คือ แบบฝึกหัดและประสบการณ์คับ พูดเป็นภาษาง่ายๆคือ จำแบบเข้าใจ นั่นแหละคับ แต่ไม่ใช่การจำดะ ถึงเวลาก็ทำอะไรไม่เป็นอยู่ดี และต้องรู้จักประยุกต์ใช้ ในการแก้ปัญหา
__________________
PaTa PatA pAtA Pon!

28 มีนาคม 2005 00:52 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ M@gpie
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 28 มีนาคม 2005, 10:11
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post

You can do mathematics anywhere and anytime krub.

สำหรับผมแล้วการศึกษาคณิตศาสตร์เกิดขึ้นอยู่เกือบตลอดเวลา อยากให้ลองปล่อยตัวเองให้อิสระดูครับ ไม่ต้องกำหนดกะเกณฑ์อะไรมาก นึกอยากจะคิดอยากจะอ่านก็หยิบมาลองทำดู แบบนี้จะทำให้เราเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและไม่เครียดครับ แต่ก่อนอื่นเราต้องมีความรู้สึกว่าอยากคิดหรืออยากอ่านก่อนครับ เห็นโจทย์แล้วยี้ไม่อยากทำหรือท้อตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มคิดแบบนี้ก็ไม่ไหวครับ ผมก็เป็นบ่อยเหมือนกัน ต้องพยายามท้าทายตัวเองอยู่ตลอดครับ เริ่มจากทำโจทย์ง่ายๆก่อนก็ได้ เมื่อทำได้เราจะได้ความฮึกเหิมมาระดับหนึ่ง จากนั้นค่อยหันไปหาโจทย์ที่ยากขึ้น ถ้าทำไม่ได้ก็หันไปหาเครื่องมือที่พอจะช่วยเราได้ หรือไม่ก็พยายามเกาะติดปัญหาไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็จะพบทางออกครับ ถ้าไม่ท้อจนหมดไฟซะก่อนนะ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 28 มีนาคม 2005, 17:16
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Smile

เมื่อได้อย่างหนึ่ง เราก็จะเสียอย่างหนึ่งครับ. คนที่ตอบว่าวันละ 2 ชม. ก็คิดแบบหนึ่ง คนที่ตอบว่าวันละ 4 ชม.ก็คิดอย่างหนึ่ง คนที่ตอบว่าจนกว่าจะล้าก็คิดแบบหนึ่ง แต่ไม่ว่าจะแบบไหนสุดท้ายก็จะได้อย่างเสียอย่างครับ.
ได้อะไร เสียอะไร เราจะเป็นคนรู้ด้วยตัวของตัวเองครับ.

เราจะทำแบบไหนได้ มันก็ต้องดูก่อนว่าเราอยู่ในสภาวะแบบไหน ?
สภาวะแบบไหน ? หมายถึง ว่าตอนนี้เราต้องรับผิดชอบเรื่องอะไรบ้าง ถ้าเรามีเรื่องที่ต้องรับผิดชอบน้อย เราก็จะสามารถทุ่มที่จะทำอะไรสุดตัวได้ แต่ถ้าเรามีเรื่องที่ต้องรับผิดชอบสูง เราก็อาจจะไม่สามารถที่จะทำอะไรสุด ๆ ได้

กรณีที่เรามีภาระเพียงเรื่องเรียนอย่างเดียว ตอนนี้นับว่าเป็นโอกาสทอง ครับ. แต่ละคนจะมีอุดมคติแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ดี ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแน่ ๆ น้องต้องถามตัวเองครับ. ว่าแคร์เรื่องสุขภาพร่างกายมากน้อยเพียงใด บางคนอาจจะมองว่าการออกกำลังกาย เป็นเรื่องเสียเวลาอย่างหนึ่ง บางคนอาจจะมองว่าไม่ใช่ คนที่ตอบว่าเสียเวลาก็อาจจะเป็นเพราะส่วนหนึ่ง ไม่เคยรู้สึกถึงอารมณ์ของการผ่อนคลาย เป็นความสุขอีกแบบที่หาไม่ได้จากการกิน การนอน หรือ การดูหนังฟังเพลง หรือ อื่น ๆ

อย่างพี่เอง ได้เคยรู้สึกถึงความสุขของการออกกำลังกายมาตั้งแต่เด็ก ถ้าเป็นไปได้พี่ก็จะออกกำลังกาย ให้ถึงระดับที่สิ่งนั้นจะปรากฏออกมา สิ่งนั้นคืออะไร สำหรับพี่มันจะเป็นอารมณ์สงบแบบเรียบ ๆ ที่ค่อย ๆ ไหลออกมาพร้อม ๆ กับลมหายใจ พร้อม ๆ กับอากาศที่พัดเย็นสบาย สิ่งนั้นพี่ไม่รู้ว่าจะเรียกว่ามันเป็นลมปราณอย่างที่คนจีนเรียกหรือไม่ สิ่งนั้นจะเกิดขึ้นหลังออกกำลังกายเสร็จ และ พี่จะสามารถควบคุมสิ่งนั้นซึ่งเป็นคล้าย ๆ กลุ่มของอากาศซึ่งมีลักษณะร้อน ๆ ให้เคลื่อนตัวได้ไปตามแขนขา ตามใจนึกได้

ชักนอกเรื่อง แต่ไม่ซะทีเดียว นี่เป็นเรื่องที่นับว่าเสียเวลาในมุมมองของคนบางคน แต่สำหรับพี่เองไม่ใช่เรื่องเสียเวลา และ สมควรทำ เพราะเป็นการผ่อนคลายอีกแบบ ในขณะเดียวกัน พี่ก็มองว่ามันเป็นการฝึกตนแบบหนึ่ง
ฝึกอะไร ? เช่น เราอาจตั้งใจว่า วันนี้อย่างไรก็ต้องวิ่งรอบสนามให้ครบ 4 รอบเป็นอย่างน้อย ถ้าเราทำได้ทุกครั้งที่เราออกกำลังกาย เราก็จะได้รับความเชื่อมั่นในตัวเองเล็ก ๆ สะสมไปเรื่อย สำหรับพี่แล้วมีประโยชน์อย่างยิ่ง

การออกกำลังกายยังได้พลังความฮึกเหิม พลังความสดชื่น ซึ่งเป็นสิ่งที่จะไม่ได้จากการนอนที่เพียงพอแต่อย่างเดียว หลังออกกำลังกายเสร็จ ลมพัดเย็นสบาย ๆ ใจเราก็จะสงบนิ่ง เราอาจจะได้มุมมองแนวคิดใหม่ ๆ ทั้งต่อตัวเอง ต่อส่วนรวม ความคิดแบบนี้จะได้มาเมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม

กลับมาต่อที่เรื่องเรียนหรืออ่านหนังสือต่อ ถ้าน้องทุ่มตรงจุดนั้นมากไป สิ่งที่น้องคิดว่าได้แน่ ๆ ก็คือความคิดที่ว่า เออ. เราเจ๋งแฮะสามารถทนทายาด แต่เรื่องคุณภาพที่ได้จากตรงนั้นยังเป็นเรื่องที่จะต้องพิสูจน์จากสิ่งอื่น ๆ อยู่ เช่น จากการสอบแข่งขัน

การทุ่มเทอะไรเกินไป โดยไม่มองด้านอื่น สำหรับพี่แล้ว เป็นเรื่องที่ไม่ดี พี่เองชอบจะพยายามควบคุมตัวเองให้ได้สมดุลทั้งร่างกายและจิตใจอยู่เสมอ ๆ นี่ไม่ได้หมายความว่า ไม่ได้ให้จริงจังกับการทำอะไรให้สำเร็จ ที่ต้องการจะบอกคือ ควรจะหาเวลาให้ร่างกายและจิตใจของตัวเองบ้าง

ยุคนี้เราเริ่มมีหนังสือคณิตศาสตร์ออกมาเยอะ มีอินเตอร์เน็ตให้สื่อสาร ถ้าน้องจะทุ่มเทอย่างจริงจัง พี่ก็เชื่อได้ว่าน้องจะบรรลุกับสิ่งที่ตัวเองหวังโดยไม่ยากนัก สิ่งที่น้องจะต้องคำนึงถึงเป็นพิเศษ พี่คิดว่าไม่ใช่เรื่องเวลาว่าจะอ่านวันละกี่ชั่วโมง แต่เป็นความชอบต่างหาก ถามตัวเองให้ได้ว่าชอบจริง ๆ หรือเปล่า คณิตศาสตร์นั่นล่ะ ถ้าชอบอย่างจริงจังแล้ว คิดว่าตัวเองทำเรื่องไร้สาระวันหนึ่ง ๆ ไปกี่ชั่วโมง มีคณิตศาสตร์อยู่กี่เปอร์เซนต์ ถ้าใจคำนึงถึงคณิตศาสตร์อยู่ร่ำไป แบบนี้รุ่งแน่ครับ.

28 มีนาคม 2005 17:57 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gon
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 29 มีนาคม 2005, 22:23
TOP's Avatar
TOP TOP ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 มีนาคม 2001
ข้อความ: 1,003
TOP is on a distinguished road
Lightbulb

เนื่องจากคนเราแต่ละคน ล้วนมีความถนัดแตกต่างกันไป วิธีการที่เหมาะสมกับคนหนึ่ง อาจจะแย่สำหรับอีกคนหนึ่งก็เป็นได้ เราจึงต้องรู้จักสำรวจ และค้นหาวิธีการที่เหมาะสมกับเราที่สุด เรื่องการบริหารเวลาอ่านหนังสือก็เช่นกัน เราต้องประเมินตนเองให้ได้ก่อนว่า เรามีสมาธิอ่านหนังสือนานเพียงใด เมื่อไหร่จึงรู้สึกล้า เวลาและสถานที่ใดเหมาะกับการอ่านหนังสือโดยที่ทำให้เรามีสมาธิมากที่สุด ตัวแปรต่างๆเหล่านี้มันสัมพันธ์กันไปหมด อย่างเช่น

ตอนเด็กๆเราสามารถอ่านหนังสือได้นาน 4 ชั่วโมงติดกัน ณ เวลาใดก็ได้ แต่พออายุมากขึ้นก็จะค้นพบตนเองว่า หากอ่านหลัง 4 สี่ทุมเป็นต้นไป จะอ่านได้เพียง 1 ชั่วโมง ก็เพลียแล้ว ดังนั้นหากต้องการอ่านนาน 4 ชั่วโมง จึงต้องเปลี่ยนเวลาอ่าน ไปเป็นช่วงกลางวันแทน

นอกจากปัจจัยเหล่านี้แล้ว ยังขึ้นกับเนื้อหาที่อ่านด้วย เช่น หากเรากำลังศึกษาเรื่องแคลคูลัสใหม่ๆ ก็จำเป็นต้องใช้เวลามาก สำหรับทำความเข้าใจในช่วงแรกๆ แต่หลังจากพอจะเข้าใจแนวคิดหลักแล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องใช้เวลามากเท่าเดิมในการ เรียนรู้เนื้อหาต่อมา ที่ต้องบอกเช่นนี้เพราะน้องๆอาจจะประเมิน ประสิทธิภาพของการใช้เวลาได้ไม่ถูกต้องนัก หากจะเปรียบเทียบง่ายๆก็เหมือนกับการต้มน้ำ

หากเรานำน้ำแข็งมาต้ม ในช่วงแรกๆอาจจะรู้สึกว่า ความร้อนที่ใส่เข้าไปเหมือนมันสูญเปล่า สิ้นเปลืองเวลาโดยใช่เหตุ แต่หากเรามีความอดทนเพียงพอ ความร้อนทุกหน่วยที่เราตั้งใจใส่ลงไป จะค่อยๆเพิ่มอุณหภูมิของน้ำแข็ง และเมื่อถึงอุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส ปาฏิหารย์จะบังเกิดขึ้นเมื่อน้ำแข็งละลายเป็นน้ำ หลังจากนั้นก็เหมือนเป็นกำแพงอีกชั้น ความร้อนที่ใส่เข้าไปเหมือนมันสูญเปล่า สิ้นเปลืองเวลาโดยใช่เหตุอีกแล้ว แต่หากเรามีความอดทนเพียงพอ ความร้อนทุกหน่วยที่เราตั้งใจใส่ลงไป จะค่อยๆเพิ่มอุณหภูมิของน้ำ และเมื่อถึงอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ปาฏิหารย์จะบังเกิดขึ้นเมื่อน้ำเดือดระเหยเป็นไอน้ำ

ทุกความพยายามและความตั้งใจของเรา ไม่เคยสูญเปล่า และหากเรามีความความพยายามและตั้งใจเพียงพอ มันจะให้ดอกและผลคุ้มค่าการรอคอยครับ

หากเป็นการใช้เวลาฝึกทำโจทย์ การรู้จักเลือกโจทย์ที่ดี จะช่วยให้เราใช้เวลาได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ก่อนจะทำโจทย์แต่ละข้อจึงต้องรู้จัก ประเมินความยากง่าย เช่น หากข้อใดมองแล้วรู้แนวทางทำโจทย์ทั้งหมด
  • ถ้าเราจะทำโจทย์ข้อนี้ตามแนวทางที่มองเอาไว้ สิ่งที่เราจะได้ก็คือ ความเร็วในการทำโจทย์ที่มากขึ้น
  • ถ้าเราจะลองแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่น สิ่งที่เราจะได้คือ วิธีการใหม่ๆที่จะนำไปใช้แก้ปัญหาอื่นๆได้อีก
  • ถ้าเราไม่ทำ แล้วเปลี่ยนไปทำโจทย์ใหม่ที่มองแล้วยังไม่รู้แนวทาง สิ่งที่เราจะได้คือ รู้จักแนวปัญหาใหม่ๆ และรู้วิธีใหม่ๆสำหรับแก้ปัญหานี้
จึงเป็นเรื่องที่เราต้องเลือกครับว่าอยากได้ทักษะแบบไหนภายในเวลาที่มีอยู่จำกัด

ปล. เอาคำพูดของเนลสัน แมนเดลามาฝากครับ (ความหมายประมาณนี้) ผมได้ฟังก่อนออกไปแสดง Modern Dance ท่ามกลางสายตาครึ่งหมื่น เมื่อวันหยุดที่ผ่านมา ช่วยให้มีกำลังใจขึ้นเยอะครับ

"ผู้กล้าหาญ ไม่ใช่ผู้ที่ไม่เกรงกลัวต่อสิ่งใด แต่คือผู้ที่เอาชนะความกลัวในใจตนเองได้"
__________________
The difference between school and life?
In school, you're taught a lesson and then given a test.
In life, you're given a test that teaches you a lesson.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 04:29


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha