Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > ข้อสอบโอลิมปิก
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #16  
Old 27 เมษายน 2010, 00:00
กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย's Avatar
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 กุมภาพันธ์ 2009
ข้อความ: 647
กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย is on a distinguished road
Default

ขอบคุณมากๆครับ

อยากให้มาช่วยกันเฉลยครับ

27 เมษายน 2010 07:05 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ nongtum
เหตุผล: double post
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #17  
Old 27 เมษายน 2010, 10:09
Ne[S]zA's Avatar
Ne[S]zA Ne[S]zA ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 กรกฎาคม 2008
ข้อความ: 1,221
Ne[S]zA is on a distinguished road
Default

ข้อ A10
แทน $s=\dfrac{a+b+c}{2}$ ลงไปใน $L.H.S.$ และจัดรูปจะได้ว่า
$$L.H.S.=3\sum_{cyc} \Big(\dfrac{a^2}{b+c} \Big)-(a+b+c)$$
โดย cauchy schwarz inequality จะได้ว่า
$$L.H.S.=3\sum_{cyc} \Big(\dfrac{a^2}{b+c} \Big)-(a+b+c)\geqslant 3(\dfrac{a+b+c}{2})-(a+b+c)=\dfrac{a+b+c}{2}=s$$
__________________
||!<<<<iNesZaii>>>>!||
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #18  
Old 27 เมษายน 2010, 12:03
กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย's Avatar
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 กุมภาพันธ์ 2009
ข้อความ: 647
กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย is on a distinguished road
Default

ข้อ G3 ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #19  
Old 17 พฤษภาคม 2010, 18:07
Switchgear's Avatar
Switchgear Switchgear ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2006
ข้อความ: 472
Switchgear is on a distinguished road
Default

ผมเพิ่งมาเปิดอ่านกระทู้นี้ เพื่อไล่ดูเฉลย ... ปรากฏว่ามีเฉลยอยู่แค่ไม่กี่ข้อ
และเป็นเฉลยในส่วน Short-list ไม่ใช่ส่วนที่เป็นข้อสอบทั้ง 2 วัน ???

แต่ว่า Short-list ข้อ A10 ที่เฉลยไว้ตรงกับข้อสอบข้อที่ 8 ของวันแรก

สำหรับข้อ 5 ของวันแรกตรงกับ Shortlist ข้อ A8 ซึ่งคุณ beginner01
เฉลยไว้แล้วในกระทู้
http://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=7182

ยังเหลืออีก 8 ข้อของวันแรก คิดว่ายังไม่มีใครโพสต์เฉลยไว้ ???

สำหรับข้อสอบวันที่สอง พบว่ามีเฉลยกันไปแล้วในอีกกระทู้หนึ่ง คือ
http://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=7184

อยากเชิญชวนคนที่กำลังฝึกฝีมือ ช่วยกันเฉลยข้อสอบวันแรกอีก 8 ข้อที่เหลือ
รวมทั้ง Short-list ทั้งหมดเลย ... จะได้เป็นวิทยาทานสำหรับปีต่อไปด้วย!
__________________
หนึ่งปีของอัจฉริยะ อาจเทียบเท่าชั่วชีวิตของคนบางคน

18 พฤษภาคม 2010 05:19 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 3 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Switchgear
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #20  
Old 18 พฤษภาคม 2010, 05:37
Switchgear's Avatar
Switchgear Switchgear ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2006
ข้อความ: 472
Switchgear is on a distinguished road
Default

ข้อ 1 ของวันแรก

ตรวจสอบก่อนว่า $\;2009 + 2087 = 4096 = 64^2\;$ เป็นกำลังสองสมบูรณ์ตามเงื่อนไขของโจทย์
สมมติว่า $m$ เป็นสมาชิกของ $S$ ด้วย จะได้ว่า $2087 + m = x^2$ และ $2009 + m = y^2$ นั่นคือ $78 = x^2 - y^2$
จากทฤษฎีบทที่ว่า “สมการ $n = x^2 - y^2$ จะมีคำตอบ $x, y \in Z$ ก็ต่อเมื่อ $n$ เป็นจำนวนเต็มคี่ หรือ $4 | n$”
(ดูบทพิสูจน์ในหน้า 186 จากหนังสือ ทฤษฎีจำนวน ของ สอวน.)
จึงสรุปได้ว่า $78 = x^2 - y^2$ ไม่มีผลเฉลย หมายความว่า ไม่มี $m$ ที่เป็นสมาชิกของ $S$ ตามข้อสมมติ
เพราะฉะนั้น จำนวนสมาชิกที่มากที่สุดที่เป็นไปได้ของ $S$ จึงเท่ากับ $2$
__________________
หนึ่งปีของอัจฉริยะ อาจเทียบเท่าชั่วชีวิตของคนบางคน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #21  
Old 18 พฤษภาคม 2010, 21:11
Switchgear's Avatar
Switchgear Switchgear ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2006
ข้อความ: 472
Switchgear is on a distinguished road
Default

ข้อ 2 ของวันแรก

เซตย่อยที่ผลต่างของสมาชิกค่ามากสุดและสมาชิกค่าน้อยสุดเท่ากับ $k$ คือ $\{i, ?, i+k\}$
โดยที่ $1 \leqslant i \leqslant n-k$ นั่นคือ เมื่อกำหนด $n$ และ $k$ แล้ว จะเลือกสมาชิกค่าน้อยสุดได้ $n-k$ วิธี
เนื่องจากตัวเลขที่อยู่ระหว่างสมาชิกค่ามากสุดและสมาชิกค่าน้อยสุดมีได้ไม่เกิน $k-1$ จำนวน
โดยที่ตัวเลขเหล่านี้จะมีหรือไม่มีก็ได้ ทำให้เกิดเซตย่อยสำหรับแต่ละค่า $i$ เท่ากับ $2^{k-1}$ เซต
ดังนั้นจำนวนเซตย่อยที่ผลต่างของสมาชิกค่ามากสุดและสมาชิกค่าน้อยสุดเท่ากับ $k$ คือ $(n-k) \times 2^{k-1}$ เซต
__________________
หนึ่งปีของอัจฉริยะ อาจเทียบเท่าชั่วชีวิตของคนบางคน

18 พฤษภาคม 2010 21:11 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Switchgear
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #22  
Old 18 พฤษภาคม 2010, 21:14
Switchgear's Avatar
Switchgear Switchgear ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2006
ข้อความ: 472
Switchgear is on a distinguished road
Default

ข้อ 3 ของวันแรก

เริ่มจากจำนวนชมรมที่จัดได้โดยไม่มีธีรเดชเป็นสมาชิกเลย นั่นคือสนใจนักเรียนเพียง $18$ คนก่อน
จำนวนชมรมที่ไม่มีธีรเดชอยู่เลย $= C(18, 1) + C(18, 2) + ? + C(18, 18) = 2^{18} -1$ ชมรม
จำนวนชมรมข้างต้นที่มีสมาชิกเป็นเลขคู่ $= C(18, 2) + C(18, 4) + ? + C(18, 18) = 2^{17} - 1$ ชมรม
ชมรมที่มีสมาชิกเป็นเลขคู่เหล่านี้ เมื่อรับธีรเดชเข้าไปจะทำให้จำนวนสมาชิกเป็นจำนวนคี่ตามโจทย์
ดังนั้น นักเรียนห้องนี้จะตั้งชมรมได้อย่างมาก $= (2^{18} - 1) + (2^{17} - 1) = 3 \times 2^{17} - 2$ ชมรม
__________________
หนึ่งปีของอัจฉริยะ อาจเทียบเท่าชั่วชีวิตของคนบางคน

18 พฤษภาคม 2010 21:14 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Switchgear
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #23  
Old 19 พฤษภาคม 2010, 14:39
กิตติ's Avatar
กิตติ กิตติ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 2,723
กิตติ is on a distinguished road
Default

ข้อN5(shortlist)...จงหาจำนวนเฉพาะ $p$ และ$q$ ทั้งหมดที่ทำให้ $p^2+2009pq$เป็นกำลังสองสมบูรณ์
คิดได้ค่า$p=41$ และ$q=47$
โดยให้$p^2+2009pq = m^2$
จะได้$m^2-p^2=2009pq$
$(m-p)(m+p)=2009pq$
ผมคิดแยกเป็นกรณีต่างๆจนได้คำตอบเป็นจำนวนเฉพาะเพียงคู่เดียว
__________________
"ถ้าเราล้มบ่อยๆ ในที่สุดเราจะรู้ว่าถ้าจะล้ม ล้มท่าไหนจะเจ็บน้อยที่สุด และรู้อีกว่าต่อไปทำยังไงจะไม่ให้ล้มอีก
ดังนั้นจงอย่ากลัวที่จะล้ม
"...อาจารย์อำนวย ขนันไทย
ครั้งแรกในชีวิตที่สอบคณิตสมาคมคณิตศาสตร์เมื่อปี2533...ผมได้แค่24คะแนน(จากร้อยคะแนน)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #24  
Old 19 พฤษภาคม 2010, 22:39
Switchgear's Avatar
Switchgear Switchgear ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2006
ข้อความ: 472
Switchgear is on a distinguished road
Default

ข้อ 4 ของวันแรก

โดยไม่เสียนัยทั่วไป กำหนดให้ $ABC$ เป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่มีด้าน $BC$ เป็นฐานกว้าง $6$ หน่วย
มุม $A$ เป็นยอดสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่มีด้าน $AB = AC$ ให้ $A$ อยู่สูงจากฐาน $BC$ เท่ากับ $3$ หน่วย

จากโจทย์ $AF = FE = EC$ ทำให้จุด $F$ และ $E$ อยู่สูงจากฐาน $BC$ เท่ากับ $2$ และ $1$ หน่วยตามลำดับ
ลากเส้นตั้งฉากจากจุด $F$ และ $E$ มายังฐาน $BC$ ที่จุด $F?$ และ $E?$ ตามลำดับ
จะได้ความยาวด้าน $BF?$ และ $BE?$ เท่ากับ $4$ และ $5$ หน่วยตามลำดับ

อาศัยสามเหลี่ยมคล้ายระหว่าง $BFF?$ และ $BGD$ จะได้ $DG/BD = F?F/BF?$ นั่นคือ $DG = 1.5$ หน่วย
อาศัยสามเหลี่ยมคล้ายระหว่าง $BEE?$ และ $BHD$ จะได้ $DH/BD = E?E/BE?$ นั่นคือ $DH = 0.6$ หน่วย
$[ABC] = (1/2) \times BC \times AD = (1/2) \times 6 \times 3 = 9$ ตารางหน่วย
$[BGH] = [BGD] - [BHD] = (1/2) \times BD \times (DG - DH) = (1/2) \times 3 \times (1.5 - 0.6) = 1.35$ ตารางหน่วย

เพราะฉะนั้น $[BGH]/[ABC] = 1.35/9 = 0.15$ (หรือเท่ากับ $3/20$)

หมายเหตุ: ตอนนี้เหลือข้อ 6, 7, 9 และ 10 ของวันแรก ที่ยังไม่มีใครโพสต์เฉลยละเอียดไว้
__________________
หนึ่งปีของอัจฉริยะ อาจเทียบเท่าชั่วชีวิตของคนบางคน

19 พฤษภาคม 2010 22:44 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Switchgear
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #25  
Old 20 พฤษภาคม 2010, 00:13
Switchgear's Avatar
Switchgear Switchgear ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2006
ข้อความ: 472
Switchgear is on a distinguished road
Default

ข้อ 9 ของวันแรก

ผมคำนวณได้ $\quad\displaystyle{\frac{AB}{BC} \;=\; \sqrt{\;\frac{5-2\sqrt{3}-2\sqrt{2}\sin 15^{\circ} }{5-2\sqrt{3}+2\sin 15^{\circ} }}} \qquad$ เมื่อ $\;\displaystyle{\sin 15^{\circ} \;=\;\frac{\sqrt{2-\sqrt{3}}}{2}}$

ซึ่งดูแล้วยุ่งน่าดู ... ไม่รู้ว่าคนอื่นคำนวณได้ตัวเลขเดียวกับผมหรือไม่ ?
__________________
หนึ่งปีของอัจฉริยะ อาจเทียบเท่าชั่วชีวิตของคนบางคน

20 พฤษภาคม 2010 00:27 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 3 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Switchgear
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #26  
Old 20 พฤษภาคม 2010, 04:56
passer-by passer-by ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 เมษายน 2005
ข้อความ: 1,442
passer-by is on a distinguished road
Default

N3

Lemma: ถ้า $ h+k = p-1 $ แล้ว $ h!k! \equiv (-1)^{h+1} \pmod{p} $

จาก Wilson's theorem , $ -1 \equiv (p-1)! = h!(h+1)(h+2)...(p-2)(p-1) = h!(p-k)(p-k+1)...(p-2)(p-1) \equiv (-1)^k h!k! \pmod{p} $

และเพราะ $$\sum_{k=0}^p \,\,(p-k)!(k!) \equiv \sum_{k=1}^{p-1} \,\,(p-k)!(k!) = \sum_{k=1}^{p-1} \,\, (p-k)!(k-1)!(k) \pmod{p} $$

จากนั้น apply lemma จะพบว่าเศษเท่ากับ (p-1)/2 ครับ
__________________
เกษียณตัวเอง ปลายมิถุนายน 2557 แต่จะกลับมาเป็นครั้งคราว
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #27  
Old 23 พฤษภาคม 2010, 18:06
กิตติ's Avatar
กิตติ กิตติ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 2,723
กิตติ is on a distinguished road
Default

shortlist..ข้อA12
ให้$a,b,c $เป็นจำนวนจริงบวก โดยที่$abc=1$ จงแสดงว่า

$\frac{a^2}{\sqrt{(1+a^3)(1+b^3)}}+\frac{b^2}{\sqrt{(1+b^3)(1+c^3)}} +\frac{c^2}{\sqrt{(1+c^3)(1+a^3)}} \geqslant \frac{4}{3} $

จาก$a^3+1=(a+1)(a^2-a+1)$

$\frac{(a+1)+(a^2-a+1)}{2} \geqslant \sqrt{(a+1)(a^2-a+1)} $

$\frac{a^2+2}{2} \geqslant \sqrt{1+a^3} $

$\frac{1}{\sqrt{1+a^3}} \geqslant \frac{2}{a^2+2} $

$\frac{a^2}{\sqrt{(1+a^3)(1+b^3)}}+\frac{b^2}{\sqrt{(1+b^3)(1+c^3)}} +\frac{c^2}{\sqrt{(1+c^3)(1+a^3)}} \geqslant \frac{4a^2}{(a^2+2)(b^2+2)} +\frac{4b^2}{(b^2+2)(c^2+2)}+\frac{4c^2}{(c^2+2)(a^2+2)}$

$=\frac{4a^2(c^2+2)+4b^2(a^2+2)+4C^2(b^2+2)}{(a^2+2)(b^2+2)(c^2+2)} $

$(a^2+2)(b^2+2)(c^2+2)=4(a^2+b^2+c^2)+2(a^2c^2+a^2b^2+b^2c^2)+(abc)^2+8$

ให้$4(a^2+b^2+c^2)+2(a^2c^2+a^2b^2+b^2c^2) = S$

จะได้ว่า$(a^2+2)(b^2+2)(c^2+2)= S+9$

จาก$4a^2(c^2+2)+4b^2(a^2+2)+4C^2(b^2+2) = 8(a^2+b^2+c^2)+4(a^2c^2+a^2b^2+b^2c^2)=2S$

จาก$a^2+b^2+c^2\geqslant 3\sqrt[3]{(abc)^2} \geqslant 3$

และ$a^2c^2+a^2b^2+b^2c^2 \geqslant 3\sqrt[3]{(abc)^4} \geqslant 3$

ดังนั้น$S\geqslant 18$

$\frac{a^2}{\sqrt{(1+a^3)(1+b^3)}}+\frac{b^2}{\sqrt{(1+b^3)(1+c^3)}} +\frac{c^2}{\sqrt{(1+c^3)(1+a^3)}} \geqslant \frac{2}{1+\frac{9}{S} } $

$1+\frac{9}{S} \leqslant \frac{3}{2} $

$\frac{2}{1+\frac{9}{S} } \geqslant \frac{4}{3} $

ดังนั้น
$\frac{a^2}{\sqrt{(1+a^3)(1+b^3)}}+\frac{b^2}{\sqrt{(1+b^3)(1+c^3)}} +\frac{c^2}{\sqrt{(1+c^3)(1+a^3)}} \geqslant \frac{4}{3} $
__________________
"ถ้าเราล้มบ่อยๆ ในที่สุดเราจะรู้ว่าถ้าจะล้ม ล้มท่าไหนจะเจ็บน้อยที่สุด และรู้อีกว่าต่อไปทำยังไงจะไม่ให้ล้มอีก
ดังนั้นจงอย่ากลัวที่จะล้ม
"...อาจารย์อำนวย ขนันไทย
ครั้งแรกในชีวิตที่สอบคณิตสมาคมคณิตศาสตร์เมื่อปี2533...ผมได้แค่24คะแนน(จากร้อยคะแนน)

16 พฤศจิกายน 2010 10:18 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ กิตติ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #28  
Old 24 พฤษภาคม 2010, 16:43
กิตติ's Avatar
กิตติ กิตติ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 2,723
กิตติ is on a distinguished road
Default

shortlistสองหน้าแรกหายไปแล้วครับ...ถ้าใครทันเซฟเก็บไว้ ขอไฟล์หน่อยครับ อยากเก็บไว้ดูครับ
ขอบคุณครับ
__________________
"ถ้าเราล้มบ่อยๆ ในที่สุดเราจะรู้ว่าถ้าจะล้ม ล้มท่าไหนจะเจ็บน้อยที่สุด และรู้อีกว่าต่อไปทำยังไงจะไม่ให้ล้มอีก
ดังนั้นจงอย่ากลัวที่จะล้ม
"...อาจารย์อำนวย ขนันไทย
ครั้งแรกในชีวิตที่สอบคณิตสมาคมคณิตศาสตร์เมื่อปี2533...ผมได้แค่24คะแนน(จากร้อยคะแนน)

24 พฤษภาคม 2010 17:07 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ กิตติ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #29  
Old 21 ธันวาคม 2010, 20:03
not11's Avatar
not11 not11 ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 พฤศจิกายน 2008
ข้อความ: 16
not11 is on a distinguished road
Default

@คุณกิตติ อัพให้แล้วนะครับ ^ ^
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #30  
Old 21 ธันวาคม 2010, 22:55
กิตติ's Avatar
กิตติ กิตติ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 2,723
กิตติ is on a distinguished road
Default

ขอบคุณมากครับที่ช่วยอัพให้ใหม่ครับ
เดี๋ยวจะรีบเซฟเก็บไว้ครับ
__________________
"ถ้าเราล้มบ่อยๆ ในที่สุดเราจะรู้ว่าถ้าจะล้ม ล้มท่าไหนจะเจ็บน้อยที่สุด และรู้อีกว่าต่อไปทำยังไงจะไม่ให้ล้มอีก
ดังนั้นจงอย่ากลัวที่จะล้ม
"...อาจารย์อำนวย ขนันไทย
ครั้งแรกในชีวิตที่สอบคณิตสมาคมคณิตศาสตร์เมื่อปี2533...ผมได้แค่24คะแนน(จากร้อยคะแนน)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
ข้อสอบ สิรินธร 2552 (ม.ปลาย) สอบวันที่ (20/12/52) *FULL-SCAN* not11 ข้อสอบในโรงเรียน ม.ปลาย 31 26 ตุลาคม 2014 19:23
มาเล่นกัน!! version ป.ปลาย คusักคณิm ปัญหาคณิตศาสตร์ ประถมปลาย 90 21 พฤษภาคม 2010 18:13
มาเล่นกัน!! version ม.ต้น Scylla_Shadow ปัญหาคณิตศาสตร์ ม. ต้น 378 28 เมษายน 2010 12:15
Harder version of PrTST April, 2009 We are the world คอมบินาทอริก 1 21 พฤษภาคม 2009 12:09
Shortlist TMO 2009 มาแล้ว littledragon ข้อสอบโอลิมปิก 4 01 พฤษภาคม 2009 16:27


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 21:27


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha