Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > ทฤษฎีจำนวน
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #31  
Old 27 ธันวาคม 2006, 21:45
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Post

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ shinn:
อีกคำถามครับ
นิยามของจำนวน sierpinski number คือ จำนวนเต็มคี่ k ที่ทำให้ k.$2^n$ เป็นจำนวนประกอบ สำหรับทุก n Z ใช่ไหม ครับ
เห็นนิยามแล้วอึ้งครับ

$k\cdot2^n$ มันต้องเป็นจำนวนประกอบอยู่แล้วล่ะครับถ้า $n\ge2$

แล้วถ้า $n\in\mathbb Z$ เวลา $n$ เป็นลบเยอะๆ $k\cdot2^n$ ก็ไม่ใช่จำนวนเต็ม แล้วมันจะเป็นจำนวนประกอบได้ยังไงล่ะครับ

27 ธันวาคม 2006 21:50 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ warut
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #32  
Old 27 ธันวาคม 2006, 22:10
shinn's Avatar
shinn shinn ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 ธันวาคม 2006
ข้อความ: 56
shinn is on a distinguished road
Post

พิมพ์ผิด ครับ 5555+++

นิยามของจำนวน sierpinski number คือ จำนวนเต็มบวกคี่ k ที่ทำให้ k.$2^n$ +1 เป็นจำนวนประกอบ สำหรับทุก n $Z^+$ ใช่ไหม ครับ

แล้วตกลงข้อ 3เป็นไงบ้างครับ
ผิดหมดเลยเหรอครับพี่

27 ธันวาคม 2006 22:17 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ shinn
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #33  
Old 28 ธันวาคม 2006, 08:16
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Post

นิยามโอเคแล้วครับ

สำหรับข้อ 3. เอาเป็นว่าคุณ shin ตอบคำถามอันนี้ก่อนดีกว่านะครับ

ถ้า $p\mid F_5$ และ $32\mid n$, i.e., $n=32t$ ถามว่า $h\cdot2^n+1\equiv\;?\pmod p$
อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ warut:
First, try to prove that for each integer $r,\, 1\le r\le31$, the number $2^r+1$ is divisible by some $F_k,\, 0\le k\le4$. Do not use exhaustive calculation; there is a better way.
แล้วอันนี้ทำได้แล้วเหรอครับ ถ้ามั่นใจแล้วว่าทำได้ถูกต้องก็ไม่จำเป็นต้องแปะให้ผมดูหรอกครับ แค่ผมรู้สึกสังหรณ์ใจแปลกๆเท่านั้นเอง
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #34  
Old 28 ธันวาคม 2006, 15:13
shinn's Avatar
shinn shinn ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 ธันวาคม 2006
ข้อความ: 56
shinn is on a distinguished road
Post

First, try to prove that for each integer r;1r31 , the number $2^r$+1 is divisible by some $F_k$;0k4 . Do not use exhaustive calculation; there is a better way.

พิสูจน์ ให้ r = s.$2^k$ บาง s ที่เป็นจำนวนเต็มบวกคี่ ,0k4
$2^r$+1 $2^{s.2^k}$+1 $(-1)^s$ +1 0 (mod $F_k$)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #35  
Old 28 ธันวาคม 2006, 15:43
shinn's Avatar
shinn shinn ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 ธันวาคม 2006
ข้อความ: 56
shinn is on a distinguished road
Post

ถ้า p l $F_5$ และ 32 l n , i.e., n=32t ถามว่า h.$2^n$+1 ? (modp)

ตอบครับผม

h.$2^n$+1 h.$(-1)^t$+1 (mod $F_5$)
h.$(-1)^t$+1 (mod p )

ผมยังมองไม่ออกเลยครับว่า จะหา a ตัวไหน ที่ จะทำให้ข้อ 3 เป็นจริง ผมเดาว่านี่ คือ สิ่งที่พี่จะแนะให้ผมหา a ตัวนั้นเจอ !!! ...
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #36  
Old 28 ธันวาคม 2006, 15:55
shinn's Avatar
shinn shinn ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 ธันวาคม 2006
ข้อความ: 56
shinn is on a distinguished road
Icon17

ตอนนี้ผมส่งเรื่องไปแล้วครับ สเปเชียล เรื่อง จำนวน sierpinski number ที่เป็นจำนวนเฉพาะ มีอยู่อนันต์

มีสิทธิ์ เปลี่ยนได้ไม่เกินวัน 5 ครับพี่ ผมจะรอดไหมครับ เพราะต้องส่งฉบับ วันที่ 10 มค.ครับ และนำเสนอวันที่ 25 มค. ครับ ตรงกับสอบที่จุฬาฯ ก็อาจจะต้องเสนอก่อนวันที่ 25 อีก ...ผมจะบ้าแล้ว ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #37  
Old 28 ธันวาคม 2006, 16:10
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Post

โอเคครับ แต่ถ้าอยากพิสูจน์แบบไม่ใช้ congruence ก็ทำได้ดังนี้ครับ

เนื่องจาก $s$ เป็นจำนวนคี่ และ $2^r+1=2^{s\cdot2^k}+1=(2^{2^k})^s+1$ จึงหารด้วย $2^{2^k}+1=F_k$ ลงตัว (ตรงนี้เราใช้ความจริงที่ว่า "ถ้า $s$ เป็นจำนวนคี่ แล้ว $x^s+1$ หารด้วย $x+1$ ลงตัวเสมอ" )

จากการทำข้อ 2. เรามาถึงจุดที่ว่าถ้าเราเลือก $h$ ให้มีสมบัติว่า $h\equiv1\pmod{F_0F_1F_2F_3F_4}$ แล้ว $h\cdot2^n+1$ จะเป็นจำนวนประกอบเสมอถ้า $32\!\not|\,n$ ใช่ไหมครับ ดังนั้นสิ่งที่เราต้องพยายามก็คือ ทำให้ $h\cdot2^n+1$ เป็นจำนวนประกอบเมื่อ $32\mid n$ ด้วย ทีนี้เรารู้แล้วใช่มั้ยครับว่า ถ้า $n=32t$ และ $p\mid F_5$ แล้ว $h\cdot2^n+1\equiv h(-1)^t+1\pmod p$ นั่นคือเราต้องพยายามทำให้ $h(-1)^t+1\equiv0\pmod p$ ใช่เปล่าครับ ดังนั้นเราควรเลือก $h$ อย่างไรดี (ยังไม่ต้องไปสนกับของเดิมที่ว่า $h\equiv1\pmod{F_0F_1F_2F_3F_4}$ อันนั้นเดี๋ยวเราค่อยเอามาผนวกทีหลังครับ เอาแค่กรณี $32\mid n$ อย่างเดียวก่อน) อย่าลืมว่าเรามี $p$ ให้เลือกใช้อยู่ 2 ตัว ตัวนึงคือ 641 ส่วนอีกตัวคือ $F_5/641$ ลองคิดดูนะครับ ไม่ยากหรอก

ป.ล. ใจเย็นครับ ผมอยู่ทั้งคนต้องรอดแน่ (ถ้าคุณ shin เอาจริงด้วยนะ)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #38  
Old 28 ธันวาคม 2006, 17:38
shinn's Avatar
shinn shinn ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 ธันวาคม 2006
ข้อความ: 56
shinn is on a distinguished road
Post

ข้อ 3 ตกลงเราต้องเลือก a หรือ h ครับ ประโยคที่ว่า $ a Z ," h >1,...

เราต้องเลือก a ที่ใช้ได้กับ ทุก h ใช่ไหม ครับ
หรือ ถ้าเลือก h เราติดเป็นตัวแปรได้ไหม ครับ เช่น $(-1)^t$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #39  
Old 28 ธันวาคม 2006, 18:30
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Post

มันเป็นเรื่องของภาษานะครับ ผมเลือกให้ $x=2$ ถามว่าผมเลือก $x$ หรือผมเลือก 2 อะไรทำนองนั้นแหละครับ เข้าใจบ่

แหม...ผมอุตส่าห์พิมพ์ซะยาว เพื่อให้คุณ shin คิดตามเป็น step แต่ก็เหมือนกันทุกครั้ง คุณ shin กระโดดล้ำหน้าผมไปทุกที ผมยังไม่ได้พูดถึง $a$ ตัวนั้นเลยครับ ก็เลยไม่รู้จะตอบยังไง

ผมไม่ชอบการตีความเป็นสัญลักษณ์แบบนั้นเลยครับ งง คำพูดธรรมดาเข้าใจง่ายกว่าตั้งเยอะ ผมจะพูดอันข้อ 3. เป็นภาษาไทย (ปนอังกฤษ) ให้ฟังละกันนะครับ

"มีจำนวนเต็ม $a$ ที่เมื่อ $h\equiv a\pmod{F_0F_1F_2F_3F_4F_5}$ และ $h>1$ แล้ว $h\cdot2^n+1$ เป็นจำนวนประกอบสำหรับทุกจำนวนนับ $n$"

เงื่อนไข $h>1$ เป็นเรื่องรายละเอียดที่เพิ่มขึ้นมาเพื่อตัดโอกาสที่ $h\cdot2^n+1$ จะเป็น Fermat prime ในการพิสูจน์ช่วง 2 น่ะครับ มันไม่ใช่แก่นของการพิสูจน์

เลือก $h$ ต้องไม่ติดตัวแปรครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #40  
Old 29 ธันวาคม 2006, 07:47
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

แนะเพิ่มหน่อยนึงครับ

ถ้าเราเลือกให้ $h\equiv1\pmod{641}$ จะเห็นว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนที่อยู่ในรูป $h\cdot2^{32t}+1$ จะต้องเป็นจำนวนประกอบแน่ๆ (ทำไมมันถึงเป็นจำนวนประกอบ?) ถามว่าเราควรเลือกให้ $h\equiv\;?\pmod{F_5/641}$ ดีถึงจะบีบให้จำนวนที่อยู่ในรูป $h\cdot2^{32t}+1$ ที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งเป็นจำนวนประกอบแน่ๆเช่นกัน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #41  
Old 03 มกราคม 2007, 11:13
shinn's Avatar
shinn shinn ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 ธันวาคม 2006
ข้อความ: 56
shinn is on a distinguished road
Post

ไปภูกระดึงมาครับ เพิ่งกลับมา 7 องศา ครับ หนาวดีๆ เป็นไงบ้างพี่กรุงเทพ วันเคาร์ดาว พี่เคยไปภูกระดึงไหมครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #42  
Old 03 มกราคม 2007, 12:31
Redhotchillipepper Redhotchillipepper ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 01 พฤศจิกายน 2006
ข้อความ: 55
Redhotchillipepper is on a distinguished road
Icon22

7 องศา?? ใช้ไม้โปร หรือ ครึ่งวงกลมวัดครับ แต่ส่วนตัวผมชอบใช้ครึ่งวงกลมมากกว่า
__________________
ไม่เอาน่าอย่าซีเรียส คิดมากเยี่ยวเหลือง!!!!
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #43  
Old 06 มกราคม 2007, 11:45
shinn's Avatar
shinn shinn ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 ธันวาคม 2006
ข้อความ: 56
shinn is on a distinguished road
Post

คำถามที่ 1 การพิสูจน์ข้อ 3 เราแยกตามกรณีของ n เหรอครับ
กรณีที่ 1 เมื่อ 32 หาร n ไม่ลงตัว
กรณีที่ 2 เมื่อ 32 หาร n ลงตัว

คำถามที่ 2
ถ้าเราเลือกให้ h1(mod641) จะเห็นว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนที่อยู่ในรูป h.$2^{32t}$+1 จะต้องเป็นจำนวนประกอบแน่ๆ (ทำไมมันถึงเป็นจำนวนประกอบ?) คิดไม่ออกเลย ครับว่าทำไม ต้องเป็นจำนวนประกอบ

คำถามที่ 3
ผมเคยถามไว้ว่า
ถ้าผมพิสูจน์ข้อ 3ได้ แล้วต้องทำอะไรต่อไป ครับ ถึงจะสรุปว่า
"มีจำนวนเฉพาะ sierpinski number อยู่อนันต์"

พี่ตอบว่า
"ใช้ Dirichlet's Theorem on Primes in Arithmetic Progressions "ก็ได้แล้วครับ

ใช้ยังไง ครับ

ปล. เมื่อวานนี้ผมสอบ Ring thm ,เบลอไปหมดแล้วครับ..
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #44  
Old 06 มกราคม 2007, 15:10
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ shinn:
คำถามที่ 1 การพิสูจน์ข้อ 3 เราแยกตามกรณีของ n เหรอครับ
กรณีที่ 1 เมื่อ 32 หาร n ไม่ลงตัว
กรณีที่ 2 เมื่อ 32 หาร n ลงตัว
มันเริ่มแบบนั้นครับ
อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ shinn:
คำถามที่ 2
ถ้าเราเลือกให้ h1(mod641) จะเห็นว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนที่อยู่ในรูป h.$2^{32t}$+1 จะต้องเป็นจำนวนประกอบแน่ๆ (ทำไมมันถึงเป็นจำนวนประกอบ?) คิดไม่ออกเลย ครับว่าทำไม ต้องเป็นจำนวนประกอบ
ถ้า $h\equiv1\pmod{641}$ แล้ว $h\cdot2^{32t}+1 \equiv\;?\pmod{641}$ แล้วเมื่อไหร่มันจะ $\equiv0\pmod{641}$
อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ shinn:
คำถามที่ 3
ผมเคยถามไว้ว่า
ถ้าผมพิสูจน์ข้อ 3ได้ แล้วต้องทำอะไรต่อไป ครับ ถึงจะสรุปว่า
"มีจำนวนเฉพาะ sierpinski number อยู่อนันต์"

พี่ตอบว่า
"ใช้ Dirichlet's Theorem on Primes in Arithmetic Progressions "ก็ได้แล้วครับ

ใช้ยังไง ครับ
ข้อนี้ถึงเวลาแล้วค่อยตอบดีกว่านะครับ เดี๋ยวสับสน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #45  
Old 06 มกราคม 2007, 18:11
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ shinn:
ไปภูกระดึงมาครับ เพิ่งกลับมา 7 องศา ครับ หนาวดีๆ เป็นไงบ้างพี่กรุงเทพ วันเคาร์ดาว พี่เคยไปภูกระดึงไหมครับ
อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ shinn:
ปล. เมื่อวานนี้ผมสอบ Ring thm ,เบลอไปหมดแล้วครับ..
ไปภูกระดึงมาได้เห็นต้นไม้กินแมลงรึเปล่าครับ (จำไม่ได้ว่าเขาเรียกว่าต้นอะไร) ตัวผมยังไม่เคยไปภูกระดึงเลยครับ กลัวหนาว ผมไม่ชอบอากาศหนาวจัด มันรู้สึกเหมือนกำลังจะตาย

คุณ shin ใจถึงดีครับ paper ก็ยังไม่เสร็จ แถมมีสอบอีก แต่ก็ไปเที่ยวปีใหม่ ผมทำอย่างนี้ไม่ได้น่ะครับ เพราะถ้าไปเที่ยวแบบนี้แล้วผมไม่สนุกเลย มีแต่ความกังวล...
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
ปัญหาชิงรางวัลข้อที่ 23: Number Theory once more warut คณิตศาสตร์อุดมศึกษา 17 28 ธันวาคม 2011 20:38
ช่วยคิดหน่อยครับ เกี่ยวกับ Number Theory kanji ทฤษฎีจำนวน 0 08 กันยายน 2006 18:22
ปัญหาชิงรางวัลข้อที่ 5: From Number Theory Marathon warut คณิตศาสตร์อุดมศึกษา 9 17 มกราคม 2006 18:47
ปัญหา Number Theory kanji ทฤษฎีจำนวน 4 16 พฤศจิกายน 2005 20:30
ขอลองตั้งคำถามบ้างครับ (Number theory) Nay ทฤษฎีจำนวน 3 15 พฤษภาคม 2005 13:40


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 23:49


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha