Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > ทฤษฎีจำนวน
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 20 กุมภาพันธ์ 2012, 20:51
Metamorphosis's Avatar
Metamorphosis Metamorphosis ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณคุ้มครองร่าง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 26 กรกฎาคม 2011
ข้อความ: 312
Metamorphosis is on a distinguished road
Default ฟังก์ชันเลขคณิต

1. ให้ $m,n\in \mathbb{N} $ โดยที่ $(m,n) > 1$ จงพิสูจน์ว่า $\tau (mn) < \tau(m)\tau(n)$
2. สำหรับจำนวนเต็มบวก $n$ จงแสดงว่า $\tau(n) \leqslant 2\sqrt{n} $
__________________
Fighting for Eng.CU
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 20 กุมภาพันธ์ 2012, 21:36
polsk133's Avatar
polsk133 polsk133 ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 สิงหาคม 2011
ข้อความ: 1,873
polsk133 is on a distinguished road
Default

ข้อ1.ใช้ทฤษฎีบทหลักมูลของเลขคณิตเขียน m,n ออกมาโดยที่มี ห.ร.ม. อยู้ในรูปของ m,n ด้วย แล้วก็ตรงๆเลยครับ

ข้อ2.กำลังนั่ง งง ครับ555+
__________________
เพจรวมโจทย์คอมบินาทอริกที่น่าสนใจ
https://www.facebook.com/combilegends
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 20 กุมภาพันธ์ 2012, 22:16
PP_nine's Avatar
PP_nine PP_nine ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 เมษายน 2010
ข้อความ: 607
PP_nine is on a distinguished road
Default

ข้อสอง ชัดเจนอยู่แล้วว่าสำหรับ $n=1$ เป็นจริง

และถ้า $n>1$ ที่ไม่เป็น perfect square ก็จะได้ $\tau (n)$ เป็นเลขคู่ ให้ $t=\dfrac{\tau (n)}{2}$

ได้ว่าตัวหารบวกของ $n$ คือ $d_1,d_2,...d_t,\dfrac{n}{d_t},...,\dfrac{n}{d_1}$

แต่ถ้าเป็น perfect square ก็จะได้ $\tau (n)$ เป็นเลขคี่ ให้ $t=\dfrac{\tau (n)-1}{2}$

ได้ว่าตัวหารบวกของ $n$ คือ $d_1,d_2,...d_t,\sqrt{n},\dfrac{n}{d_t},...,\dfrac{n}{d_1}$

ที่เหลือก็ง่ายแล้วครับ แค่พิสูจน์ว่า $t \le \sqrt{n}$
__________________
keep your way.

20 กุมภาพันธ์ 2012 22:19 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ PP_nine
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 21 กุมภาพันธ์ 2012, 15:52
จูกัดเหลียง's Avatar
จูกัดเหลียง จูกัดเหลียง ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 กุมภาพันธ์ 2011
ข้อความ: 1,234
จูกัดเหลียง is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Metamorphosis View Post
1. ให้ $m,n\in \mathbb{N} $ โดยที่ $(m,n) > 1$ จงพิสูจน์ว่า $\tau (mn) < \tau(m)\tau(n)$
คือ ผมไม่รู้ว่าจะทำไงดีนะครับ (ตามที่คุณ polsk133 กล่าวไว้) ลองทำดู
ให้ $m=p_1^{k_1}p_2^{k_2}...p_n^{k_n},n=q_1^{t_1}q_2^{t_2}...q_n^{t_n}$ โดยที่ $p_i,q_i$ เป็นจำนวนเฉพาะเเละ $k_i,t_i\in\mathbb {Z}$ สำหรับ $i\in N$ จากที่ $(m,n)\ge 2$ เพราะฉะนั้นต้องมีจำนวนเฉพาะที่ $m,n$ มีทั้งคู่ สมมุติะให้ $$\mathbb A=\left\{\,p_i|m/p_i \wedge n/p_i\in\mathbb{N} , i=1,2,3,...,n \right\} $$
จึงเหลือเพียงพิสูจน์ว่า $$\tau(m)\tau=\prod_{i = 1}^{n} (k_i+1)\prod_{i = 1}^{n} (t_i+1)>\prod_{i \in\mathbb A}(k_i+t_i+1)\prod_{i \not\in\mathbb A} (k_i+1)(t_i+1)=\tau(mn)$$ ซึ่งหากทำการลดทอนก็จะทำให้รู้ว่าอสมการเป็นจริง
__________________
Vouloir c'est pouvoir
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 21 กุมภาพันธ์ 2012, 21:47
Metamorphosis's Avatar
Metamorphosis Metamorphosis ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณคุ้มครองร่าง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 26 กรกฎาคม 2011
ข้อความ: 312
Metamorphosis is on a distinguished road
Default

ถ้า $n=p_1^{a_1}p_2^{a_2}\cdot \cdot \cdot p_r^{a_r}$ เป็นการเ้ขียนแทน $n$ ในรูปแบบบัญญัติ แล้วจงแสดงว่า

1) $\sigma (n)\phi (n) \geqslant n^2\prod_{i = 1}^{r}(1-\dfrac{1}{p_i^2}) $
2) $\tau(n)\phi(n) \geqslant n$
__________________
Fighting for Eng.CU
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 22 กุมภาพันธ์ 2012, 15:06
Thgx0312555's Avatar
Thgx0312555 Thgx0312555 ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 สิงหาคม 2011
ข้อความ: 885
Thgx0312555 is on a distinguished road
Default

เนื่องจาก ฟังก์ชันเป็นฟังก์ชันแยกคูณ จึงเพียงพอที่จะพิสูจน์แค่ $n = p^k$

จากนั้น ก็แทนค่าตอบ
__________________
----/---~Alice~ จงรับรู้ไว้ ชื่อแห่งสีสันหนึ่งเดียวที่แสดงผล
---/---- ~Blue~ นี่คือ สีแห่งความหลังอันกว้างใหญ่ของเว็บบอร์ดนี้
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 22 กุมภาพันธ์ 2012, 17:09
PP_nine's Avatar
PP_nine PP_nine ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 เมษายน 2010
ข้อความ: 607
PP_nine is on a distinguished road
Default

งั้นมาเฉลยวิธีเต็มเลยละกัน

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ PP_nine View Post
ข้อสอง ชัดเจนอยู่แล้วว่าสำหรับ $n=1$ เป็นจริง

และถ้า $n>1$ ที่ไม่เป็น perfect square ก็จะได้ $\tau (n)$ เป็นเลขคู่ ให้ $t=\dfrac{\tau (n)}{2}$

ได้ว่าตัวหารบวกของ $n$ คือ $d_1,d_2,...d_t,\dfrac{n}{d_t},...,\dfrac{n}{d_1}$

แต่ถ้าเป็น perfect square ก็จะได้ $\tau (n)$ เป็นเลขคี่ ให้ $t=\dfrac{\tau (n)-1}{2}$

ได้ว่าตัวหารบวกของ $n$ คือ $d_1,d_2,...d_t,\sqrt{n},\dfrac{n}{d_t},...,\dfrac{n}{d_1}$

ที่เหลือก็ง่ายแล้วครับ แค่พิสูจน์ว่า $t \le \sqrt{n}$

กรณี n ไม่เป็น perfect square

WLOG : ให้ $d_1,d_2,...d_t,\dfrac{n}{d_t},...,\dfrac{n}{d_1}$ เป็นลำดับเพิ่มโดยแท้

partition เป็น $A=\{d_1,d_2,...,d_t\}$ และ $B=\{\dfrac{n}{d_t},...,\dfrac{n}{d_1}\}$

เป็นการแบ่งโดยที่สำหรับทุก $a \in A$, $a < \sqrt{n}$

เพราะถ้ามีบาง $a$ ที่ทำให้ $a > \sqrt{n}$ ก็แสดงว่า $\dfrac{n}{a} < \sqrt{n} < a$ ขัดกับที่เราสมมติไว้

แต่เซต $A$ มีสมาชิกได้มากที่สุดน้อยกว่า $\sqrt{n}$ กล่าวคือ $A=\{1,2,...,\left\lfloor\,\sqrt{n}\right\rfloor \}$ เป็นอย่างมาก

ดังนั้น $t<\sqrt{n}$ หรือก็คือ $\tau (n) < 2\sqrt{n}$


กรณี n เป็น perfect square

ในทำนองเดียวกันจะได้ $\tau (n) \le 2 \sqrt{n}$
__________________
keep your way.

22 กุมภาพันธ์ 2012 17:12 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ PP_nine
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 22 กุมภาพันธ์ 2012, 21:39
polsk133's Avatar
polsk133 polsk133 ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 สิงหาคม 2011
ข้อความ: 1,873
polsk133 is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Metamorphosis View Post
1. ให้ $m,n\in \mathbb{N} $ โดยที่ $(m,n) > 1$ จงพิสูจน์ว่า $\tau (mn) < \tau(m)\tau(n)$
2. สำหรับจำนวนเต็มบวก $n$ จงแสดงว่า $\tau(n) \leqslant 2\sqrt{n} $
ให้ $(m,n)=d$ โดยที่ $d\not= 1$ และ $d= a_1^{b_1}a_2^{b_2}...a_k^{b_k}$

$m=p_1^{k_1}p_2^{k_2}...p_n^{k_n} \times d$

$n=q_1^{h_1}q_2^{h_2}...q_m^{h_m} \times d$

โดยที่ $p_i , q_j$ , a_l เป็นจำนวนเฉพาะที่แตกต่างกัน และ $k_i,h_j,b_l \in \mathbb{Z} $

ทุก $i=1,2,...,n$ $j=1,2,...,m$ $l =1,2,...,k$

จะได้ว่า

จาก
$k^2 \geqslant 0$

ได้ $(k+1)^2 \geqslant 2k+1$ ซึ่งจะเป็นสมการเมื่อ $k=0$

ดังนั้น

$(b_1+1)^2(b_2+1)^2...(b_k+1)^2 \geqslant (2b_1+1)(2b_2+1)...(2b_k+1)$

แต่ $b_c$ ไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน เพราะ d > 1 โดยที่ $c=1,2,...,k$ ดังนั้น


$(b_1+1)^2(b_2+1)^2...(b_k+1)^2 > (2b_1+1)(2b_2+1)...(2b_k+1)$

ทำให้

$(k_1+1)(k_2+1)...(k_n+1)(h_1+1)(h_2+1)...(h_m+1)(2b_1+1)(2b_2+1)...(2b_k+1) $
$< (k_1+1)(k_2+1)...(k_n+1)(h_1+1)(h_2+1)...(h_m+1)(b_1+1)^2(b_2+1)^2...(b_k+1)^2$

ดังนั้น $\tau (mn) < \tau(m)\tau(n)$
__________________
เพจรวมโจทย์คอมบินาทอริกที่น่าสนใจ
https://www.facebook.com/combilegends

22 กุมภาพันธ์ 2012 21:41 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ polsk133
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 22 กุมภาพันธ์ 2012, 22:35
Thgx0312555's Avatar
Thgx0312555 Thgx0312555 ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 สิงหาคม 2011
ข้อความ: 885
Thgx0312555 is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ polsk133 View Post
ให้ $(m,n)=d$ โดยที่ $d\not= 1$ และ $d= a_1^{b_1}a_2^{b_2}...a_k^{b_k}$

$m=p_1^{k_1}p_2^{k_2}...p_n^{k_n} \times d$

$n=q_1^{h_1}q_2^{h_2}...q_m^{h_m} \times d$

โดยที่ $p_i , q_j$ , a_l เป็นจำนวนเฉพาะที่แตกต่างกัน และ $k_i,h_j,b_l \in \mathbb{Z} $

ทุก $i=1,2,...,n$ $j=1,2,...,m$ $l =1,2,...,k$

จะได้ว่า

จาก
$k^2 \geqslant 0$

ได้ $(k+1)^2 \geqslant 2k+1$ ซึ่งจะเป็นสมการเมื่อ $k=0$

ดังนั้น

$(b_1+1)^2(b_2+1)^2...(b_k+1)^2 \geqslant (2b_1+1)(2b_2+1)...(2b_k+1)$

แต่ $b_c$ ไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน เพราะ d > 1 โดยที่ $c=1,2,...,k$ ดังนั้น


$(b_1+1)^2(b_2+1)^2...(b_k+1)^2 > (2b_1+1)(2b_2+1)...(2b_k+1)$

ทำให้

$(k_1+1)(k_2+1)...(k_n+1)(h_1+1)(h_2+1)...(h_m+1)(2b_1+1)(2b_2+1)...(2b_k+1) $
$< (k_1+1)(k_2+1)...(k_n+1)(h_1+1)(h_2+1)...(h_m+1)(b_1+1)^2(b_2+1)^2...(b_k+1)^2$

ดังนั้น $\tau (mn) < \tau(m)\tau(n)$
เกือบถูกแล้วครับ เพียงแต่ $a_l$ ไม่จำเป้นต้องต่างจาก $p_i$
ห.ร.ม. ของ 4,6 = 2
แต่ถ้าทำตามนี้ จะได้ $m = 2^1, n = 3^1, d = 2^1$
จึงเกิดปัญหาขึ้น

วิธีของผมครับ

ให้ลำดับของจำนวนเฉพาะคือ $p_1, p_2, p_3, ...$
ให้ $p_i$ เป็นจำนวนเฉพาะที่หารทั้ง m และ n ลงตัว

$m = p_1^{a_1}p_2^{a_2}p_3^{a_3}... ; a_i \ge 0, i \in \mathbb{N}$
$n = p_1^{b_1}p_2^{b_2}p_3^{b_3}... ; b_i \ge 0, i \in \mathbb{N}$

$\tau(mn) = (a_1+b_1+1)(a_2+b_2+1)(a_3+b_3+1)... = \prod_{i = 1}^{\infty} (a_i+b_i+1)$
$\tau(m) = (a_1+1)(a_2+1)(a_3+1)... = \prod_{i = 1}^{\infty} (a_i+1)$
$\tau(n) = (b_1+1)(b_2+1)(b_3+1)... = \prod_{i = 1}^{\infty} (b_i+1)$

สำหรับทุก $i, (a_i+1)(b_i+1) \ge a_ib_i+a_i+b_i+1 \ge a_i+b_i+1$

แต่เนื่องจาก ห.ร.ม ไม่เท่ากับ 1 จะมีบางค่า j ที่ $a_j > 0 \wedge b_j>0$
$(a_j+1)(b_j+1) \ge a_jb_j+a_j+b_j+1 > a_j+b_j+1$

ให้ k เป็นพจน์ของ i $a_k > 0 \vee b_k>0$

คูณ j ทุกค่าที่เป็นไปได้
$\prod (a_j+1)(b_j+1) > \prod (a_j+b_j+1)$

คูณค่าของ i ที่ไม่ได้อยู่ใน j (ให้เป็น k)
$\prod (a_k+1)(b_k+1) \ge \prod (a_k+b_k+1)$

$\prod (a_j+1)(b_j+1)\prod (a_k+1)(b_k+1) > \prod (a_j+b_j+1)\prod (a_k+b_k+1)$

$\prod_{i = 1}^{\infty} (a_i+1)(b_i+1) > \prod_{i = 1}^{\infty} (a_i+b_i+1)$
$\tau(mn) < \tau(m)\tau(n)$
__________________
----/---~Alice~ จงรับรู้ไว้ ชื่อแห่งสีสันหนึ่งเดียวที่แสดงผล
---/---- ~Blue~ นี่คือ สีแห่งความหลังอันกว้างใหญ่ของเว็บบอร์ดนี้

22 กุมภาพันธ์ 2012 22:39 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Thgx0312555
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 11 กันยายน 2012, 14:08
kongp kongp ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 05 พฤษภาคม 2006
ข้อความ: 1,127
kongp is on a distinguished road
Default

ถ้า m,n เป็นฟังก์ชั่นเพิ่มละก็ที่พิสูจน์ข้างบนถูกต้อง แต่ถ้า m,n อยู่ในเซตของจำนวนเต็ม ต้องเพิ่มกรณี m หรือ n เป็นศูนย์ กับ กรณี m และ n มีค่าเป็นลบ


สนใจอยากรู้ว่าหากจะพิสูจน์สเต็ปเดียว ต้องทำอย่างไรครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 12 กันยายน 2012, 14:41
Keehlzver's Avatar
Keehlzver Keehlzver ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 26 มกราคม 2009
ข้อความ: 533
Keehlzver is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ kongp View Post
ถ้า m,n เป็นฟังก์ชั่นเพิ่มละก็ที่พิสูจน์ข้างบนถูกต้อง แต่ถ้า m,n อยู่ในเซตของจำนวนเต็ม ต้องเพิ่มกรณี m หรือ n เป็นศูนย์ กับ กรณี m และ n มีค่าเป็นลบ


สนใจอยากรู้ว่าหากจะพิสูจน์สเต็ปเดียว ต้องทำอย่างไรครับ
ฟังก์ชันเลขคณิตในโจทย์นิยามเหนือเซ็ตของจำนวนเต็มบวกเท่านั้นครับ $m,n$ เต็มลบ เต็มศูนย์ไม่พิจารณา

อีกอย่างมันเป็นไปแทบจะไม่ได้ที่จะทำให้บทพิสูจน์จบในสเต็ปเดียว เก็ทบ่
__________________
"ชั่วโมงหน้าต้องดีกว่าเดิม!"
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 01:03


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha