Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > Calculus and Analysis
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #46  
Old 19 เมษายน 2006, 01:32
Punk Punk ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 108
Punk is on a distinguished road
Post

สมการ $2^{-x}=x$ มีเพียงคำตอบเดียว(โดยการวาดกราฟ) และจาก mean value theorem ทำให้ได้ว่า
\[
|2^{-x}-2^{-y}|\leq|x-y|,\qquad x,y\geq0
\]
ปล. ลองดูบทความใน my maths เล่มล่าสุด เรื่องจำนวนจุดตัดของกราฟ expo-log
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #47  
Old 19 เมษายน 2006, 14:29
Mastermander's Avatar
Mastermander Mastermander ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 ตุลาคม 2005
ข้อความ: 796
Mastermander is on a distinguished road
Post

13. $\displaystyle \int_0^{\frac{\pi}{2}} \sin^n x \; dx $
__________________
โลกนี้มีคนอยู่ 10 ประเภท คือ คนที่เข้าใจเลขฐานสอง และคนที่ไม่เข้าใจ

21 เมษายน 2006 00:52 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Punk
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #48  
Old 19 เมษายน 2006, 18:18
alongkorn alongkorn ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 สิงหาคม 2004
ข้อความ: 82
alongkorn is on a distinguished road
Wink

ขอแก้ตัวหลังจากปล่อยไก่ข้อลิมิต

ใช้ by part โดยให้ $u = \sin^n x$ และ $dv = dx$ ดังนั้น $du = n\sin^{n-1}x \cos x\,dx$ และ $v = x$ จะได้ว่า
$$\int\sin^nx\,dx = x \sin^n x - \int nx\sin^{n-1}x\cos x\,dx$$
ดังนั้น
$$\int_0^{\frac{\pi}{2}}\sin^nx\,dx = \frac{\pi}{2} - \int_0^{\frac{\pi}{2}} nx\sin^{n-1}x\cos x\,dx$$
เนื่องจาก
$$\int_0^{\frac{\pi}{2}}\sin^nx\,dx = \int_0^{\frac{\pi}{2}}\sin^n(\pi/2 - x)\,dx = \int_0^{\frac{\pi}{2}}\cos^nx\,dx$$
ใช้ by part โดยให้ $u = \cos^n x$ และ $dv = dx$ ดังนั้น $du = -n\cos^{n-1}x \sin x\,dx$ และ $v = x$ จะได้ว่า
$$\int\cos^nx\,dx = x \cos^n x + \int nx\cos^{n-1}x\sin x\,dx$$
เนื่องจาก
$$\int_0^{\frac{\pi}{2}}\cos^nx\,dx = 0 + \int_0^{\frac{\pi}{2}} nx\cos^{n-1}x\sin x\,dx = \int_0^{\frac{\pi}{2}} n(\pi/2 - x)\sin^{n-1}x\cos x\,dx$$
ดังนั้น
$$\frac{\pi}{2} - \int_0^{\frac{\pi}{2}} nx\sin^{n-1}x\cos x\,dx = \int_0^{\frac{\pi}{2}} n(\pi/2 - x)\sin^{n-1}x\cos x\,dx$$
$$\frac{\pi}{2} = \int_0^{\frac{\pi}{2}} n(\pi/2)\sin^{n-1}x\cos x\,dx$$
$$\int_0^{\frac{\pi}{2}} n\sin^{n-1}x\cos x\,dx = 1$$
จึงสรุปได้ว่า
$$\int_0^{\frac{\pi}{2}}\sin^nx\,dx = \frac{\pi}{2} - 1$$
__________________
รักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #49  
Old 19 เมษายน 2006, 18:42
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Post

ไม่เข้าใจการพิสูจน์ช่วงสรุปครับ และคำตอบก็คงไม่ถูกด้วย (จากการแทน $n=1$)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #50  
Old 19 เมษายน 2006, 19:13
alongkorn alongkorn ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 สิงหาคม 2004
ข้อความ: 82
alongkorn is on a distinguished road
Post

ที่คุณ warut ไม่เข้าใจนั้นก็ถูกต้องแล้วครับ เพราะผมทำผิด (อีกแล้วครับท่าน) เอางี้ดีกว่า ใช้สูตรลดทอนดีกว่า จาก
$$\int\sin^nx\,dx = -\frac{1}{n}\cos x\sin^{n-1}x + \frac{n-1}{n}\int\sin^{n-2}x\,dx$$
จะได้ว่า
$$\int_0^{\frac{\pi}{2}}\sin^nx\,dx = \frac{n-1}{n}\int_0^{\frac{\pi}{2}}\sin^{n-2}x\,dx$$
ถ้าใช้สูตรลดทอนต่อไปอีก จะได้
$$\int_0^{\frac{\pi}{2}}\sin^nx\,dx = \frac{(n-1)(n-3)}{n(n-2)}\int_0^{\frac{\pi}{2}}\sin^{n-4}x\,dx$$
ดังนั้นพอจะมองออกว่า ถ้าใช้สูตรลดทอนไปเรื่อย ๆ สุดท้ายจะได้ว่า ถ้า $n$ เป็นจำนวนคี่ แล้ว
$$\int_0^{\frac{\pi}{2}}\sin^nx\,dx = \frac{(n-1)(n-3)\ldots 2}{n(n-2) \ldots 3}\int_0^{\frac{\pi}{2}}\sin x\,dx = \frac{(n-1)(n-3)\ldots 2}{n(n-2) \ldots 3}$$
และถ้า $n$ เป็นจำนวนคู่ แล้ว
$$\int_0^{\frac{\pi}{2}}\sin^nx\,dx = \frac{(n-1)(n-3)\ldots 1}{n(n-2) \ldots 2}\int_0^{\frac{\pi}{2}}\,dx = \frac{(n-1)(n-3)\ldots 1}{n(n-2) \ldots 2}\cdot\frac{\pi}{2}$$

เอ่อ ขอละ complete proof นะครับ พิมพ์จนมึนแล้ว ถูกแล้วยังเอ่ย?
__________________
รักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง

19 เมษายน 2006 19:36 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ alongkorn
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #51  
Old 20 เมษายน 2006, 21:23
alongkorn alongkorn ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 สิงหาคม 2004
ข้อความ: 82
alongkorn is on a distinguished road
Post

สมมติว่าผมทำโจทย์ของคุณ Mastermander ถูกแล้วกันนะครับ ผมขอตั้งโจทย์ข้อใหม่นะครับ

14. จงหาค่าของ $$\int_0^1\frac{\ln(x + 1)}{x^2 + 1}\,dx$$
__________________
รักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง

21 เมษายน 2006 00:57 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Punk
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #52  
Old 20 เมษายน 2006, 21:44
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ Punk:

12. จงหาจำนวนผลเฉลย $x\in\mathbb{R}$ ของสมการ
$$
2^{-2^{-x}}+2^{-x}=2x
$$

(Hint: Mean value theorem)

ขอทำข้อของพี่ Punk ก่อนละกันครับ

ให้ $f(x)=2^{-x}$ จะได้ว่า $f'(x) = -(\ln{2})f(x)$
เนื่องจาก $f$ เป็นฟังก์ชันลดและ $f(x)\leq 1 $ ทุกค่า $x>0$ เราจะได้ว่า
$f(f(x))\geq f(1) = \frac{1}{2}$ ทุกค่า $x>0$

ให้ $g(x) = f(f(x)) + f(x) - 2x$ จะได้ว่า
ถ้า $x\leq 0$ เราจะได้ $g(x)>0$ เสมอ ดังนั้น $g$ ไม่มีรากในช่วง $(-\infty,0]$
สำหรับ $x>0$ เราได้ว่า
$g'(x) = f'(f(x))\cdot f'(x) + f'(x) - 2$
$ = f'(x)[f'(f(x))+1] - 2$
$=f'(x)[1 - (\ln{2})f(f(x))] - 2$
$\displaystyle{ \leq f'(x)(1-\frac{\ln{2}}{2}) - 2 < 0 }$ ทุกค่า $x>0$

ดังนั้น $g$ เป็น strictly decreasing function ในช่วง $(0,\infty)$ จึงมีรากได้ไม่เกินหนึ่งรากในช่วงนี้
เนื่องจาก $g(1)>0$ และ $g(2)<0$ เราจึงได้ว่า $g$ มีรากในช่วง $(1,2)$ โดย Intermediate Value Theorem
เพราะฉะนั้นสมการ $2^{-2^{-x}}+2^{-x}=2x$ มีคำตอบเพียงคำตอบเดียวและคำตอบนั้นอยู่ในช่วง (1,2) ครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #53  
Old 20 เมษายน 2006, 22:28
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Post

$g(1)=(\sqrt2-3)/2<0$ ครับ ข้อนี้ผมทำคล้ายๆกับคุณ nooonuii เลยจำได้ว่าผมใช้ $g(0)=3/2>0$ ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #54  
Old 21 เมษายน 2006, 00:48
Punk Punk ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 108
Punk is on a distinguished road
Post

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ nooonuii:

...
$g'(x) = f'(f(x))\cdot f'(x) + f'(x) - 2$
$ = f'(x)[f'(f(x))+1] - 2$
$=f'(x)[1 - (\ln{2})f(f(x))] - 2$
$\displaystyle{ \leq f'(x)(1-\frac{\ln{2}}{2}) - 2 < 0 }$ ทุกค่า $x>0$
...
ตรงอสมการแรกในบรรทัดสุดท้ายไม่แน่ใจว่าถูกมั้ย เพราะ $f'(x)<0$

ปล. อยากให้เฉลยเมื่อไหร่ก็บอกได้นะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #55  
Old 21 เมษายน 2006, 02:12
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Post

อืม ใช่ครับมีปัญหาตรงนั้นจริงๆด้วย แต่ที่ผมทำไม่เหมือนกับคุณ nooonuii เป๊ะ จึงหวังว่าคงไม่มีปัญหาแบบเดียวกัน ผมทำโดยพิจารณาฟังก์ชัน $$y= 2^{-u}+u+ 2\log_2u, \quad u=2^{-x}$$ แทนครับ แต่ไม่รู้ว่าจะคุ้มมั้ยที่จะคิดใหม่ (ทิ้งกระดาษทดไปแล้ว) และพิมพ์ เพราะเดี๋ยวก็คงได้เห็นเฉลยสวยๆแล้ว
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #56  
Old 21 เมษายน 2006, 10:02
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Post

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ Punk:
ฝากสักข้อละกัน(หวังว่าจะไม่ทำให้กระทู้เดี้ยงไปนะ)

12. จงหาจำนวนผลเฉลย $x\in\mathbb{R}$ ของสมการ
$$
2^{-2^{-x}}+2^{-x}=2x
$$

(Hint: Mean value theorem)
ก็เกือบๆเดี้ยงไปเหมือนกันล่ะครับ

วิธีทำของผมซึ่งไม่ได้ใช้ Mean Value Theorem เป็นดังนี้ครับ

โดยการให้ $u=2^{-x}>0$ เราสามารถเปลี่ยนปัญหาไปเป็นการหาจำนวนรากของ $$f(u)= u+2^{-u}+ 2\frac{\ln u}{\ln2}$$ แทนได้

เนื่องจาก $$f'(u)=1-2^{-u}\ln2+\frac{2}{u\ln2} >0$$ เพราะเมื่อ $u>0$ แล้ว $$2^{-u}\ln2<\ln2<1 \quad และ \quad \frac{2}{u\ln2}>0$$ ดังนั้น $f(u)$ จึงเป็น strictly increasing function และเนื่องจาก $f(1/2)= (\sqrt2-3)/2<0$ และ $f(1)=3/2>0$ ดังนั้น $f(u)$ จึงมีรากจริงเพียงรากเดียว และรากนั้นอยู่ในช่วง $(1/2,1)$ ซึ่งนั่นทำให้เรารู้ว่า สมการโจทย์มีคำตอบที่เป็นจำนวนจริงเพียงคำตอบเดียวเช่นกัน (เพราะ $2^{-x}$ เป็นฟังก์ชัน 1-1) และคำตอบนั้นอยู่ในช่วง $(0,1)$ ครับ

21 เมษายน 2006 12:31 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ warut
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #57  
Old 21 เมษายน 2006, 10:07
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post

ง่ะ ผิดอื้อเลยครับ สะเพร่าอีกแล้ว ยังไงก็คงต้องรอดูเฉลยแล้วล่ะครับ หมดไฟซะแล้ว
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #58  
Old 22 เมษายน 2006, 04:10
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ alongkorn:
14. จงหาค่าของ $$\int_0^1\frac{\ln(x + 1)}{x^2 + 1}\,dx$$
ให้ $x=\tan\theta$ อินทิกรัลโจทย์จะกลายเป็น $$ \int_0^{\pi/4} \ln(1+\tan\theta) \,d\theta$$ $$= \int_0^{\pi/4} \ln(\sin\theta +\cos\theta) -\ln\cos\theta \,d\theta$$ $$= \int_0^{\pi/4} \ln \left( \sqrt2 \sin \left( \theta + \frac{\pi}{4} \right) \right) -\ln\cos\theta \,d\theta$$ $$= \int_0^{\pi/4} \frac12 \ln2+ \ln\sin \left( \theta +\frac{\pi}{4} \right) -\ln\cos\theta \,d\theta$$ โดยการแทนค่า $u=\pi/4 -\theta$ เราจะพบว่า $$ \int_0^{\pi/4} \ln\sin \left( \theta +\frac{\pi}{4} \right) \,d\theta =\int_0^{\pi/4} \ln\cos u\,du$$ ดังนั้นคำตอบของเราจึงเป็น $$ \int_0^{\pi/4} \frac12 \ln2 \,d\theta = \frac{\pi}{8} \ln2$$ ครับผม
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #59  
Old 22 เมษายน 2006, 04:39
passer-by passer-by ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 เมษายน 2005
ข้อความ: 1,442
passer-by is on a distinguished road
Smile

คำถามของคุณ Alongkorn เป็นคำถามยอดฮิตข้อนึง เกี่ยวกับอินทิเกรตเลยนะครับเนี่ย เพราะ ข้อนี้เคยถูกใช้เป็นข้อสอบ ของ A.M.I.E. (1978) หรือข้อสอบของสถาบันวิศวกรรม ของอินเดีย และล่าสุด ยังเป็นข้อสอบ Putnam 2005 อีกด้วย ซึ่งมีเฉลยไว้ 4 แบบครับ

จริงๆ ข้อนี้หลังจากเปลี่ยนให้ติด tanq แล้ว อาจทำอย่างนี้เลยก็ได้ครับ

$ \displaystyle{ \int_0^{\pi/4} \ln(1+\tan\theta) \,d\theta} $
$ \displaystyle{= \int_0^{\pi/4} \ln(1+\tan(\frac{\pi}{4}-\theta)) \,d\theta } $
$ \displaystyle{= \int_0^{\pi/4} \ln(\frac{2}{1+\tan\theta}) \,d\theta} $
$ \displaystyle{= \int_0^{\pi/4} \ln(2)\,d\theta -\int_0^{\pi/4} \ln(1+\tan\theta) \,d\theta} $

จากนั้น ก็ย้ายข้างสมการ จะได้
$ \displaystyle{ \int_0^{\pi/4} \ln(1+\tan\theta) \,d\theta = \frac{1}{2}\int_0^{\pi/4} \ln(2)\,d\theta} $

หลังจากนี้ ก็ไม่มีอะไรซับซ้อนแล้วครับ
__________________
เกษียณตัวเอง ปลายมิถุนายน 2557 แต่จะกลับมาเป็นครั้งคราว
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #60  
Old 22 เมษายน 2006, 06:50
Punk Punk ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 108
Punk is on a distinguished road
Post

เฉลยละกันข้อ 12. ข้อนี้สามารถใช้กับกรณีทั่วไป สมการ
\[
f^{(n)}(x)+f^{(n-1)}(x)+\cdots+f(x)=nx
\]
เมื่อ $f(x)=2^{-x}$ และ $f^{(n)}(x)=f(f(\cdots f(x)\cdots))$ (มี $f$ ทั้งหมด $n$ ตัว) อย่างไรก็ตามขอทำกรณีเฉลาะละกันครับ

ให้ $x_0$ เป็นคำตอบหนึ่งเดียวของสมการ $f(x)=x$ เห็นได้ชัดว่า $x_0$ เป็นคำตอบของสมการที่ต้องการ กล่าวคือ $f(f(x_0))+f(x_0)=2x_0$
ถ้า $y$ เป็นคำตอบด้วย ($f(f(y))+f(y)=2y$) ดังนั้น
\[
\begin{eqnarray}
2|x_0-y|&\leq|f(f(x_0))-f(f(y))|+|f(x_0)-f(y)|\\
&\leq|f(x_0)-f(y)|+|x_0-y|\leq2|x_0-y|
\end{eqnarray}
\]
โดยผลของ Mean value theorem เพราะฉะนั้น $f(x_0)=f(y)$ ดังนั้น $y=x_0$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
Geometry marathon Char Aznable เรขาคณิต 78 26 กุมภาพันธ์ 2018 21:56
Algebra Marathon nooonuii พีชคณิต 199 20 กุมภาพันธ์ 2015 10:08
Calculus Marathon (2) nongtum Calculus and Analysis 134 03 ตุลาคม 2013 16:32
Marathon Mastermander ฟรีสไตล์ 6 02 มีนาคม 2011 23:19
Inequality Marathon nongtum อสมการ 155 17 กุมภาพันธ์ 2011 00:48


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 03:37


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha