Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์ทั่วไป > ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 29 เมษายน 2002, 17:31
Pich Pich ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 กรกฎาคม 2001
ข้อความ: 151
Pich is on a distinguished road
Post โจทย์ท้าประลอง1

ถ้านำกรวยตัดยอดอันหนึ่งไปชุบหมึกแล้วนำมาวางบนกระดาษโดยให้สันด้านข้างอยู่บนกระดาษแล้วกลิ้งกรวยตัดยอดนั้นไปเรื่อยจนพบว่าบนกระดาษมี รอยหมึกเป็นรูปวงแหวนขอบในห่างจุดศูนย์กลาง 5 cm และพบว่ามีพื้นที่ที่มีหมึกอยู่ 24 p ตารางเซนติเมตร ถามว่ากรวยตัดยอดนั้น มีส่วนสูงเท่าไร มีรัศมีที่ฐานทั้งด้านบนและด้านล่างเท่าไร
----------
รู้สึกว่าช่วงนี้ webboard จะดูเงียบๆนะเลยมาตั้งโจทย์ให้
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 29 เมษายน 2002, 18:35
TOP's Avatar
TOP TOP ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 มีนาคม 2001
ข้อความ: 1,003
TOP is on a distinguished road
Lightbulb

ไม่ได้มาเฉลย แต่จะมาเสริมความรู้นิดหน่อยเกี่ยวกับพื้นที่วงแหวน ตรงที่เราไม่จำเป็นต้องรู้รัศมีของวงกลมทั้งสอง ให้วัดค่า x ออกมาได้ก็เพียงพอแล้ว
__________________
The difference between school and life?
In school, you're taught a lesson and then given a test.
In life, you're given a test that teaches you a lesson.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 30 เมษายน 2002, 07:41
Pich Pich ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 กรกฎาคม 2001
ข้อความ: 151
Pich is on a distinguished road
Post

ขอบคุณครับพี่ Top ที่มาเสริมความรู้ให้ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 30 เมษายน 2002, 11:15
TOP's Avatar
TOP TOP ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 มีนาคม 2001
ข้อความ: 1,003
TOP is on a distinguished road
Post

การเขียน code ให้แสดงเศษส่วนได้ ต้องอาศัยความรู้เรื่องคำสั่ง สร้างตารางในการเขียนเว็บมาช่วย (บวกกับเทคนิคศิลป์นิดหน่อย) จึงจะแสดงผลได้ตามต้องการ (โดยเฉพาะบางรูปแบบที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น)

เนื่องจากคำสั่งเหล่านี้ต้องอาศัยตารางเป็นตัวช่วยดังนั้น ทุกครั้งที่เราใช้คำสั่งเหล่านี้ จะทำให้เกิดการขึ้นบรรทัดใหม่เสมอ ดังนั้นหากเราต้องการใส่ข้อความ และอื่นๆให้รวมอยู่ในบรรทัดเดียวกันด้วย จึงต้องรวมเข้าไปในคำสั่งการสร้างตารางเสมอ ทำให้ code ส่วนใหญ่ที่ได้มีความซับซ้อน และทำความเข้าใจได้ยากกว่าปกติ

เพื่อแก้ปัญหานี้บางส่วน ทางเราจึงได้พัฒนา Math Equation Editor ขึ้นมา สำหรับผู้ที่ใข้ IE 6 (คาดว่า IE 5.5 ควรจะใช้ได้เช่นกัน แต่ทางเรายังไม่ได้ทำการทดสอบ) แต่ต้องติดตั้งการ support ภาษาจีนและญี่ปุ่น ลงไปด้วย มันจึงจะแสดงสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้ ตามที่เราตั้งใจไว้ (ถ้าแสดงไม่ได้ ตรงเมนูของมันจะเป็น ตัวสี่เหลี่ยม) ใน Math Equation Editor นี้ เราสามารถทำการ preview รวมทั้งแก้ไขแบบ WYSIWYG ได้ทันที (แต่ยังไม่สมบูรณ์นัก) นอกจากนี้หากเราขี้เกียจเขียน code ขึ้นมาเอง อยากจะใช้ตัวอย่าง code ที่คนอื่นเคยเขียนทิ้งไว้ในเว็บบอร์ด มาดัดแปลงแก้ไขต่อ ก็สามารถทำได้ โดยการ copy จากเว็บบอร์ด ในส่วนที่เราต้องการ แล้วนำมา paste ลงใน preview mode ของ Math Equation Editor ตัวนี้ มันจะสามารถทำการแปลงย้อนกลับมาเป็น code ให้เราได้เห็นกันชัดๆไปเลย ว่าเขาเขียนขึ้นมาได้อย่างไร (ยังไม่สมบูรณ์เช่นกัน แต่สำหรับคำสั่งเกี่ยวกับตาราง รวมทั้งการจัดรูปแบบทั้งหมด ใช้ได้สมบูรณ์แล้ว) อ้อลืมบอกไปอย่าง เราสามารถเรียกใช้ Math Equation Editor ผ่านทางเมนูที่เขียนว่า Editor ในการตั้ง/ตอบ หัวข้อ

ทีนี้ก็มาถึงตัวอย่างและเทคนิคในการเขียน code เพื่อให้ได้รูปแบบที่สวยงามยิ่งขึ้น หากใครมีความรู้เรื่องตารางสามารถ อ่านได้เลยครับ แต่หากยังไม่มี ทางเราแนะนำให้ไปหาอ่านเพิ่มเติมก่อน จะช่วยให้ทำความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น เราจะเริ่มต้นชุดคำสั่งอย่างง่ายเกี่ยวกับตารางดังนี้
[ table ][ /table ] เป็นคำสั่งที่ใช้บอกว่า เรากำลังใช้ตาราง
[ tr ][ /tr ] เป็นคำสั่งที่บอกว่า ต้องการหนึ่งแถว
[ td ][ /td ] เป็นคำสั่งที่บอกว่า ต้องการหนึ่งคอลัมน์
หมายเหตุ ตัวอย่างคำสั่งที่เราใช้ในที่นี้จะมีการ เว้นวรรคระหว่างเครื่องหมาย [ และ ] กับคำสั่งเอาไว้ด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ server ของที่นี่ตีความเป็นคำสั่งจัดรูปแบบ

ดังนั้นสำหรับตารางที่มีขนาดเล็กที่สุด จะประกอบด้วย 1 แถว และ 1 คอลัมน์ จึงมีคำสั่งเป็น [ table ][ tr ] [ td ][ /td ][ /tr ][ /table ]
สำหรับตารางที่ประกอบด้วย 1 แถว และ 2 คอลัมน์ จึงมีคำสั่งเป็น [ table ][ tr ] [ td ][ /td ] [ td ][ /td ][ /tr ][ /table ]
สำหรับตารางที่ประกอบด้วย 2 แถว และ 1 คอลัมน์ จึงมีคำสั่งเป็น [ table ][ tr ] [ td ][ /td ][ /tr ] [ tr ] [ td ][ /td ][ /tr ][ /table ]
สำหรับตารางที่ประกอบด้วย 2 แถว และ 2 คอลัมน์ จึงมีคำสั่งเป็น [ table ][ tr ] [ td ][ /td ] [ td ][ /td ][ /tr ] [ tr ] [ td ][ /td ] [ td ][ /td ][ /tr ][ /table ]
เราจะสังเกตได้ว่า คำสั่ง [ td ][ /td ] ต้องอยู่ข้างในคำสั่ง [ tr ][ /tr ] และคำสั่ง [ tr ][ /tr ] ต้องอยู่ในคำสั่ง [ table ][ /table ] เสมอ นอกจากนี้เราไม่ควรเขียนชุดคำสั่งติดกันยาวๆ แต่ควรมีการเว้นวรรคเป็นระยะ เนื่องจากเว็บบอร์ดของที่นี่ จะมีการตัดคำเพื่อขึ้นบรรทัดใหม่ให้ข้อความเสมอ หากเราไม่เว้นวรรคบ้าง และบังเอิญการตัดคำนั้นมา โดนในส่วนของชุดคำสั่งเหล่านี้ จะทำให้คำสั่งเปลี่ยนไป (ทำให้ถูกมองว่าไม่เป็นคำสั่ง) คำสั่งเหล่านั้นจึงไม่ได้รับการแปลงจาก server

ในการเขียนสมการทางคณิตศาสตร์(รวมทั้งคำอธิบาย) เพื่อให้เขียนสะดวกที่สุด เราจะใช้ตารางที่มี 1 แถวเท่านั้น ส่วนจำนวนคอลัมน์ขึ้นอยู่กับสมการทางคณิตศาสตร์ โดยเราจะจัดให้ส่วนของข้อความหรือสมการ ที่มีความเรียบง่าย (สามารถเขียนได้โดยไม่ต้องใช้ชุดคำสั่งเกี่ยวกับตาราง) อยู่ในคอลัมน์เดียวกัน และส่วนที่มีความซับซ้อนแยกออกมาเป็นอีกคอลัมน์ ยกตัวอย่างเช่น

ข้อความหนึ่ง เศษ/ส่วน ข้อความสอง ==> [ table ][ tr ] [ td ]ข้อความหนึ่ง[ /td ] [ td ]เศษ/ส่วน[ /td ] [ td ]ข้อความสอง[ /td ][ /tr ][ /table ]

ข้อความหนึ่ง เศษ1/ส่วน1 + เศษ2/ส่วน2 + เศษ3/ส่วน3 = เศษ4/ส่วน4 ข้อความสอง ==> [ table ][ tr ] [ td ]ข้อความหนึ่ง[ /td ] [ td ]เศษ1/ส่วน1[ /td ] [ td ]+[ /td ] [ td ]เศษ2/ส่วน2[ /td ] [ td ]+[ /td ] [ td ]เศษ3/ส่วน3[ /td ] [ td ]=[ /td ] [ td ]เศษ4/ส่วน4[ /td ] [ td ]ข้อความสอง[ /td ][ /tr ][ /table ]

ข้อความหนึ่ง sum จาก 1 ถึง infinity ข้อความสอง ==> [ table ][ tr ] [ td ]ข้อความหนึ่ง[ /td ] [ td ]sum จาก 1 ถึง infinity[ /td ] [ td ]ข้อความสอง[ /td ][ /tr ][ /table ]

ข้อความหนึ่ง lim เมื่อ x เข้าใกล้ 0 ข้อความสอง ==> [ table ][ tr ] [ td ]ข้อความหนึ่ง[ /td ] [ td ]lim เมื่อ x เข้าใกล้ 0[ /td ] [ td ]ข้อความสอง[ /td ][ /tr ][ /table ]

หลังจากจัดแบ่งคอลัมน์เหล่านี้เสร็จแล้ว จึงมาจัดการกับคอลัมน์ที่ต้องการความซับซ้อนของรูปแบบ ตรงส่วนนี้เรามีคำสั่งสำคัญมากๆ อยู่สองคำสั่งคือ
[ br ] ใช้สำหรับขึ้นบรรทัดใหม่
[ hr ] ใช้สำหรับขึ้นบรรทัดใหม่ ขีดเส้นในแนวราบ แล้วขึ้นบรรทัดใหม่
โปรดสังเกตอีกอย่างว่า เมื่อเราแบ่งเป็นคอลัมน์แล้ว แต่ละคอลัมน์จะมีความเป็นอิสระจากกัน ดังนั้นหากเราสั่งขึ้นบรรทัดใหม่หรือ ขีดเส้นในแนวราบในคอลัมน์ใด ก็จะเกิดผลขึ้นกับคอลัมน์นั้นเท่านั้น และนี่จึงเป็นข้อดีของการนำตารางมาใช้

ดังนั้นหากเราต้องการเขียน เศษ/ส่วน จึงเขียนเป็น เศษ[ hr ]ส่วน
หากต้องการเขียน sum จาก 1 ถึง infinity จึงเขียนเป็น [ :infinity ][ br ][ :sum ][ br ]n=1
หากต้องการเขียน lim เมื่อ x เข้าใกล้ 0 จึงเขียนเป็น lim[ br ]x[ :right ]0

เมื่อนำไปแทนลงในคอลัมน์นั้นๆจึงได้คำสั่งที่สมบูรณ์สำหรับ

ข้อความหนึ่ง เศษ/ส่วน ข้อความสอง ==> [ table ][ tr ] [ td ]ข้อความหนึ่ง[ /td ] [ td ]เศษ[ hr ]ส่วน[ /td ] [ td ]ข้อความสอง[ /td ][ /tr ][ /table ]
ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เป็น ข้อความหนึ่ง เศษ
ส่วน
ข้อความสอง


ข้อความหนึ่ง เศษ1/ส่วน1 + เศษ2/ส่วน2 + เศษ3/ส่วน3 = เศษ4/ส่วน4 ข้อความสอง ==> [ table ][ tr ] [ td ]ข้อความหนึ่ง[ /td ] [ td ]เศษ1[ hr ]ส่วน1[ /td ] [ td ]+[ /td ] [ td ]เศษ2[ hr ]ส่วน2[ /td ] [ td ]+[ /td ] [ td ]เศษ3[ hr ]ส่วน3[ /td ] [ td ]=[ /td ] [ td ]เศษ4[ hr ]ส่วน4[ /td ] [ td ]ข้อความสอง[ /td ][ /tr ][ /table ]
ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เป็น ข้อความหนึ่ง เศษ1
ส่วน1
+ เศษ2
ส่วน2
+ เศษ3
ส่วน3
= เศษ4
ส่วน4
ข้อความสอง


ข้อความหนึ่ง sum จาก 1 ถึง infinity ข้อความสอง ==> [ table ][ tr ] [ td ]ข้อความหนึ่ง[ /td ] [ td ][ :infinity ][ br ][ :sum ][ br ]n=1[ /td ] [ td ]ข้อความสอง[ /td ][ /tr ][ /table ]
ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เป็น ข้อความหนึ่ง
S
n=1
ข้อความสอง


ข้อความหนึ่ง lim เมื่อ x เข้าใกล้ 0 ข้อความสอง ==> [ table ][ tr ] [ td ]ข้อความหนึ่ง[ /td ] [ td ]lim[ br ]x[ :right ]0[ /td ] [ td ]ข้อความสอง[ /td ][ /tr ][ /table ]
ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เป็น ข้อความหนึ่ง lim
x0
ข้อความสอง


ในบางครั้งเทคนิคเหล่านี้ยังไม่เพียงพอ นั่นคือในบางคอลัมน์อาจต้องมีการสร้างตารางซ้อนลงไปอีก เช่นในการสร้างเมตริกซ์ ขนาด 2*2 เราจะใช้คำสั่งนี้
[ table ][ tr ] [ td ][ :ltop ][ br ][ :lvert ][ br ][ :lbot ][ /td ] [ td ][ table ][ tr ] [ td ]11[ /td ] [ td ]12[ /td ][ /tr ][ tr ] [ td ]21[ /td ] [ td ]22[ /td ][ /tr ][ /table ][ /td ] [ td ][ :rtop ][ br ][ :rvert ][ br ][ :rbot ][ /td ][ /tr ][ /table ]
ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เป็น

11 12
21 22




หวังว่าคงอ่านแล้วเข้าใจมากขึ้นนะครับ (หรือไม่ก็ยิ่งสับสนเข้าไปกันใหญ่) ก็ลองไปศึกษาและหัดเขียนใน Math Equation Editor จะช่วยให้เข้าใจได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นเยอะ
__________________
The difference between school and life?
In school, you're taught a lesson and then given a test.
In life, you're given a test that teaches you a lesson.

05 พฤษภาคม 2002 17:22 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 3 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ TOP
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 01 พฤษภาคม 2002, 19:57
ToT's Avatar
ToT ToT ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 สิงหาคม 2001
ข้อความ: 154
ToT is on a distinguished road
Post

อืม .... ลองนั่งคิดดูเมื่อวาน ..
จาก 24Pi = (R2 - r2)pi
ได้ R = 7 แล้วใช้ สามเหลี่ยมคล้าย จะได้รัศมี a1 : a2 = 7 : 5 โดย a1 และ a2 เป็น r ที่ฐาน และส่วนที่ถูกตัดตามลำดับ ซึ่งอัตราส่วนนี้เท่านั้นที่จะทำให้เกิดวงแหวน 24Pi ได้โดยกรวยตัดยอดซึ่งมีสูงเอียง = 2 ดูยังไงๆ มันก็น่าจะมีกรวยลักษณะนี้ได้หลายแบบนะ เว้นแต่จะกำหนดจำนวนรอบที่ใช้ในการหมุนครบรอบมา .... Hint ให้หน่อยดิคับ
__________________
Mmmm ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 02 พฤษภาคม 2002, 15:24
Pich Pich ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 กรกฎาคม 2001
ข้อความ: 151
Pich is on a distinguished road
Post

ถูกต้องครับคุณ ToT ที่ตอบว่าต้องการข้อมูลเพิ่มครับ เพราะข้อมูลให้ไม่ครบจริงๆครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 21:53


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha