Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์ทั่วไป > ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 13 มีนาคม 2005, 08:56
Tony Tony ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 19 พฤศจิกายน 2004
ข้อความ: 131
Tony is on a distinguished road
Post The Pigeonhole Principle

ผมไม่ได้เข้ามาเว็บบอร์ดหลายเดือนแล้ว เพราะว่ามัวแต่เข้าค่ายอยู่เลยไม่ว่าง
แต่ตอนนี้กำลังดูเนื้อหาเรื่องหลักการรังนกพิราบอยู่ เลยมีโจทย์มาถามครับ

1. ในกลุ่มคน 6 คนโดยที่คนแต่ละคู่รู้จักกันหรือไม่รู้จักกัน จงแสดงว่ามี 3 คนที่รู้จักกันหรือมี 3 คนที่ไม่รู้จักกัน

2. นายดนัยต้องการซ้อมเทนนิสก่อนการแข่งขัน ซึ่งมีเวลาซ้อม 30 วัน โดยที่นายดนัยวางแผนการซ้อมว่าต้องเล่นวันละอย่างน้อย 1 เกมส์แต่ทั้งหมดรวมไม่เกิน 45 เกมส์ จงแสดงว่าไม่ว่านายดนัยวางแผนการซ้อมอย่างไรก็ตามต้องมีช่วงวันที่ติดต่อกันที่นายดนัยเล่นได้ 14 เกมส์พอดี

3. เลือกจำนวนเต็ม 201 จำนวน มาจาก {1,2,3,...,400} จงแสดงว่าในบรรดาจำนวนเต็ม 201 จำนวนที่เลือกมานั้นจะต้องมีจำนวนเต็มสองจำนวนซึ่งจำนวนหนึ่งหารอีกจำนวนหนึ่งลงตัว
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 13 มีนาคม 2005, 13:22
R-Tummykung de Lamar R-Tummykung de Lamar ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 20 ธันวาคม 2004
ข้อความ: 566
R-Tummykung de Lamar is on a distinguished road
Post

ข้อ 1 เรื่องกราฟ ปะ
จะพิสูจน์แย้งนะครับ (ใช่เรียกแบบนี้รึเปล่า)
สมมติว่าแต่ละคนมีชื่อว่า A B C D E และ F
แต่ละคู่จะมีเส้นเชื่อมต่อกัน ถ้าเป็นเส้นทึบแสดงว่ารู้จักกัน ถ้าเป็นเส้นประ แสดงว่าไม่รู้จักกันนะ

A ต้องลาก 5 เส้นแล้ว อย่างน้อย ต้องเส้นทึบ มากกว่าหรือเท่ากับ 3 หรือ เส้นประ มากกว่าหรือเท่ากับ 3
ดูกรณีแรกก่อนละกัน อย่างน้อยที่สุด คือมีเส้นทึบ สามเส้น สมมติลากไป A---B A---C และ A---D
เพื่อไม่ให้เกิดสามคนที่รู้จักกัน ก็ต้องลากเส้นประ B- - -C B- - -D C- - -D
แต่จะเกิด B- - -C- - -D ที่เป็นกลุ่มสามคนที่ไม่รู้จักกัน
อีกกรณีก็คล้ายๆกัน

ลองวาดรูปประกอบดูครับ
__________________
[[:://R-Tummykung de Lamar\\::]] ||
(a,b,c > 0,a+b+c=3)
$$\sqrt a+\sqrt b+\sqrt c\geq ab+ac+bc$$

13 มีนาคม 2005 13:25 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ R-Tummykung de Lamar
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 13 มีนาคม 2005, 21:21
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post

ข้อ 1 เป็นปัญหาที่เรียกโดยทั่วไปว่าปัญหา Ramsey Number ครับ เป็นปัญหาที่ยากและมีพัฒนาการน้อยมากเมื่อเทียบกับงานวิจัยในเรื่องอื่นๆ แต่ปัญหาข้อนี้มีวิธีคิดได้หลายแบบครับ อาจจะใช้ Pigeonhole Principle(หรือ Dirichlet Drawer Principle) หรืออาจจะเป็นเรื่องของ Complete bipartite graph ก็ได้ครับ ไม่แน่ใจว่าจะใช้พวก Coloring ได้รึปล่าว แต่คิดว่าน่าจะใช้ได้นะ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 14 มีนาคม 2005, 23:24
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Smile

ข้อ 3 ก่อนนะครับ.

ปัญหาข้อนี้ใช้ Trick ที่ว่า จำนวนเต็มใด n ใดๆ จะสามารถเขียนได้ในรูปของ 2p q เสมอ
เมื่อ p {0, 1, 2, ... } หรือ จำนวนเต็มที่มากกว่าหรือเท่ากับศูนย์
และ q {..., -3, 1, 1, 3, ...} หรือ จำนวนเต็มคี่ใด ๆ
เช่น 12 = 22 3
24 = 23 3
27 = 20 27

เหตุผลง่าย ๆ ก็คือ ถ้า n เป็นจำนวนคี่ ก็สามารถเขียนได้ว่า n = 20 n แต่ถ้า n เป็นจำนวนเต็มคู่ เราก็จะนำ 2 ไปหารเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้จะจำนวนคี่

ดังนั้น q ทั้งหมดที่เป็นไปได้จะมีตั้งแต่ 1, 3, 5, ... , 399 รวมทั้งหมด 200 จำนวน
สมมติให้มีรังนกทั้งหมด 200 รัง โดยที่แต่ละรัง แทนจำนวนคี่ตั้งแต่ 1, 3, 5, ... , 399

ดังนั้น ถ้าเราหยิบจำนวนเต็มใด ๆ 201 จำนวน จากเซต {1, 2, 3, ... , 400} แล้วเขียนจำนวนดังกล่าวในรูป ของ 2p q เราก็จะได้ว่า จะต้องมีอย่างน้อย 2 จำนวน ที่มีค่า q เท่ากัน (คือเป็นจำนวนเต็มคี่ตัวเดียวกัน) แต่ p ไม่เท่ากัน (เพราะถ้าทั้ง q และ p เท่ากัน แสดงว่าเป็นจำนวนเดียวกัน) สมมติว่าเป็น 2a q และ 2b q จะเห็นได้เมื่อนำจำนวนทั้งสองมาหารกัน จำนวนที่มีเลขชี้นกำลังของ 2 มากกว่า ก็จะหาร จำนวนที่มีเลขชี้กำลังของ 2 น้อยกว่าได้ลงตัว เสมอ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 14 มีนาคม 2005, 23:28
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Smile

ข้อ 1 version P.P.

ในข้อนี้จะแบ่งปัญหาออกเป็น 2 แบบ แบบแรก มีอยู่ 3 คนที่รู้จักกัน และ แบบที่สองมีอยู่ 3 คน ที่ไม่รู้จักกันเลย

สมมติให้ x เป็นคน ๆ หนึ่งในกลุ่มดังกล่าว ดังนั้นจะเหลือคนอยู่ 5 คน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่รู้จักกับ x กับ ประเภทไม่รู้จักกับ x

ในที่นี้มีรังอยู่ 2 รัง คือ รังที่รู้จักกับ x กับ รังที่ไม่รู้จักกับ x และ มีนกอยู่ 5 ตัว
โดยหลักรังนกพิราบ จะได้ว่า จะมีนกอย่างน้อย 3 ตัวที่อยู่รังเดียวกัน

กรณีที่ 1 : นกอย่างน้อย 3 ตัวที่ว่าอยู่รังที่รู้จักกับ x
นกกลุ่มนี้ก็จะแบ่งออกเป็น 2 กรณีใหญ่ ๆ คือ กรณีที่มีนก 2 ตัวใด ๆ รู้จักกัน กับ ไม่มีนก 2 ตัวใดเลยที่รู้จักกัน

กรณีที่ 1.1 ถ้ามีนก 2 ตัวใด ๆ ที่รู้จักกัน เมื่อรวมกับนก x ก็จะรู้จักกันรวมกันเป็น 3 ตัวพอดี ซึ่งเป็นแบบแรก
กรณีที่ 1.2 ถ้าไม่มีนก 2 ตัวใดเลยที่รู้จักกัน ก็จะไปเข้าแบบหลัง คือ ไม่มีนกที่รู้จักกันเลย 3 ตัว ก็จะเป็นแบบหลัง

กรณีที่ 2 นกอย่างน้อย 3 ตัว อยู่รังที่ไม่รู้จักกับ x
นกกลุ่มนี้ก็จะแบ่งออกเป็น 2 กรณีใหญ่ ๆ คือ กรณีที่มีนก 2 ตัวใด ๆ ไม่รู้จักกัน กับ กรณีที่ นกทุกตัวรู้จักกันหมด

กรณีที่ 2.1 ถ้ามีนก 2 ตัวใด ๆ ที่ไม่รู้จักกัน เมื่อรวมกับ x ด้วย ก็จะไม่รู้จักกันรวม 3 ตัวพอดี ซึ่งเป็นแบบหลัง
กรณีที่ 2.2 ถ้านกทุกตัวรู้จักกันหมด ก็จะเป็นแบบแรก
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 20 มีนาคม 2005, 08:15
Tony Tony ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 19 พฤศจิกายน 2004
ข้อความ: 131
Tony is on a distinguished road
Post

ก็พอจะทำได้แล้วนะครับ ทั้งหมดเลย
ขอบคุณสำหรับแนวคิดนะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 20 มีนาคม 2005, 09:51
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Smile

ข้อ 2 น้อง Tony ทำอย่างไงครับ. อธิบายแนวคิดให้ฟังหน่อยสิ.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 08 เมษายน 2005, 13:19
Tony Tony ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 19 พฤศจิกายน 2004
ข้อความ: 131
Tony is on a distinguished road
Post

ให้ ai = จำนวนทั้งหมดจนถึงวันที่ i
จะได้ 1 a1,a2,a3,...,a3045
พบว่าเป็นลำบเพิ่มอย่างแท้จริง aiaj
a1+4,a2+14,a3+14,...,a30+1459
1 a1,a2,a3,...,a30,a1+4,a2+14,a3+14,...,a30+1459
แสดงว่ามีอยู่ ai=aj+14
ai-14=aj
นั่นคือ จำนวนวันตั้งแต่วันที่ j ถึงวันที่ i มี 14 เกม
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 08 เมษายน 2005, 20:57
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Smile

ท่าทางน้อง Tony น่าจะบรรลุุเรื่องนี้แล้ว. ขอบคุณที่มาแสดงวิธีคิดนะครับ.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 08 เมษายน 2005, 22:38
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

ว้าว...ที่แท้ข้อ 2. ก็ทำอย่างนี้นี่เอง รอดูเฉลยมานานแล้วครับ ขอบคุณ คุณ Tony หลายๆเด้อ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 21:53


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha