Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์ทั่วไป > ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 23 มกราคม 2013, 19:29
ครูนะ ครูนะ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 ตุลาคม 2007
ข้อความ: 618
ครูนะ is on a distinguished road
Default เรื่องข้อสอบสอบเข้า ม.1

ผมไปศึกษาเกี่ยวกับข้อสอบ สอบเข้า ม.1 และข้อสอบ สสวท. พบว่าออกเกินหลักสูตรของเด็กประถม 6

ซึ่งตามหลักของทฤษฎีการสอน พบว่าเนื้อหาที่เกินพวกนี้ เกินกว่าการรับรู้ของเด็กประถม 6 (เอาเนื้อหาเกิน

การรับรู้ของสติปัญญาเด็กตามหลักขั้นของพัฒนาการ ทำให้สอนได้ยาก กว่าจะได้ต้องใช้เวลานานกว่าวัยที่ควร

จะได้รับรู้เรื่องพวกนี้ โอเคอาจจะมีทฤษฎีบางทฤษฎีที่กล่าวว่าสามารถจัดวิธีและเทคนิค สื่อ การเรียนการสอนที่

สามารถเอาเรื่องที่สูงกว่าระดับการรับรู้พวกนี้มาให้เด็กที่ต่ำกว่าได้ อันนั้นผมไม่กล่าวถึง)

เป็นไปได้ยากที่เด็กจะเรียนคณิตในระดับของ ม.1 - 3 ได้ ซึ่งข้อสอบสอบเข้าและสอบแข่งขันเน้นกันมากครับ

กับเนื้อหาเกินๆ จึงอยากทราบว่าการที่เด็กจะสอบคณิตศาสตร์ได้เป็นเพราะความสามารถพิเศษส่วนตัวหรือไม่

ถ้าเป็นเด็กหัวธรรมดาทั่วๆ ไปแต่ถูกโดปเป็นไปได้ไหมที่จะสอบคณิตศาสตร์ผ่านได้ในระดับคะแนน 80% ทุกคน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 23 มกราคม 2013, 21:56
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Icon18

เรื่องนี้ผมไม่มีทฤษฎีครับ มีแต่ประสบการณ์

สมัยก่อนตอนเด็กผมเชื่อว่า คนเราขอเพียงความขยันอุตสาหะ ทุกอย่างสำเร็จได้ไม่ยาก

ต่อมาพอผมสอนเลขเด็กมาช่วงประมาณปีที่ 10 ผมเริ่มที่จะเปลี่ยนแนวคิดแล้ว

ตอนปัจจุบันปีที่ 17 ผมได้ข้อสรุปจากประสบการณ์ชัดเจน ดังนี้ครับ

1. ถ้าต้องการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งรับเยอะ ถึงแม้คะแนนจะสอบตกก็ติดได้ ขอเพียงขยันเข้าได้ทุกคณะเป็นที่เพียงพอ หัวธรรมดากลาง ๆ ก็พอ

2. ถ้าต้องการเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์ ความสามารถโดยกำเนิดทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็กแต่ละคน หรือเรียกสั้น ๆ ว่า DNA โดยกำเนิดจะมีผลมากกว่าระดับความขยันมาก โดยเฉพาะเมื่อต้องทะลวงปัญหาในระดับยาก โดยเฉพาะเด็กที่ DNA ดี จะสามารถเข้าใจ รับรู้ จดจำ ประมวลผลได้ง่ายกว่าคนหัวกลาง ๆ มาก เด็กกลุ่มนี้สามารถใส่ความรู้ มัธยมต้น มัธยมปลาย มหาวิทยาลัย ใส่ได้เลย ขอเพียงคนสอนรู้และเข้าใจสิ่งที่ตัวเองสอนดี ถ่ายทอดเป็น เด็กกลุ่มนี้รับได้หมด ไม่มีข้อจำกัดครับ.

3. เพศมีผลอย่างมาก ต่อวิชานี้โดยเฉลี่ยแล้ว เด็กผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะแก้ปัญหาโจทย์ที่ยากกว่าได้น้อยกว่าเด็กผู้ชาย โดยเฉพาะเด็กผู้หญิงที่เริ่มโตมากขึ้น ความแตกต่างนี้ยิ่งบานปลาย ยกเว้นเด็กผู้หญิงบางคน ที่มี DNA ทางด้านนี้พิเศษ เช่น ลิซ่า (ตัวแทนโอลิมปิกเลขเยอรมัน)

ดังนั้นถ้าถามว่าโด๊ปได้ไหม ขอตอบจากประสบการณ์ของผมว่าถ้าเป็นโจทย์พื้นฐาน โด๊ปได้ครับ แต่ถ้าเป็นโจทย์ที่ยาก ยิ่งยาก เป็นไม่ได้ครับ ทำใจล่วงหน้าได้เลย.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 23 มกราคม 2013, 23:29
Keehlzver's Avatar
Keehlzver Keehlzver ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 26 มกราคม 2009
ข้อความ: 533
Keehlzver is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ ครูนะ View Post
ผมไปศึกษาเกี่ยวกับข้อสอบ สอบเข้า ม.1 และข้อสอบ สสวท. พบว่าออกเกินหลักสูตรของเด็กประถม 6

ซึ่งตามหลักของทฤษฎีการสอน พบว่าเนื้อหาที่เกินพวกนี้ เกินกว่าการรับรู้ของเด็กประถม 6 (เอาเนื้อหาเกิน

การรับรู้ของสติปัญญาเด็กตามหลักขั้นของพัฒนาการ ทำให้สอนได้ยาก กว่าจะได้ต้องใช้เวลานานกว่าวัยที่ควร

จะได้รับรู้เรื่องพวกนี้ โอเคอาจจะมีทฤษฎีบางทฤษฎีที่กล่าวว่าสามารถจัดวิธีและเทคนิค สื่อ การเรียนการสอนที่

สามารถเอาเรื่องที่สูงกว่าระดับการรับรู้พวกนี้มาให้เด็กที่ต่ำกว่าได้ อันนั้นผมไม่กล่าวถึง)

เป็นไปได้ยากที่เด็กจะเรียนคณิตในระดับของ ม.1 - 3 ได้ ซึ่งข้อสอบสอบเข้าและสอบแข่งขันเน้นกันมากครับ

กับเนื้อหาเกินๆ จึงอยากทราบว่าการที่เด็กจะสอบคณิตศาสตร์ได้เป็นเพราะความสามารถพิเศษส่วนตัวหรือไม่

ถ้าเป็นเด็กหัวธรรมดาทั่วๆ ไปแต่ถูกโดปเป็นไปได้ไหมที่จะสอบคณิตศาสตร์ผ่านได้ในระดับคะแนน 80% ทุกคน
ถ้าเอาให้ลึกๆ ลองศึกษา ชีววิทยา สาขาพฤติกรรม ดูครับ
__________________
"ชั่วโมงหน้าต้องดีกว่าเดิม!"
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 24 มกราคม 2013, 00:53
หยินหยาง's Avatar
หยินหยาง หยินหยาง ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่จักรวาล
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,921
หยินหยาง is on a distinguished road
Default

ผมว่าคงต้องแยกระหว่างข้อสอบแข่งขันกับข้อสอบที่ใช้ทดสอบมาตรฐานการศึกษาออกจากกันก่อนเพราะจุดประสงค์ไม่เหมือนกัน

และข้อสอบแข่งขันก็ต้องมาพิจารณาว่ายากกับเกินหลักสูตรก็ไม่เมือนกัน เราสามารถออกข้อสอบยากได้โดยไม่เกินหลักสูตรได้ครับ

ข้อสอบประเภทถึกใช้แรงมือกับใช้ทริกก็ไม่เหมือนกัน

ถ้าแยกเรื่องเหล่านี้ออกได้ก็จะพิจารณาได้ง่ายขึ้นครับ

ผมคิดว่าปัญหาอยู่ที่ข้อสอบยากแล้วเลยไปเหมารวมว่าเกินหลักสูตร เท่าที่ผมดูข้อสอบแข่งขันที่มีชื่อเสียงถ้าจะออกเกินหลักสูตรก็มีไม่เกิน 10-15% แล้วปัญหาอยู่ที่ไหน ปัญหาอยู่ที่คนที่มีความรู้มากกว่ามักจะใช้สิ่งที่เรียนรู้มาใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา แต่อาจลืมคิดไปว่าอาจมีวิธีแก้แบบอื่นที่ใช้ความรู้ไม่เกินหลักสูตรก็ได้ ซึ่งอาจต้องใช้มุมมอง จินตนาการ และทักษะกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น ผมไม่ปฏิเสธว่าการใช้ความรู้เกินหรือมีความรู้เกินย่อมได้เปรียบ แต่ก็ไม่เสมอไปเหมือนกัน ลองดูกระทู้ใน MC ก็ได้

แล้วจะแก้ปัญหานี้อย่างไร ก็คงไม่ง่ายครับเพราะคงต้องพร้อมทั้งผู้สอนและผู้เรียน
ถ้าเราเชื่อว่าการศึกษาสามารถพัฒนาคนได้ดังที่ทั่วโลก เค้าทำกัน
คำว่าพร้อมทั้งผู้สอนและผู้เรียนหมายความว่่าอย่างไร
ผู้สอนคงต้องมีองค์ความรู้เป็นอันดับแรก ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกเรื่องแต่จำเป็นต้องรู้เรื่องที่จะสอนอย่างแจ่มแจ้ง ประยุกต์การใช้ทฤษฎี เรื่องที่เรียน
สอง มีเทคนิคในการถ่ายทอด มีลูกเล่นในการสอน ไม่น่าเบื่อทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องที่ไม่ลืมอีกต่อไป รู้จักการสร้างทักษะกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ให้ผู้เรียน
สาม ต้องยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางคือรู้ว่าเท่าไรที่เด็กรับได้และแบบฝึกหัดแบบไหนแค่ไหนที่จะพัฒนาได้ ไม่ใช่ใครเรียนก็ชุดนี้เหมือนตำรายามหัศจรรย์
สี่ ต้องหมั่นพัฒนาตัวเองทั้งความรู้และเทคนิคการสอน

สำหรับผู้เรียน
หนึ่ง ต้องเชื่อมั่นว่าตัวเองเรียนได้ถึงแม้จะโง่(ในความคิดของตัวเอง) คนส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดมาเก่ง
สอง ต้องตั้งใจ ขยันและอดทน และหมั่นทำโจทย์ตลอดเวลา การฝึกฝนการทำโจทย์เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการเรียนคณิตศาสตร์

เป็นเพียงข้อความที่ร่วมแสดงความเห็นครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 25 มกราคม 2013, 15:15
ครูนะ ครูนะ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 ตุลาคม 2007
ข้อความ: 618
ครูนะ is on a distinguished road
Default

เคยติวเด็กคนหนึ่ง ระดับความรู้ดีมาก ติวสอบสมาคมคณิตศาสตร์ระดับ ป.6 ทำได้ ส่วนใหญ่ได้ 70% ทุกครั้งที่ทดสอบ

ติวสอบ สสวท เนื้อหาเน้นของ ม.ต้น ประมาณ 10% แต่ส่วนใหญ่เน้นวิธีคิดแบบ IQ เด็กได้ไม่ถึงครึ่ง ประมาณ 15 - 17 จาก 40

ติวสอบ Gifted ม.1 โรงเรียนสวนกุหลาบ เนื้อหาเน้น ม.ต้น ประมาณ 30% เด็กสอบได้ประมาณ 30% ไม่ถึงครึ่ง

ผมใช้เวลาประมาณ สามชั่วโมงต่อสัปดาห์ในการติว ยอมรับว่าเหนื่อยและท้อมาก เพราะสั่งอะไรไปเด็กไม่ทำเลย

เทคนิคทุกอย่างสอนหมด แต่ไม่เข้าหัวเลย เหมือนสอนแล้วซักพักลืม แต่ถ้าเป็นเนื้อหาที่เขาเรียนระดับประถมอยู่จะทำได้

เทคนิคทุกอย่าง เป็นเทคนิคลัด เทคนิคแบบ ม.ต้น เทคนิคที่เร็วและผมใช้มาตลอดแล้วได้ผล เพราะทำข้อสอบได้เร็วและแม่นยำ

ปรากฏ เด็กไม่รับรู้เลย สอนทีไร จำได้ เดี๋ยวก็ลืม สั่งโจทย์ไปทำจับเวลา ไม่เคยทำ มองแล้วว่ายาก

พอมีวิธีอะไรไหม ถ้าเจอเด็กแบบนี้ แล้วผู้ปกครองคาดหวังให้เด็กสอบแข่งขัน สสวท ได้ รบกวนผู้รู้ด้วยครับ

ถ้าแบบนี้ก็ต้องบอกผู้ปกครองล่วงหน้าเลยไหมว่าต้องทำใจ เพราะโ๊ด๊ปไม่ขึ้น

25 มกราคม 2013 15:22 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ ครูนะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 23:14


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha