Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์มัธยมศึกษา > ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 03 สิงหาคม 2010, 22:07
monster99 monster99 ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณคุ้มครองร่าง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 01 ตุลาคม 2008
ข้อความ: 276
monster99 is on a distinguished road
Default สอบถามโจทย์เรื่องความน่าจะเป็นหน่อยครับ

โจทย์ : มีอีกษร MATRIX จงหาวิธีการจัดเรียงโดยไม่คำนึงถึงความหมาย จะจัดได้กี่วิธี เมื่อต้องไม่ขึ้นต้นและลงท้ายด้วยสระ
วิธีที่ 1 : จะจัดได้ดังนี้
1. คิดที่ตำแหน่งขึ้นต้นก่อนจะจัดได้ 4 วิธี และจัดตัวลงท้ายจะได้ 3 วิธี เนื่องจากใช้ไป 1 ตัวแล้ว
2. ที่เหลือจะจัดได้ เท่ากับ $4\times 3\times2\times1$
3. ดังนั้นจะจัดได้ทั้งหมดเท่ากับ $4\times 4\times 3\times2\times1\times 3= 12\times 4!$

วิธีที่ 2 : จะจัดได้ดังนี้
$ n(ไม่ขึ้นต้นและลงท้ายด้วยสระ) = n(ทั้งหมด) - n(ขึ้นต้นและลงท้ายด้วยสระ)$
$ n(ทั้งหมด) = 6!$
$ n(ขึ้นต้นและลงท้ายด้วยสระ)$ จะจัดคือ fix สระที่ตัวขึ้นต้นและลงท้าย จะได้เท่ากับ 2 วิธี
ที่เหลือจัดได้เท่ากับ 4!
ดังนั้นจะเท่ากับ $ n(ไม่ขึ้นต้นและลงท้ายด้วยสระ) = 6! - 2\times4! = 28\times4!$

ผมสงสัยว่ามีข้อผิดพลาดตรงไหนครับจึงทำให้ไม่เท่ากัน ช่วยชี้แนะด้วยครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 03 สิงหาคม 2010, 22:21
★★★☆☆ ★★★☆☆ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไว
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 247
★★★☆☆ is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ monster99 View Post
โจทย์ : มีอีกษร MATRIX จงหาวิธีการจัดเรียงโดยไม่คำนึงถึงความหมาย จะจัดได้กี่วิธี เมื่อต้องไม่ขึ้นต้นและลงท้ายด้วยสระ
วิธีที่ 1 : จะจัดได้ดังนี้
1. คิดที่ตำแหน่งขึ้นต้นก่อนจะจัดได้ 4 วิธี และจัดตัวลงท้ายจะได้ 3 วิธี เนื่องจากใช้ไป 1 ตัวแล้ว
2. ที่เหลือจะจัดได้ เท่ากับ $4\times 3\times2\times1$
3. ดังนั้นจะจัดได้ทั้งหมดเท่ากับ $4\times 4\times 3\times2\times1\times 3= 12\times 4!$

วิธีที่ 2 : จะจัดได้ดังนี้
$ n(ไม่ขึ้นต้นและลงท้ายด้วยสระ) = n(ทั้งหมด) - n(ขึ้นต้นและลงท้ายด้วยสระ)$
$ n(ทั้งหมด) = 6!$
$ n(ขึ้นต้นและลงท้ายด้วยสระ)$ จะจัดคือ fix สระที่ตัวขึ้นต้นและลงท้าย จะได้เท่ากับ 2 วิธี
ที่เหลือจัดได้เท่ากับ 4!
ดังนั้นจะเท่ากับ $ n(ไม่ขึ้นต้นและลงท้ายด้วยสระ) = 6! - 2\times4! = 28\times4!$

ผมสงสัยว่ามีข้อผิดพลาดตรงไหนครับจึงทำให้ไม่เท่ากัน ช่วยชี้แนะด้วยครับ
วิธีที่ 2. ต่างกับวิธีที่ 1 ตรงที่ ที่ลบไปออกนั้น เป็นกรณีที่หน้ากับหลัง เป็นสระทั้งคู่พร้อมกัน ซึ่งเมื่อลบไปแล้ว จริง ๆ มันยังเหลือกรณีที่ หน้าเป็นสระ หลังเป็นพยัญชนะ (กับ หน้าเป็นพยัญชนะ หลังเป็นสระ)

คำตอบวิธีที่ 2 จึงมีมากกว่าวิธีที่ 1.

03 สิงหาคม 2010 22:23 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ ★★★☆☆
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 03 สิงหาคม 2010, 23:05
monster99 monster99 ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณคุ้มครองร่าง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 01 ตุลาคม 2008
ข้อความ: 276
monster99 is on a distinguished road
Default

แล้วกรณีที่ 1 คิดแล้วยังมีกรณีที่หน้าเป็นสระ หลังเป็นพยัญชนะ (กับ หน้าเป็นพยัญชนะ หลังเป็นสระ) ยังไงครับ ก็ในเมื่อตอนจัดตำแหน่งขึ้นต้นและลงท้ายเอาพยัญชนะมาจัด ช่วยอธิบายหน่อยครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 03 สิงหาคม 2010, 23:38
★★★☆☆ ★★★☆☆ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไว
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 247
★★★☆☆ is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ monster99 View Post
แล้วกรณีที่ 1 คิดแล้วยังมีกรณีที่หน้าเป็นสระ หลังเป็นพยัญชนะ (กับ หน้าเป็นพยัญชนะ หลังเป็นสระ) ยังไงครับ ก็ในเมื่อตอนจัดตำแหน่งขึ้นต้นและลงท้ายเอาพยัญชนะมาจัด ช่วยอธิบายหน่อยครับ
ก็กรณีที่ หน้าเป็นพยัญชนะ หลังเป็นสระ ก็จัดได้ (4)(2)(4!) = 8(4!)

กรณีที่ หน้าเป็นสระ หลังเป็นพยัญชนะ ก็จัดได้ (2)(4)(4!) = 8(4!)

จะเห็นว่า 8(4!) + 8(4!) + 12(4!) (จากกรณีที่ 1) = 28(4!) = กรณีที่ 2 พอดี

03 สิงหาคม 2010 23:40 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ ★★★☆☆
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 03 สิงหาคม 2010, 23:43
monster99 monster99 ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณคุ้มครองร่าง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 01 ตุลาคม 2008
ข้อความ: 276
monster99 is on a distinguished road
Default

ขอบคุณครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 03 สิงหาคม 2010, 23:49
★★★☆☆ ★★★☆☆ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไว
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 247
★★★☆☆ is on a distinguished road
Default

ผมเขียนเพิ่มอีกนิด เผื่อจะเข้าใจง่ายขึ้น

การจัดทั้งหมดจะแบ่งเป็น 4 กรณี

กรณีที่ 1. หน้าเป็นพยัญชนะ หลังเป็นพยัญชนะ
กรณีที่ 2. หน้าเป็นสระ หลังเป็นพยัญสระ
กรณีที่ 3. หน้าเป็นพยัญชนะ หลังเป็นพยัญสระ
กรณีที่ 4. หน้าเป็นสระ หลังเป็นพยัญชนะ

ก่อนที่จะใช้ complement law นี่ต้องแน่ใจว่าแบ่งกรณีทั้งหมดได้อย่างชัดแจ้งแล้วนะครับ จึงจะนำทั้งหมดไปหักออกจากบางส่วน แต่ถ้าแบ่งกรณียังไม่ชัดเจน เวลาลบมันก็จะเหลือที่ตกค้างอยู่ได้ ซึ่งต้องดูปัญหาให้กระจ่างว่าที่โจทย์ต้องการนั้น เป็นส่วนไหน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 04 สิงหาคม 2010, 09:58
กิตติ's Avatar
กิตติ กิตติ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 2,723
กิตติ is on a distinguished road
Default

จริงตามที่คุณสามดาวอธิบาย ช่องโหว่ของวิธีที 2 คือ คิดรวมกรณีที่หัวหรือท้ายเป็นสระอย่างเดียวเข้าไปด้วย คำตอบจึงมากกว่าการคิดแบบกรณีแรก คิดแบบแรกน่าจะเร็วกว่า
__________________
"ถ้าเราล้มบ่อยๆ ในที่สุดเราจะรู้ว่าถ้าจะล้ม ล้มท่าไหนจะเจ็บน้อยที่สุด และรู้อีกว่าต่อไปทำยังไงจะไม่ให้ล้มอีก
ดังนั้นจงอย่ากลัวที่จะล้ม
"...อาจารย์อำนวย ขนันไทย
ครั้งแรกในชีวิตที่สอบคณิตสมาคมคณิตศาสตร์เมื่อปี2533...ผมได้แค่24คะแนน(จากร้อยคะแนน)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 05:45


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha