Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > คณิตศาสตร์อุดมศึกษา
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 29 ตุลาคม 2006, 07:00
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Question ปัญหาชิงรางวัลข้อที่ 23: Number Theory once more

จงพิสูจน์ว่า $$ 2^{2^n-1} -2^n-1 $$ เป็นจำนวนประกอบ สำหรับทุกจำนวนเต็ม $n>2$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 30 ตุลาคม 2006, 05:02
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post

To make life easier, I conjecture that

$\displaystyle{2^{2^n-1}-2^n-1}$ is divisible by $p$

where $p$ is the smallest prime divisor of $2^n-1$.

I can prove two special cases for this conjecture :

Case 1 : n is even. Then $\displaystyle{2^{2^n-1}-2^n-1}$ is divisible by $3$.
Case 2 : n is odd and $2^n-1$ is prime, i.e. a Mersenne prime. Then $\displaystyle{2^{2^n-1}-2^n-1}$ is divisible by $2^n-1$ by Fermat's Little Theorem.

Thus it remains to prove the case where n is odd and $2^n-1$ is composite.
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 30 ตุลาคม 2006, 08:04
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Post

ข้อคาดเดาของคุณ nooonuii ไม่เป็นจริงครับ เช่น ในกรณีที่ $n=35$ เรามี $31$ เป็นตัวประกอบเฉพาะที่เล็กที่สุดของ $2^n-1$ แต่ $31$ หาร $ 2^{2^n-1} -2^n-1 $ เหลือเศษ $2$ ครับ

ผมยังไม่อยาก comment อะไรมากครับ เพราะเพิ่งจะโพสต์โจทย์ไป อาจจะมีบางคนที่ยังไม่เห็นโจทย์ด้วยซ้ำ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 31 ตุลาคม 2006, 09:33
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post

อ้าวเดาผิดนี่เอง มิน่าพิสูจน์ยังไงก็ไม่ออก
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 03 พฤศจิกายน 2006, 12:03
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

เย็นนี้ประมาณทุ่มนึง ผมจะโพสต์ hint อันใหญ่สำหรับข้อนี้ให้ครับ คราวนี้รับรองมีคนทำได้แน่ๆ

ตอนนี้ขอบอกแต่เพียงว่า ข้อนี้ใช้แค่ elementary number theory จริงๆครับ พวก powerful theorems อย่างเรื่อง quadratic residues หรือแม้แต่ Fermat's Little Theorem นี่ไม่ต้องเอามาใช้เลย เพียงแต่มัน tricky หน่อย ถ้าไม่เห็น hint อาจคาดไม่ถึงว่าต้องไปทางนั้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 03 พฤศจิกายน 2006, 19:00
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

Big hint: Show that $$ 2^r \, \| \, n+1 \quad \Rightarrow \quad 2^{2^r} + 1 \mid 2^{2^n-1} -2^n-1 $$ ใครไม่ทราบความหมายของสัญลักษณ์ $\|$ อ่านคำอธิบายของผมได้ในกระทู้นี้ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 07 ธันวาคม 2006, 19:01
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

ผมคิดออกแล้วว่าจะ hint อะไรอีกดี hint นี้จะเป็นอันสุดท้ายของการแข่งขันนี้แล้วนะครับ จะไม่มีการ hint ใดๆเพิ่มอีก ไม่ว่าข้อนี้หรือข้อไหน ถ้าหลังจากให้เวลาพอสมควรแล้ว (ไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์แน่นอนครับ) ยังไม่มีใครตอบ ผมก็จะเฉลยล่ะนะ

ผมจะโพสต์ hint วันพรุ่งนี้ตอนประมาณทุ่มนึงนะครับ เดิมว่าจะใช้วิธีเพิ่มคะแนนให้กับข้อนี้ แต่คิดว่ามันคงจะไม่ช่วยอะไรได้มากนัก

แล้วพบกันใหม่วันพรุ่งนี้ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 08 ธันวาคม 2006, 19:00
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Post

Last hint!

By repeated squaring, $$ a^{2^{\displaystyle{r}}} \equiv 1 \pmod m \quad \Rightarrow \quad a^{2^{\displaystyle{s}}} \equiv 1 \pmod m \quad \forall s \ge r $$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 20 ธันวาคม 2006, 02:12
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

เข้า winter break แล้ว ถ้าใครมีเวลาว่างก็ลองทำข้อนี้ดูหน่อยนะครับ ผมยังไม่อยากเฉลยข้อนี้เป็นของขวัญปีใหม่ง่ะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 02 มกราคม 2007, 09:51
Necron's Avatar
Necron Necron ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤศจิกายน 2006
ข้อความ: 36
Necron is on a distinguished road
Send a message via MSN to Necron
Post

จากโจทย์นะครับแยกเป็น2กรณีนะครับ
n=2a+1 nเป็นจำนวนคี่
ตามหลักของการพิสูจน์ให้แทน a=1ก่อน

222a+1-1-22a+1-1

แทนa=1

222(1)+1-1-22(1)+1-1

=27-23-1
=119
119เป็นจำนวนเฉพาะ ประโยคนี้ไม่จริง
__________________
พลังงานอันมหาศาลเกิดจากแรงกดดันอันยิ่งใหญ่

การที่จะเก่งขึ้นเรื่อยๆคือการก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเองซ้ำๆ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 02 มกราคม 2007, 10:35
nongtum's Avatar
nongtum nongtum ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 3,246
nongtum is on a distinguished road
Post

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ Necron:
119เป็นจำนวนเฉพาะ ประโยคนี้ไม่จริง
$119=17\times7$
__________________
คนไทยร่วมใจอย่าใช้ภาษาวิบัติ
ฝึกพิมพ์สัญลักษณ์สักนิด ชีวิต(คนตอบและคนถาม)จะง่ายขึ้นเยอะ (จริงๆนะ)

Stay Hungry. Stay Foolish.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #12  
Old 02 มกราคม 2007, 23:16
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ warut:
จงพิสูจน์ว่า $$ 2^{2^n-1} -2^n-1 $$ เป็นจำนวนประกอบ สำหรับทุกจำนวนเต็ม $n>2$
อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ warut:
Big hint: Show that $$ 2^r \, \| \, n+1 \quad \Rightarrow \quad 2^{2^r} + 1 \mid 2^{2^n-1} -2^n-1 $$ ใครไม่ทราบความหมายของสัญลักษณ์ $\|$ อ่านคำอธิบายของผมได้ในกระทู้นี้ครับ
ถึงเวลาเฉลยแล้วครับ

ให้จำนวนเต็ม $n\ge3$ และ $n+1=k\cdot2^r$, โดยที่ $k$ เป็นจำนวนคี่ และ $r\ge0$ เป็นจำนวนเต็ม

เนื่องจาก $$2^{2^r} \equiv -1 \pmod{2^{2^r} + 1} \quad (\star) $$ ดังนั้น โดยการยกกำลังสองซ้ำไปเรื่อยๆ เราจะพบว่า $$2^{2^t} \equiv 1 \pmod{2^{2^r} + 1}$$ สำหรับทุกจำนวนเต็ม $t>r$

นั่นแสดงว่า $$2^{2^n} \equiv 1 \pmod{2^{2^r} + 1}$$ เพราะเมื่อ $n\ge3$ แล้ว $n=k\cdot2^r-1>r$

จาก $(\star)$ เราจะได้ว่า $$2^{n+1}=2^{k\cdot2^r} \equiv (-1)^k \equiv -1\pmod{2^{2^r} + 1} $$ ดังนั้น $$ 2(2^{2^n-1} -2^n-1) = 2^{2^n}-2^{n+1}-2 \equiv 1-(-1)-2 \equiv 0 \pmod{2^{2^r} + 1} $$ แต่ $2^{2^r} + 1$ เป็นจำนวนคี่ แสดงว่า $2^{2^r} + 1 \mid 2^{2^n-1}-2^n-1$ และเนื่องจาก $2^{2^r} + 1 < 2^{2^n-1}-2^n-1$ เราจึงได้ว่า $2^{2^n-1}-2^n-1$ เป็นจำนวนประกอบเมื่อ $n$ เป็นจำนวนเต็มที่มากกว่า 2 ตามต้องการครับ

ไม่ยากใช่ไหมครับ แต่ถ้าใครทำไม่ได้ก็ไม่ต้องเสียใจนะครับ เพราะผมคิดว่า number theorists ส่วนใหญ่ก็ทำไม่ได้ (เห็นนิ่งเงียบ แต่ทีโจทย์เกี่ยวกับ elliptic curve ยากๆเห็นแย่งตอบกันใหญ่เลย แปลกดีครับ) ผมทำข้อนี้ได้ก็เพราะ big hint ซึ่ง Schoof (number theorist ชื่อดัง) เป็นคนให้ไว้ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #13  
Old 03 มกราคม 2007, 02:22
nongtum's Avatar
nongtum nongtum ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 3,246
nongtum is on a distinguished road
Icon21

Hint ที่ให้มาใหญ่จริงๆครับ ผมอ่านบรรทัดแรกอึ้งไปเลย ไม่นึกว่าไอเดียที่ตามมาจะง่ายขนาดนั้น แค่แสดงว่า $2^{2^r} + 1 \mid 2^{2^n} -1-(2^n+1)$ บวกสมบัติการหารลงตัวอีกนิดหน่อย คนที่คิดได้โดยไม่ใช้ hint คงจะทั้งเฉียบและอึดมากๆเลยล่ะครับ

แม้จะ็จบการแข่งแล้ว แต่หากคุณ warut มีโจทย์น่าสนใจแบบนี้อีกก็เอามาแบ่งกันทำบ้างนะครับ เชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อหลายๆคนที่เข้ามาอ่าน
__________________
คนไทยร่วมใจอย่าใช้ภาษาวิบัติ
ฝึกพิมพ์สัญลักษณ์สักนิด ชีวิต(คนตอบและคนถาม)จะง่ายขึ้นเยอะ (จริงๆนะ)

Stay Hungry. Stay Foolish.

04 มกราคม 2007 00:30 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ nongtum
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #14  
Old 04 มกราคม 2007, 00:14
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

ครับ ถ้าผมเจอโจทย์ที่น่าสนใจก็จะเอามาแปะให้ หวังว่าคงมีคนสนใจเอาไปคิดต่อ และตอบกลับกันมาบ้างเด้อ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #15  
Old 04 มกราคม 2007, 00:27
M@gpie's Avatar
M@gpie M@gpie ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 ตุลาคม 2003
ข้อความ: 1,227
M@gpie is on a distinguished road
Post

ผมขอสารภาพครับว่า ผมไม่รู้เรื่องเลยแหะๆๆ ความรู้ทฤษฏีจำนวนน้อยนิดขอรับ เลยไม่รู้จะคิดยังไง ก็คิดจะศึกษานะครับ แต่เรื่องของเรื่องคือไม่ได้ใช้งานประจำ ทำให้ลืมครับ (ก็ต้องศึกษาของที่ใช้ประจำก่อนอิอิ )
แต่ผมเชื่อว่าถ้ามีคนอ่านแล้วมีความรู้ในด้านนั้นพอจะหาคำตอบ และความเห็นมาเสนอได้ รับรองไม่มีพลาดครับ พี่ warut
__________________
PaTa PatA pAtA Pon!
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
ช่วยคิดหน่อยครับ เกี่ยวกับ Number Theory kanji ทฤษฎีจำนวน 0 08 กันยายน 2006 18:22
Elementary number theory -Shi-No-Bu- ทฤษฎีจำนวน 2 04 กรกฎาคม 2006 23:35
ปัญหาชิงรางวัลข้อที่ 5: From Number Theory Marathon warut คณิตศาสตร์อุดมศึกษา 9 17 มกราคม 2006 18:47
ปัญหา Number Theory kanji ทฤษฎีจำนวน 4 16 พฤศจิกายน 2005 20:30
ขอลองตั้งคำถามบ้างครับ (Number theory) Nay ทฤษฎีจำนวน 3 15 พฤษภาคม 2005 13:40


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 04:28


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha