Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์ประถมศึกษา > ปัญหาคณิตศาสตร์ ประถมปลาย
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 31 กรกฎาคม 2010, 21:00
Mwit22#'s Avatar
Mwit22# Mwit22# ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 04 กุมภาพันธ์ 2010
ข้อความ: 334
Mwit22# is on a distinguished road
Default ?งงงวย?

ข้อสอบMWIT เลขโดด 1-9 นำมาสร้างเป็นเลข 3 หลัก ได้ 729 จำนวนให้หาผลรวมของ 729 จำนวนนั้น แล้วหา ผลรวมของเลขโดดๆ ในจำนวนนั้น ว่าเป็นเท่าใด

มีข้อสงสัยครับจากโจทย์ ถ้าเค้าไม่บอกมาว่ามีทั้งหมด 729 จำนวน เราจะสามารถใช้สูตรอะไรถึงจะหาได้

แล้วโจทย์ข้อนี้ทำอย่างไรครับ
__________________
สู้ๆ สู้เพื่อ มหิดลวิทยานุสรณ์ รุ่นที่ 22
FIGHT FOR MWIT#22
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 31 กรกฎาคม 2010, 21:55
Mathematicism Mathematicism ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 108
Mathematicism is on a distinguished road
Default

นำตัวเลข 9 ตัวมาสร้างเป็นจำนวน 3 หลักโดยใช้เลขซ้ำกันได้ จะสร้างได้กี่จำนวน
1. หลักหน่วย ใส่ตัวเลขได้ 9 วิธี
2. ในแต่ละวิธีของข้อ 1 สามารถใส่เลขในหลักสิบได้ 9 วิธี
3. ในแต่ละวิธีของข้อ 2 สามารถใส่เลขในหลักสิบได้ 9 วิธี
ดังนั้นจะสร้างจำนวนได้ทั้งหมด $9\times 9\times 9=729$ วิธี

หาผลบวกของจำนวนทั้ง 729 จำนวน
นึกภาพว่าเราเอาจำนวนทั้ง 729 จำนวนนั้นมาตั้งบวกในแนวดิ่ง
ตัวเลขในหลักหน่วยจะมีเลข 1-9 อยู่ อย่างละ 81 ตัว
ผลบวกในหลักหน่วยจึงเท่ากับ $(1+2+3+...+8+9)\times 81=3645$
เช่นเดียวกัน ผลบวกในหลักสิบจะเท่ากับ 36450
ผลบวกในหลักร้อย เท่ากับ 364500
ผลรวมเท่ากับ $364500+36450+3645=404595$
ผลรวมของเลขโดด เท่ากับ $4+0+4+5+9+5=27$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 31 กรกฎาคม 2010, 22:09
banker banker ไม่อยู่ในระบบ
เทพเซียน
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 มกราคม 2002
ข้อความ: 9,910
banker is on a distinguished road
Default

มาเสริมให้หน่อยว่า

ที่เขาบอกว่ามี 729 จำนวน นั้น เขามีเหตุผล คือเขาบอกว่าแต่ละจำนวน มีเลขซ้ำกันได้
__________________
มาหาความรู้ไว้ติวหลาน
แต่หลานไม่เอาเลขแล้ว
เข้ามาทำเลขเอามันอย่างเดียว

ความรู้เป็นสิ่งเดียวที่ยิ่งให้ ยิ่งมีมาก


รู้อะไรไม่สู้ รู้จักพอ
(ยกเว้นความรู้ ไม่ต้องพอก็ได้ หาไว้มากๆแหละดี)
(แต่ก็อย่าให้มากจนท่วมหัว เอาตัวไม่รอด)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 01 สิงหาคม 2010, 19:40
Mwit22#'s Avatar
Mwit22# Mwit22# ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 04 กุมภาพันธ์ 2010
ข้อความ: 334
Mwit22# is on a distinguished road
Default

ขอบคุณครับ

แล้วสูตร $\frac{k!}{(n-k)!}$

กับ $\frac{n!}{k!(n-k)!}$

เอาไว้ใช้ทำอะไร ในโจทย์แบบไหนครับ
__________________
สู้ๆ สู้เพื่อ มหิดลวิทยานุสรณ์ รุ่นที่ 22
FIGHT FOR MWIT#22
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 01 สิงหาคม 2010, 19:50
★★★☆☆ ★★★☆☆ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไว
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 247
★★★☆☆ is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Mwit22# View Post
ขอบคุณครับ

แล้วสูตร $\frac{k!}{(n-k)!}$

กับ $\frac{n!}{k!(n-k)!}$

เอาไว้ใช้ทำอะไร ในโจทย์แบบไหนครับ
สูตรแีรกผิดนะครับ $\frac{n!}{(n-k)!}$ คือ จำนวนวิธีในการเรียงสับเปลี่ยนของที่ต่างกันทั้งหมด n สิ่ง โดยสลับทีละ k สิ่ง โดยสลับเป็นเส้นตรง

เช่น มีคน 5 คน ต้องการนั่งเก้าอี้ซึ่งมีอยู่ 3 ตัวเรียงเป็นเส้นตรง จะนั่งได้ทั้งหมด 5!/(5-3)! = 5!/2! = 120/2 = 60

แต่สูตรนี้ไม่ควรจำโดยไม่รู้ที่มาครับ ที่ควรรู้และเข้าใจคือหลัีกการคูณ ซึ่งเป็นหลักการนับและเป็นที่มาของสูตร

ถ้ามีงาน k ขั้นตอนที่ต้องทำต่อเนื่องกัน

โดยขั้นที่ 1 ทำได้ $n_1$ วิธี

โดยขั้นที่ 2 ทำได้ $n_2$ วิธี

โดยขั้นที่ 3 ทำได้ $n_3$ วิธี

...

โดยขั้นที่ k ทำได้ $n_k$ วิธี

แล้วจำนวนวิธีในการทำงานทั้งหมด จะเท่ากับ $n_1n_2...n_k$ วิธี

ในที่นี้ ถ้ามีเก้าอี้ 3 ตัว ตัวแรกนั่งได้ 5 วิธี ตัวที่สองนั่งได้ 4 วิธี ตัวที่สาม นั่งได้ 3 วิธี ดังนั้นจะนั่งได้ (5)(4)(3) = 60 วิธี

01 สิงหาคม 2010 19:51 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ ★★★☆☆
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 11:46


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha