Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คลายเครียด > ฟรีสไตล์
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #16  
Old 31 กรกฎาคม 2010, 00:20
poper's Avatar
poper poper ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 พฤษภาคม 2010
ข้อความ: 2,643
poper is on a distinguished road
Send a message via MSN to poper
Default

จะว่าไปแล้วยังมีอะไรน่าคิดเกี่ยวกับจำนวนอีกเยอะเลยครับ
ในปัจจุบันขณะนี้ระบบจำนวนที่ใหญ่ที่สุดก็คือจำนวนเชิงซ้อน ซึ่งด้วยความที่ไม่ยอมแพ้ มนุษย์ก็สามารถหาจำนวนที่ยกกำลัง 2 แล้วติดลบได้
หลังจากที่ไม่เคยมีคนคิดว่าจะมีจำนวนแบบนี้อยู่
ถ้าคิดเล่นๆว่าเราสามารถสร้างจำนวนชนิดใหม่ที่หาคำตอบของสมการ $\frac{x}{0}=a$ ได้ และสอดคล้องกับระบบจำนวนเดิมทั้งหมด
คงจะมีอะไรใหม่ๆอีกเยอะเลยครับ(ถ้ามีจริงคงเป็นยุคที่ก้าวหน้าสุดๆเพราะว่าคงจะสร้างอะไรที่คิดว่าสร้างไม่ได้จากจำนวนพวกนี้ก็ได้)
คำถามทิ้งท้ายก่อนนอน จำนวนที่ยกกำลัด้วยจำนวนเชิงซ้อนจะหาค่าได้มั้ยครับ
อยากรู้จัง
__________________
คณิตศาสตร์ คือ ภาษาสากล
คณิตศาสตร์ คือ ความสวยงาม
คณิตศาสตร์ คือ ความจริง
ติดตามชมคลิปวีดีโอได้ที่http://www.youtube.com/user/poperKM
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #17  
Old 31 กรกฎาคม 2010, 00:25
หยินหยาง's Avatar
หยินหยาง หยินหยาง ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่จักรวาล
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,921
หยินหยาง is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Xx GAMMA xX View Post
ผมป้อน0เข้าไปแล้วรูทหลายครั้งแต่ได้0ครับ
ไม่ได้1 ถามว่าเพราะเหตุใด0จึงถูกยกเว้นครับ
เพราะ การเกิด
$$lim_{x\rightarrow\infty}{n^{\frac{1}{x} }} = n^0 = 1$$ นี้
ณ จุดที่ n=0 ทำให้$$lim_{x\rightarrow\infty}{0^{\frac{1}{x} }} = lim0^0 = 0$$
แทนที่จะได้1จึงได้0ใช่ไหมครับ
ผมลองคิดมั่วๆดูครับ
มีโจทย์ให้ลองทำเล่นดูครับว่าวิธีที่ว่านั้น ถูกหรือไม่
จงหา $\lim_{x \to \infty} (\frac{1}{1+e^x})^{\frac{1}{x}}$

31 กรกฎาคม 2010 00:41 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ หยินหยาง
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #18  
Old 31 กรกฎาคม 2010, 00:30
poper's Avatar
poper poper ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 พฤษภาคม 2010
ข้อความ: 2,643
poper is on a distinguished road
Send a message via MSN to poper
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ หยินหยาง View Post
มีโจทย์ให้ลองทำเล่นดูครับว่าวิธีที่ว่านั้น ถูกหรือไม่
จงหา $\lim_{x \to \infty} (\frac{1}{e^x})^{\frac{1}{x}}$
ได้$\frac{1}{e}$ ป่าวครับเพราะกำลังมันตัดกันอ่ะครับ
__________________
คณิตศาสตร์ คือ ภาษาสากล
คณิตศาสตร์ คือ ความสวยงาม
คณิตศาสตร์ คือ ความจริง
ติดตามชมคลิปวีดีโอได้ที่http://www.youtube.com/user/poperKM
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #19  
Old 31 กรกฎาคม 2010, 00:39
หยินหยาง's Avatar
หยินหยาง หยินหยาง ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่จักรวาล
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,921
หยินหยาง is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ poper View Post
ได้$\frac{1}{e}$ ป่าวครับเพราะกำลังมันตัดกันอ่ะครับ
ขอโทษครับ พิมพ์โจทย์ตกไป ต้องเป็นอย่างนี้ครับ

$\lim_{x \to \infty} (\frac{1}{1+e^x})^{\frac{1}{x}}$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #20  
Old 31 กรกฎาคม 2010, 09:14
poper's Avatar
poper poper ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 พฤษภาคม 2010
ข้อความ: 2,643
poper is on a distinguished road
Send a message via MSN to poper
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ หยินหยาง View Post
ขอโทษครับ พิมพ์โจทย์ตกไป ต้องเป็นอย่างนี้ครับ

$\lim_{x \to \infty} (\frac{1}{1+e^x})^{\frac{1}{x}}$
คุณหยินหยางกำลังจะบอกว่าถ้าคิดโดยไม่เปลี่ยจะรูปจะได้ $\lim_{x \to \infty} (\frac{1}{1+e^x})^{\frac{1}{x}}$
เท่ากับ $0^0$ ซึ่งไม่นิยาม
แต่ถ้านำ $e^x$ มาหารทั้งเศษและส่วนก่อนก็จะได้ $$\lim_{x\to\infty}{(\frac{\frac{1}{e^x}}{\frac{1}{e^x}+1})}^{\frac{1}{x}}$$
$$=\lim_{x\to\infty}\frac{\frac{1}{e}}{({\frac{1}{e^x}+1})}^{\frac{1}{x}}=\frac{1}{e}$$
รึป่าวครับ
__________________
คณิตศาสตร์ คือ ภาษาสากล
คณิตศาสตร์ คือ ความสวยงาม
คณิตศาสตร์ คือ ความจริง
ติดตามชมคลิปวีดีโอได้ที่http://www.youtube.com/user/poperKM
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #21  
Old 31 กรกฎาคม 2010, 10:53
หยินหยาง's Avatar
หยินหยาง หยินหยาง ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่จักรวาล
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,921
หยินหยาง is on a distinguished road
Default

จุดประสงค์ของผมก็คือจะให้ตรวจสอบวิธีคิดที่ว่า ผมป้อน0เข้าไปแล้วรูทหลายครั้งแต่ได้0ครับ ตามที่คุณ Xx GAMMA xX แสดงไว้ว่าจริงหรือไม่ และต้องการบอกว่าคำที่ว่า $0^0$ ไม่นิยามครับแต่สามารถใช้แคลคูลัสหาลิมิตได้ครับ(มั้ง) ตกลงเป็นอย่างไรกันแน่
ลองคิดโจทย์อีกข้อดูครับ $\lim_{x \to 0^+} 0^x$ ว่าได้ค่าเท่ากับเท่าไร และที่เราพูดว่า $0^0$ คืออะไรกันแน่ ทำไมถึงบอกว่าไม่มีนิยาม หรือบอกว่าเป็น รูปแบบไม่กำหนด ตกลงมันเป็นอะไรกันแน่ แล้วถ้าเป็นไปตามหลักคิดที่ว่าโจทย์ที่ผมยกตัวอย่างทำไมถึงไม่เป็น 0 ละ แล้วถ้าอย่างนั้น มันจะมีค่าอะไรได้บ้าง แต่ทำไมถึงกดเครื่องคิดเลขทุกครั้งถึงได้แต่ 0 ละ ลองคิดดูครับ เดี๋ยวค่อยมาเสวนาใหม่ไปธุระก่อนครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #22  
Old 31 กรกฎาคม 2010, 22:02
poper's Avatar
poper poper ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 พฤษภาคม 2010
ข้อความ: 2,643
poper is on a distinguished road
Send a message via MSN to poper
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ หยินหยาง View Post
จุดประสงค์ของผมก็คือจะให้ตรวจสอบวิธีคิดที่ว่า ผมป้อน0เข้าไปแล้วรูทหลายครั้งแต่ได้0ครับ ตามที่คุณ Xx GAMMA xX แสดงไว้ว่าจริงหรือไม่ และต้องการบอกว่าคำที่ว่า $0^0$ ไม่นิยามครับแต่สามารถใช้แคลคูลัสหาลิมิตได้ครับ(มั้ง) ตกลงเป็นอย่างไรกันแน่
ลองคิดโจทย์อีกข้อดูครับ $\lim_{x \to 0^+} 0^x$ ว่าได้ค่าเท่ากับเท่าไร และที่เราพูดว่า $0^0$ คืออะไรกันแน่ ทำไมถึงบอกว่าไม่มีนิยาม หรือบอกว่าเป็น รูปแบบไม่กำหนด ตกลงมันเป็นอะไรกันแน่ แล้วถ้าเป็นไปตามหลักคิดที่ว่าโจทย์ที่ผมยกตัวอย่างทำไมถึงไม่เป็น 0 ละ แล้วถ้าอย่างนั้น มันจะมีค่าอะไรได้บ้าง แต่ทำไมถึงกดเครื่องคิดเลขทุกครั้งถึงได้แต่ 0 ละ ลองคิดดูครับ เดี๋ยวค่อยมาเสวนาใหม่ไปธุระก่อนครับ
ตามความคิดของผมแล้ว $0^0$ ไม่นิยามครับเพราะเกิดข้อขัดแย้งอยู่ 2 อย่างครับ
ถ้าคิดตามสมบัติของ 0 แล้ว 0 ยกกำลังเท่าไหร่ก็จะได้ 0 เสมอดังนั้น $0^0=0$ ด้วย
ถ้าคิดตามกฏเลขยกกำลัง จะได้ว่าจำนวนใดๆยกกำลัง 0 ได้ 1 เสมอดังนั้น $0^0=1$ ด้วย
จากข้อขัดแย้งนี้เราจึงไม่นิยามค่า $0^0$
หลักการเหมือนการพิจารณาการหารด้วย 0 อ่ะครับ
ถ้า $a\not=0 ,\frac{a}{0}=b$ จะได้ $a=b\times0 ,a=0$ ก็จะขัดแย้งกับที่กำหนดไว้
แต่ถ้า a=0 จะได้ว่า $0=b\times0$ แสดงว่า b มีได้หลายคำตอบ
นั่นคือ การหารด้วย 0 อาจไม่มีคำตอบ หรือ มีหลายคำตอบก็ได้ เราจึงไม่นิยามค่าที่หารด้วย 0 ครับ
ส่วนลิมิตนั้นเราหาค่าได้อยู่แล้วครับและก็ไม่เป็น 0 เสมอไปเพราะลิมิตเป็นแค่การเข้าใกล้เท่านั้นไม่ใช่ค่า ณ จุด x=0 ครับ
อีกอย่างการกดเครื่องคิดเลขนั้นมันจะหาค่าทุกครั้งที่เรากดคือพอเรากดรูท0 มันก็จะได้ 0 พอกดรูทอีกที มันก็คิดเป็นรูท 0อีก ก็จะได้ 0 ออกมาซึ่งจะไม่ใช่การยกกำลังซ้อนแล้วหาลิมิตครับ
__________________
คณิตศาสตร์ คือ ภาษาสากล
คณิตศาสตร์ คือ ความสวยงาม
คณิตศาสตร์ คือ ความจริง
ติดตามชมคลิปวีดีโอได้ที่http://www.youtube.com/user/poperKM
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #23  
Old 31 กรกฎาคม 2010, 22:18
Xx GAMMA xX's Avatar
Xx GAMMA xX Xx GAMMA xX ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 พฤษภาคม 2010
ข้อความ: 169
Xx GAMMA xX is on a distinguished road
Default

สมมติให้$\frac{0}{0} =n$
จะได้$0=(0)(n) 0=0 $
ดังนั้นจึงได้$n\in R$
หรือภาษาชาวบ้านคือnเป็นอะไรก็ได้(แต่ต้องเป็นRนะ)
ดังนั้น$\frac{0}{0} $จึงไม่นิยามครับ

แต่ถ้าพูดถึง$0^0=n$
$0=n^{\frac{1}{0}}$
อย่างไรต่อครับช่วยด้วย

31 กรกฎาคม 2010 22:23 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Xx GAMMA xX
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #24  
Old 31 กรกฎาคม 2010, 22:31
Xx GAMMA xX's Avatar
Xx GAMMA xX Xx GAMMA xX ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 พฤษภาคม 2010
ข้อความ: 169
Xx GAMMA xX is on a distinguished road
Default

เอาใหม่ครับ
$lim_{x\rightarrow 0^+}{0^x}=0$ครับ
เพราะ$0^{0.001}=0และ0^{0.0001}=0$ครับ
ในนองเดียวกัน$lim_{x\rightarrow 0^-}{0^x}=0$เช่นกัน
ดังนั้น$lim_{x\rightarrow 0}{0^x}=0$

ผมก็มั่วเหมือนเดิมแหละครับไม่รู้จะถูกไหม

31 กรกฎาคม 2010 22:33 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Xx GAMMA xX
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #25  
Old 31 กรกฎาคม 2010, 23:03
PP_nine's Avatar
PP_nine PP_nine ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 เมษายน 2010
ข้อความ: 607
PP_nine is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ poper View Post
คำถามทิ้งท้ายก่อนนอน จำนวนที่ยกกำลัด้วยจำนวนเชิงซ้อนจะหาค่าได้มั้ยครับ
อยากรู้จัง
คิดได้ครับ เรื่องพวกนี้ส่วนมากจะพูดแค่เลขฐานเป็น e (ระดับมหาลัย)

เพราะว่า $ e^x = \sum_{n = 0}^{\infty} \frac{x^n}{n!} $

แต่ถ้าใส่ x ด้วยจำนวนเชิงซ้อนปุ๊ป มันจะแยกเป็นสองส่วนคือ ส่วนจริงกับส่วนจินตภาพ
ซึ่ง $e^{ix}$ มันบังเอิญไปเท่ากับ $cos(x)+isin(x)$ ทุกจำนวนจริง (อันนี้ผมยังไม่รู้นะครับว่ามันมายังไง )
ไม่แน่ ตรงนี้อาจเป็นที่มาของหน่วยเรเดียนก็ได้ ว่าทำไมต้องเป็นเรเดียน เพราะถ้าใส่วนรอบ $2\pi $ จะได้ค่าเดิม จึงกำหนดว่า 360$\circ$ = 2$\pi$ rad

ทีนี้ ถ้าเราต้องการเปลี่ยนเป็นฐานอื่นก็ใช้ความรู้เรื่อง log มาแก้เอาครับ ไม่ยากมาก
และก็ เตื่อนอย่างนึงว่า การแก้สมการที่ได้เลขยกกำลังเป็นจำนวนเชิงซ้อน จะหาคำตอบออกมาได้หลายค่า (คล้ายกับการแก้สมการ $sin\theta = \frac{1}{2} $)

เพิ่มเติมนิดนึง เวลาเราพูดถึงเอกซ์โปเนนเชียลที่ยกกำลังด้วยจำนวนจริง ฟังก์ชันจะมีโดเมนเป็นจำนวนจริงบวก
หรือพูดง่ายๆคือ ถ้าแก้สมการแล้วได้เลขยกกำลังมีค่าติดลบ เราจะตัดคำตอบนั้นทันที
แต่ถ้าใช้ความรู้เรื่องนี้เข้ามาช่วยแล้ว ก็ไม่ยากที่จะแก้สมการออกมาเป็นจำนวนเชิงซ้อนหรอกครับ
__________________
keep your way.

31 กรกฎาคม 2010 23:46 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 3 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ PP_nine
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #26  
Old 31 กรกฎาคม 2010, 23:06
PP_nine's Avatar
PP_nine PP_nine ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 เมษายน 2010
ข้อความ: 607
PP_nine is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Xx GAMMA xX View Post
เอาใหม่ครับ
$lim_{x\rightarrow 0^+}{0^x}=0$ครับ
เพราะ$0^{0.001}=0และ0^{0.0001}=0$ครับ
ในนองเดียวกัน$lim_{x\rightarrow 0^-}{0^x}=0$เช่นกัน
ดังนั้น$lim_{x\rightarrow 0}{0^x}=0$

ผมก็มั่วเหมือนเดิมแหละครับไม่รู้จะถูกไหม
เกือบถูกแล้วครับ เพราะข้อนี้ต้องตอบว่า หาค่าไม่ได้ จากความรู้เรื่องลิมิต
อย่างแรก แน่นอนอยู่แล้วว่า ถ้า $x>0$ แล้ว $0^x = 0$ เสมอ ดังนั้น $\lim_{x \to 0^+} 0^x = \lim_{x \to 0^+} 0 = 0$
แต่ว่า $\lim_{x \to 0^-} 0^x$ มีค่าเข้าใกล้ infinity นะครับ ไม่ใช่ 0 เพราะ $0^{-0.0001} = \frac{1}{0^{0.0001}} = \frac{1}{0} $ (ซึ่งไม่นิยาม แต่ถ้าใช้ลิมิตจะได้ infinity)
แสดงว่า ลิมิตสองข้างไม่เท่ากัน เมื่อไม่เท่ากันเรานิยามทันทีว่าลิมิตหาค่าไม่ได้ (ไม่ได้แปลว่า infinity นะครับ)
__________________
keep your way.

31 กรกฎาคม 2010 23:15 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ PP_nine
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #27  
Old 31 กรกฎาคม 2010, 23:24
PP_nine's Avatar
PP_nine PP_nine ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 เมษายน 2010
ข้อความ: 607
PP_nine is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Siren-Of-Step View Post
คือ ผมป้อนเลข เข้าไปจำนวนหนึ่ง แล้ว กด เครื่องหมาย รูด หลายๆ รอบ ทำไม ผลสุดท้าย เป็น $1$
ลืมพูดถึงอันนี้ไปเลย ที่มันได้ 1 น่ะ เพราะขีดจำกัดในการแสดงผลทศนิยมของเครื่องคิดเลขมากกว่า
สมมติเรามีเครื่องคิดเลขที่กดเลขได้ 100 หลักขึ้นมา กว่าเราจะกดรูทให้ได้ 1 ก็ต้องใช้เวลานานกว่าเครื่องคิดเลขที่เราใช้อยู่แล้ว
เพราะมันจะแสดงผลต่ำลงไปเรื่อยๆ หรือในขณะที่เครื่องร้อยหลักได้เลข 0 หลังจุดทศนิยมมากๆแล้ว เครื่องคิดเลขเราก็ปัดทิ้งกลายเป็น 1 ไปซะแล้ว
นี่แหละคือขีดความสามารถของเครื่องคิดเลข
__________________
keep your way.

31 กรกฎาคม 2010 23:26 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ PP_nine
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #28  
Old 31 กรกฎาคม 2010, 23:27
poper's Avatar
poper poper ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 พฤษภาคม 2010
ข้อความ: 2,643
poper is on a distinguished road
Send a message via MSN to poper
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ PP_nine View Post
คิดได้ครับ เรื่องพวกนี้ส่วนมากจะพูดแค่เลขฐานเป็น e (ระดับมหาลัย)

เพราะว่า $ e^x = \sum_{n = 0}^{\infty} \frac{x^n}{n!} $

แต่ถ้าใส่ x ด้วยจำนวนเชิงซ้อนปุ๊ป มันจะแยกเป็นสองส่วนคือ ส่วนจริงกับส่วนจินตภาพ
ซึ่ง $e^x$ มันบังเอิญไปเท่ากับ $cos(x)+isin(x)$ ทุกจำนวนจริง (อันนี้ผมยังไม่รู้นะครับว่ามันมายังไง )
ไม่แน่ ตรงนี้อาจเป็นที่มาของหน่วยเรเดียนก็ได้ ว่าทำไมต้องเป็นเรเดียน เพราะถ้าใส่วนรอบ $2\pi $ จะได้ค่าเดิม (วนรอบ) จึงกำหนดว่า 360$\circ$ = 2$\pi$ rad

ทีนี้ ถ้าเราต้องการเปลี่ยนเป็นฐานอื่นก็ใช้ความรู้เรื่อง log มาแก้เอาครับ ไม่ยากมาก
และก็ เตื่อนอย่างนึงว่า จำนวนที่ยกกำลังด้วยจำนวนเชิงซ้อนหาค่าออกมาได้หลายค่า (คล้ายกับการแก้สมการ $sin\theta = \frac{1}{2} $)

เพิ่มเติมนิดนึง เวลาเราพูดถึงเอกซ์โปเนนเชียลที่ยกกำลังด้วยจำนวนจริง ฟังก์ชันจะมีโดเมนเป็นจำนวนจริงบวก
หรือพูดง่ายๆคือ ถ้าแก้สมการแล้วได้เลขยกกำลังมีค่าติดลบ เราจะตัดคำตอบนั้นทันที
แต่ถ้าใช้ความรู้เรื่องนี้เข้ามาช่วยแล้ว ก็ไม่ยากที่จะแก้สมการออกมาเป็นจำนวนเชิงซ้อนหรอกครับ
ขอบคุณมากครับ แต่ก็ยัง งงๆอยู่ว่า $e^x=cos x+i sin x$ ทุกจำนวนจริงนี่ ถ้า $x=\frac{\pi}{2}$ ก็จะได้$e^{\frac{\pi}{2}}=i$ คือเป็นจำนวนเชิงซ้อน แต่ $e^{\frac{\pi}{2}}$ น่าจะเป็นจำนวนจริงนะครับ หรือเป็นจำนวนเชิงซ้อนจริงๆ
เลยเกิดคำถามขึ้นอีกว่า จำนวนจริงยกกำลังด้วยจำนวนอตรรกยะจะเป็นจำนวนจริงอยู่มั้ยครับ
__________________
คณิตศาสตร์ คือ ภาษาสากล
คณิตศาสตร์ คือ ความสวยงาม
คณิตศาสตร์ คือ ความจริง
ติดตามชมคลิปวีดีโอได้ที่http://www.youtube.com/user/poperKM
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #29  
Old 31 กรกฎาคม 2010, 23:42
PP_nine's Avatar
PP_nine PP_nine ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 เมษายน 2010
ข้อความ: 607
PP_nine is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ หยินหยาง View Post
จุดประสงค์ของผมก็คือจะให้ตรวจสอบวิธีคิดที่ว่า ผมป้อน0เข้าไปแล้วรูทหลายครั้งแต่ได้0ครับ ตามที่คุณ Xx GAMMA xX แสดงไว้ว่าจริงหรือไม่ และต้องการบอกว่าคำที่ว่า $0^0$ ไม่นิยามครับแต่สามารถใช้แคลคูลัสหาลิมิตได้ครับ(มั้ง) ตกลงเป็นอย่างไรกันแน่
ลองคิดโจทย์อีกข้อดูครับ $\lim_{x \to 0^+} 0^x$ ว่าได้ค่าเท่ากับเท่าไร และที่เราพูดว่า $0^0$ คืออะไรกันแน่ ทำไมถึงบอกว่าไม่มีนิยาม หรือบอกว่าเป็น รูปแบบไม่กำหนด ตกลงมันเป็นอะไรกันแน่ แล้วถ้าเป็นไปตามหลักคิดที่ว่าโจทย์ที่ผมยกตัวอย่างทำไมถึงไม่เป็น 0 ละ แล้วถ้าอย่างนั้น มันจะมีค่าอะไรได้บ้าง แต่ทำไมถึงกดเครื่องคิดเลขทุกครั้งถึงได้แต่ 0 ละ ลองคิดดูครับ เดี๋ยวค่อยมาเสวนาใหม่ไปธุระก่อนครับ
ตอบคำถามคาใจอีกนิดนึง $0^0$ นั่นคือ เราพูดถึงตัวเลขแบบสดๆดิบๆ
ส่วนลิมิตของตัวๆหนึ่งซึ่งถ้าแทนค่าแล้วได้ $0^0$ อันนี้เราพูดถึง ค่าของตัวเลขที่เข้าใกล้ $0^0$
แล้วไม่ได้แปลว่าลิมิตของฟังก์ชันหลายๆฟังก์ชันที่แทนค่าได้ $0^0$ จะมีค่าเป็น 0 เสมอไปนะครับ (งงป่าวเอ่ย)

เช่น $\lim_{x \to 0} x^x =1$

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ poper View Post
ขอบคุณมากครับ แต่ก็ยัง งงๆอยู่ว่า $e^x=cos x+i sin x$ ทุกจำนวนจริงนี่ ถ้า $x=\frac{\pi}{2}$ ก็จะได้$e^{\frac{\pi}{2}}=i$ คือเป็นจำนวนเชิงซ้อน แต่ $e^{\frac{\pi}{2}}$ น่าจะเป็นจำนวนจริงนะครับ หรือเป็นจำนวนเชิงซ้อนจริงๆ
เลยเกิดคำถามขึ้นอีกว่า จำนวนจริงยกกำลังด้วยจำนวนอตรรกยะจะเป็นจำนวนจริงอยู่มั้ยครับ
เมื่อกี้เขียนผิดครับ แก้ไขให้แล้ว e ต้องยกกำลังด้วย ix ไม่ใช่ x ครับ
__________________
keep your way.

01 สิงหาคม 2010 00:40 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ nongtum
เหตุผล: double post+แก้เล็กน้อยโปรดใช้ปุ่มแก้ไข
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #30  
Old 01 สิงหาคม 2010, 00:05
หยินหยาง's Avatar
หยินหยาง หยินหยาง ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่จักรวาล
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,921
หยินหยาง is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ poper View Post
ตามความคิดของผมแล้ว $0^0$ ไม่นิยามครับเพราะเกิดข้อขัดแย้งอยู่ 2 อย่างครับ
ถ้าคิดตามสมบัติของ 0 แล้ว 0 ยกกำลังเท่าไหร่ก็จะได้ 0 เสมอดังนั้น $0^0=0$ ด้วย
ถ้าคิดตามกฏเลขยกกำลัง จะได้ว่าจำนวนใดๆยกกำลัง 0 ได้ 1 เสมอดังนั้น $0^0=1$ ด้วย
จากข้อขัดแย้งนี้เราจึงไม่นิยามค่า $0^0$
หลักการเหมือนการพิจารณาการหารด้วย 0 อ่ะครับ
ถ้า $a\not=0 ,\frac{a}{0}=b$ จะได้ $a=b\times0 ,a=0$ ก็จะขัดแย้งกับที่กำหนดไว้
แต่ถ้า a=0 จะได้ว่า $0=b\times0$ แสดงว่า b มีได้หลายคำตอบ
นั่นคือ การหารด้วย 0 อาจไม่มีคำตอบ หรือ มีหลายคำตอบก็ได้ เราจึงไม่นิยามค่าที่หารด้วย 0 ครับ
ส่วนลิมิตนั้นเราหาค่าได้อยู่แล้วครับและก็ไม่เป็น 0 เสมอไปเพราะลิมิตเป็นแค่การเข้าใกล้เท่านั้นไม่ใช่ค่า ณ จุด x=0 ครับ
อีกอย่างการกดเครื่องคิดเลขนั้นมันจะหาค่าทุกครั้งที่เรากดคือพอเรากดรูท0 มันก็จะได้ 0 พอกดรูทอีกที มันก็คิดเป็นรูท 0อีก ก็จะได้ 0 ออกมาซึ่งจะไม่ใช่การยกกำลังซ้อนแล้วหาลิมิตครับ
นายแน่มาก
ที่เรามักพูดว่า $0^0$ นั้นมีอยู่ 2 กรณีด้วยกันครับ กรณีแรก คือไม่มีนิยาม เราใช้กรณีนี้เมื่อ 0 ตรงฐาน และตรงเลขยกกำลังนั้นมีค่าเป็น 0 ไม่ใช่เข้าใกล้ 0 เหตุที่เราไม่นิยามเพราะมันทำให้เกิดข้อขัดแย้งได้ในทางคณิตศาสตร์ หรือพูดง่ายๆก็คือไปขัดแย้งกับกฎเกณฑ์ที่ใช้กันในคณิตศาสตร์ อีกกรณีก็คือ อยู่ในรูปแบบไม่กำหนด (หรือ indeterminate form) เราจะพบมันได้ตอนเรียนแคลคลูลัส ซึ่ง 0 ตรงฐาน และตรงเลขยกกำลังนั้นมีค่าเข้าใกล้ 0 ไม่ใช่ ศูนย์ และด้วยเหตุนี้มั้งครับถึงได้ชื่อว่า indeterminate form (เพราะเรายังไม่สามารถกำหนดค่ามันได้ก่อน) เพราะต้องใช้เรื่องลิมิตในการหาค่าที่ว่าก่อนซึ่งค่าที่ได้ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบของโจทย์ อาจหาค่าได้หรือหาค่าไม่ได้ก็ได้ ภาษาไทยจึงใช้คำว่า รูปแบบไม่กำหนด
ส่วนในกรณีของเครื่องคิดเลข ตรงฐานนั้นเป็น 0 ไม่ใช่เข้าใกล้ 0 ดังนั้นยกกำลังอะไรที่เป็นจำนวนจริงบวกก็เป็น 0 ครับ ซึ่งเมื่อเรากดเครื่องคิดเลข
$\sqrt{0} =0$ ดังนั้นไม่ว่าเราจะกดกี่ครั้งก็เป็น 0 อยู่ดีครับ เหมือนที่คุณ poper ได้แสดงความเห็นไว้ครับ
โจทย์ที่ผมให้ไว้ก็เพื่อให้เห็นรูปแบบต่างๆ ของ $0^0$ แค่นั้นเองครับ แล้วเคยสงสัยมั้ยครับว่าทำไมพออยู่ในรูปแบบไม่กำหนด เราถึงต้องใช้กฎของโลปิตาลมาช่วย และทำไมเวลาใช้ ถึงดิฟเศษ กับดิฟส่วน แยกจากกัน ทำไมไม่ดิฟ เศษส่วนเหมือนกับเวลาเราดิฟ ฟังก์ชั่นเศษส่วนทั่วไปครับ ลองคิดมันๆดูครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 07:07


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha