Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์ประถมศึกษา > ปัญหาคณิตศาสตร์ ประถมปลาย
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 13 ธันวาคม 2007, 13:38
WoW!'s Avatar
WoW! WoW! ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 ธันวาคม 2007
ข้อความ: 3
WoW! is on a distinguished road
Default ช่วยทำข้อนี้หน่อยครับ

โจทย์ นะครับ
ให้รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน โดยที่แต่ละด้านของรูปมีความยาว เท่ากับด้านละ 10 หน่วย
โดยให้ค่าเส้นแทยงมุม ด้านที่สั้นกว่ายาว x และเส้นแทยงมุมข้างที่ยาวกว่ายาว x+4
จงหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนนี้
(แสดงวิธีทำคิด)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 13 ธันวาคม 2007, 13:49
t.B.'s Avatar
t.B. t.B. ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 17 มิถุนายน 2007
ข้อความ: 634
t.B. is on a distinguished road
Default

จากสมบัติของสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนที่ว่าเส้นทแยงมุมตัดกันเป็นมุมฉากและแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน จะสามารถใช้ทฤษฏีบทพีทากอรัส หาค่า x ได้ และเมื่อรู้ค่า x ก็สามารถหาพื้นที่ได้เช่นกัน

#3 ที่ไม่เขียนวิธีทำให้ เพราะอยากให้ลองคิดเองดูก่อนติดขัดตรงไหนก็ถามได้ครับ
__________________
I am _ _ _ _ locked

13 ธันวาคม 2007 14:20 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ t.B.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 13 ธันวาคม 2007, 14:12
WoW!'s Avatar
WoW! WoW! ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 ธันวาคม 2007
ข้อความ: 3
WoW! is on a distinguished road
Default

นั้นคือแนวทางอะครับ แต่ ผลลัพธ์สิครับ อยากรู้วิธีทำ เพราะปวดหัวจะแย่เเล้ว
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 13 ธันวาคม 2007, 19:18
teamman's Avatar
teamman teamman ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มกราคม 2007
ข้อความ: 381
teamman is on a distinguished road
Default

ก็ตอนแรกนะครับ สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนมีสมบัติว่า เส้นทแยงมุมตัดกันแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน และตั้งฉากกันด้วย
ถ้ามันตั้งฉากกันก็สามารถใช้ ท.บ.พีทาโกรัสได้ครับ
ถ้าลองวาดภาพ
จากภาพจะได้สมการเป็น
100 = (x/2)^2 + [(x+4)/2]^2

จากนั้นก็แกสมการครับแล้วก็จัดการหา พ.ท. โดยใช้สูตร 1/2*ผลคูณของเส้นทแยงมุมครับ
__________________
ต้องเข้าใจให้ได้
ไม่มีใครลิขิตตัวเรา นอกจากตัวเรา
เราเป็นคนเลือกเองคับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 13 ธันวาคม 2007, 21:30
Puriwatt's Avatar
Puriwatt Puriwatt ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 กันยายน 2006
ข้อความ: 1,435
Puriwatt is on a distinguished road
Default

วิธีที่ 1 จาก $100 = (\frac{X}{2})^2 + (\frac{X+4}{2})^2$ ถ้ากำหนดให้ $\frac{X}{2} = a$ แล้วจะได้รูปสมการดังนี้
$100 = (a)^2 + [a+2]^2 = 2a^2 + 4a +4$ --> $2a^2 + 4a -96 = 0$
แก้สมการ : ได้รูปสามเหลี่ยมมุมฉากมีความยาวด้าน 6 , 8 , 10 หน่วย
ผลลัพท์ : X = 12 หน่วย ; X+4 = 16 หน่วย --> พื้นที่ 96 ตารางหน่วย

วิธีที่ 2 จาก $100 = (\frac{x}{2})^2+(\frac{x+4}{2})^2 = (\frac{x}{2})^2+(\frac{x}{2}+2)^2 $
ได้รูปสมการดังนี้ $96 = 2.(\frac{x}{2})^2 +4.(\frac{x}{2}) = (\frac{x}{2}).(x+4) = \frac{1}{2}.X.(X+4)$
$เนื่องจากพื้นที่ = \frac{1}{2}.ผลคูณของเส้นทะแยงมุม--> จึงมีค่าเท่ากับ 96 ตารางหน่วย$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 14 ธันวาคม 2007, 10:04
WoW!'s Avatar
WoW! WoW! ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 ธันวาคม 2007
ข้อความ: 3
WoW! is on a distinguished road
Default

ขอบคุณครับ ยอดมากเลย แต่มันเป็นข้อสอบ ป.6 ที่ยากมาก
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 15 ธันวาคม 2007, 23:35
MR.Quest's Avatar
MR.Quest MR.Quest ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไว
 
วันที่สมัครสมาชิก: 15 ธันวาคม 2007
ข้อความ: 214
MR.Quest is on a distinguished road
Default

ผมรู้แค่ ด้าน=10 ปีทาโกรัสด้านประกอบมุมฉาก=8,6 เพราะ10=2x5 8=2x4 6=2x3 เพราะปีทาโกรัส=3,4,5
และเส้นแทยงมุม=8x2,6x2 ซึ่ง=16,12 พ.ท.รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน =(1/2)xผลคูณของเส้นแทยงมุม=(1\2)x16x12=96

16 ธันวาคม 2007 09:30 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ MR.Quest
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 03:50


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha