Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > พีชคณิต
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 14 มกราคม 2017, 03:14
Na.na Na.na ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2017
ข้อความ: 5
Na.na is on a distinguished road
Default

จากสมการ $x^2+y^2=z^3$
โดยใช้เอกลักษณ์พีชคณิต อยากทราบที่มาที่ไปว่า
ทำไมถึงได้
$(u(u^2-3u^2))^2+(v(3u^2-v^2))^2=(u^2+v^2)^3$ ค่ะ

จากสมการ $x^2+y^2=z^3$
โดยใช้เอกลักษณ์ทางพีชคณิตอยากทราบว่าทำไมถึงได้เป็น
$(u(u^2-3v^2))^2+(v(3u^2-v^2))^2=(u^2+v^2)^3$ ค่ะ

14 มกราคม 2017 18:13 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gon
เหตุผล: merge
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 14 มกราคม 2017, 12:36
BAWHK BAWHK ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 31 ตุลาคม 2016
ข้อความ: 12
BAWHK is on a distinguished road
Default

งง อะครับต้องการอะไร

14 มกราคม 2017 17:48 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ BAWHK
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 14 มกราคม 2017, 13:01
Aquila Aquila ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 ตุลาคม 2013
ข้อความ: 412
Aquila is on a distinguished road
Default

ถ้าหากว่าตั้งโจทย์ใหม่เป็น

จงหาพร้อมพิสูจน์ว่าสมการ $a^2+b^2=c^3$ มีคำตอบหรือไม่

ถ้าไม่มีจงพิสูจน์ ถ้ามีจงหาคำตอบที่เป็นไปได้ทั้งหมด

...จะทำยังไง...

เอกลักษณ์ตัวนี้ถ้าไม่เคยเห็นมาก่อนแล้วเจอโจทย์ถามแบบข้างบนไป

มันก็ยากนะที่จะนึกให้ออก แต่มันพอเดาได้ครับ

เจ้าของกระทู้ เขาอยากรู้ที่มาของเอกลักษณ์ตัวนี้ หรือวิธีสร้างเอกลักษณ์ที่เข้าใจง่ายๆ

ลองอธิบายให้เขาฟังสิครับ ว่าถ้าจะสร้างเอกลักษณ์ตัวนี้ต้องทำยังไงบ้าง
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 14 มกราคม 2017, 17:55
BAWHK BAWHK ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 31 ตุลาคม 2016
ข้อความ: 12
BAWHK is on a distinguished road
Default

ถ้า $x^2+y^2=z^3$ มีคำตอบ เเล้วไม่จำเป็นต้องอยู่ใน form ข้างต้นเสมอไปอะครับ เช่น $58^2+145^2=29^3$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 14 มกราคม 2017, 18:21
Aquila Aquila ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 ตุลาคม 2013
ข้อความ: 412
Aquila is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ BAWHK View Post
ถ้า $x^2+y^2=z^3$ มีคำตอบ เเล้วไม่จำเป็นต้องอยู่ใน form ข้างต้นเสมอไปอะครับ เช่น $58^2+145^2=29^3$
ใช่ครับ เอกลักษณ์ที่เขาถามมันไม่ได้ cover คำตอบที่เป็นไปได้ทั้งหมด

เขาถามแค่ว่ามันมีที่มาที่ไปยังไงต่างหาก ผมแค่ยกตัวอย่างเฉยๆ

เพื่อที่ว่าจะได้มีใครสักคนที่อธิบายให้เขาเข้าใจง่ายๆ ก็แค่นั้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 14 มกราคม 2017, 20:21
Na.na Na.na ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2017
ข้อความ: 5
Na.na is on a distinguished road
Default

Name:  5.png
Views: 394
Size:  84.2 KB

พอดีทำสัมมนาเรื่องนี้ค่ะ แต่ติดหาที่มาของสมการยังไม่ได้ เลยอยากทราบว่า
จากสมการ $x^2+y^2=z^3$
มาเป็นสมการ $(u(u^2-3v^2))^2+v(3u^2-v^2))^2=(u^2+v^2)^3$ ได้ยังไงค่ะรบกวนช่วยหน่อยน่ะค่ะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 14 มกราคม 2017, 20:32
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

มันมาจากการเสกเอานั่นเองครับ ไปนั่งทางในเจอเอกลักษณ์ตัวนี้มาก็เลยเอามาแสดงให้ดู

จุดประสงค์จริงๆคือจะบอกว่าสมการนี้มีคำตอบเป็นจำนวนอนันต์ครับ

ซึ่งไม่จำเป็นต้องแสดงตามนี้ก็ได้เช่นบอกว่าเพราะ

$(2t^3)^2+(2t^3)^2=(2t^2)^3$

ทุกจำนวนเต็มบวก $t$

ดังนั้นสมการ $x^2+y^2=z^3$ มีคำตอบเป็นจำนวนอนันต์
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 15 มกราคม 2017, 00:12
Thgx0312555's Avatar
Thgx0312555 Thgx0312555 ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 สิงหาคม 2011
ข้อความ: 885
Thgx0312555 is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ nooonuii View Post
มันมาจากการเสกเอานั่นเองครับ ไปนั่งทางในเจอเอกลักษณ์ตัวนี้มาก็เลยเอามาแสดงให้ดู

จุดประสงค์จริงๆคือจะบอกว่าสมการนี้มีคำตอบเป็นจำนวนอนันต์ครับ

ซึ่งไม่จำเป็นต้องแสดงตามนี้ก็ได้เช่นบอกว่าเพราะ

$(2t^3)^2+(2t^3)^2=(2t^2)^3$

ทุกจำนวนเต็มบวก $t$

ดังนั้นสมการ $x^2+y^2=z^3$ มีคำตอบเป็นจำนวนอนันต์
เขาจะเอาให้ $\gcd (x,y) =1$ ด้วยนะครับ
__________________
----/---~Alice~ จงรับรู้ไว้ ชื่อแห่งสีสันหนึ่งเดียวที่แสดงผล
---/---- ~Blue~ นี่คือ สีแห่งความหลังอันกว้างใหญ่ของเว็บบอร์ดนี้
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 15 มกราคม 2017, 09:02
Na.na Na.na ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2017
ข้อความ: 5
Na.na is on a distinguished road
Default

ขอบคุณมากค่ะ ขอถามเพิ่มเติมน่ะค่ะ
แล้วถ้าเป็นโจทย์แบบนี้ แล้วเราจะหาค่า $x,y$ ยังไงค่ะ
เพราะลองเอาค่า $u=2,v=1$ แทนใน $x_1,y_1,z_1$ และ $x_2,y_2,z_2$ แล้วแต่คำตอบไม่ตรงกับเฉลย
ตอนแรกคิดว่าเฉลยผิดแต่พอตรวจคำตอบดูแล้วเฉลยไม่ได้ผิดค่ะ
สมการ$(11)$ คือ $ax^2+by^2={z^3}^n$
Name:  1111.png
Views: 350
Size:  95.7 KB
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 15 มกราคม 2017, 20:40
Aquila Aquila ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 ตุลาคม 2013
ข้อความ: 412
Aquila is on a distinguished road
Default

มาเพิ่มตรงส่วนคำถามแรกให้นะ เอาไว้ประกอบ detail ของสัมมนา

ที่ถามว่า $a^2+b^2=c^3$ แล้วมาเป็นเอกลักษณ์นั้นได้ไง

point ของมันก็เป็นไปตามที่ความเห็นบนบอกนั่นแหละครับ

คือมันพยายามโชว์ว่า solution มีมากมายไม่จำกัด (infinitely many solutions)

ซึ่งข้อสังเกตของความเห็นบนก็เพียงพอที่จะแสดง point นี้

แต่ถ้าหากอยากได้ด้วยว่า $(u,v)=1$ ก็ต้องสร้างเอกลักษณ์ขึ้นมาให้ match กับเงื่อนไขนี้ด้วย

--------------------------------------------------------------

ต่อมาผมจะโชว์ให้เห็นว่าจาก $a^2+b^2=c^3$ เพียวๆมัน build เอกลักษณ์ออกมายังไง

ให้ลองสังเกตจากเลขชี้กำลังดูก่อน คือมันมี 2 กับ 3 ถูกป่าว และมโนคติเบื้องต้นอย่างเป็นรูปธรรม

ของสมการนี้คือ มันต้อง build เอกลักษณ์ของตัวแปรอื่นๆ (เช่น $u,v$) ให้กำลังสองของอะไรสักอย่าง

บวกกันแล้วได้กำลังสามของอีกตัว ถูกไหม แต่เราไม่รู้ว่าไส้ใน $a,b,c$ มันควรมีอะไร และมีตัวแปรกี่ตัว

ถ้าเป็นตัวเดียวก็จะคล้ายๆของคุณ nooonuii *** เพราะงั้นก็ลองนึกเป็น 2 ตัวแปรดูก่อน

ก็เลยควรเดาไปก่อนเลยว่าเป็น 2 ตัวแปร ต่อมามาลองดูเลขชี้กำลัง มันมี 2 กับ 3 นิพจน์ในการกระจายมันจะเท่ากันได้

มันควรมีเลขชี้กำลังตอนกระจายออกมาแล้วเท่ากัน เพราะงั้นข้างในไส้ของกำลัง 2 ด้านซ้ายควรมี 3

และข้างในไส้กำลัง 3 ด้านขวาควรมี 2 เพื่อที่ว่ามันคูณกระจายออกมาแล้วได้กำลัง 6 ถูกป่าว

จากนั้นก็ใช้ข้อสังเกตนี้นี่แหละ build เอกลักษณ์ (เรามีสูตรกำลังสองกับสามอะไรบ้างนึกดู)

เรามี $(u-v)^3,(u+v)^3$ อยู่นิ และเราต้องการกำลัง 6 ที่สามารถจะดัดได้ง่ายๆถูกไหม

เพราะงั้นก็เลือกเป็น $(u^2-v^2)^3$ มาดู และสังเกตเพิ่มด้วยว่า $(u^2-v^2)^3=-(v^2-u^2)^3$

จะได้เป็น $(u^2-v^2)^3+(v^2-u^2)^3=0$ ที่ต้องใช้แบบนี้เพราะเราต้องการดัดเอกลักษณ์โดยใช้สมมาตรที่บวกกันเป็น 0 ทางฝั่งขวา

เพื่อที่ว่าเราจะสามารถย้ายบางเทอมหรือบวกบางเทอมจากการกระจายฝั่งซ้ายไปฝั่งขวา แล้วได้อะไรซักอย่างกำลังสามพอดี

และหวังว่าค่าที่เหลือจากทางฝั่งซ้ายมันจะ match กับอะไรซักอย่างที่เป็นกำลังสองบวกกัน

กระจายออก $u^6-3u^4v^2+3u^2v^4-v^6+v^6-3v^4u^2+3v^2u^4-u^6=0$

จากนี้สังเกตว่า จัดให้เป็นกำลังสองสองก้อนบวกกัน ยากกว่า จัดให้เป็นกำลังสามก้อนเดียว

เพราะงั้นเริ่มจากย้ายตัวที่น่าจะเป็นกำลังสามไปทางขวาก่อนคือ $-u^6,-v^6$

แล้วมองให้เป็นกำลังสามให้ได้ บวกเทอมที่เหลือคือ $3u^4v^2+3u^2v^4$ เข้าไป

$u^6-3u^4v^2+3u^2v^4+v^6-3v^4u^2+3v^2u^4+3u^4v^2+3u^2v^4=u^6+v^6+3u^4v^2+3u^2v^4=(u^2+v^2)^3$ ---(***)

ทีนี้ฝั่งขวามันจะรวบเป็นกำลังสามได้ตามแผนละ ถูกป่าว เหลือแต่บีบทางฝั่งซ้ายให้หลุดเป็นกำลังสองบวกกันให้ได้

จากนี้ถ้าเรารีบไปตัดทอนผลลัพธ์สุดท้ายของฝั่งซ้าย มันจะเหลือแต่พจน์ที่เป็นค่าบวกซึ่งจัดกำลังสองบวกกันแล้วมองยาก

เลยเหลือเป็นค่าลบไว้ $u^6-3u^4v^2+3u^2v^4+v^6-3v^4u^2+3v^2u^4+3u^4v^2+3u^2v^4$

ตรงนี้มันจะมองได้ไม่ยากมากให้เป็นกำลังสองสองตัวบวกกันจากการดูเลขชี้กำลังที่โชว์อยู่

เลือกจากที่ obvious สุดก่อน คือ $u^6,v^6$ มันต้องเป็นกำลังสองสองตัวบวกกัน เพราะงั้นต้องมองเป็น $(u^3)^2,(v^3)^2$

แล้วเอาไปโยงกับเอกลักษณ์ที่เรารู้จักกันดี $(x-y)^2=x^2-2xy+y^2$ มอง $x,y$ ให้ออกให้ได้

เลือกไปจับกับ $u^6-3u^4v^2$ (ทำไม?...) เพราะมันมองเป็น $(u^3)^2-2(u^3)(3uv^2)+(3uv^2)^2$ ซึ่งเลขชี้กำลังมัน force ให้เป็นกำลังสองได้พอดี

จัดได้เป็น $u^6-3u^4v^2=(u^3)^2-2(u^3)(3uv^2)+(3uv^2)^2+3u^4v^2-9u^2v^4$ แค่บวกเข้าตัดออกธรรมดาๆ

เหลือแค่เชคดูว่าผลลัพธ์สุดท้ายมันตัดทอนกันหมดเหลือแค่กำลังสองของอะไรสักอย่างบวกกันไหม

เวลาเชคเขียนแยกเป็นแบบนี้น่าจะเชคง่ายขึ้นครับ

$u^6-3u^4v^2=(u^3-3uv^2)^2+3u^4v^2-9u^2v^4$
$v^6-3v^4u^2=(v^3-3vu^2)^2+3v^4u^2-9v^2u^4$

จับสองอันบนบวกกันแล้วบวกเทอมอื่นๆที่เหลือจาก (***) ก็จบแล้ว มันจะตัดกันหมด

เหลือเป็น $(u^3-3uv^2)^2+(v^3-3vu^2)^2=(u^2+v^2)^3$ ก็เท่านั้นเอง ไม่ยากใช่มั้ย

ตรง *** มันมีเอกลักษ์แบบตัวแปรเดียวอยู่ด้วยคือ $(t^3-3t)^2+(3t^2-1)^2=(t^2+1)^3$ คือแทน $v=1$ นี่แหละ

แต่การสร้างแบบนี้ ผมว่ามองไม่ยากไม่ง่ายไปกว่าการมองแบบสองตัวแปรอีกนะ เพราะมันไม่มีอุปกรณ์ช่วย deduct เท่าไร

ปล. ประเด็นอื่นๆเดี๋ยวมามีเวลามาช่วยให้ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 16 มกราคม 2017, 00:18
Na.na Na.na ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2017
ข้อความ: 5
Na.na is on a distinguished road
Default

อ๋อเข้าใจแล้วค่ะละเอียดมาก ขอบคุณมากน่ะค่ะ
ถ้าว่างๆยังไงรบกวนช่วยอธิบายอีกข้อให้ด้วยน่ะค่ะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #12  
Old 20 มกราคม 2017, 18:43
Aquila Aquila ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 ตุลาคม 2013
ข้อความ: 412
Aquila is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Na.na View Post
อ๋อเข้าใจแล้วค่ะละเอียดมาก ขอบคุณมากน่ะค่ะ
ถ้าว่างๆยังไงรบกวนช่วยอธิบายอีกข้อให้ด้วยน่ะค่ะ
ลองทดให้ดูแล้วครับ เอาที่ถามมาก่อนนะครับ ว่าทำไมได้ $x,y,z$ ไม่ตรง

สำหรับ theorem 1 ผลเฉลยจะหาจากการกำหนดค่า $u,v$ กับ $n$ ก่อนครับ

$x,y$ มันจะได้มาจากการหาค่า $(x_{n},y_{n},z_{1})$ เท่านั้นครับ

$x,y,z$ ที่เป็นผลเฉลยขึ้นเฉพาะกับ $u,v$ และ $n$ แต่จะหยุดหา $x,y$ ที่กี่ขั้น ต้องดูที่ค่า $n$ เอา

ตรงสมการ (21) $x^2+y^2=z^9$ มันคือ special case ที่มี $n=2$ ครับ

หมายความว่า solution จะหาได้จาก $(x_{2},y_{2},z_{1})$ เท่านั้นเอง

ถ้าเป็นแบบนี้ก็จะหมายความว่า หา 2 ขั้น คือขั้นแรกกำหนด $u,v$ ขึ้นมาก่อน จะได้ $x_{1},y_{1},z_{1}$

ขึ้นที่สองเอา $x_{1},y_{1}$ ที่ได้ไปหา $x_{2},y_{2}$ (ส่วนเงื่อนไขของ $u,v$ เป็นไปตามที่เห็นใน paper)

ให้ $u=2 , v=1$ จะหา $x_{1},y_{1},z_{1}$ ได้เป็น $2,11,5$ ครับ (ตามลำดับเลย แค่ใช้ (22) ใน paper แทนตรงๆ)

จากนั้นเอา $x_{1}=2,y_{1}=11$ แทนใน $x_{2},y_{2}$ ใน (23) จะได้ $x_{2}=-718$ กับ $y_{2}=-1199$

ส่วน $z_{1}=2^2+1^2=5$ จะเหมือนเดิมตลอด (สำหรับ $x_{2},y_{2}$ ที่ติด $u,v$ ใน (23) ไม่ต้องเอา $u,v$ มาแทนตรงนี้นะครับ มันยุ่งยาก... )

$z$ อื่นๆ ไม่ต้องไปยุ่งกับมันครับ $z$ กำหนดแค่ $z_{1}=u^2+v^2$ แล้วใช้ตัวนี้ไปตลอด
ลองกลับไปดู theorem 1 ดู มันจะเป็น $z_{1}$ ตลอด

การเขียนแบบนี้ $(x,y,z)=(x_{n}(u,v),y_{n}(u,v),z_{1}(u,v))$ หมายความว่า

คู่อันดับที่เป็นผลเฉลยในฝั่งซ้าย ได้มาจาก คู่อันดับที่เป็นผลเฉลยในฝั่งขวาโดยขึ้นกับ $u,v$ ที่กำหนดเริ่มต้น

และจำนวนครั้งของการคำนวณ $n$ ครับ ยกตัวอย่างเพิ่มให้ใน case ที่ $n=3$ นะ

ถ้าให้เป็น $a,b$ เป็น $1,1$ เหมือนเดิมจะได้ $x^2+y^2=z^{27}$ เลือก $(u,v)=(2,1)$ เหมือนเดิม

จะได้ $z_{1}=5$ เหมือนเดิม ส่วน $x_{1},y_{1}$ และ $x_{2},y_{2}$ จะเป็นค่าเดิมเลยคือ

$2,11$ กับ $-718,-1199$ ส่วน $x_{3},y_{3}$ ก็แค่หาจาก

$x_{3}=x_{2}(x_{2}^2-3y_{2}^2)$ กับ $y_{3}=y_{2}(3x_{2}^2-y_{2}^2)$ แล้วก็สังเกตด้วยว่า เครื่องหมายหรือการสลับ $x,y$ มันไม่ fix ครับ

เช่นใน paper บอก $x=1199 ,y=718$ ไม่ตรงกับที่ผมหาออกมาเป็น $-718,-1199$

แต่เวลามันแทนแล้วมันสอดคล้อง $x^2+y^2=z^9$ ก็พอ

ที่เป็นแบบนี้เพราะมันเป็นกำลังสอง จะแทนกลับกันหรือใส่เครื่องหมายลบก็ได้ครับ

ส่วน case นี้ $n=3$ ก็จะได้เป็น $(-2726446322)^2+(130656229)^2=5^{27}$

สังเกตว่าสับเลขหรือใส่ลบ กำลังสองคำนวณออกมาจะเหมือนเดิม มันไม่ fix ครับ

ปล. paper นี้ไม่ยากครับ ใช้ความรู้ไม่หวือหวามาก แต่ต้องใช้การสังเกตกับทักษะหน่อยครับ

ถ้าติดลองทดมือดูเองก่อนครับ กำหนดตัวเลขเล็กๆลงไปก่อนก็ได้ สู้ๆนะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #13  
Old 22 มกราคม 2017, 19:44
Na.na Na.na ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2017
ข้อความ: 5
Na.na is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Aquila View Post
ลองทดให้ดูแล้วครับ เอาที่ถามมาก่อนนะครับ ว่าทำไมได้ $x,y,z$ ไม่ตรง

สำหรับ theorem 1 ผลเฉลยจะหาจากการกำหนดค่า $u,v$ กับ $n$ ก่อนครับ

$x,y$ มันจะได้มาจากการหาค่า $(x_{n},y_{n},z_{1})$ เท่านั้นครับ

$x,y,z$ ที่เป็นผลเฉลยขึ้นเฉพาะกับ $u,v$ และ $n$ แต่จะหยุดหา $x,y$ ที่กี่ขั้น ต้องดูที่ค่า $n$ เอา

ตรงสมการ (21) $x^2+y^2=z^9$ มันคือ special case ที่มี $n=2$ ครับ

หมายความว่า solution จะหาได้จาก $(x_{2},y_{2},z_{1})$ เท่านั้นเอง

ถ้าเป็นแบบนี้ก็จะหมายความว่า หา 2 ขั้น คือขั้นแรกกำหนด $u,v$ ขึ้นมาก่อน จะได้ $x_{1},y_{1},z_{1}$

ขึ้นที่สองเอา $x_{1},y_{1}$ ที่ได้ไปหา $x_{2},y_{2}$ (ส่วนเงื่อนไขของ $u,v$ เป็นไปตามที่เห็นใน paper)

ให้ $u=2 , v=1$ จะหา $x_{1},y_{1},z_{1}$ ได้เป็น $2,11,5$ ครับ (ตามลำดับเลย แค่ใช้ (22) ใน paper แทนตรงๆ)

จากนั้นเอา $x_{1}=2,y_{1}=11$ แทนใน $x_{2},y_{2}$ ใน (23) จะได้ $x_{2}=-718$ กับ $y_{2}=-1199$

ส่วน $z_{1}=2^2+1^2=5$ จะเหมือนเดิมตลอด (สำหรับ $x_{2},y_{2}$ ที่ติด $u,v$ ใน (23) ไม่ต้องเอา $u,v$ มาแทนตรงนี้นะครับ มันยุ่งยาก... )

$z$ อื่นๆ ไม่ต้องไปยุ่งกับมันครับ $z$ กำหนดแค่ $z_{1}=u^2+v^2$ แล้วใช้ตัวนี้ไปตลอด
ลองกลับไปดู theorem 1 ดู มันจะเป็น $z_{1}$ ตลอด

การเขียนแบบนี้ $(x,y,z)=(x_{n}(u,v),y_{n}(u,v),z_{1}(u,v))$ หมายความว่า

คู่อันดับที่เป็นผลเฉลยในฝั่งซ้าย ได้มาจาก คู่อันดับที่เป็นผลเฉลยในฝั่งขวาโดยขึ้นกับ $u,v$ ที่กำหนดเริ่มต้น

และจำนวนครั้งของการคำนวณ $n$ ครับ ยกตัวอย่างเพิ่มให้ใน case ที่ $n=3$ นะ

ถ้าให้เป็น $a,b$ เป็น $1,1$ เหมือนเดิมจะได้ $x^2+y^2=z^{27}$ เลือก $(u,v)=(2,1)$ เหมือนเดิม

จะได้ $z_{1}=5$ เหมือนเดิม ส่วน $x_{1},y_{1}$ และ $x_{2},y_{2}$ จะเป็นค่าเดิมเลยคือ

$2,11$ กับ $-718,-1199$ ส่วน $x_{3},y_{3}$ ก็แค่หาจาก

$x_{3}=x_{2}(x_{2}^2-3y_{2}^2)$ กับ $y_{3}=y_{2}(3x_{2}^2-y_{2}^2)$ แล้วก็สังเกตด้วยว่า เครื่องหมายหรือการสลับ $x,y$ มันไม่ fix ครับ

เช่นใน paper บอก $x=1199 ,y=718$ ไม่ตรงกับที่ผมหาออกมาเป็น $-718,-1199$

แต่เวลามันแทนแล้วมันสอดคล้อง $x^2+y^2=z^9$ ก็พอ

ที่เป็นแบบนี้เพราะมันเป็นกำลังสอง จะแทนกลับกันหรือใส่เครื่องหมายลบก็ได้ครับ

ส่วน case นี้ $n=3$ ก็จะได้เป็น $(-2726446322)^2+(130656229)^2=5^{27}$

สังเกตว่าสับเลขหรือใส่ลบ กำลังสองคำนวณออกมาจะเหมือนเดิม มันไม่ fix ครับ

ปล. paper นี้ไม่ยากครับ ใช้ความรู้ไม่หวือหวามาก แต่ต้องใช้การสังเกตกับทักษะหน่อยครับ

ถ้าติดลองทดมือดูเองก่อนครับ กำหนดตัวเลขเล็กๆลงไปก่อนก็ได้ สู้ๆนะครับ
ขอบคุณมากค่ะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 11:26


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha