Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์ทั่วไป > ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 04 มีนาคม 2017, 20:34
napong napong ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 02 มกราคม 2017
ข้อความ: 27
napong is on a distinguished road
Default แยกตัวประกอบครับ

ตัวประกอบข้อนี้แยกยังไงหรอครับ

x^5-6x^4-3x^3+39x^2-10x-45=0
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 20 มีนาคม 2017, 14:36
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default

อันดับแรกวิเคราะห์ก่อนครับว่ารากของสมการต้องมีจำนวนจริงอย่างน้อยสุด1 ตัวซึ่งอาจจะเป็นจำนวนตรรกยะหรืออตรรกยะก็ได้ ตรวจสอบเบื้องต้นโดยใช้ทฤษฎีเศษเหลือจำนวนตรรกยะในการแยกตัวประกอบก่อนพบว่าได้ $x+1$ เป็นตัวประกอบแรก ใช้การหารสังเคราะห์หาผลหารจะได้.....
$$x^5-6x^4-3x^3+39x^2-10x-45=(x+1)(x^4-7x^3+4x^2+35x-45)$$
......ทำการวิเคราะห์$x^4-7x^3+4x^2+35x-45$ต่อหาตัวประกอบจำนวนตรรกยะจะเห็นว่าไม่มีแล้ว
แสดงว่ารากสมการต้องอยู่ในรูปจำนวนอตรรกยะหรือจำนวนเชิงซ้อนที่เป็นคู่สังยุคกัน
กำหนดให้ $x^2-ax+b$(เมื่อ a,bเป็นจำนวนเต็ม)เป็นตัวประกอบของ $x^4-7x^3+4x^2+35x-45$
นำ $x^2-ax+b$ หาร $x^4-7x^3+4x^2+35x-45$ โดยการตั้งหารยาวจะได้เศษคือ.......
$$(a^3-7a^2+(4-2b)a+7b+35)x+(b^2-(a^2-7a+4)b-45)$$ซึ่งเศษต้องเท่ากับศูนย์
แสดงว่า $a^3-7a^2+(4-2b)a+7b+35=0......(1)$ และ$ b^2-(a^2-7a+4)b-45=0......(2)$
ทำการเดาในสมการ(1)ว่า$a=0$.....หา$b=-5$ นำ$a=0,b=-5$ไปแทนในสมการ(2)เป็นจริง
แสดงว่า $x^2-5$ เป็นตัวประกอบหนึ่งของ $x^4-7x^3+4x^2+35x-45$
ทำต่อนำ$x^2-5$ไปหาร $x^4-7x^3+4x^2+35x-45$ได้$x^2-7x+9$
สรุปว่า $$x^5-6x^4-3x^3+39x^2-10x-45=(x+1)(x^2-5)(x^2-7x+9)$$
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 23 มีนาคม 2017, 14:25
zam007 zam007 ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 ตุลาคม 2015
ข้อความ: 4
zam007 is on a distinguished road
Default

สุดยอดมากครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 23 มีนาคม 2017, 16:08
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default

ขอบคุณครับ
ในฐานะที่ผมเป็นนักคณิตศาสตร์สมัครเล่นคนหนึ่ง ผมยิ่งค้นคว้าลึกลงไปยิ่งพบเจอกับความน่าทึ่งไม่มีที่สิ้นสุดของศาสตร์นี้
ตัวอย่างเช่น เราเคยสงสัยไหมว่าฟังก์ชันพหุนาม ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ฟังก์ชันเอ็กโปรเนนเชียลนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
นักคณิตศาสตร์คนสำคัญท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า ฟังก์ชันตรีโกณมิติและฟังก์ชันเอกโปรเนนเชียลสัมพันธ์กันผ่านสมการ
$e^{\theta i}=cos\theta +isin\theta $
แต่ในการหาสูตรทั่วไปสำหรับรากสมการที่เป็นจำนวนจริงของสมการพหุนามกำลังสามสามารถใช้ฟังก์ชันตรีโกณมิติมา
หาคำตอบของรากสมการได้ แต่ไม่น่าจะเพียงพอสำหรับการหาสูตรทั่วไปของรากที่เป็นจำนวนเชิงซ้อนที่เหลือ
จำเป็นให้ต้องดึงฟังก์ชันเอ็กโปรเนนเชียลเข้ามาช่วย ปรากฎว่าได้สูตรทั่วไปของรากสมการพหุนามกำลังสามครบทุกตัว
อีกสักระยะหนึ่งผมจะนำมันมาเผยแพร่ที่นี่แหละครับ.........
(ซึ่งจริงจริงคาร์ดารได้ค้นพบสูตรนี้มาตั้งนานแล้ว แต่ผมคิดว่าคาร์ดารคงใช้พีชคณิตและจำนวนเชิงซ้อนมาแก้ปัญหาไม่ได้ใช้
ฟังก์ชันตรีโกณมิติ และฟังก์ชันเอ็กโปรเนนเชียลเข้ามาใช้ทำให้ในทางปฎิบัติสูตรของคาร์ดารค่อนข้างซับซ้อนและไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก
ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าในสมัยของคาร์ดานมี ฟังก์ชันตรีโกณมิติและเอ็กโปรเนนเชียลหรือยัง???ใครเป็นผู้เชียวชาญในประวัตินักคณิตศาสตร์โปรดแถลงไขที)
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 23 มีนาคม 2017, 20:09
Thgx0312555's Avatar
Thgx0312555 Thgx0312555 ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 สิงหาคม 2011
ข้อความ: 885
Thgx0312555 is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ tngngoapm View Post
อันดับแรกวิเคราะห์ก่อนครับว่ารากของสมการต้องมีจำนวนจริงอย่างน้อยสุด1 ตัวซึ่งอาจจะเป็นจำนวนตรรกยะหรืออตรรกยะก็ได้ ตรวจสอบเบื้องต้นโดยใช้ทฤษฎีเศษเหลือจำนวนตรรกยะในการแยกตัวประกอบก่อนพบว่าได้ $x+1$ เป็นตัวประกอบแรก ใช้การหารสังเคราะห์หาผลหารจะได้.....
$$x^5-6x^4-3x^3+39x^2-10x-45=(x+1)(x^4-7x^3+4x^2+35x-45)$$
......ทำการวิเคราะห์$x^4-7x^3+4x^2+35x-45$ต่อหาตัวประกอบจำนวนตรรกยะจะเห็นว่าไม่มีแล้ว
แสดงว่ารากสมการต้องอยู่ในรูปจำนวนอตรรกยะหรือจำนวนเชิงซ้อนที่เป็นคู่สังยุคกัน
กำหนดให้ $x^2-ax+b$(เมื่อ a,bเป็นจำนวนเต็ม)เป็นตัวประกอบของ $x^4-7x^3+4x^2+35x-45$
นำ $x^2-ax+b$ หาร $x^4-7x^3+4x^2+35x-45$ โดยการตั้งหารยาวจะได้เศษคือ.......
$$(a^3-7a^2+(4-2b)a+7b+35)x+(b^2-(a^2-7a+4)b-45)$$ซึ่งเศษต้องเท่ากับศูนย์
แสดงว่า $a^3-7a^2+(4-2b)a+7b+35=0......(1)$ และ$ b^2-(a^2-7a+4)b-45=0......(2)$
ทำการเดาในสมการ(1)ว่า$a=0$.....หา$b=-5$ นำ$a=0,b=-5$ไปแทนในสมการ(2)เป็นจริง
แสดงว่า $x^2-5$ เป็นตัวประกอบหนึ่งของ $x^4-7x^3+4x^2+35x-45$
ทำต่อนำ$x^2-5$ไปหาร $x^4-7x^3+4x^2+35x-45$ได้$x^2-7x+9$
สรุปว่า $$x^5-6x^4-3x^3+39x^2-10x-45=(x+1)(x^2-5)(x^2-7x+9)$$
พอดีเห็นว่ามันจับคู่ได้ครับ

$x^4-7x^3+4x^2+35x-45 = (x^4+4x^2-45)-(7x^3+35x)$

แต่ถ้าจับคู่ไม่ได้วิธีที่เสนอมาก็อาจจะดีก็ได้ครับ (ไม่รู้มีวิธีที่ดีกว่านี้มั้ยเพราะสุดท้ายมันก็ขึ้นอยู่กับการเดาอยู่ดี)
__________________
----/---~Alice~ จงรับรู้ไว้ ชื่อแห่งสีสันหนึ่งเดียวที่แสดงผล
---/---- ~Blue~ นี่คือ สีแห่งความหลังอันกว้างใหญ่ของเว็บบอร์ดนี้

23 มีนาคม 2017 20:09 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Thgx0312555
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 23 มีนาคม 2017, 21:16
Aquila Aquila ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 ตุลาคม 2013
ข้อความ: 412
Aquila is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ tngngoapm View Post
ขอบคุณครับ
ในฐานะที่ผมเป็นนักคณิตศาสตร์สมัครเล่นคนหนึ่ง ผมยิ่งค้นคว้าลึกลงไปยิ่งพบเจอกับความน่าทึ่งไม่มีที่สิ้นสุดของศาสตร์นี้
ตัวอย่างเช่น เราเคยสงสัยไหมว่าฟังก์ชันพหุนาม ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ฟังก์ชันเอ็กโปรเนนเชียลนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
นักคณิตศาสตร์คนสำคัญท่านหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า ฟังก์ชันตรีโกณมิติและฟังก์ชันเอกโปรเนนเชียลสัมพันธ์กันผ่านสมการ
$e^{\theta i}=cos\theta +isin\theta $
แต่ในการหาสูตรทั่วไปสำหรับรากสมการที่เป็นจำนวนจริงของสมการพหุนามกำลังสามสามารถใช้ฟังก์ชันตรีโกณมิติมา
หาคำตอบของรากสมการได้ แต่ไม่น่าจะเพียงพอสำหรับการหาสูตรทั่วไปของรากที่เป็นจำนวนเชิงซ้อนที่เหลือ
จำเป็นให้ต้องดึงฟังก์ชันเอ็กโปรเนนเชียลเข้ามาช่วย ปรากฎว่าได้สูตรทั่วไปของรากสมการพหุนามกำลังสามครบทุกตัว
อีกสักระยะหนึ่งผมจะนำมันมาเผยแพร่ที่นี่แหละครับ.........
(ซึ่งจริงจริงคาร์ดารได้ค้นพบสูตรนี้มาตั้งนานแล้ว แต่ผมคิดว่าคาร์ดารคงใช้พีชคณิตและจำนวนเชิงซ้อนมาแก้ปัญหาไม่ได้ใช้
ฟังก์ชันตรีโกณมิติ และฟังก์ชันเอ็กโปรเนนเชียลเข้ามาใช้ทำให้ในทางปฎิบัติสูตรของคาร์ดารค่อนข้างซับซ้อนและไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก
ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าในสมัยของคาร์ดานมี ฟังก์ชันตรีโกณมิติและเอ็กโปรเนนเชียลหรือยัง???ใครเป็นผู้เชียวชาญในประวัตินักคณิตศาสตร์โปรดแถลงไขที)
มีอะไรมาให้อ่านได้ตลอดเลยนะครับ

อิจฉาอะครับ อยากมีเวลาคิดเลขเยอะๆแบบนี้บ้าง ...
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 24 มีนาคม 2017, 11:12
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Aquila View Post
มีอะไรมาให้อ่านได้ตลอดเลยนะครับ

อิจฉาอะครับ อยากมีเวลาคิดเลขเยอะๆแบบนี้บ้าง ...
ขอบคุณครับ มีเวลาอย่างเดียวไม่พอนะครับ ต้องมีกาแฟสัก1ถ้วยช่วยด้วยอ่ะครับ
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 12:04


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha