Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > คอมบินาทอริก
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #16  
Old 12 กุมภาพันธ์ 2012, 17:56
Thgx0312555's Avatar
Thgx0312555 Thgx0312555 ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 สิงหาคม 2011
ข้อความ: 885
Thgx0312555 is on a distinguished road
Default

ข้อสองตอบ 55 ครับ ลืมกรณีเช่น ถ้า อีกสองชิ้นมันเหมือนกันล่ะ ??

ถ้าใช้วิธีนี้ก็ควรจะบวกกรณีเพิ่ม ถ้าสองชิ้นเหมือนกันอีก 10 วิธี

แต่มีอีกวิธีหนึ่งที่เก็บได้ทั้งข้อ 2,3 เลยครับ

http://en.wikipedia.org/wiki/Stars_a...probability%29
__________________
----/---~Alice~ จงรับรู้ไว้ ชื่อแห่งสีสันหนึ่งเดียวที่แสดงผล
---/---- ~Blue~ นี่คือ สีแห่งความหลังอันกว้างใหญ่ของเว็บบอร์ดนี้
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #17  
Old 14 กุมภาพันธ์ 2012, 22:27
polsk133's Avatar
polsk133 polsk133 ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 สิงหาคม 2011
ข้อความ: 1,873
polsk133 is on a distinguished road
Default

เขียนเพิ่มให้ละครับข้อ2
__________________
เพจรวมโจทย์คอมบินาทอริกที่น่าสนใจ
https://www.facebook.com/combilegends
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #18  
Old 14 กุมภาพันธ์ 2012, 23:47
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Lightbulb

อ้างอิง:
ทฤษฎีบท 1. ถ้า $x_1+x_2+x_3+...+x_r = n$ โดยที่ $x_i \ge 0$ แล้ว จำนวนผลเฉลยทั้งหมดจะเท่ากับ $\binom{n+r-1}{r-1}$

ทฤษฎีบท 2. ถ้า $x_1+x_2+x_3+...+x_r = n$ โดยที่ $x_i \ge 1$ แล้ว จำนวนผลเฉลยทั้งหมดจะเท่ากับ $\binom{n-1}{r-1}$
อ้างอิง:
ข้อ 2. มีโดนัทชนิดต่าง ๆ อยู่ 10 ชนิด จงหาจำนวนวิธีทั้งหมดของการสั่งซื้อโดนัท 12 ชิ้น

โดยมีโดนัทแต่ละชนิดอย่างน้อย 1 ชิ้น
จะเข้าทฤษฎีบท 2. พอดี ซึ่งมีจำนวนคำตอบเท่ากับ $$\binom{12-1}{10-1} = \binom{11}{9} = \binom{11}{2} = \frac{11\times 10}{2!} = 55$$

อ้างอิง:
ข้อ 3. กำหนดให้ $x_1, x_2, x_3, x_4$ เป็นจำนวนเต็มที่ไม่ลบโดยที่ $0 \le x_1 \le 3$
จงหาจำนวนคำตอบของสมการ $x_1 + x_2 + x_3 + x_4 = 15$
วิธีที่ 1. ใช้หลักการนำเข้าและตัดออก (principle of inclusion and exclusion)

สมมติให้ $|A|$ แทน จำนวนคำตอบของสมการ $x_1 + x_2 + x_3 + x_4 = 15$ โดยที่ $x_1, x_2, x_3, x_4 \ge 0$

โดยทฤษฎีบท 1. จะได้ว่้า $$|A| = \binom{15+4-1}{4-1} = \binom{18}{3}$$

สมมติให้ $|B|$ แทน จำนวนคำตอบของสมการ $x_1 + x_2 + x_3 + x_4 = 15$ โดยที่ $x_1 \ge4, ~ x_2, x_3, x_4 \ge 0$

จากนั้นสมมติให้ $y_1 = x_1 - 4$ แล้วจะได้ว่า $y_1 \ge 0$

ดังนั้นสมการด้านบนจะเปลี่ยนเป็น $y_1 + x_2 + x_3 + x_4 = 11$ โดยที่ $y_1, x_2, x_3, x_4 \ge 0$

โดยทฤษฎีบท 1. จะได้ $$|B| = \binom{11+4-1}{4-1} = \binom{14}{3}$$

ดังนั้นจำนวนคำตอบของสมการ $x_1+x_2+x_3+x_4 = 15$ โดยที่ $0 \le x_1 \le 3, x_2, x_3, x_4 \ge 0$ จะมีค่าเท่ากับ $$|A|-|B| = \binom{18}{3} - \binom{14}{3}$$

วิธีที่ 2. ใช้ ordinary generating function

ปัญหา จำนวนคำตอบของสมการ $x_1+x_2+x_3+x_4 = 15$ โดยที่ $0 \le x_1 \le 3, x_2, x_3, x_4 \ge 0$ จะแทนด้วยฟังก์ชันก่อกำเนิดสามัญ ดังนี้คือ $$(1+x+x^2+x^3)(1+x+x^2+...)^3 = (1+x+x^2+x^3)\cdot \frac{1-x}{1-x}\cdot (\frac{1}{1-x})^3 = (1-x^4)(1-x)^{-4}$$

และเนื่องจาก $$(1-x)^{-n} = \sum_{r=0}^{\infty}\binom{n+r-1}{r}x^r$$ ดังนั้น $$(1-x^4)(1-x)^{-4} = (1-x^4)\sum_{r=0}^{\infty}\binom{r+3}{r}x^r = (1-x^4)\sum_{r=0}^{\infty}\binom{r+3}{3}x^r = \sum_{r=0}^{\infty}\binom{r+3}{3}x^r - \sum_{r=0}^{\infty}\binom{r+3}{3}x^{r+4}$$

ดังนั้นสัมประสิทธิ์ของ $x^{15}$ จะได้จากการแทน $r= 15$ ลงในพจน์หน้า และแทน $r=11$ ลงในพจน์หลัง ก็จะได้ $\binom{18}{3} - \binom{14}{3}$

14 กุมภาพันธ์ 2012 23:48 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gon
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #19  
Old 15 กุมภาพันธ์ 2012, 21:03
kongp kongp ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 05 พฤษภาคม 2006
ข้อความ: 1,127
kongp is on a distinguished road
Default

เขียนโปรแกรมแก้โจทย์ข้อนี้ก็ดีนะ เห็นเครื่องคิดเลขก็มีรุ่นที่แก้โจทย์คอมบินาทอริกได้ แต่รุ่นสูงๆ หน่อย ผมเห็นมีเมื่อ 20 ปีก่อนวางขายแถวสะพาเหล็ก เอาไว้เช็คคำตอบ เคยมีเหมือนกันที่ไม่ตรงกับที่เราคิดเพราะเค้าใช้โมเดลคนละแบบกับเรา ผมเจอที่เวป Wolfarm

วิชานี้ยากตรงมองงานกับเอาทบ.ปรับยังไงให้เข้ากับโจทย์ บางทีอ่าน/เรียนทบ.บทสูงๆ ก็โผล่ไปอีกเรื่อง ส่วนมากจะรู้ก็หลายปีผ่าน

16 กุมภาพันธ์ 2012 09:14 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ kongp
เหตุผล: เพิ่มครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #20  
Old 17 กุมภาพันธ์ 2012, 16:00
ผู้โง่เขลา's Avatar
ผู้โง่เขลา ผู้โง่เขลา ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 16 กุมภาพันธ์ 2011
ข้อความ: 177
ผู้โง่เขลา is on a distinguished road
Default

ขอบคุณทุกคนมากครับผม
__________________
^______^
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #21  
Old 17 กุมภาพันธ์ 2012, 16:03
ผู้โง่เขลา's Avatar
ผู้โง่เขลา ผู้โง่เขลา ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 16 กุมภาพันธ์ 2011
ข้อความ: 177
ผู้โง่เขลา is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ gon View Post
จะเข้าทฤษฎีบท 2. พอดี ซึ่งมีจำนวนคำตอบเท่ากับ $$\binom{12-1}{10-1} = \binom{11}{9} = \binom{11}{2} = \frac{11\times 10}{2!} = 55$$



วิธีที่ 1. ใช้หลักการนำเข้าและตัดออก (principle of inclusion and exclusion)

สมมติให้ $|A|$ แทน จำนวนคำตอบของสมการ $x_1 + x_2 + x_3 + x_4 = 15$ โดยที่ $x_1, x_2, x_3, x_4 \ge 0$

โดยทฤษฎีบท 1. จะได้ว่้า $$|A| = \binom{15+4-1}{4-1} = \binom{18}{3}$$

สมมติให้ $|B|$ แทน จำนวนคำตอบของสมการ $x_1 + x_2 + x_3 + x_4 = 15$ โดยที่ $x_1 \ge4, ~ x_2, x_3, x_4 \ge 0$

จากนั้นสมมติให้ $y_1 = x_1 - 4$ แล้วจะได้ว่า $y_1 \ge 0$

ดังนั้นสมการด้านบนจะเปลี่ยนเป็น $y_1 + x_2 + x_3 + x_4 = 11$ โดยที่ $y_1, x_2, x_3, x_4 \ge 0$

โดยทฤษฎีบท 1. จะได้ $$|B| = \binom{11+4-1}{4-1} = \binom{14}{3}$$

ดังนั้นจำนวนคำตอบของสมการ $x_1+x_2+x_3+x_4 = 15$ โดยที่ $0 \le x_1 \le 3, x_2, x_3, x_4 \ge 0$ จะมีค่าเท่ากับ $$|A|-|B| = \binom{18}{3} - \binom{14}{3}$$

วิธีที่ 2. ใช้ ordinary generating function

ปัญหา จำนวนคำตอบของสมการ $x_1+x_2+x_3+x_4 = 15$ โดยที่ $0 \le x_1 \le 3, x_2, x_3, x_4 \ge 0$ จะแทนด้วยฟังก์ชันก่อกำเนิดสามัญ ดังนี้คือ $$(1+x+x^2+x^3)(1+x+x^2+...)^3 = (1+x+x^2+x^3)\cdot \frac{1-x}{1-x}\cdot (\frac{1}{1-x})^3 = (1-x^4)(1-x)^{-4}$$

และเนื่องจาก $$(1-x)^{-n} = \sum_{r=0}^{\infty}\binom{n+r-1}{r}x^r$$ ดังนั้น $$(1-x^4)(1-x)^{-4} = (1-x^4)\sum_{r=0}^{\infty}\binom{r+3}{r}x^r = (1-x^4)\sum_{r=0}^{\infty}\binom{r+3}{3}x^r = \sum_{r=0}^{\infty}\binom{r+3}{3}x^r - \sum_{r=0}^{\infty}\binom{r+3}{3}x^{r+4}$$

ดังนั้นสัมประสิทธิ์ของ $x^{15}$ จะได้จากการแทน $r= 15$ ลงในพจน์หน้า และแทน $r=11$ ลงในพจน์หลัง ก็จะได้ $\binom{18}{3} - \binom{14}{3}$
ทำไมต้องให้ $x\geqslant 4$ครับผม??
__________________
^______^
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #22  
Old 17 กุมภาพันธ์ 2012, 17:05
polsk133's Avatar
polsk133 polsk133 ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 สิงหาคม 2011
ข้อความ: 1,873
polsk133 is on a distinguished road
Default

เป็นหลักในการใช้ เพิ่มเข้าตัดออก คือคล้ายๆกับวงกลมออยเลอหน่ะครับ เอา U - A' ก็ได้ A ประมาณนี้ครับ
__________________
เพจรวมโจทย์คอมบินาทอริกที่น่าสนใจ
https://www.facebook.com/combilegends
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #23  
Old 17 กุมภาพันธ์ 2012, 18:13
kongp kongp ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 05 พฤษภาคม 2006
ข้อความ: 1,127
kongp is on a distinguished road
Default

ลองคิดเองก็ดี นับแบบวงกลม โดยมีตรรกศาสตร์ร่วมด้วย ทำให้แปลความหมายโจทย์ง่าย และใช้ในสังคมได้หลากหลายมากขึ้น เห็นอ.Ross honsenberger แห่งสมาคมคณิตศาสตร์อเมริกา ใช้นับขบคิดบอร์ดเกมส์สอนเด็ก ผมเจอในหนังสือหลายๆ เล่มของ MAA

มือสมัครเล่น เช่น นักเรียนเวลาเจอปัญหาก็หลบเลี่ยง ไปเที่ยวซะบ้าง อุปสรรค์บางทีเวลาหลายๆ ปีก็แก้ไขไม่ได้ เช่น เจอเรื่องลิขสิทธิ์ (privilage) etc. บางคนว่าหากเป็นมืออาชีพทางคณิตศาสตร์จะไปได้ไกลกว่าในการทำโจทย์ยากๆ (แต่ก็ไม่ใช่ง่ายๆ ดั่งฝัน)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #24  
Old 17 กุมภาพันธ์ 2012, 19:07
kongp kongp ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 05 พฤษภาคม 2006
ข้อความ: 1,127
kongp is on a distinguished road
Default

มีคนถามว่าใช้หนังสือเล่มไหนกัน บางทีก็ตอบยากเช่นผมอ่านตำราหลายเล่ม เพราะไม่เคยเรียนเหมือนในคณะภาควิชา IT เนื่องจากจบวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมี Methology ต่างกัน จะว่าตามหัวข้องานวิจัยได้ บางคนไม่เข้าใจจับหัวข้อเดียวก็ว่าน้อยไป จับหัวข้อเยอะๆ ก็ว่ากว้างไป

หากได้ค้นเปเปอร์ทางวิศวกรรม จะเหมือนเปิดเฉลยว่าวิธีนั้นดีกว่าวิธีนี้ยังไง ซะโดนปิด จนผมเองก็งงเหมือนเค้าเพิ่งมาทำตอนผมเรียน สนใจดนตรีด้วยกะจะเอามาใช้กับเรื่อง AI ก็ไม่ได้ทำ ทิ้งไปซะงั้น โดนแฮกค์เครื่องเป็นว่าเล่นสมัยเรียนที่ลาดกระบัง ผมเจอของแท้เจาะเครื่องจนเอียน ไม่อยากกันอะไรเท่าไหร่ ไม่ใช่หัวข้อเราเรื่อง Computer Security

กะว่าจะสร้างทบ. เองตอนอายุ 17-18 ปี ตอนนั้นทำโมเดลรูบิค ต่อมาเปลี่ยนไปเรียนวิศวกรรมจำเยอะมากกว่าคิดเองยอมรับเลย เจอตำราหินโคตร กลับมาฟื้นตอนเรียนโทลาดกระบังเพราะเดินดูร้านค้าหนังสือเห็นหนังสือวางขายปกสีสวยเด่นมาก เจอเพื่อน กทม. แกะ windows XP เลยมีไฟขึ้นมาบ้าง เค้าใช้พวก Computational theory นี่ก็คล้ายๆ กัน พื้นฐานพวกเทคโนโลยีสายลับ ประมาณนั้น

18 กุมภาพันธ์ 2012 23:48 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ kongp
เหตุผล: แสดงความคิดเห็น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #25  
Old 19 กุมภาพันธ์ 2012, 08:40
ผู้โง่เขลา's Avatar
ผู้โง่เขลา ผู้โง่เขลา ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 16 กุมภาพันธ์ 2011
ข้อความ: 177
ผู้โง่เขลา is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ polsk133 View Post
เป็นหลักในการใช้ เพิ่มเข้าตัดออก คือคล้ายๆกับวงกลมออยเลอหน่ะครับ เอา U - A' ก็ได้ A ประมาณนี้ครับ
อ่อขอบคุณมากครับ
__________________
^______^
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
ปัญหาเกี่ยวกับวิธีจัดหมู่ (Combination) การเลือกสิ่งของ การหยิบสิ่งของ lek2554 ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย 20 07 สิงหาคม 2011 21:20
โจทย์ combination ค่ะ vespa1 ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย 7 23 พฤษภาคม 2010 23:33


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 17:32


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha