Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > ข้อสอบโอลิมปิก
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ค้นหา ข้อความวันนี้ ทำเครื่องหมายอ่านทุกห้องแล้ว

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #31  
Old 27 เมษายน 2010, 02:06
Switchgear's Avatar
Switchgear Switchgear ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2006
ข้อความ: 472
Switchgear is on a distinguished road
Default

ข้อ 13. จงหาจำนวนเต็มบวก $n$ ที่มากที่สุด ที่ทำให้ให้ $((n!)!)!$ เป็นตัวประกอบตัวหนึ่งของ $((2009)!)!$

เฉลยวิธีทำ:

เมื่อ $((n!)!)!$ เป็นตัวประกอบตัวหนึ่งของ $((2009)!)!$ หมายถึง $((n!)!)!$ หาร $((2009)!)!$ ลงตัว

ซึ่งจะเป็นไปได้ ก็ต่อเมื่อ $n!$ ต้องน้อยกว่าหรือเท่ากับ $2009$ เท่านั้น

เนื่องจาก $6! = 720$ และ $7! = 5040$ ดังนั้น จำนวนเต็มบวก $n$ ที่มากที่สุดตามเกณฑ์ที่ต้องการ คือ $6$
__________________
หนึ่งปีของอัจฉริยะ อาจเทียบเท่าชั่วชีวิตของคนบางคน

27 เมษายน 2010 02:17 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Switchgear
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #32  
Old 27 เมษายน 2010, 02:12
Switchgear's Avatar
Switchgear Switchgear ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2006
ข้อความ: 472
Switchgear is on a distinguished road
Default

ข้อ 12. ให้ $A = \{1, 2, 3, ?, 12\}$ จงหาจำนวนสับเซต $S$ ของ $A$ โดยที่ผลบวกของสมาชิกที่น้อยที่สุดของ $S$
กับสมาชิกที่มากที่สุดของ $S$ เท่ากับ $13$

เฉลยวิธีทำ:

สับเซตที่เข้าเกณฑ์ตามที่โจทย์กำหนด จะต้องมีสมาชิกค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด ดังนี้
$\{1, ?, 12\}, \{2, ?, 11\}, \{3, ?, 10\}, \{4, ?, 9\}, \{5, ?, 8\}\;$ และ $\;\{6, ?, 7\}$

แต่ละกรณีข้างต้น มีจำนวนตัวเลขระหว่างกลางอยู่ $\;(max - min - 1)\;$ จำนวน ซึ่งแต่ละจำนวนอาจรวมหรือ
ไม่รวมเข้ามาในสับเซตก็ได้ ดังนั้นแต่ละกรณีจึงมีจำนวนสับเซตได้ $\;2^{(max - min -1)}\;$ สับเซต

จำนวนสับเซต $S$ ทั้งหมด
$= 2^{(12 ? 1 ? 1)} + 2^{(11 ? 2 ? 1)} +2^{(10 ? 3 ? 1)} +2^{(9 ? 4 ? 1)} +2^{(8 ? 5 ? 1)} +2^{(7 ? 6 ? 1)}$
$= 2^{10} + 2^8 +2^6 +2^4 +2^2 +2^0$
$= 1024 + 256 + 64 + 16 + 4 + 1$
$= 1365$ สับเซต
__________________
หนึ่งปีของอัจฉริยะ อาจเทียบเท่าชั่วชีวิตของคนบางคน

27 เมษายน 2010 02:15 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Switchgear
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #33  
Old 27 เมษายน 2010, 07:32
Switchgear's Avatar
Switchgear Switchgear ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2006
ข้อความ: 472
Switchgear is on a distinguished road
Default

ข้อ 17. กำหนดลำดับฟิโบนักชี (Finbonacci) $F_1, F_2, F_3, ?$ โดยที่ $F_1 = F_2 = 1$ และ $F_{n+1} = F_n + F_{n-1}$
เมื่อ $n \geqslant 2\;$ ให้ $X = \{n | 1 \leqslant n \leqslant 1000$ และ $13$ เป็นตัวประกอบของ $Fn \}$ จงหา $|X|$

เฉลยวิธีทำ: (อาศัยทฤษฎีบทที่แน่นอน)

อาศัยทฤษฎีบทที่ว่า ?สำหรับจำนวนเฉพาะ p ใดๆ, มีจำนวนฟิโบนักชีนับอนันต์ ที่สามารถหารด้วย p ลงตัว
และจำนวนทั้งหมดอยู่ห่างเท่าๆ กันในลำดับฟิโบนักชี (For any prime p, there are infinitely many
Fibonacci numbers that are divisible by p and these are all equally spaced in the
Fibonacci sequence)? ซึ่งผมอ้างอิงจากหน้า 287 ในหนังสือ Elementary Number Thoery,
David M. Burton, sixth edition, 2007. (มีบทพิสูจน์สมบูรณ์ในเล่มดังกล่าวด้วย)

ดังนั้นสิ่งที่เราต้องหา ก็คือ ลำดับของจำนวนฟิโบนักชีตัวแรกสุดที่หารด้วย $13$ ลงตัว ซึ่งเราพบว่า $7$ ตัวแรก
ของลำดับฟิโบนักชีมีดังนี้ $1, 1, 2, 3, 5, 8, 13$ นั่นคือลำดับที่ $7$ หารด้วย $13$ ลงตัว แปลว่า ทุกตัวที่อยู่
ในลำดับซึ่งเป็นพหุคูณของ $7$ ย่อมหารด้วย $13$ ลงตัวด้วย

เนื่องจาก $1000 = 7 \times 142 + 6$ จึงมีจำนวนฟิโบนักชีอยู่ $142$ ตัวที่หารด้วย $13$ ลงตัวในช่วง
$1 \leqslant n \leqslant 1000$ ตามเงื่อนไขในโจทย์ นั่นคือ $|X| = 142$ เป็นคำตอบที่ต้องการ

หมายเหตุ: ข้อนี้หากไม่อ้างหรือไม่รู้ทฤษฎีบท ก็ไม่มีทางมั่นใจได้ว่าทุกๆ 7 ลำดับจะหารด้วย 13 ลงตัวหรือไม่
ต่อให้เราทดลองบวกไปถึงลำดับที่ 21 แล้วหาร 13 ลงตัว ก็ไม่ได้แปลว่าลำดับที่ 28 จะหารด้วย 13 ลงตัว
ดังนั้น ทฤษฎีบทดังกล่าวจึงจำเป็นและเพียงพอ
__________________
หนึ่งปีของอัจฉริยะ อาจเทียบเท่าชั่วชีวิตของคนบางคน

27 เมษายน 2010 07:38 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Switchgear
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #34  
Old 27 เมษายน 2010, 12:46
กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย's Avatar
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 กุมภาพันธ์ 2009
ข้อความ: 647
กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย is on a distinguished road
Default

ข้อ 19 ตอบ 94 กำลังหาวิธีเฉลยแบบง่าย ๆอยู่ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #35  
Old 27 เมษายน 2010, 19:25
Switchgear's Avatar
Switchgear Switchgear ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2006
ข้อความ: 472
Switchgear is on a distinguished road
Default

ข้อ 19 ผมแชร์วิธีข้างล่างนี้ ไม่รู้ว่าใครมีวิธีอื่นดีกว่านี้บ้าง
.
ข้อ 19. ให้ $N = 7777777777$ จงหา $Sum(N^2)$

เฉลยวิธีทำ:

$N = 7777777777 = 7 \times 1111111111$
$N^2 = 49 \times (1111111111)^2 = (50-1) \times 12345678900987654321$
$\qquad = 61728395049382716050-12345678900987654321$
$\qquad = 60493827148395061729$
ดังนั้น $\;Sum(N^2) = 94$
__________________
หนึ่งปีของอัจฉริยะ อาจเทียบเท่าชั่วชีวิตของคนบางคน

27 เมษายน 2010 19:26 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Switchgear
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #36  
Old 27 เมษายน 2010, 21:53
กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย's Avatar
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 กุมภาพันธ์ 2009
ข้อความ: 647
กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย is on a distinguished road
Default

ผมก็ใช้ $7777777777^2-2222222223^2=55555555540000000000$
แล้วก็คูณ $2222222223^2$ แต่ผมว่าเวลาสอบคงมีคำนวณพลาดแน่ๆครับ
ผมว่าน่าจะมีรูปแบบที่ใช้หาคำตอบได้โดยไม่ต้องคูณโดยตรงครับ
กำลังพยายามอยู่ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #37  
Old 28 เมษายน 2010, 22:07
กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย's Avatar
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 กุมภาพันธ์ 2009
ข้อความ: 647
กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย is on a distinguished road
Default

เอาเรขาคณิตข้อ 25 ไปก่อนนะครับ
[IMG][/IMG]
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #38  
Old 29 เมษายน 2010, 04:18
Switchgear's Avatar
Switchgear Switchgear ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2006
ข้อความ: 472
Switchgear is on a distinguished road
Default

แวะมาเพิ่มอีกข้อ ... ตอนนี้น่าจะเกินครึ่งทางหรือ 15 ข้อไปแล้ว ?

ข้อ 16. ให้ $X = \{1, 2, 3, ?, 63\}$ จงหาจำนวนสับเซต $S$ ของ $X$ โดยที่ผลรวมของสมาชิกทุกตัวใน $S$ เท่ากับ $2009$

เฉลยวิธีทำ:

เนื่องจาก $1+2+3+?+63 = (63\times64)/2 = 2016$ ซึ่งมากกว่า $2009$ อยู่ $7$
ดังนั้นสับเซต S ที่ต้องการจึงหาได้โดยการตัดบางจำนวนที่รวมกันได้ $7$ ออกไปจากเซต $X$ เดิม

กลุ่มจำนวนที่รวมกันได้ $7$ คือ $\{7\}, \{1, 6\}, \{2, 5\}, \{3, 4\}, \{1, 2, 4\}$ ซึ่งมีทั้งหมด $5$ กรณี
ดังนั้นจำนวนสับเซต $S$ จึงเท่ากับ $5$ สับเซต (คือ เอากลุ่มจำนวนที่รวมกันได้ $7$ ออกไปทีละกรณี)

หมายเหตุ: ยังไม่มีกระทู้แบบนี้สำหรับเฉลยปีอื่นเลย ใครต้องการเปิดกระทู้ เชิญเลยครับ! (ใจจริงอยากให้เจ้าของกระทู้นี้เป็นคนเปิด)
__________________
หนึ่งปีของอัจฉริยะ อาจเทียบเท่าชั่วชีวิตของคนบางคน

29 เมษายน 2010 04:20 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Switchgear
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #39  
Old 29 เมษายน 2010, 04:27
Switchgear's Avatar
Switchgear Switchgear ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 มกราคม 2006
ข้อความ: 472
Switchgear is on a distinguished road
Default

ข้อ 26. ยังไม่มีใครโพสต์ งั้นผมแสดงวิธีคิดของผมไว้ก่อน :-)

เฉลยวิธีคิด:

ลากเส้น $AD$ และ $ED$ โดยโจทย์กำหนด $\angle ADC = 74^\circ$
$\angle AED$ เป็นมุมในสามเหลี่ยมที่ตรงข้ามกับมุมของเส้นสัมผัสวงกลม ดังนั้น $\angle AED = \angle ADC = 74^\circ$
ในทำนองเดียวกันจะได้ $\angle ABC = \angle GAF = 32^\circ$

โจทย์กำหนด $AE : EB = AF : FC$ จึงสรุปได้ว่า $EF // BC$ ดังนั้น $\angle AEF = \angle ABC = 32^\circ$

คำนวณ $\angle DEF$ จาก $\angle DEF = \angle AED -\angle AEF = 74-32 = 42^\circ$
เนื่องจากมุมที่อยู่บนส่วนโค้งเดียวกันย่อมเท่ากัน ดังนั้น $\angle GAD = \angle DEF = 42^\circ$

พิจารณา $\triangle ABD$ จะได้ว่า $\angle BAD = \angle ADC -\angle ABD = 74-32 = 42^\circ$

ดังนั้น $\angle BAC = \angle GAD + \angle BAD = 42 + 42 = 84^\circ$
__________________
หนึ่งปีของอัจฉริยะ อาจเทียบเท่าชั่วชีวิตของคนบางคน

29 เมษายน 2010 09:26 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ nongtum
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #40  
Old 29 เมษายน 2010, 20:32
กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย's Avatar
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 กุมภาพันธ์ 2009
ข้อความ: 647
กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย is on a distinguished road
Default

ทำไปทำมา มีแค่ผมกับคุณ Switchgear ช่วยกันเฉลยนะครับ

เรขาคณิตข้อ 29 ผมว่าคำตอบมีมากมายครับ ไม่ทราบว่าคุณSwitchgearมีความเห็นอย่างไรครับ
(ไม่รู้โจทย์ให้ข้อมูลมาไม่ครบหรือไม่ครับ)


29 เมษายน 2010 21:04 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ nongtum
เหตุผล: triple post
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #41  
Old 30 เมษายน 2010, 20:50
หยินหยาง's Avatar
หยินหยาง หยินหยาง ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่จักรวาล
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,919
หยินหยาง is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย View Post

เรขาคณิตข้อ 29 ผมว่าคำตอบมีมากมายครับ ไม่ทราบว่าคุณSwitchgearมีความเห็นอย่างไรครับ
(ไม่รู้โจทย์ให้ข้อมูลมาไม่ครบหรือไม่ครับ)
ไม่ใช่ คุณ Switchgear แสดงความเห็นได้มั้ยครับ ถ้าได้ค่อยอ่านบรรทัดต่อไป ถ้าไม่ได้ขออภัยครับ

เพียงแค่มาบอกว่าข้อมูลที่ให้มาครบแล้วครับ ลืมข้อมูลที่ว่า AB แบ่งครึ่งและตั้งฉากกับ XO หรือเปล่าครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #42  
Old 30 เมษายน 2010, 20:58
กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย's Avatar
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 กุมภาพันธ์ 2009
ข้อความ: 647
กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย is on a distinguished road
Default

เชิญครับผมอยากแลกเปลี่ยนความคิด ไม่แบ่งแยกเลยครับ
แล้วจะได้ว่ายังไงครับ

30 เมษายน 2010 20:59 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #43  
Old 30 เมษายน 2010, 23:06
หยินหยาง's Avatar
หยินหยาง หยินหยาง ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่จักรวาล
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,919
หยินหยาง is on a distinguished road
Default

#42
ขออนุญาตใช้รูปของ คุณ กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย นะครับ ให้ XO ตัดกับ AB ที่จุด Q จากที่โจทย์กำหนดจะได้ว่า XQ =QO แล้วใช้กฎของ sine ที่ว่า
$\frac{a}{sin A} = 2R$ จะได้ว่า $\frac{8}{sin 45^0} = 2R$ จะหา R ได้ซึ่งเท่ากับ XO แล้วต่อด้วย ทบ.พีธากอรัส ก็จะได้ AB ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #44  
Old 30 เมษายน 2010, 23:12
กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย's Avatar
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 กุมภาพันธ์ 2009
ข้อความ: 647
กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย is on a distinguished road
Default

งั้น รัศมี OA = $4\sqrt{2}$ และ คำตอบคือ $4\sqrt{6}$ สินะครับ
ขอบคุณครับคุณหยินหยาง
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #45  
Old 30 เมษายน 2010, 23:26
หยินหยาง's Avatar
หยินหยาง หยินหยาง ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่จักรวาล
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,919
หยินหยาง is on a distinguished road
Default

#44

ใช่ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
ข้อสอบ สสวท. ป.3 2552 สดๆ คusักคณิm ข้อสอบในโรงเรียน ประถมต้น 9 18 ตุลาคม 2010 19:52
ร่วมเฉลยปัญหามุมนักคิดใน pratabong -SIL- ข้อสอบโอลิมปิก 45 28 สิงหาคม 2010 18:53
ข้อสอบ สสวท. ป.3 2552 สดๆ คusักคณิm ข้อสอบในโรงเรียน ประถมต้น 16 28 ธันวาคม 2009 12:13
เฉลย สสวท.2552 จากเวบ สสวท. kabinary ข้อสอบในโรงเรียน ประถมปลาย 4 19 พฤศจิกายน 2009 19:07
ปัญหาใน pratabong -InnoXenT- ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย 1 12 เมษายน 2009 12:20

เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
ค้นหาในหัวข้อนี้:

ค้นหาขั้นสูง

กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 17:51


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha