Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > คณิตศาสตร์อุดมศึกษา
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 12 มกราคม 2006, 07:17
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Question ปัญหาชิงรางวัลข้อที่ 3: Infinite Products

จงพิสูจน์ว่า\[\prod_{n=1}^\infty\left(1+\frac{1}{n^2}+\frac{1}{n^4}\right)=
\prod_{n=1}^\infty\left(1+\frac{1}{n^3}\right)^2\]ป.ล. ตอนที่ผมพบเอกลักษณ์อันนี้นี่ตื่นเต้นมากครับ เพราะรู้สึกว่ามันสวยจริงๆ ตั้งใจว่าจะส่งไปลงเป็นโจทย์ในวารสารก็ยังไม่ได้ทำซักที เอามาลงที่นี่ก่อนคงไม่เป็นไรนะ

15 มกราคม 2006 02:53 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ warut
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 14 มกราคม 2006, 12:51
Punk Punk ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 108
Punk is on a distinguished road
Post

คราวนี้ต้องเอาให้ได้

แยกตัวประกอบวงเล็บทางซ้ายมือ ได้
$$
1+\frac{1}{n^2}+\frac{1}{n^4}=\frac{(n^2-n+1)(n^2+n+1)}{n^4}
$$
และวงเล็บทางขวามือได้
$$
\left(1+\frac{1}{n^3}\right)^2=\frac{(n+1)^2(n^2-n+1)^2}{n^6}
$$
เอกลักษณ์ที่ต้องการสมมูลกับ
$$
\prod_n\frac{n^6}{n^4(n+1)^2}=\prod_n\frac{n^2-n+1}{n^2+n+1}
$$
ซึ่งเป็นจริงเพราะว่าผลคูณทางซ้ายเท่ากับ 1 และผลคูณทางขวาเท่ากับ 1 เช่นกัน (เอกลักษณ์สำคัญที่ใช้คือ
$$
(n+1)^2-(n+1)+1=n^2+n+1)
$$
จะได้มั้ยเนี่ย

14 มกราคม 2006 12:53 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Punk
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 14 มกราคม 2006, 13:23
nongtum's Avatar
nongtum nongtum ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 3,246
nongtum is on a distinguished road
Post

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ Punk:
...
เอกลักษณ์ที่ต้องการสมมูลกับ
$$
\prod_n\frac{n^6}{n^4(n+1)^2}=\prod_n\frac{n^2-n+1}{n^2+n+1}
$$
ซึ่งเป็นจริงเพราะว่าผลคูณทางซ้ายเท่ากับ 1...
คิดว่าไม่น่าใช่นะครับ เพราะ $n^6<n^4(n+1)^2$ และ $n^2-n+1<n^2+n+1$ เสมอสำหรับทุกจำนวนเต็ม n ซึ่งทำให้ทั้งสองข้างของสมการนี้เป็นผลคูณของเศษส่วนที่น้อยกว่าหนึ่ง ซึ่งผลคูณนี้ลู่เข้าแน่ๆ แต่ไม่ลู่เข้าหาหนึ่ง (หากผมเข้าใจผิดช่วยอธิบายเพิ่มด้วยครับ)
__________________
คนไทยร่วมใจอย่าใช้ภาษาวิบัติ
ฝึกพิมพ์สัญลักษณ์สักนิด ชีวิต(คนตอบและคนถาม)จะง่ายขึ้นเยอะ (จริงๆนะ)

Stay Hungry. Stay Foolish.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 14 มกราคม 2006, 13:34
Punk Punk ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 108
Punk is on a distinguished road
Post

จริงด้วย ต้องเป็นศูนย์สนิทครับไม่ใช่หนึ่ง ขอบคุณมากๆครับคุณ nongtum

ขออนุญาติเขียนเรียบๆใหม่นะครับ (จะได้คะแนนเต็ม ) พิสูจน์ข้างบนยังไม่ดีพอ

จากที่ผมทำถ้าผมให้
$$
a_n:=\prod_k\frac{k^6}{k^4(k+1)^2}=\left(\frac{1}{2}\frac{2}{3}\cdots\frac{n}{n+1}\right)^2=\frac{1}{(n+1)^2}
$$
และให้ลำดับผลคูณย่อยขวามือเรียกว่า
$$
b_n:=\prod_k\frac{k^2-k+1}{k^2+k+1}=\frac{1}{n^2+n+1}
$$
เอกลักษณ์ที่เราต้องการจะเป็นจริงก็ต่อเมื่อเราต้องได้ว่า
$$
\lim_{n\to\infty}\frac{a_n}{b_n}=1
$$
ซึ่งเป็นจริงโดยไม่มีข้อโต้แย้ง

14 มกราคม 2006 13:56 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Punk
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 14 มกราคม 2006, 14:20
R-Tummykung de Lamar R-Tummykung de Lamar ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 20 ธันวาคม 2004
ข้อความ: 566
R-Tummykung de Lamar is on a distinguished road
Post

โห นึกไม่ถึงเลยครับ เอกลักษณ์นี้
อ้างอิง:
$\displaystyle{(n+1)^2-(n+1)+1=n^2+n+1}$
(ทั้งที่การพิสูจน์นั้นง่ายมาก แต่ให้ประโยชน์จริงๆ)

ข้าน้อยขอคารวะ
__________________
[[:://R-Tummykung de Lamar\\::]] ||
(a,b,c > 0,a+b+c=3)
$$\sqrt a+\sqrt b+\sqrt c\geq ab+ac+bc$$

14 มกราคม 2006 14:21 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ R-Tummykung de Lamar
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 14 มกราคม 2006, 20:19
M@gpie's Avatar
M@gpie M@gpie ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 ตุลาคม 2003
ข้อความ: 1,227
M@gpie is on a distinguished road
Post

ยอดเลยครับ ผมพยายามจัดรุปให้เหมือนกัน อยู่นานทีเดียว แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ
เพิ่งทราบว่ามีวิธีทดสอบแบบนี้ด้วยเหมือนกัน เป็นความรู้ทีเดียวครับ
__________________
PaTa PatA pAtA Pon!
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 15 มกราคม 2006, 02:47
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

ไม่รู้เป็นเพราะผมไป hint ไว้ที่ปัญหาชิงรางวัลข้อที่ 5 รึเปล่าว่าข้อนี้ไม่ยาก คุณ Punk เลยหันกลับมาสอยข้อนี้อย่างรวดเร็ว หวังว่าคนอื่นๆคงไม่เสียขวัญเลิกเล่นไปซะก่อนเพราะการมาเยือนของเทพองค์นี้นะครับ

ครับสำหรับการตอบข้อ 5 นี้ ผมคงไม่มีทางเลือกอื่นเพราะคุณ Punk เขียนไว้แล้วว่า "ซึ่งเป็นจริงโดยไม่มีข้อโต้แย้ง" ดังนั้นคุณ Punk จึงรับไปเต็มๆ 5 คะแนนครับ (เขินเหมือนกันนะเนี่ยที่ต้องให้คะแนนเทพ)

อ้อ...แต่ว่าถ้าเป็นผม ผมจะใช้สัญลักษณ์\[\prod_{k=1}^n\]มากกว่าที่จะใช้\[\prod_k\]ซึ่งไม่ค่อยเคลียร์นักอะครับ
อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ nongtum:

คิดว่าไม่น่าใช่นะครับ เพราะ $n^6<n^4(n+1)^2$ และ $n^2-n+1<n^2+n+1$ เสมอสำหรับทุกจำนวนเต็ม n ซึ่งทำให้ทั้งสองข้างของสมการนี้เป็นผลคูณของเศษส่วนที่น้อยกว่าหนึ่ง ซึ่งผลคูณนี้ลู่เข้าแน่ๆ แต่ไม่ลู่เข้าหาหนึ่ง (หากผมเข้าใจผิดช่วยอธิบายเพิ่มด้วยครับ)
ในกรณีของ infinite product ลักษณะแบบนี้จะเรียกว่า "diverge to 0" ครับ

ใครมีอะไรจะเพิ่มเติมอีกมั้ยครับข้อนี้

15 มกราคม 2006 03:00 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ warut
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 15 มกราคม 2006, 03:15
Punk Punk ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 108
Punk is on a distinguished road
Icon17

เทพเทอบอะไรกันครับ ... ไม่ใช่สุเทพเอ้ยไม่ใช่ แค่อยากช่วยให้กระทู้เดินไปได้นะครับ

แหมข้อนี้กว่าจะคิดได้ผมต้องเสีย(ทรัพยากร)กระดาษไปตั้งหลายสิบแผ่นเลยทีเดียว ก่อนหน้านี้เห็นแล้วไม่กล้าลองครับ เพราะได้ยินว่าคุณ warut จะเอาไปลงวารสารต่างประเทศ

หลังจากผิดหวังอย่างแรงจากข้อ Number เลยหันมาจับข้อนี้แทนนะครับ ก็อย่างที่เทพตัวจริงบอกแหละครับ ข้อนี้น่าจะสอยได้มากกว่า

ถ้ามีโจทย์สวยๆแบบนี้อีกผมก็จะลองทำแน่นอนครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 16 มกราคม 2006, 14:29
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

สำหรับข้อนี้วิธีของผมอาศัยความจริงง่ายๆที่ว่า\[\prod_{n=2}^\infty\left(1-\frac{1}{n^2}\right)=
\frac{1}{2}\]และ\[\prod_{n=2}^\infty\frac{n^3-1}{n^3+1}=\frac{2}{3}\]ซึ่งมักนำมาใช้ออกข้อสอบแข่งขันอยู่เสมอๆ อย่างเช่นในข้อ 1 ของโจทย์แข่งขันชิงถ้วยพระราชทานฯ ม.ปลาย ปี 48

ดังนั้น\[\prod_{n=1}^\infty\left(1+\frac{1}{n^2}+\frac{1}{n^4}\right)=
3\prod_{n=2}^\infty\left(1+\frac{1}{n^2}+\frac{1}{n^4}\right)\]\[\large=3
\frac{\prod_{n=2}^\infty\left(1-\frac{1}{n^6}\right)}{\prod_{n=2}^\infty\left(1-\frac{1}{n^2}\right)}
\]\[=6\prod_{n=2}^\infty\left(\frac{n^3-1}{n^3+1}\right)\left(1+\frac{1}{n^3}\right)^2
\]\[=4\prod_{n=2}^\infty\left(1+\frac{1}{n^3}\right)^2=
\prod_{n=1}^\infty\left(1+\frac{1}{n^3}\right)^2\]สำหรับข้อนี้ผมมีคะแนนพิเศษอีก 2 คะแนนสำหรับผู้ที่ค้นมาได้ว่าค่าของ\[\prod_{n=1}^\infty\left(1+\frac{1}{n^3}\right)\]จริงๆแล้วมันเท่ากับเท่าไหร่ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 16 มกราคม 2006, 14:55
nongtum's Avatar
nongtum nongtum ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 3,246
nongtum is on a distinguished road
Icon16

อ้างอิงจาก Mathworld จะได้ค่าที่คุณ warut ถามคือ $$\prod_{n=1}^{\infty}(1+\frac{1}{n^3})=\frac{1}{\pi}\cosh(\frac{\pi\sqrt{3}}{2})$$ เมื่อ cosh(x) แทน hyperbolic cosine ของ x (รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้จากลิงค์ครับ)
__________________
คนไทยร่วมใจอย่าใช้ภาษาวิบัติ
ฝึกพิมพ์สัญลักษณ์สักนิด ชีวิต(คนตอบและคนถาม)จะง่ายขึ้นเยอะ (จริงๆนะ)

Stay Hungry. Stay Foolish.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 16 มกราคม 2006, 15:05
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

จ๊าก...ทำไมหาได้เร็วจัง คุณ nongtum รับไปอีก 2 คะแนนตามสัญญาครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
ปัญหาชิงรางวัลข้อที่ 22: Infinite Series warut คณิตศาสตร์อุดมศึกษา 4 02 พฤศจิกายน 2006 05:35


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 01:00


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha