Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > Calculus and Analysis
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #31  
Old 10 เมษายน 2006, 00:42
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post

มาแล้วคร้าบ

10. กำหนดให้ $R = \{ (x,y)\in \mathbb{R}^2 \ | \ x^6 - x^2 + y^2 \leq 0 \}$ จงหาพื้นที่ของ $R$

ที่มา : Harvard - MIT Mathematics Tournament 2004

ให้เครดิตเจ้าของโจทย์หน่อยครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น

11 เมษายน 2006 09:47 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ nooonuii
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #32  
Old 10 เมษายน 2006, 13:37
Mastermander's Avatar
Mastermander Mastermander ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 ตุลาคม 2005
ข้อความ: 796
Mastermander is on a distinguished road
Post

$$ R = \{ (x,y)\in \mathbb{R}^2 \ | \ x^6 - x^2 + y^2 \leq 0 \} $$
\( \mathbb{R^2}\) หมายถึง $\mathbb{R \times R}$ รึเปล่าครับ
__________________
โลกนี้มีคนอยู่ 10 ประเภท คือ คนที่เข้าใจเลขฐานสอง และคนที่ไม่เข้าใจ

07 เมษายน 2007 15:07 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Mastermander
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #33  
Old 10 เมษายน 2006, 21:02
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ Mastermander:
\( R^2\; หมายถึง \; R\times R\, รึเปล่าครับ \)
ใช่ครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #34  
Old 11 เมษายน 2006, 00:08
passer-by passer-by ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 เมษายน 2005
ข้อความ: 1,442
passer-by is on a distinguished road
Post

ข้อ 10 ไม่แน่ใจว่า ตอบ $ \frac{\pi}{2} $ หรือเปล่าครับ

คือผมเปลี่ยน $ y^{2}=x^{2}-x^{6} $ เป็น $ r^{2}= \sec^{2}\theta\sqrt{1-\tan^{2}\theta} $ ใน polar coordinate

แล้วคำนวณพื้นที่ส่วนที่อยู่จตุภาคที่ 1 พบว่า
$ \text{AREA}= \frac{1}{2}\int_{0}^{\pi/4}\sec^{2}\theta\sqrt{1-\tan^{2}\theta}\,d\theta = \frac{\pi}{8} $

จากนั้นก็คูณ 4 (เพราะ สมมาตรใน 4 quadrants)
__________________
เกษียณตัวเอง ปลายมิถุนายน 2557 แต่จะกลับมาเป็นครั้งคราว
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #35  
Old 11 เมษายน 2006, 01:47
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Post

ข้อ 10. พื้นที่ของ $R$ คือ $$4 \int_0^1 \sqrt{x^2-x^6} \,dx$$ ให้ $x^2=\sin \theta \,$ อินทิกรัลจะกลายเป็น $$ 2 \int_0^{\pi/2} \cos^2\theta \,d\theta= \frac{\pi}{2} $$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #36  
Old 11 เมษายน 2006, 04:27
passer-by passer-by ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 เมษายน 2005
ข้อความ: 1,442
passer-by is on a distinguished road
Thumbs up

Nice Solution มากๆครับ คุณ Warut (ไม่น่าลงทุนใช้ polar coordinate เลยเรา )

รู้สึกว่า กราฟบริเวณ R จะเป็นรูปคล้ายๆ เครื่องหมาย infinity ด้วยนะครับ ถ้าใครสนใจก็ลองไปวาดดู

แล้วอย่างนี้ ใครจะเป็นคนตั้งคำถามต่อไปล่ะเนี่ย?
__________________
เกษียณตัวเอง ปลายมิถุนายน 2557 แต่จะกลับมาเป็นครั้งคราว
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #37  
Old 11 เมษายน 2006, 10:39
Mastermander's Avatar
Mastermander Mastermander ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 ตุลาคม 2005
ข้อความ: 796
Mastermander is on a distinguished road
Post

อ้างอิง:
ให้ $ x^2=\sin \theta \, $ อินทิกรัลจะกลายเป็น
$ \displaystyle{ 2 \int_0^{\pi/2} \cos^2\theta \,d\theta= \frac{\pi}{2} }$
ไปได้อย่างไรครับ งง

$ \displaystyle{4 \int_0^1 \sqrt{x^2-x^6} \,dx}=4\int_0^{\pi/2}\sqrt{\sin \theta - \sin^3 \theta}\, d\theta =4\int_0^{\pi/2} \cos \theta \sqrt{\sin \theta} \ d\theta $
$$=4\int_0^{\pi/2}\sqrt{\sin \theta}\; d(\sin \theta)=4\bigg[\frac23 \sin ^{3/2}\theta\bigg]_0^{\pi/2} =\frac83$$
แล้วไปเป็นอย่างคุณวรุฒ ได้อย่างไรครับ
__________________
โลกนี้มีคนอยู่ 10 ประเภท คือ คนที่เข้าใจเลขฐานสอง และคนที่ไม่เข้าใจ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #38  
Old 11 เมษายน 2006, 11:17
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post

น้อง Mastermander ลองหา dx อีกรอบสิครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #39  
Old 11 เมษายน 2006, 11:35
Mastermander's Avatar
Mastermander Mastermander ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 ตุลาคม 2005
ข้อความ: 796
Mastermander is on a distinguished road
Post

อุ่ย จริงด้วยครับ ลืมจุดนั้นไปเลย
__________________
โลกนี้มีคนอยู่ 10 ประเภท คือ คนที่เข้าใจเลขฐานสอง และคนที่ไม่เข้าใจ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #40  
Old 12 เมษายน 2006, 05:06
passer-by passer-by ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 เมษายน 2005
ข้อความ: 1,442
passer-by is on a distinguished road
Post

บริเวณ R ที่ผมได้ เป็นอย่างรูปข้างล่างครับ

แล้วก็ถือโอกาสแถมข้อ 11 เลยแล้วกัน

11. ใช้ แคลคูลัส พิสูจน์ว่า $ \frac{1}{3}< \arcsin(\frac{1}{3})< \frac{1}{\sqrt{7}} $
__________________
เกษียณตัวเอง ปลายมิถุนายน 2557 แต่จะกลับมาเป็นครั้งคราว

12 เมษายน 2006 05:14 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ passer-by
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #41  
Old 13 เมษายน 2006, 21:25
Mastermander's Avatar
Mastermander Mastermander ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 ตุลาคม 2005
ข้อความ: 796
Mastermander is on a distinguished road
Post

ไม่มีคนมาทำ งั้นผมขอลองดูนะครับ

เนื่องจาก
$ \arcsin\frac{a}{3} <\arcsin\frac{b}{3} < \arcsin\frac{c}{3} $
เป็นจริง สำหรับจำนวนจริง a < b < c ที่ทำให้ค่า arcsin เป็นบวก

ทำการหาอนุพันธ์ ทั้งอสมการ
$$ \frac{1}{\sqrt{9-a^2}} < \frac{1}{\sqrt{9-b^2}} < \frac{1}{\sqrt{9-c^2}} $$

ดังนั้นถ้าแทนค่า a = 0 , b = 1 , c = 2 ยังคงเป็นจริงอยู่เพราะ a < b < c
จะได้ว่า
$$ \frac{1}{\sqrt9} < \frac{1}{\sqrt8} < \frac{1}{\sqrt7} $$

เนื่องจาก $ \frac{1}{\sqrt8} $ เป็นอนุพันธ์ของ $ \arcsin(\frac{b}{3}) $ ที่ b = 2 และอสมการยังคงเป็นจริงเพราะว่าเราแทนค่า a < b < c
ดังนั้นจึงสรุปว่า

$$ \frac13 < \arcsin\frac13 < \frac{1}{\sqrt7} $$
__________________
โลกนี้มีคนอยู่ 10 ประเภท คือ คนที่เข้าใจเลขฐานสอง และคนที่ไม่เข้าใจ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #42  
Old 13 เมษายน 2006, 22:31
passer-by passer-by ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 เมษายน 2005
ข้อความ: 1,442
passer-by is on a distinguished road
Post

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของน้อง Mastermander :
เนื่องจาก $\frac{1}{\sqrt8}$ เป็นอนุพันธ์ของ $\arcsin(\frac{b}{3})$ ที่ b = 2
ดังนั้นจึงสรุปว่า $\displaystyle{ \frac13 < \arcsin\frac13 < \frac{1}{\sqrt7} }$
บรรทัดบน น้องอ้าง อนุพันธ์ของ arcsin แต่ข้างล่างเป็น arcsin เฉยๆนะครับน้อง
(และ ผมว่า b=1 ไม่ใช่ b=2 นะ)

เท่าที่อ่านดูวิธีทำตั้งแต่แรก ก็งงๆดีครับ แต่ไม่เป็นไร ถือว่าให้คะแนนความพยายาม
ประกอบกับยังอยู่ ม.ปลาย

ข้อนี้ จริงๆ ผมกะให้ใช้ Mean value Theorem อย่างเดียว ก็จะได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการทันทีครับ

Mean Value Theorem
ให้ f เป็นฟังก์ชันต่อเนื่องบน [a,b] และ differentiable ใน (a,b) แล้วจะมี $ c\in (a,b)$ ซึ่ง
$$ f '(c)= \frac{f(b)-f(a)}{b-a} $$

พิจารณา f(x)= arcsin(x) บน [0,x] และ 0< x< 1

จากนั้น apply Mean Value theorem จะได้ว่ามี c ใน (0,x) ซึ่ง

$$\frac{1}{\sqrt{1-c^{2}}}=\frac{\arcsin(x)}{x} $$

และจาก 0< c < x ทำให้ $ 1 < \frac{1}{\sqrt{1-c^{2}}} < \frac{1}{\sqrt{1-x^{2}}} $

หรือเขียนใหม่เป็น $ 1 < \frac{\arcsin(x)}{x} < \frac{1}{\sqrt{1-x^{2}}} $

จากนั้นก็แทน x= 1/3 เข้าไป ประกอบกับ $\frac{1}{\sqrt{8}} < \frac{1}{\sqrt{7}} $ ก็เรียบร้อยครับ
__________________
เกษียณตัวเอง ปลายมิถุนายน 2557 แต่จะกลับมาเป็นครั้งคราว
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #43  
Old 13 เมษายน 2006, 23:11
Mastermander's Avatar
Mastermander Mastermander ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 ตุลาคม 2005
ข้อความ: 796
Mastermander is on a distinguished road
Post

ครับ ตรงที่ b=2 พิมพ์ผิดครับ ต้องเป็น b=1
__________________
โลกนี้มีคนอยู่ 10 ประเภท คือ คนที่เข้าใจเลขฐานสอง และคนที่ไม่เข้าใจ

04 กันยายน 2006 20:46 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Mastermander
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #44  
Old 14 เมษายน 2006, 01:02
Punk Punk ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 108
Punk is on a distinguished road
Wink

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ Mastermander:
...
เนื่องจาก
$ \arcsin\frac{a}{3} <\arcsin\frac{b}{3} < \arcsin\frac{c}{3} $
เป็นจริง สำหรับจำนวนจริง a < b < c ที่ทำให้ค่า arcsin เป็นบวก

ทำการหาอนุพันธ์ ทั้งอสมการ
$$ \frac{1}{\sqrt{9-a^2}} < \frac{1}{\sqrt{9-b^2}} < \frac{1}{\sqrt{9-c^2}} $$
diff อสมการไม่จำเป็นต้องได้อสมการ

ฝากสักข้อละกัน(หวังว่าจะไม่ทำให้กระทู้เดี้ยงไปนะ)

12. จงหาจำนวนผลเฉลย $x\in\mathbb{R}$ ของสมการ
$$
2^{-2^{-x}}+2^{-x}=2x
$$

(Hint: Mean value theorem)

14 เมษายน 2006 15:30 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Punk
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #45  
Old 19 เมษายน 2006, 01:01
Mr.high Mr.high ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 กรกฎาคม 2005
ข้อความ: 50
Mr.high is on a distinguished road
Post

ใบ้อีกหน่อยได้มั้ยครับ ไม่ค่อยได้เจอโจทย์แนวนี้ด้วย
อยากรู้จริงเลยๆว่าไปหามาจากไหน
__________________
μαθηματικά
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
Geometry marathon Char Aznable เรขาคณิต 78 26 กุมภาพันธ์ 2018 21:56
Algebra Marathon nooonuii พีชคณิต 199 20 กุมภาพันธ์ 2015 10:08
Calculus Marathon (2) nongtum Calculus and Analysis 134 03 ตุลาคม 2013 16:32
Marathon Mastermander ฟรีสไตล์ 6 02 มีนาคม 2011 23:19
Inequality Marathon nongtum อสมการ 155 17 กุมภาพันธ์ 2011 00:48


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 12:36


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha