Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์มัธยมศึกษา > ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #16  
Old 30 ตุลาคม 2010, 17:09
Mathematicism Mathematicism ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 108
Mathematicism is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ nooonuii View Post
ข้อสอบอัตนัยผมว่ายังมีความลำเอียงอยู่เยอะครับ

ถึงแม้ว่าจะทำให้ผู้เรียนได้คิดมากกว่าก็ตาม

ถ้าเอาข้อสอบอัตนัยอย่างเดียวไปใช้ในระดับมัธยมผมว่าเละกว่านี้ครับ

สำหรับระดับมัธยมผมคิดว่าเป็นข้อสอบปรนัยก็น่าจะโอเค

แต่ควรเพิ่มจำนวนตัวเลือกให้มากขึ้นเพื่อให้การเดาได้ผลน้อยลง

เห็นด้วยครับว่า ข้อสอบอัตนัย ให้คะแนนค่อนข้างยาก
แต่น่าจะแก้ได้ด้วยการกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนที่ชัดเจน
ว่าข้อนั้นๆ เด็กควรพูดถึงประเด็นใดบ้าง หรืออาจกำหนดคีย์เวิร์ด ให้เด็กใช้เขียนอธิบาย
แล้วพิจารณาว่าเด็กใช้คีย์เวิร์ดได้อย่างถูกต้องสมเหตุสมผลหรือไม่

ส่วนประเด็นที่ว่า ถ้าใช้อัตนัยอย่างเดียวในมัธยมอาจเละเทะยิ่งกว่านี้
ผมมองว่า ถ้าจะเริ่มใช้ อัตนัย ต้องเริ่มตั้งแต่ประถมเลยครับ
โดยอาจให้ตอบสั้นๆ ก่อน แล้วค่อยๆปรับให้เขียนอธิบายมากขึ้นทีละน้อยๆ
แล้วเราอาจจะได้พบว่า เด็ก ป.1 ทำอะไรได้มากกว่าที่เราคิด
เมื่อเราปูพื้นฐานการเขียนอธิบายความคิดมาตั้งประถม
เมื่อขึ้นมัธยมก็ไม่น่าจะมีปัญหา ที่สำคัญเป็นการปูพื้นฐานที่ดีในการเรียนระดับมหาลัยด้วย
ซึ่งเป็นที่รู้กันว่านักศึกษาต้องคิดเป็น
ดังนั้นเราต้อง ฝึกให้เด็กคิดคิดเป็นตั้งแต่เด็กๆ ครับ และควรฝึกอย่างต่อเนื่องด้วย

ส่วนที่ว่าข้อสอบปรนัย วัดเนื้อหาได้ครอบคลุมกว่า ผมเห็นด้วย แต่ไม่ทั้งหมด
ผมว่าการทำข้อสอบอัตนัยสักหนึ่งข้อเด็กก็ต้องรู้ข้อมูลเยอะพอสมควรจึงจะเอามาเขียนอธิบายได้
ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับลักษณะคำถามล่ะครับ ว่าจะวัดความรู้เด็กได้มากน้อยแค่ไหน

หรือทางออกที่ดีที่สุดอาจใช้วิธีสอบแบบปรนัยด้วย อัตนัยด้วย แต่ให้น้ำหนักคะแนนอัตนัยมากกว่า
ส่วนปรนัยอาจใช้สอบวัดรายจุดประสงค์ก็ได้


รู้สึกยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันครับ
แต่ไม่รู้ว่าผู้มีอำนาจเค้าจะได้ยินและสนใจบ้างรึปล่าว
คนวางหลักสูตรไม่ได้รู้ปัญหา
คนรู้ปัญหาไม่ได้มีส่วนร่วมในการจัดหลักสูตรเลย
เฮ้อ!!


ปล. ขออภัยเจ้าของกระทู้ ที่ใช้เนื้อที่ในการบ่นๆๆๆ

30 ตุลาคม 2010 17:10 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Mathematicism
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #17  
Old 30 ตุลาคม 2010, 18:51
หยินหยาง's Avatar
หยินหยาง หยินหยาง ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่จักรวาล
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,921
หยินหยาง is on a distinguished road
Default

เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการออกข้อสอบ ข้อสอบปรนัยและอัตตนัยมีความแตกต่างกันในวัตถุประสงค์ของการทดสอบผู้เรียน ไม่เกี่ยวกับว่าข้อสอบปรนัยไม่สามารถวัดคุณภาพได้เพียงแต่ว่าสิ่งที่เราพบว่าเป็นปัญหาก็เพราะการใช้มันไม่ถูกต้องครับและการออกข้อสอบท ี่ไม่ได้คุณภาพ ผมยกตัวอย่างข้อสอบปรนัยแบบตัวเลือกที่คนมักเข้าใจว่า ถ้าทำแบบ 4 ตัวเลือก คนที่ไม่มีความรู้ก็มีโอกาสเดาถูกได้ถึง 25 % อันที่จริงมันเป็นปัญหาของคนสอบที่จะไม่ยอมส่งกระดาษเปล่าอยู่แล้ว ถ้าเราเพิ่มเงื่อนไข เข้าไปเพื่อให้กลไกลของการทดสอบได้ผลมากขึ้นก็คือถ้าตอบถูก ได้ 2 คะแนน ถ้าตอบผิด -1 แต่ไม่ตอบก็ 0 อย่างนี้ก็จะได้ค่าคาดหวังที่เป็นธรรมขึ้น หรือออกข้อสอบเป็นแบบตัวเลือก เป็น 8 ตัวเลือกหรือ 16 ตัวเลือกก็ได้ แต่ความยุ่งยากก็ตามมา หรือถ้าจะต้องการแบบไม่ให้คาดเดาก็ใช้เป็นแบบเติมคำหรือตอบอย่างสั้น ก็ได้ซึ่งคำถามลักษณะนี้ก็มีคำตอบที่แน่นอนเหมือนกัน และออกแบบเชิงวิเคราะห์ได้ทั้งนั้น เหมือนโจทย์เลขที่พวกเราถนัดกันใช่มั้ยครับ แต่ก็ต้องเข้าใจเหมือนกันว่าเด็กเล็กจะสามารถทำโจทย์ลักษณะนี้ได้หรือไม่ เพราะต้องเข้าใจกระบวนการการพัฒนาของเด็กเหมือนกัน รวมทั้งการพัฒนาสมองในส่วนต่างๆด้วย หลักสูตรถึงได้วางระดับของความยากง่ายแตกต่างกันไป ส่วนข้อสอบอัตนัยนั้นมักจะมุ่งเน้นการแสดงความคิดเห็นหรือการอธิบายเป็นหลัก ไม่เน้นลักษณะของการจำหรือเนื้อหาของหลักสูตรมาตอบ มักจะให้นำเอาเนื้อหาที่เรียนมาใช้ประยุกต์ วิเคราะห์และสังเคราะห์กับสิ่งที่โจทย์ถาม ผมยกตัวอย่างให้เห็นพอสังเ้ขป เช่นในวิชาเศรษฐศาสตร์ โจทย์ถามว่า ในสภาวะเศรษฐกิจของเมืองไทยที่มีค่าเงินบาทแข็ง และส่งผลกระทบกับการส่งออก และการเติบโตของประเทศได้ ท่านคิดว่าจะดำเนินนโยบายทางการเงินอย่างไร เป็นต้น โจทย์ลักษณะนี้ไม่มีถูกผิด เพราะขึ้นอยู่กับสมมติฐานของผู้ตอบและข้อมูลที่แสดงโดยใช้ทฤษฎีที่เรียนมาตอบ การให้คะแนนก็ไม่ใช่เรื่องยาก ขอใตั้งสมมุติฐาน และใช้ทฤษฎี อ้างให้ถูกต้องโดยเรียงลำดับเหตุผล และผลกระทบที่เกิดขึ้น เป็นขั้นเป็นตอน อย่างนี้ก็เข้าหลักการให้คะแนนได้ สิ่งที่คนเค้่ามักกลัวกันคือเรื่องความลำเอียง เพราะถ้าตอบตรงใจผู้ตอบก็จะได้คะแนนดีกว่า เรื่องอย่างนี้ถ้าวางหลักเกณฑ์ตั้งแต่ต้นก็จะลดผลกระทบไปได้ยกตัวอย่างข้อมูลจากข่าว เร็วๆ นี้ ที่ว่าภาวะน้ำท่วมทำให้กระทบต่อ GDP ของประเทศในปีนี้ที่เคยประมาณกันไว้ก่อน ซึ่งสภาพัฒน์ประเมินว่าจะลดลงเล็กน้อย ส่วนธปท. ประเมินว่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ถามว่าใครถูกใครผิด ซึ่งเป็นหน่วยงานน่าเชื่อถือทั้งคู่ เพราะเค้าอาจคั้งสมมุติฐานต่างกันใช้หลักทฤษฎีที่ต่างกัน หรือเหมือนกับ ที่ดร.โกร่งให้ความเห็นเกี่ยวกับการแก้ปัญหาเงินบาทแข็งโดยลดอัตราดอกเบี้ยทันที 0.75-1 บาท เลย แต่ก็มีนักวิชาการระดับแนวหน้าก็ออกมาแสดงความเห็นไม่เห็นด้วยเพราะอาจเกิดผลกระทบกับเงินเฟ้ออีก ส่วนใครถูกใครผิดก็ขึ้นอยู่กับว่าใครคาดการณ์แล้วตรงกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้

แสดงความเห็นเพื่อหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นครับ ไม่มีอะไรมาก
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 16:25


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha